CFD คือ ? ส่องวิธีเทรด CFD ที่คุณควรรู้ที่นี่!

Roberto Rivero
30 นาที

CFD คือ ? หากคุณกำลังสนใจการลงทุน โดยเฉพาะการเทรดออนไลน์ คุณมักพบกับคำว่า 'CFD' หรือสัญญา CFD ที่มักมาพร้อมกับคำเตือนที่ว่าการเทรด CFD มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ CFD คือ ตราสารหลักที่ใช้สำหรับการเทรดออนไลน์ ทั้งหุ้นออนไลน์, ค่าเงินฟอเร็กซ์ รวมถึงการเทรดทองออนไลน์อีกด้วย

และถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มตรงไหน บทความนี้จะเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ โดยอธิบายตั้งแต่พื้นฐานว่า CFD คืออะไรไปจนถึงวิธีการเทรด CFD ที่ต่อให้คุณไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุนมาเลย ก็ขอให้เริ่มอ่านจากบทความนี้ ไล่ลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

CFD คือ ?

CFD ย่อมาจาก 'Contract for Difference' (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ซึ่งเป็นสัญญาที่ระบุว่าจะทำการซื้อขายส่วนต่างในราคาของสินทรัพย์ ณ จุดเวลาที่ทำการเปิดสัญญากับจุดเวลาที่ทำการปิดสัญญา

การจะเข้าใจการเทรด CFD นั้น ต้องนึกถึงการลงทุนแบบดั้งเดิม ที่หากคุณต้องการลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง คุณก็จะต้องซื้อหุ้นของบริษัทนั้นที่ราคาหุ้นปัจจุบัน จากนั้นก็รอขายหุ้นนั้นๆ ในราคาที่สูงขึ้น เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย

การเทรดหรือการซื้อขาย CFD ก็ทำด้วยหลักการเดียวกัน นั่นก็คือคุณเข้าไปเปิดออเดอร์เทรดสินทรัพย์ที่ราคาหนึ่งๆ จากนั้นก็รอให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ข้อแตกต่าง คือ การเทรด CFD คุณจะไม่ได้เป็นผู้ถือครองสินทรัพย์นั้นจริง  แต่ CFD คือเครื่องมือ (ตราสารอนุพันธ์) ที่สะท้อนราคาของสินทรัพย์อ้างอิง ทำให้คุณสามารถ "เก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง" โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริงๆ

การเทรด CFD ทำกำไรอย่างไร

หากเราตัดเอาคำศัพท์ทางเทคนิคอย่างเช่น 'สัญญา' และ 'สินทรัพย์อ้างอิง' ออกไป CFD คือตัวสร้างโอกาสในการทำกำไรจากการขึ้นลงของราคาตลาดนั่นเอง

ซึ่งสามารถทำได้โดย

  1. เปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ CFD
  2. ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือแพลตฟอร์มสำหรับเทรด CFD จากโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีด้วย
  3. เลือกประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด
  4. เก็งกำไรโดยคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับขึ้นหรือลง

ตัวอย่างเช่น ราคาทองคำอยู่ที่ $1,500 ต่อออนซ์ และคุณคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น คุณก็สามารถเปิดคำสั่งเทรด 'buy' ในแพลตฟอร์ม MT5 ของคุณได้เลย เมื่อราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น คุณก็สามารถปิดคำสั่ง buy ซึ่งเท่ากับเป็นการขายออก เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย

หากคุณเปิด buy ที่ราคา $1,500 และปิดคำสั่งเทรดเมื่อราคาทองคำปรับสูงขึ้นไปแตะที่ $1,525 คุณก็จะทำกำไรจากการเทรดได้ $25 (นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างแบบง่ายๆ)

ในทางตรงกันข้าม หากคุณคิดว่าราคาทองคำมีแนวโน้มจะตกลง คุณก็ต้องเปิดคำสั่งเทรด 'sell' เมื่อราคาลดลงจริงๆ คุณก็สามารถปิดคำสั่ง sell ซึ่งจะเท่ากับเป็นการ "ซื้อกลับ" หลังจากได้ "ขายก่อน" ไปแล้ว ดังนั้น หากคุณ sell ทองคำที่ราคา $1,500 และปิดคำสั่งเทรดเมื่อราคาทองคำตกลงไปอยู่ที่ $1,450 คุณก็จะทำกำไรจากการเทรดได้ $50

แน่นอนว่า หากตลาดไม่ได้วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับคุณ คุณก็จะขาดทุน ดังนั้น คุณต้องศึกษาหลักการเทรดและเทคนิคการวิเคราะห์ตลาดควบคู่ไปด้วย และเราแนะนำให้คุณทดสอบในบัญชีทดลองเทรด ซึ่งจำลองเงินให้คุณเทรดจนชำนาญได้เรื่อย ๆ คลิกเปิดบัญชีฟรีที่ปุ่มด้านล่าง!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

CFD มีอะไรบ้าง ?

