รู้จักและเข้าใจปฏิทินเศรษฐกิจ | ปฏิทิน Forex พร้อมส่องวิธีใช้งาน

Admirals

ปฏิทินเศรษฐกิจ เครื่องมือสำคัญที่ทั้งเทรดเดอร์และนักลงทุนใช้ติดตามความผันในตลาดหุ้นและตลาด Forex หรือปัจจัยทางเทคนิคของตลาดและปัจจัยพื้นฐาน และปฏิทิน Forex ของ Admirals ก็จะช่วยให้คุณสามารถติดตามปฏิทินเศรษฐกิจได้แบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบปัจจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงทิศทางของตลาดได้อย่างทันท่วงที

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงมักเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการดูปฏิทินเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเซสชั่นการเทรดต่อไป เพื่อให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะนำมาซึ่งโอกาสในการซื้อขาย โดยเฉพาะโอกาสจากความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ

ปฏิทินเศรษฐกิจ คือ ?

ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex หรือปฏิทินเศรษฐกิจ คือ ปฏิทินสรุปการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจของการซื้อขายในช่วงนั้นๆ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะมีอิทธิพลต่อราคาของตลาด ทำให้ปฏิทินเศรษฐกิจกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์แรกๆ ที่เทรดเดอร์ใช้วิเคราะห์ข่าวพื้นฐานของเศรษฐกิจ

ในปฏิทินเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง ?

➡️ เวลาที่ประกาศข้อมูล (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น)

➡️ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและประเทศที่ประกาศข้อมูล เช่น หากคุณสนใจ USD/CAD ก็ควรตรวจสอบปฏิทินเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ของแคนาดาและสหรัฐอฯ มากขึ้น

➡️ การประกาศเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ชัดจากในผลกระทบต่อสินทรัพย์ทางการเงินที่มีปัญหา เนื่องจากหากมีผลกระทบเล็กน้อย ราคาของสกุลเงินที่เกี่ยวข้องก็อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ในกรณีที่มีการประกาศที่สำคัญ สินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ก็จะมีความผันผวนมากขึ้น

ซึ่งความสำคัญของประกาศต่างๆ จะแบ่งเป็น 3 สี เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้

  1. สีเขียว: ส่งผลกระทบเล็กน้อย
  2. สีเหลือง: ส่งผลกระทบปานกลาง
  3. สีแดง: ข้อมูลสำคัญที่อาจส่งผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดได้

➡️ ชื่อเหตุการณ์ของข่าว/ ข้อมูล

ในหน้า ปฏิทิน Forex ของ Admirals จะมีชื่อเหตุการณ์นั้นๆ เพื่ออธิบายข่าวหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจและรู้ว่าข่าวนั้นๆ สามารถนำมาวิเคราะห์หรือเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ของคุณหรือไม่ ตัวอย่างเช่น คำปราศรัยของ Mario Draghi จาก ECB หรือข้อมูลการว่างงานในสหรัฐฯ

➡️ ผลกระทบของข่าว

เมื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสถิติการคาดการณ์และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจะช่วยให้คุณสามารถประเมินหรือเปรียบเทียบข้อมูลตลาดได้

ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถติดตามแนวโน้มของตลาดหุ้น รวมทั้งแนวโน้มของสกุลเงิน และสร้างโอกาสจากการเทรดตามปฏิทินเศรษฐกิจได้แบบเรียลไทม์

ซึ่งคุณสามารถฝึกฝนการเทรดข่าวได้อย่างสบายใจ ไร้ความเสี่ยงกับบัญชีทดลองเทรด เพื่อดูว่าข่าว Forex ส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์อย่างไร ดาวน์โหลดบัญชีทดลองเทรด ฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง ได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

การเทรดข่าวและการใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ 

ในการกำหนดวิธีการเทรดข่าว คุณต้องพิจารณาถึงความสำคัญของข่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อการเทรดของคุณ และศึกษาผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดที่สนใจไว้ ซึ่งต้องสามารถพิจารณาในปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ใช้ปฏิทินเศรษฐกิจในการคาดการณ์ผลลัพธ์

