คู่มือการเทรดสำหรับมือใหม่: รู้จักและเข้าใจอัตราดอกเบี้ยและตลาดการเงิน

ธันวาคม 18, 2023 00:23

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นสัปดาห์ของการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการเงินเป็นครั้งสุดท้ายในปี 2023 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) 

ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้คนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ที่ธนาคารกลางทั้ง 3 แห่งจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ตลาดจึงหันมให้ความสนใจกับความคิดเห็นที่มาพร้อมเพรียงกันของ 3 สถาบันนี้มากขึ้น และเริ่มมองหากำหนดการในการลดอัตราดอกเบี้ยต่อจากนี้

แต่ทั้ง 3 ธนาคารจะตัดสินใจเหมือนกัน แต่สัญญาณในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็แตกต่างกัน

การประกาศดอกเบี้ยนโยบาย

เริ่มต้นที่ Fed ที่มีสมาชิกของ FOMC ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ ในวันพุธที่ผ่านมาให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม แต่กลับมีท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2024

ตามมาด้วยสัญญาณจาก BoE หลังการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ที่สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) โดยสมาชิก 3 ใน 9 คนมองว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

จากการลงคะแนนเสียงเผยให้เห็นว่ากลุ่มเหยี่ยวใน MPC อาจยังไม่มั่นใจในการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้น ประกาศที่ออกมาจึงมองได้ว่าเป็นการดำเนินการที่อาจแข็งกร้าวต่อไป ซึ่ง BoE อาจผลักดันการเก็งกำไรว่าโดยทำให้เกิดการคาดการณ์ถึงการลดอัตราดอกเบี้ย โดย Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งอังกฤษ (BoE) กล่าวไว้ว่าจำเป็นต้อง "ขยาย" การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไว้อีกสักพัก เพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรที่อาจเป็นไปได้ยากกว่าที่อื่น

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้อย่าง ECB ก็ดูเหมือนว่าจะได้สัญญาณในการคงอัตราดอกเบี้ยจาก BoE แต่ ECB ก็ได้ให้คำมั่นสัญญาที่คล้ายกันกับอัตราดอกเบี้ยของ BoE ไว้ว่า “ดอกเบี้ยนโยบายจะถูกกำหนดในระดับที่เข้มงวดเท่าที่จำเป็น

นอกจากนี้ ECB ก็ไม่ได้ให้ข้อบ่งชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้เช่นเดียวกับที่ BoE ประกาศไว้ซึ่ง Christine Lagarde ประธาน ECB ก็เคยกล่าวไว้ว่าไม่มีการพูดคุยกันถึงว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างการประชุมด้วยซ้ำ

แล้วตลาดการเงินจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อเรื่องทั้งหมดนี้? สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับผลกระทบที่อัตราดอกเบี้ยมีต่อตลาด ปฏิกิริยานี้อาจคาดเดาได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยต้องโปรดอ่านต่อ เพราะเราจะอธิบายว่ามันคืออะไรและทำไมจึงเกิดขึ้น

ตลาดหุ้น

หลัง Fed ประกาศคงดอกเบี้ย พร้อมส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันพุธที่ผ่านมา Wall Street ก็ตอบรับทันทีหลังการประกาศ โดยดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq Composite ต่างพุ่งขึ้นมากกว่า 1%

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 –กราฟ  M15 ของ SP500 ในช่วงวันที่: 13 – 14 ธ.ค. 2023 วันที่เก็บภาพ: 14 ธ.ค. 2023 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ในอนาคต

 

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่ตลาดยุโรปเปิดทำการในเช้าวันพฤหัสบดี โดยดัชนี Euro Stoxx 50 ทั่วยุโรปและ FTSE 100 ของสหราชอาณาจักร เปิดเซสชั่นสูงขึ้นมากกว่า 1% แต่หลังจาก BoE และ ECB ประกาศคงดอกเบี้ยของทั้ง 2 ดัชนีนี้ก็เริ่มปรับราคาขึ้นเช่นกัน

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 –กราฟ  M5 ของ FTSE 100 ในวันที่: 14 ธ.ค. 2023 วันที่เก็บภาพ: 14 ธ.ค. 2023
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ในอนาคต

 

กล่าวได้ว่า เราสามารถสังเกตสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและราคาหุ้นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการลดอัตราดอกเบี้ยหรือการเก็งกำไรในการลดอัตราดอกเบี้ย มักจะได้รับการตอบสนองเชิงบวกในตลาดหุ้น และในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็มักจะสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้น คุณคิดว่าเพราะอะไร ?