CFD คือ อนุพันธ์ของสินทรัพย์ต่างๆ จึงสามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของตลาดใดๆ ก็ได้ และโบรกเกอร์หลาย เจ้า (รวมถึง Admirals ด้วย) ก็บริการให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดการเงินเป็นพันๆ รายการได้ด้วยแพลตฟอร์มเทรดเดียวเท่านั้น

ตัวอย่างตลาดการเงินที่สามารถเทรด CFD ได้ เช่น คู่สกุลเงิน Forex, หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, คริปโตฯ, ETF, ดัชนีหุ้น, พันธบัตร ฯลฯ ซึ่งนี่ก็รวมถึงการเข้าถึงตลาดที่ไม่อาจเข้าเทรดได้ในรูปแบบอื่นอย่างเช่นตลาดดัชนีหุ้นด้วย

1. CFD Forex

CFD Forex คือ การซื้อขายที่คุณสามารถเทรดคู่สกุลเงินได้หลากหลายคู่ ทั้งคู่สกุลเงินหลัก อย่างเช่น EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY และ AUD/USD คู่สกุลเงินรอง อย่างเช่น EUR/GBP และ AUD/NZD รวมถึงคู่สกุลเงินแปลกใหม่ อย่าง USD/CZK ได้

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นมีการเก็งกำไรและมีความผันผวนสูง ซึ่งเปิดโอกาสทำกำไรให้กับเทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญได้ไม่น้อย โดยตลาด Forex ยังเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์อีกด้วย หมายความว่าคุณสามารถตั้งเวลาเทรดให้สัมพันธ์กับกิจกรรมอื่นๆ ของคุณได้

CFD Forex ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ

  • EUR/USD
  • GBP/USD
  • USD/JPY
  • EUR/GBP

2. CFD ดัชนี

CFD ดัชนี คือ โอกาสทำกำไรที่ดีเยี่ยมอีกทางหนึ่งสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหนหรือในตราสารประเภทไหนดี

ดัชนีหุ้นเป็นเหมือนตัวแทนของหุ้นที่ถูกเลือกขึ้นมาแล้ว (เช่น ดัชนีหุ้น DAX คือตัวแทนหุ้นของบริษัท 40 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P500 จะเป็นตัวแทนหุ้นของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของสหรัฐฯ) โดยดัชนีหุ้นดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัววัดความสามารถของตลาดโดยรวมได้ ซึ่งคุณจะไม่สามารถทำการซื้อหรือขายดัชนีได้ด้วยการลงทุนแบบดั้งเดิม แต่จะสามารถเทรดได้ด้วย CFD ดัชนีแทน

CFD ดัชนีที่ได้รับความนิยมมาก เช่น

  • CFD DAX30 
  • CFD DJI30 (ตัวแทน Dow Jones)
  • CFD FTSE100
  • CFD NQ100 (ตัวแทนดัชนี Nasdaq100)

3. CFD สินค้าโภคภัณฑ์

คุณสามารถเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีทั้งโลหะอย่างเช่นทองคำ และเงิน, พลังงานอย่าง เช่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสินค้าเกษตรกรรมอย่างเช่นกาแฟ, คอตต้อน และน้ำส้ม

ในการลงทุนแบบดั้งเดิมนั้น คุณจะต้องเตรียมเงินที่ต้องจ่ายในปริมาณที่มากกว่ามาก นี่ยังไม่รวมถึงการจัดเก็บสินค้าที่ซื้อมาด้วย แต่สำหรับ CFD สินค้าโภคภัณฑ์นั้นคุณเพียงแต่เทรดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์เท่านั้นโดยที่ไม่ต้องครอบครองสินทรัพย์นั้นจริงๆ

CFD สินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ

  • CFD ทองคำ Spot gold
  • CFD เงิน Spot
  • CFD น้ำมันดิบ Brent
  • CFD น้ำมันดิบ WTI

พร้อมที่จะเทรดแล้วรึยัง เริ่มต้นสู่การเทรดCFD ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง

เทรด Forex & CFDs

เข้าถึงคู่เงินมากกว่า 40+ ซื้อขายได้ตลอด 24/5

4. CFD หุ้น

หุ้นก็สามารถเทรดด้วย CFD ได้เช่นกัน โดยมีข้อดีหลายๆ ประการด้วยกัน ข้อแรกคือในการเทรด long (หรือซื้อ) คุณจะสามารถรับเงินปันผลของหุ้นอ้างอิงในคำสั่งเทรดด้วย CFD ของคุณได้ จึงเหมือนกับการได้รับรายได้อีกต่อหนึ่ง CFD หุ้นก็เหมือนกับ CFD ตราสารอื่นๆ ที่มีข้อดีในเรื่องของเลเวอเรจซึ่งให้คุณสามารถเข้าซื้อขายหุ้นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าตอนที่ใช้การลงทุนแบบดั้งเดิมด้วยเงินทุนที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ยังสามารถเทรด short ใน CFD หุ้นได้ด้วยซึ่งทำให้ทำกำไรได้แม้จะเป็นตลาดขาลงก็ตาม

CFD หุ้นที่ได้รับความนิยม ได้แก่

  • CFD หุ้น Apple
  • CFD หุ้น Facebook
  • CFD หุ้น Google
  • CFD หุ้น Netflix
  • CFD หุ้น Tesla