เทรดเดอร์จะเปิดโพซิชั่นล่วงหน้าในตลาดที่เลือกไว้ เพื่อความปลอดภัยจะไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ใน Day Trade (เทรดระยะสั้น) แต่เหมาะสำหรับการซื้อขายแบบ Swing Trade (เทรดรระยะกลาง/เทรดรระยะยาว) 

2. ประเมินสถานการณ์ซื้อ/ขาย

วิธีการนี้ไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ของการเปิดตัว แต่ใช้แค่จับความผันผวนที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในปฏิทินข่าว Forex โดยเทรดเดอร์สามารถกำหนดคำสั่งซื้อที่สูงกว่าและต่ำกว่าราคาเพื่อเข้าสู่ตลาดในเวลาที่ประกาศข่าว

3. การติดตามผลจากปฏิทินทางเศรษฐกิจ

กาดำเนินการเทรดจากผลลัพธ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อติดตามผลกระทบของข่าวนั้นๆ และในทิศทางของปัจจัยพื้นฐาน

4. ใช้ปฏิทินทางเศรษฐกิจเพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม

เมื่อผลกระทบของข่าวผ่านไปแล้ว คุณสามารถเริ่มการเทรดใหม่ ตามเทรนด์ใหม่ๆ โดยมีสิ่งที่ควรระวังคือไม่ควรเทรดข่าวที่ควบคุมไม่ได้!

เทรด Forex ตามปฏิทินเศรษฐกิจ อย่างไร ?

ปฏิทินเศรษฐกิจมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการดูกราฟและทำการวิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน หรือเพื่อกำหนดแนวโน้มตามการวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่จะใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อกำหนดความเสี่ยง

ซึ่งปฏิทินข่าว Forex เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งสามารถใช้เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ ดังนี้

1. ใช้ในการบริหารความเสี่ยง

โดยเฉพาะในการเทรดแบบ Swing Trade ในกรอบเวลารายวัน สามารถใช้ปฏิทินเศรษฐกิจสำหรับสกุลเงินเพื่อดูว่าในตลาดสถานะปัจจุบันมีความเสี่ยงจากการประกาศทางเศรษฐกิจหรือไม่หรือมากน้อยเพียงใด

ซึ่งสามารถใช้ปฏิทินเศรษฐกิจรายสัปดาห์ เพื่อช่วยในการจัดการโพสิชั่นในระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน เช่น สำหรับเทรดเดอร์สามารถใช้ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจเพื่อดูการประกาศนโยบายการเงินของ ECB อย่างไร ก

2. ค้นหาเวลาที่เหมาะสมในการเปิดโพซิชั่น

เทรดเดอร์สามารถใช้ปฏิทินเศรษฐกิจในการคาดการณ์และค้นหาเวลาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตลาดได้ โดยเทรดเดอร์จะมองหาข่าวเฉพาะที่อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงิน ดัชนีเช่น DAX 40 หรือสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวที่มีความผันผวนสูง

ปฏิทิน Forex เหมาะกับสไตล์การเทรดแบบไหน ?

เทรดเดอร์แต่ละคนจะมีสไตล์การเทรดที่แตกต่างกัน โดย Swing Trader ที่มักจะทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรดมักจะใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex ย้อนหลัง เพื่อจัดการความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อขายตามข่าว และใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อออกจากตำแหน่งก่อนการประกาศ 

ซึ่งเทรดเดอร์ที่ข่าวจะนำข้อมูลนี้มาใช้ในจัดการพอร์ตของตน หรือเพื่อเปิดตำแหน่งตามการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ

ส่วนนักเก็งกำไรจะใช้การประกาศข่าวต่างๆ เพื่อหาการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและให้ผลกำไร แม้จะมีความเสี่ยงที่สูงก็ตาม ดังนั้น ปฏิทินเศรษฐกิจจึงใช้ได้กับการเทรดได้ทุกรูปแบบ