อัตราดอกเบี้ย คือ หนึ่งในเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้เพื่อช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ก็มักจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อผลกำไรของบริษัทได้เช่นกัน

ซึ่งเหตุผลหลัก คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะลดรายได้ที่ต้องตัดสินใจ เพราะอาจเป็นสิ่งที่จะมาบั่นทอนความอุปสงค์ของผู้บริโภค และหากผู้คนซื้อสินค้าน้อยกว่าปกติก็จะส่งผลเสียต่อยอดขายของธุรกิจและผลกำไร และเหตุผลต่อมา คืออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ก็หมายความว่าธุรกิจก็จะต้องแบกรับการชำระหนี้ที่มีอยู่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรมากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งเหตุผลข้างต้นก็สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมตลาดหุ้นจึงมีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อการประกาศของ Fed และส่งผลเชิงลบต่อการประกาศของ BoE และ ECB แน่นอนว่าความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ง่ายเสมอไป และก็อาจมีหุ้นที่จะประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในบางเงื่อนไขด้วยเช่นกัน

ตลาด Forex

กล่าวได้ว่าเราได้เห็นปฏิกิริยาที่เห็นได้ชัดเจนในตลาดหุ้นต่อการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในสัปดาห์นี้ แล้วคุณคิดว่าใน ตลาด Forex จะสามารถสังเกตเห็นสิ่งที่คล้ายกันนี้ไหม ?

โดยภายใน 1 ชั่วโมงของการประกาศนโยบายที่ผ่อนคลายของ Fed ในวันพุธที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้ US Dollar Index ที่ทำหน้าที่ติดตามมูลค่าของUSD เทียบกับตะกร้าสกุลเงินคู่แข่ง ก็ทรุดตัวลง 1% และร่วงลงอย่างต่อเนื่องภายในไม่กี่ชั่วโมงถัดมา และยังส่งผลให้ดัชนีอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม

โดยทั่วไปแล้ว ค่าเงิน USD เมื่อเทียบกับสกุลในอีกฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกจะอ่อนค่าลง ดังนั้น คู่สกุลเงิน GBPUSD และ EURUSD ก็จะได้รับประโยชน์ ในขณะที่ BoE และ ECB อาจดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับเกี่ยวกับแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้คู่สกุลเงินทั้ง 2 ได้รับประโยชน์อีกครั้ง และอาจยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในระหว่างเซสชั่นได้อีกด้วย

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 –กราฟ  M5 ของ GBPUSD ในช่วงวันที่: 13 – 14 ธ.ค. 2023 วันที่เก็บภาพ: 14 ธ.ค. 2023
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ในอนาคต

และจากกราฟเราจะเห็นปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับปฏิกิริยาในตลาดหุ้นค่อนข้างมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อการแข็งค่าของสกุลเงินหรือก็คืออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

จึงสามารถกล่าวได้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในระดับที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความต้องการสกุลเงินของประเทศที่เพิ่มขึ้นก็สามารถส่งผลต่อการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินของคู่แข่งนั่นเอง

ซึ่งในกรณีของ GBPUSD และ EURUSD การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่แล้วได้ให้ผลลัพธ์ที่เป็นบวกถึง 2 สองเท่า แม้ว่า Fed จะส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า จึงทำให้ USD อ่อนค่าลง แต่การที่ BoE และ ECB ไม่มีสัญญาณดังกล่าวก็ทำให้ GBP และ EUR แข็งแกร่งขึ้น

บัญชีทดลองเทรดให้คุณทดลองเทรดในสภาพตลาดจริงได้แบบไร้ความเสี่ยง!

เริ่มต้นการซื้อขายได้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนกับบัญชีทดลองเทรดจาก Admirals ที่จะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายในสภาวะตลาดที่สมจริง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเปิดบัญชีทดลองเทรดคลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Roberto Rivero
Roberto Rivero นักเขียนด้านตลาดการเงิน, Admirals, London

Roberto ทำงานด้านการออกแบบระบบเทรดและวิธีการตัดสินใจมานานกว่า 11 ปี สำหรับให้เทรดเดอร์และผู้จัดการกองทุนไว้ใช้งาน และมีประสบการณ์ 13 ปี ทำงานร่วมกับนักลงทุนมืออาชีพในตลาด S&P เขามีปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการบริหารในปริญญาโท ทั้งนี้ เขาเป็นนักลงทุนสาย