ข้อดีของการเทรด CFD 

ถึงแม้ว่าจะมีโบรกเกอร์ CFD มากมายที่อยากจะร่ายยาวข้อดีของการเทรด CFD แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะแยกออกว่าอันไหนเชื่อได้อันไหนเชื่อไม่ได้ แล้วทุกอย่างที่โบรกเกอร์เหล่านี้บอกว่านั้นจริงหรือเปล่า หรือเป็นแค่แผนการขายเท่านั้น

ในบทความนี้ คุณจะได้ทราบถึงประโยชน์หรือข้อดีโดยรวมที่น่าเชื่อถือได้ของการเทรด CFD รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเทรด CFD ด้วย

1. การซื้อขาย CFD ช่วยให้ลงทุนเกินจำนวนได้ (เลเวอเรจ)

หนึ่งในข้อดีที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยของ CFD คือการใช้ผลิตภัณฑ์เลเวอเรจ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเข้าถึงตลาดในสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงในบัญชีที่สามารถลงทุนซื้อสินทรัพย์ได้ (หรือที่เรียกว่ามาร์จิ้น/เงินประกันนั่นเอง)

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตราสารที่คุณต้องการเทรด, องค์กรกำกับดูแลในภูมิภาคของคุณ และโบรกเกอร์ที่คุณใช้บริการ ซึ่งสำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพจะสามารถเปิดเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง 500 เท่าของจำนวนเงินในบัญชีของคุณ ส่วนเทรดเดอร์รายย่อยนั้น ในตราสารบางประเภทก็อนุญาตให้สามารถเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง 30 เท่าของเงินทุนที่มีอยู่จริง

ดังนั้น หากคุณมีเงินทุนอยู่ในบัญชี $1,000 และมีเลเวอเรจอยู่ในอัตราส่วน 1:30 คุณก็จะมีเงินทุนเพิ่มขึ้นอีก $30 ในทุก ๆ $1 ในบัญชีของคุณ นั่นหมายถึงคุณสามารถทำการเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง $30,000 เลยทีเดียว

เราลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างการลงทุนทองคำกันอีกครั้ง หากคุณต้องการซื้อทองคำ 1 ออนซ์ซึ่งมีมูลค่า $1,5000 คุณก็จะต้องจ่ายเงินซื้อเป็นจำนวน $1,500 แต่ในการเทรด CFD คุณสามารถเปิดคำสั่งเทรดทองคำในมูลค่าเท่ากันแต่ใช้เงินซื้อเพียงแค่เสี้ยวเดียวของมูลค่าดังกล่าวเท่านั้นเอง

หากคุณเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ CFD ที่ให้ค่าเลเวอเรจ 1:20 ก็หมายความว่าทุก ๆ $1 ในบัญชีของคุณ จะทำให้คุณสามารถเทรดทองคำในมูลค่า $20 ได้ ดังนั้นหากคุณต้องการเปิดคำสั่งเทรดทองคำปริมาณ 1 ออนซ์ที่มูลค่า $1,500 คุณก็จะต้องเตรียมมาร์จิ้นหรือเงินประกันในบัญชีเป็นจำนวน $300

นี่แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะใช้เงินทุนในจำนวนแค่น้อยนิด แต่คุณก็ยังสามารถทำกำไร (หรือขาดทุน) ได้ในปริมาณที่พอๆ กันกับการลงทุนแบบดั้งเดิม จะมีความแตกต่างก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนขั้นต้นจะสูงกว่ามาก แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกันคือเมื่อเทรดเสียก็จะต้องขาดทุนในปริมาณที่มากขึ้นเหมือนกับตอนที่กำไรด้วยเช่นกัน

เทรด CFD ทองคำ การลงทุนแบบดั้งเดิม  
เงินทุนของคุณ $300 $1,500
เปิดคำสั่งเทรด long ทองคำ
ที่ราคา $1,500 และปิดที่ราคา $1,525
ทำกำไรได้ $25
หรือ 8.33%
ทำกำไรได้ $25
หรือ 1.67%
เปิดคำสั่งเทรด long ทองคำ
ที่ราคา $1,500 และปิดที่ราคา $1,450
ขาดทุน $50
หรือ 16.67%
ขาดทุน $50
หรือ 3.33%

คุณจะมองเห็นเลเวอเรจ CFD ในอัตราส่วนระดับต่างๆ ว่าทำงานอย่างไรได้ชัดเจนขึ้นในอินโฟกราฟิกด้านล่างนี้

2. การซื้อขาย CFD สามารถทำกำไรได้ทั้ง 'ขาขึ้น' และ 'ขาลง'

ข้อเสียของการลงทุนแบบดั้งเดิมก็คือ คุณจะสามารถทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อตลาดปรับตัวไปในทิศทางขาขึ้นเท่านั้น หากเกิดวิกฤติในตลาดหรือหนึ่งในสินทรัพย์ที่คุณลงทุนไปมีราคาที่ตกต่ำลง ก็อาจส่งผลในทางลบให้กับพอร์ตการลงทุนของคุณทั้งพอร์ตเลยก็ได้

แต่การเทรด CFD นั้นจะเปิดให้คุณสามารถเทรดได้ทั้ง long และ short หมายความว่าคุณสามารถทำกำไรได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะเป็นตลาดขาขึ้นหรือตลาดขาลง