ปฏิทินเศรษฐกิจและการตีความ

หากคุณต้องการเทรด GBPUSD คุณก็ควรรู้วิธีตีความปฏิทินเศรษฐกิจ ความเข้าใจที่ดีในปัจจัยพื้นฐานของตลาด รวมถึงพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาดเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นเทรดเดอร์ที่สามารถทำกำไรได้

เช่น ปฏิทินเศรษฐกิจ GBPUSD ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการ Brexit ทั้งหมด แน่นอนว่าไม่แนะนำให้เปิดตำแหน่งก่อนเหตุการณ์สำคัญ โดยหากจุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับเวลาของการประกาศทางเศรษฐกิจ การทำความเข้าใจในข้อมูลที่ส่งมอบในตลาดจะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้

มาดูกันว่า การลงประชามติ Brexit ในเดือนมิถุนายน 2016 ส่งผลอะไรในทางเศรษฐกิจบ้าง

ภาพจาก: MetaTrader 5 Supreme Edition - กราฟราคารายวันของ GBPUSD - ในช่วงวันที่: 11 มี.ค. 2016 ถึง 16 ธ.ค. 2016 วันที่เก็บภาพ: 19 ก.พ. 2020 - หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

จากกราฟด้านบน ข่าวนี้มีผลกระทบต่อราคา GBP อย่างมาก โดยแท่งเทียนก่อนหน้าเป็นขาขึ้น ดังนั้นผู้ที่ไม่ตรวจสอบปฏิทินเศรษฐกิจอาจขาดทุนครั้งใหญ่

หากคุณรู้สึกว่าอาจมีความเคลื่อนไหวในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex จะช่วยให้คุณตรวจสอบแนวโน้มก่อนเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางการเงินของประเทศหรือเขตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้

ภาพสะท้อนนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้เทรดเดอร์สามารถใช้ ปฏิทินข่าว Forex เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ 

ตัวชี้วัดต่างๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ 

ในปฏิทินทางเศรษฐกิจมีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมากมายที่เทรดเดอร์ต้องทำความเข้าใจผลกระทบที่เป็นไปได้ของข่าวที่มีต่อคู่สกุลเงิน ซึ่งมีรายการข่าวที่อาจาส่งผลกระทบที่สูงในตลาดสำคัญๆ ดังนี้

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

  • รายงานการจ้างงาน จะดึงดูดการเคลื่อนไหวในตลาดครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสกุลเงิน
  • การเรียกร้องผลประโยชน์การว่างงาน ซึ่งจะประเมินจำนวนการเรียกร้องใหม่และอัปเดตผลรวมที่สอดคล้องกัน
  • อัตราการว่างงาน ซึ่งแสดงถึงจำนวนผู้ว่างงานในประเทศ
  • Non-Farm Payrolls (NFP) หรือรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ซึ่งจะมีประกาศเป็นประจำในทุกวันศุกร์แรกของเดือน

การเติบโตของสหรัฐฯ ปฏิทินเศรษฐกิจมหภาคจะประกอบด้วยดังนี้:

  • GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ซึ่งเป็นการวัดผลผลิตรวม รวมถึงสินค้าและบริการของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

โดยมีตัวชี้วัดการวัดการผลิตที่ปรากฏในปฏิทินข่าว Forex ดังนี้

  • ดัชนีการผลิตและนอกภาคการผลิตของ ISM ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อและสภาพการทำงาน เพื่อแปรสถานะของตลาด
  • ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม คือ กำลังการผลิตที่ใช้ในแต่ละเดือน
  • ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่แสดงถึงคำสั่งซื้อที่ทำกับบริษัทผู้ผลิตในประเทศ
  • มาตรการการบริโภค: ยอดค้าปลีก - มีผลโดยตรงต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
  • ตัวชี้วัดสำหรับการตรวจสอบราคา เช่น ราคาผู้บริโภคที่วัดสินค้าและบริการ ราคาในภาคการผลิตจากผู้ผลิตสินค้า