การเทรด long ใน CFD คือเทรดเดอร์คาดว่ามูลค่าของสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น จึงทำการเปิดคำสั่งเทรด 'buy/ซื้อ' เมื่อสินทรัพย์มีราคาต่ำ จากนั้นก็ทำการขาย (หรือปิดเทรด) ที่ราคาที่สูงกว่าเพื่อทำกำไร (หากตลาดพลิกผันและราคาปรับตัวลดลง ก็จะกลายเป็นขาดทุนแทน)

ที่มา: ทองคำ, กราฟ H4 – MT5 Admirals - กราฟราคาของตราสารการเงินที่ปรากฏในบทความนี้ถูกใช้เพื่อแสดงตัวอย่างและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือคำชักชวนให้ซื้อหรือขายตราสารการเงินใด ๆ โดย Admirals (CFD, ETF, หุ้น) ผลตอบแทนการลงทุนในอดีตไม่ใช่ตัวบ่งชี้ผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

การเทรด short ใน CFD คือ เทรดเดอร์คาดว่ามูลค่าของสินทรัพย์จะลดลง จึงทำการเปิดคำสั่งเทรด 'sell/ขาย' และปิดเทรดที่ราคาต่ำลงเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา หลักการก็เหมือนกับการเทรด long คือเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่าคุณขาดทุนนั่นเอง

ที่มา: EUR/USD, กราฟ H1 – MT5 Admirals - กราฟราคาของตราสารการเงินที่ปรากฏในบทความนี้ถูกใช้เพื่อแสดงตัวอย่างและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือคำชักชวนให้ซื้อหรือขายตราสารการเงินใด ๆ โดย Admirals (CFD, ETF, หุ้น) ผลตอบแทนการลงทุนในอดีตไม่ใช่ตัวบ่งชี้ผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

ด้วยคุณสมบัติของการเทรด CFD ที่สามารถทำการเทรดได้ทั้ง long และ short ทำให้เทรดเดอร์สามารถเลือกทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด

วิธีเทรด CFD เริ่มอย่างไรดี ?

มาถึงตอนนี้คุณคงจะพอเข้าใจกระบวนการและข้อมูลสำคัญของการเทรด CFD ว่าคืออะไร รวมถึงข้อดีข้อเสียแล้วทีนี้คุณอาจจะกำลังสงสัยอยู่ว่าแล้วจะเริ่มเทรด CFD ยังไงดีล่ะ วิธีการเทรด CFD ก็มีขั้นตอนอยู่นิดหน่อย ซึ่งเราได้ทำเป็นคู่มือเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับการเริ่มต้นเทรด CFD ที่คุณสามารถทำตามได้ดังนี้

1. ใครเทรด CFD ได้บ้าง

การเทรด CFD สามารถทำได้ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และมักจะดึงดูดเทรดเดอร์ที่ต้องการ

  1. กระจายพอร์ตลงทุนในส่วนของประเภทสินทรัพย์
  2. กระจายพอร์ตลงทุนในส่วนของกรอบระยะเวลาลงทุน (มีการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว)
  3. ทดลองกลยุทธ์เทคนิคและสไตล์การเทรดแบบต่าง ๆ ทั้งการเทรดภายในหนึ่งวัน (intraday trading), สวิงเทรด และ scalping
  4. เก็งกำไรทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

คุณไม่จำเป็นต้องมีปริญญาหรือมีความรู้ในด้านการเงินก็สามารถลงทุนใน CFD ได้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด, กลยุทธ์เทคนิคการเทรด, การบริหารความเสี่ยง และการบริหารเงินทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เป็นกำไรให้กับการลงทุนของคุณให้ได้มากที่สุด

ด้วยเหตุนี้ ทำไมไม่ลองลงทะเบียนรับความรู้ฟรีในสัมนาการเทรดออนไลน์ Webinar กับ Admirals ดูละ โดยใน Trading Spotlight series ของเรา จะมีเทรดเดอร์มือโปรถึง 3 คนด้วยกันมาร่วมเสวนากับเราถึงสัปดาห์ละ 3 ครั้งในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับการเทรด CFD ที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของตลาด, กลยุทธ์เทคนิคการเทรดสำหรับมือใหม่, จิตวิทยาในการเทรด และอื่น ๆ อีกมากมาย

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

การเทรด CFD กับความเสี่ยง

การเทรด CFD ก็เหมือนกับการลงทุนอื่นๆ ที่จะต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ CFD คือผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณควรจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ CFD เสียก่อนเริ่มเทรด

1. ความเสี่ยงในการเทรด CFD มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยวประการแรกจากการเทรด CFD ก็คือความเสี่ยงด้านตลาด หากตลาดดำเนินไปในทิศทางที่คุณเลือกเทรด ก็จะทำให้คุณได้กำไร แต่ถ้าหากตลาดไม่ได้ดำเนินไปในทิศทางนั้นแต่กลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามเมื่อไหร่ คุณก็ต้องสูญเงินเมื่อนั้น ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกันกับการเทรดและการลงทุนในรูปแบบอื่น

แต่เพราะ CFD นั้นได้ประโยชน์จากการใช้เลเวอเรจ จึงทำให้เมื่อเทรดเสีย จะต้องสูญเงินในจำนวนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนขั้นต้น ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น CFD นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ ซึ่งเพิ่มความสามารถในการเทรดให้คุณเทรดได้ในปริมาณที่มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย จึงเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็เพิ่มมูลค่าการสูญเสียให้มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน หากลงทุนด้วยเงินจำนวน 5,000 ยูโร คุณอาจจะทำกำไรได้มากถึง 50,000 ยูโร แต่ก็มีโอกาสเสียเงินในจำนวนเท่ากันได้ด้วยเช่นกัน

ในตลาดที่มีความผันผวนสูง นี่อาจทำให้เงินในบัญชีของคุณลดลงจนติดลบต่ำกว่า 0 ได้หรือที่เรียกว่าวงเงินติดลบในบัญชี จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโบรกเกอร์ที่มีนโยบายคุ้มครองวงเงินติดลบในบัญชีให้ด้วย

2. เวลาทำการเทรด CFD

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า CFD เป็นเครื่องมือสะท้อนราคาของสินทรัพย์อ้างอิงของมัน ดังนั้นจึงใช้เวลาทำการเทรดสินทรัพย์นั้น ๆ เหมือนกันด้วย จึงอาจมี CFD ในสินทรัพย์บางประเภทที่สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด
ตัวอย่างเวลาทำการของ CFD สินทรัพย์ที่ได้รับความนิยม
  • CFD Forex: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • CFD ดัชนี: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • CFD หุ้น: เวลาทำการขึ้นอยู่กับเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
  • CFD สินค้าโภคภัณฑ์: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • CFD คริปโตเคอเรนซี่: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์

ในหนึ่งสัปดาห์สามารถเทรด CFD Forex, สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีได้ตั้งแต่เที่ยงคืนของคืนวันอาทิตย์ไปจนถึงเวลา 23:00 น.ของวันศุกร์ตามเวลาลอนดอน

ตามปกติแล้ว ช่วงเวลาที่มีการซื้อขายมากที่สุดในการเทรด CFD (ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคามักจะผันผวนมากที่สุด) คือช่วงคาบเกี่ยวของตลาดการเงินต่าง ๆ ดังนั้นเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงถือว่าช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการเทรดก็คือ

  • ลอนดอน: 8:00 – 17:00 น. GMT
  • นิวยอร์ก: 13:00 – 22:00 น. GMT
  • สิงคโปร์: 8:00 – 17:00 น. GMT
  • โตเกียว: 0:00 – 9:00 น. GMT

โดยทั่วไปแล้วเวลาทำการของตลาดฝั่งเอเชียจะเงียบที่สุดในตราสารส่วนใหญ่

3. วันหมดอายุของ CFD

ข้อดีอีกหนึ่งประการของการเทรด CFD ก็คือ CFD ตราสารส่วนใหญ่ไม่มีวันหมดอายุ อาจจะมีบางตลาดที่มีวันหมดอายุในการเทรด แต่สำหรับ CFD หุ้นแล้ว ไม่มีวันหมดอายุ ทำให้คุณสามารถปิดสถานะสัญญา CFD หุ้นเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ

นี่จึงถือเป็นประโยชน์อย่างมากในการเทรดระยะยาว เพราะไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องปิดสถานะสัญญาก่อนที่จะกำไรได้จริงเพราะ CFD กำลังจะหมดอายุ (แต่ก็มีกรณีอื่น ๆ ที่สถานะสัญญาการเทรดของคุณถูกปิดโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อมีเงินทุนไม่เพียงพอในบัญชีสำหรับการเทรด)

แน่นอนว่าต้องมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง อย่างเช่น CFD ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะมีวันหมดอายุของฟิวเจอร์ส แต่ก็ไม่จำเป็นว่าคุณต้องรอจนกว่าจะถึงวันหมดอายุจึงจะปิดสถานะสัญญาฟิวเจอร์สได้ เพราะคุณสามารถปิดสถานะได้เองภายในเวลาที่กำหนด

4. ค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD

อีกหนึ่งสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD ซึ่งมักจะต่ำกว่าวิธีการลงทุนรูปแบบอื่น โดยเราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นถึงการลงทุนแบบดั้งเดิมที่คุณต้องชำระเงินเต็มจำนวนของมูลค่าสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน แต่ในการเทรด CFD คุณสามารถเทรดด้วยมาร์จิ้นหรือเงินประกันขั้นต่ำที่น้อยกว่า

นอกจากนี้ CFD ยังไม่มีค่าธรรมเนียมในการเปิดหรือปิดสถานะสัญญาอีกด้วย แต่โบรกเกอร์ CFD ส่วนใหญ่จะมีการเรียกเก็บในส่วนที่เรียกว่า 'สเปรด' แทน

ถ้าคุณเข้าไปดูแพลตฟอร์มเทรด CFD ใด ๆ ก็ตาม จะเห็นว่ามีราคาแสดงอยู่ 2 ราคาด้วยกัน - ราคาแรกคือราคาที่ซื้อ CFD และราคาที่สองเป็นราคาที่ขาย CFD ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นราคา bid (ซื้อ) และราคา ask (ขาย) โดยจะสังเกตได้ว่ามีส่วนต่างระหว่างราคาทั้งสองอยู่ และส่วนต่างราคานี่แหละที่เรียกว่า 'สเปรด'