ภาคการเทรด ปฏิทิน Forex จะประกอบด้วย:

  • ดุลการค้า ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างการนำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน:

  • อัตราดอกเบี้ย ซึ่งตามทฤษฎีแล้วหากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือมีผลในเชิงบวกก็จะมีผลเสีย แต่หากดอกเบี้ยลดลงในประเทศที่มีปัญหาและสกุลเงินก็จะมีผลเสียเช่นกัน 
  • อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้นี้สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาของสินค้าและบริการสำหรับผู้บริโภค
  • รายงานการประชุม FOMC ซึ่งเป็นรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ
  • การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินของ Fed

หากคุณต้องการเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับตลาดและการซื้อขายเพิ่มเติม โดยเริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐานการเทรด สามารถเรียนรู้ได้จากคอร์สการเทรดออนไลน์ ฟรี ของเราลงทะเบียนหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย! 

Zero to Hero

เรียนรู้การเทรดใน 20 วัน ตั้งแต่การตั้งค่าไปจนถึงการเทรดจริง!

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของยุโรป

ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex ที่สำคัญในเศรษยฐกิจยุโรป คือ:

  • การประชุมนโยบายการเงิน (เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญ เป็นต้น) และการกล่าวสุนทรพจน์ของธนาคารกลางยุโรปและตัวแทนของธนาคารกลาง

สำหรับการวัดราคา:

  • ดัชนี CPI ของเขตยูโร แสดงค่าประมาณของอัตราเงินเฟ้อในพื้นที่ดังกล่าว ตัวบ่งชี้นี้สามารถกำหนดตามประเทศ เช่น สเปน อิตาลี เป็นต้น
  • ตัวบ่งชี้การจ้างงาน แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้ว่างงานอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของเยอรมัน

องค์ประกอบการวัดของกิจกรรมและการผลิตของสหภาพยุโรปยังพบได้ในปฏิทินเศรษฐกิจด้วย:

  • คำสั่งการผลิตของเยอรมนี เนื่องจากเยอรมนีเป็นประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในโซนยุโรป
  • ดัชนี IFO ซึ่งประเมินสถานการณ์ของบริษัทในขณะนี้และกำหนดแนวโน้มในอนาคต
  • ตัวบ่งชี้ ZEW (Zentrum für europäische Wirtschaftsforschung) มีความคล้ายคลึงกับตัวบ่งชี้ IFO แต่เกี่ยวข้องกับภาคการธนาคาร

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

นอกเหนือจากการประกาศตัวบ่งชี้ GDP ของดัชนีราคาแล้ว ข่าวที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นจะเชื่อมโยงกับนโยบายการเงินของ BOJ (ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น) พร้อมกับการประกาศอัตราดอกเบี้ยและรายงานการประชุม BOJ

ปฏิทินเศรษฐกิจและวิธีใช้ปฏิทินเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ตลาดไม่ได้เป็นไปตามตรรกะของผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจเสมอไป ดังนั้นจึงควรติดตามความเคลื่อนไหวในตลาดก่อนประกาศจริง แต่การติดตามเพียงปฏิทินเศรษฐกิจก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการเปิดโพซิชั่นที่เหมาะสม

หากคุณต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ Forex ในปฏิทินเศรษฐกิจหรือแลกเปลี่ยนตลาดหุ้นด้วยข่าวสาร เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ เราขอแนะนำให้คุณทดลองกลยุทธ์หรือเรียนรู้ตลาดจริงไปพร้อมกันได้ในบัญชีทดลองเทรด แน่นอนว่าคุณสามารถใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้จนกว่าจะพร้อมสำหรับการเทรดในตลาดจริง! 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปฏิทินเศรษฐกิจ

ปฏิทินเศรษฐกิจส่งผลต่อ Forex อย่างไร ?

ปฏิทินเศรษฐกิจ คือปฏิทินที่แสดงวันที่กำหนดการประกาศข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและตลาดการเงินโดยรวม ซึ่งเป็นข่าวที่มักส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและความผันผวนของสกุลเงิน

 

วิเคราะห์ปฏิทินเศรษฐกิจ ทำอย่างไร ?

ปฏิทินเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะมีการอธิบายเหตุการณ์สั้นๆ ซึ่งจะมีทั้ง "ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง" "การคาดการณ์" และ "ข้อมูลก่อนหน้า" โดยตัวเลข “ที่คาดการณ์” จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์หรือเป็นมูลค่าสกุลเงินหรือผลกระทบของตลาดทั้งในเชิงบวกและเชิงลบซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในตลาดนั้นๆ ได้

 

เหตุการณ์สำคัญๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง ?

เหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดต่างๆ ได้แก่ การประชุม OPEC ดัชนีราคาผลิตผล (PPI) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อัตราการขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้าน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโรงงาน (ISM) และดุลการค้า

รู้จักกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย และได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลกกว่า เช่น FCA, CySEC, ASIC, IIROC, EFSA, JSC เป็นต้น โดย Admirals ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

ข้อมูลเกี่ยวกับบทความ/สื่อที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์:

บทความหรือสื่อที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทั้งหมด ทั้งการประมาณการ การคาดการณ์ การทบทวนตลาด มุมมองรายสัปดาห์ หรือการประเมินหรือข้อมูลอื่นที่คล้ายคลึงกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า "การวิเคราะห์") ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทการลงทุนของ Admirals ที่ดำเนินการภายใต้เครื่องหมายการค้า Admirals (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "Admirals") โปรดทำความเข้าใจในข้อมูลเหล่านี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน

  • บทความนี้คือการสื่อสารการตลาด โดยมีเนื้อหาในการเผยแพร่เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นจึงไม่สามารถตีความว่าเป็นคำแนะนำหรือคำแนะนำในการลงทุนได้ อีกทั้งบทความนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใดๆ ในการดำเนินการก่อนการเผยแพร่งานวิจัยด้านการลงทุน
  • ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนทั้งหมดด้วยตนเอง Admirals จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะอิงจากเนื้อหาหรือไม่ก็ตาม
  • Admirals ได้กำหนดขั้นตอนภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ด้วยมุมมองที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าและการวิเคราะห์ข้อมูล
  • บทความวิเคราะห์นี้ จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ ผู้ร่วมให้ข้อมูลอิสระ (ต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้เขียน") ตามการประเมินส่วนบุคคล
  • เราพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดเชื่อถือได้และข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอนี้เข้าใจง่าย ทันเวลา แม่นยำ และครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ Admirals จะไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ข้อมูลที่มีอยู่ในการวิเคราะห์
  • ไม่ควรตีความว่าผลการดำเนินงานของเครื่องมือทางการเงินในอดีตหรือแบบจำลองใดๆ ที่ระบุในเนื้อหาว่าเป็นคำแนะนำโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยนัย จาก Admirals สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง และไม่รับประกันการรักษามูลค่าของสินทรัพย์
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับส่วนต่าง; CFD) เป็นการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนหรือกำไร โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี 
TOP ARTICLES
สรุปภาพรวม : การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คืออะไร?
แนวทางการวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ หลักๆ แล้วจะถูกจัดออกเป็น 2 ประเภท คือ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตลาดการเงิน แต่เทรดเดอร์จะนิยม "เทคนิค" มากกว่า เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากพอที่จะสร้างกำไร และประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ในบทความนี้ จะสรุปให้เห็นถึงภาพ...
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน: Fundamental Analysis คืออะไร?
ในโลกของการลงทุนในตลาดการเงิน 'ความรู้คืออาวุธ' ยิ่งถ้าเป็นความรู้เรื่องการวิเคราะห์ "ข้อมูลเชิงคุณภาพ" ที่สามารถระบุถึงอนาคต ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ ข้อมูลที่ลึกซึ้งและไม่สามารถวัดได้จาก "ราคา" เพียงอย่างเดียว ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากข้อมูลเชิงคุณ...
ดูทั้งหมด