เมื่อเปิดคำสั่งเทรด buy/ซื้อ หรือเทรด long คุณจะทำกำไรจากการเทรดนี้ได้ก็ต่อเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงขึ้นไปมากกว่าค่าสเปรดแล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรดทองคำด้วยราคา bid $1,500 และราคา ask $1,501 ราคาทองคำนั้นจะต้องขึ้นไปถึง $1,501 ก่อน คุณถึงจะเท่าทุน และราคาจะต้องขยับขึ้นไปอีก คุณถึงจะทำกำไรจากการเทรดนี้ได้ โดย $1 นี้จะจ่ายให้กับโบรกเกอร์นั่นเอง

ในตราสารบางประเภทอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม อย่างเช่นหุ้นและ CFD หุ้น นอกจากนี้ หากคุณเปิดสถานะสัญญาข้ามคืน คุณก็อาจจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมซึ่งเรียกว่า 'สว็อป' (swap) ด้วย

คุณสามารถคำนวณค่าธรรมเนียมในการเทรด CFD ได้ฟรีด้วย ซึ่งสามารถดูรายละเอียดการคำนวณการเทรด CFD ของเราที่นี่ ซึ่งค่าบริการเหล่านี้ถือว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับค่าบริการนายหน้าในการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์แบบดั้งเดิม

กลยุทธ์การเทรด CFD

หากจะกล่าวถึงรูปแบบวิธีการเทรดแล้ว หนึ่งสิ่งที่จะต้องพูดถึงก็คือสไตล์การเทรด ซึ่งสำหรับ CFD แล้วมีหลายสไตล์ด้วยกัน และหลาย ๆ สไตล์ก็จะเริ่มจากกรอบระยะเวลาที่ต้องการเทรด ตั้งแต่ scalping ที่จะมีการเทรดซื้อขายภายในไม่กี่นาที ไปจนถึงการเทรดระยะยาว

1. เลือกระเบียบวิธีในการเทรด CFD ของตัวเอง

เมื่อคุณเตรียมเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการเทรดครบพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือระเบียบวิธีการเทรด CFD ของคุณ เนื่องจากมีโอกาสทำกำไรจากการเทรดมากมายในหลาย ๆ ตลาดการเงิน คุณจึงต้องมีแผนเข้าเทรดทำกำไรเตรียมเอาไว้

ต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบที่ควรนำไปพิจารณาเพื่อเลือกใช้ในระเบียบวิธีการเทรดของคุณ

  • กิจวัตรประจำวัน: คุณจะเข้าดูติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงเวลาไหนของแต่ละวัน แล้วจะคอยติดตามดูอยู่เรื่อย ๆ หรือจะให้มีการเปิดปิดคำสั่งเทรดอัตโนมัติไปเลยในตอนที่คุณไม่ได้เฝ้าอยู่ที่หน้าจอ
  • สไตล์การเทรด: คุณเป็นเทรดเดอร์ประเภทไหน เป็นเดย์เทรดเดอร์, scalper, สวิงเทรดเดอร์หรือต้องการเทรดแบบระยะยาว
  • ตลาดที่เทรด: คุณต้องการเทรดในตลาดไหน ตลาดหุ้น, ตลาด Forex, ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์, ตลาดดัชนี หรือตลาดคริปโต
  • กลยุทธ์เทคนิคการเทรด: คุณจะทำการตัดสินใจเทรดอย่างไรในการเข้าซื้อ, ขาย หรือออกจากสถานะสัญญาเมื่อทำกำไรได้หรือขาดทุน
  • การบริหารความเสี่ยง:จะต้องมีการกำหนดขนาดของสถานะสัญญา, จุดหยุดขาดทุน และจุดทำกำไรเพื่อจำกัดความเสี่ยงในการเทรดของคุณ
  • ข้อมูลสนับสนุน: คุณเพิ่มความรู้ด้านการเทรดให้กับตนเองบ่อยแค่ไหน ได้เข้าอ่านบทความที่ให้ความรู้ และการสอนเทรดต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเทรดให้กับตนเองหรือไม่

คุณอาจจะยังไม่ทราบคำตอบของคำถามบางข้อข้างต้นในตอนนี้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราจะอธิบายเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับสไตล์การเทรด, การเทรดด้วยตนเอง vs การเทรดอัตโนมัติ และชนิดของการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยหาคำตอบให้คุณได้อย่างแน่นอน

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากก็คือการเทรดนั้นต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ดังนั้นการเปิดบัญชีเทรดจริงหรือบัญชีทดลอง และคอยสังเกตดูว่าตลาดมีความเคลื่อนไหวอย่างไร จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับการเทรดในตลาดการเงินต่าง ๆ ของโลกได้มากยิ่งขึ้น

2. CFD scalping

'Scalping' คือรูปแบบการเทรดอย่างหนึ่งซึ่งเทรดเดอร์มักจะเปิดและปิดคำสั่งภายในไม่กี่นาที ในกรณีส่วนใหญ่เทรดเดอร์แบบ scalping จะทำกำไรได้แค่ไม่กี่ pip ต่อเทรด (1 pip เท่ากับ 0.0001 ของมูลค่า CFD) ดังนั้นเทรดเดอร์ประเภทนี้มักจะต้องเทรดในปริมาณมาก และใช้เลเวอเรจสูงเพื่อให้ได้ปริมาณกำไรมากๆ

นี่ถือเป็นสไตล์การเทรดที่น่าตื่นเต้นไม่น้อยสำหรับตลาดที่มีความผันผวนสูง แต่ก็เป็นสไตล์การเทรดที่เสี่ยงมากเช่นกัน เพราะคุณอาจจะสูญเงินอย่างรวดเร็วพอ ๆ กับตอนที่ทำกำไรได้ ดังนั้นการเทรดสไตล์ scalping จึงไม่ค่อยเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่นัก สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่แล้วควรจะเริ่มที่การเทรดแบบระยะยาวจะดีที่สุด แต่หาการใจเรื่องการเทรดแบบ Scalping สามารถอ่านเพิ่มเติมที่นี่

การเทรด CFD ระยะสั้น

CFD ถือว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ไม่น้อยสำหรับการเทรดระยะสั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้คุณทำกำไรได้มากขึ้นจากการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงระยะสั้นของตลาดหุ้น, ตลาดดัชนี หรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก

หากคุณกำลังคิดจะลองเทรดระยะสั้นดู หรือเทรดแบบ scalping สิ่งจำเป็นคือควรเลือกโบรกเกอร์ CFD ที่มีการดำเนินคำสั่งที่รวดเร็ว โบรกเกอร์ที่ดีจะต้องสามารถดำเนินคำสั่งเทรดได้ในเวลาน้อยกว่าวินาที เพราะความรวดเร็วในการดำเนินคำสั่งนั้นมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการเทรดในตลาดการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3. Day CFD Trading (เทรด CFD แบบเดย์เทรด)

เดย์เทรด ก็คือการเทรดที่มีการเปิดและปิดคำสั่งภายในหนึ่งวัน ดังนั้นคำสั่งเทรดหนึ่งอาจจะกินเวลาหลายๆ ชั่วโมงได้ เดย์เทรดเดอร์มักจะพยายามเทรดในช่วงที่ทิศทางตลาดมีการพลิกผันซึ่งในบางครั้งจะมีความคล้ายกับ scalping อยู่ด้วย เพราะเป็นการเทรดตามทิศทางตลาด แต่จะใช้กรอบระยะเวลาการเทรดที่นานกว่า

4. Swing trading สำหรับ CFD (เทรด CFD แบบสวิงเทรด)

Swing trading เป็นสไตล์การเทรดที่มีกรอบระยะเวลาตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 1 สัปดาห์ เป้าหมายของสวิงเทรดก็คือการหาประโยชน์จากโมเมนตัมของตลาดว่าจะเป็นตลาดกระทิง (ตลาดขาขึ้น) หรือตลาดหมี (ตลาดขาลง)

5. การเทรด CFD แบบระยะยาว

สำหรับการเทรด CFD 'ระยะยาว' จะหมายถึงการเทรดใด ๆ ที่ยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ แม้ว่าการเทรดแบบระยะยาวจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตัดสินใจเทรดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเทรดเดอร์ที่เทรด CFD ในสไตล์นี้มักจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และข้อมูลโดยรวมที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดเสียมากกว่า

6. การเทรด CFD แบบเทรดด้วยตัวเอง vs เทรดอัตโนมัติ

นอกเหนือจากสไตล์การเทรดแล้ว วิธีเทรดที่เทรดเดอร์เลือกใช้ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลือกใช้วิธีเทรดด้วยตนเองและเทรดอัตโนมัติ

การเทรด CFD แบบเทรดด้วยตนเอง

ในการเทรด CFD แบบเทรดด้วยตนเอง เทรดเดอร์จะต้องทำการตัดสินใจเปิดคำสั่งซื้อหรือขายด้วยตนเอง และจะต้องทำการคลิกส่งคำสั่งเทรดด้วยตนเองเช่นกัน (หรือตั้งค่าล่วงหน้าสำหรับจุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไร)

สำหรับการตัดสินใจเทรดนั้น เทรดเดอร์สามารถเอาการวิเคราะห์รูปแบบต่าง ๆ มาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน, การวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือการวิเคราะห์ Wave เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่าเทรดเดอร์มือใหม่ควรเริ่มจากการใช้กลยุทธ์เทคนิคการเทรดแบบเทรดด้วยตัวเองก่อน เพราะถือเป็นวิธีที่ดีที่จะเรียนรู้ตลาดและการทำงานของตลาด แต่การเทรดรูปแบบนี้อาจจะมีความซับซ้อนอยู่สักหน่อยเนื่องจากเทรดเดอร์มือใหม่ยังมีกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่ไม่ชัดเจนพอ จึงทำให้ทำกำไรได้น้อยต่อการเทรด

การเทรด CFD แบบเทรดอัตโนมัติ

การเทรดนั้นสามารถใช้โปรแกรมช่วยเทรดอัตโนมัติบางส่วนหรือทั้งหมดเลยก็ได้ บางโปรแกรมก็จะเน้นแจ้งจุดหรือโอกาสที่จะทำกำไรได้ให้กับเทรดเดอร์ ส่วนบางโปรแกรมก็อาจจะทำการเปิดและปิดคำสั่งแทนเทรดเดอร์ไปเลยก็ได้

โปรแกรมเหล่านี้จะใช้อัลกอริธึมที่กำหนดขึ้นโดยเทรดเดอร์ซึ่งจะระบุเวลาที่ดีที่สุดที่จะเข้าหรือออกจากการเทรด ข้อดีหลัก ๆ ของการเทรดวิธีนี้คือสามารถกำจัดอารมณ์ความรู้สึกออกจากการเทรดได้และบังคับให้คุณปฏิบัติตามกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่กำหนดไว้ไปในตัว

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

การวิเคราะห์ CFD: จะวิเคราะห์ตลาด CFD อย่างไร

การวิเคราะห์ CFD นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่

การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะย้อนรอยเสมอ ดังนั้นการวิเคราะห์รูปแบบราคาในอดีตจะช่วยทำนายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของราคา CFD ในอนาคตได้

ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นจะเน้นไปที่ข่าวและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอาจส่งผลต่อสภาวะตลาด CFD

CFD คือ ? และวิธีการเทรด CFD จะต้องเริ่มอย่างไร ?

อย่างที่ได้เห็นกันไปแล้วว่าการเทรด CFD (หรือ Contracts of Difference/สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ได้เปิดโอกาสในการทำกำไรในตลาดหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน โดยใช้เงินลงทุนเพียงน้อยนิด มีการใช้เลเวอเรจที่จะช่วยเพิ่มปริมาณผลกำไรที่จะได้ และความสามารถในการเทรด short หรือ long เพื่อทำกำไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าการเทรด CFD ก็เหมือนกับการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ ที่มีโอกาสที่จะขาดทุนพอ ๆ กับการทำกำไรได้

จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องมีความรู้ในเรื่องการเทรด CFD, เรื่องตลาด, มีกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่น่าเชื่อถือ และมีแพลตฟอร์มเทรดที่รวดเร็วซึ่งจะช่วยเพิ่มการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด

CFD คือ ? และคำถามที่พบบ่อย

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเทรด CFD คือ ?

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรความเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคตของสินทรัพย์อ้างอิง โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือรับส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงจริงๆ CFD มีไว้สำหรับสินทรัพย์อ้างอิงหลายประเภท เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

ควรถือ CFD ไว้นานแค่ไหน ?

สัญญา CFD ไม่มีวันหมดอายุ นักลงทุนจึงสามารถถือครองตำแหน่ง CFD ที่เปิดอยู่ได้อย่างไม่มีกำหนด แต่จะต้องจ่ายหรือรับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนที่เชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อาศัย

 

ซื้อขาย CFD ยากไหม ?

การเทรดหรือการซื้อขาย CFD นั้นน่าดึงดูดสำหรับเดย์เทรดเดอร์ที่สามารถใช้เลเวอเรจเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ที่มีราคาแพงกว่าในการซื้อและขาย

นอกจากนี้ CFD คือการเทรดที่ค่อนข้างมีความเสี่ยง เนื่องจากมีกฎระเบียบทางอุตสาหกรรมที่ต่ำ การอาจมีการขาดสภาพคล่องได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นในการรักษามาร์จิ้นให้เพียงพอจากการสูญเสียจากเลเวอเรจจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับมือใหม่ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้

 
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รู้จักกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

Disclaimer: เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
Lot คือ : รู้จักกับ Forex Lot และการคํานวณ Lot Size
Lot คือ คำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex หรือสินค้าอ้างอิงใดๆ ที่เทรดผ่านสัญญา CFD ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, น้ำมัน หรือแม้แต่หุ้นรายบริษัท และหากเทรดโดยใช้ตราสาร CFD ก็จะต้องเทรดด้วยหน่วยของ Lot อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้ จะอธิบายว่า Lot คืออะไร คํานวณ Lot และการคํานวณ Lot Size สำคัญอย่างไร และจะส...
รูปแบบแท่งเทียนและคู่มือการอ่านกราฟแท่งเทียนใน Forex และตลาดหุ้น
รูปแบบแท่งเทียนและกราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ทำให้มองเห็นสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมราคาได้ง่ายขึ้น การใช้กราฟแท่งเทียนแบบญี่ปุ่นสำหรับกรอบระยะเวลาในการเทรดจะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจอารมณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น ต้องขอบคุณ Steve Nison ที่ทำให้เราได้รู้จักนำเอากราฟแท่งเทียนเข้ามาใช้ในการเทรดเพื่อให้ได...
เรียนรู้วิธีการเป็นนักเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ
การซื้อขาย Forex สามารถเข้าถึงได้ง่ายน่าตื่นเต้นศึกษาและมอบโอกาสมากมายให้ผู้ค้า แม้จะมีทั้งหมดนี้ผู้ค้าจำนวนมากยังล้มเหลวในการเรียนรู้วิธีที่จะกลายเป็นผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จและยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในตลาดนี้ ในความเป็นจริงแล้วผู้ค้า Forex จำนวนมากสูญเสียเงิน การเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยน Forex และการเ...
ดูทั้งหมด