ข่าว Forex ประเภทต่างๆ และความหมายในปฏิทินเศรษฐกิจ

Alexandros Theophanopoulos
10 นาที

รู้จักกับข่าว Forex

สำหรับการเทรดหรือลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือตลาดค่าเงิน (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดค่าเงินได้ทีบทความ : Forex คือ) เทรดเดอร์จะต้องพบเจอคำว่า "ข่าว Forex" เนื่องจากเป็นสิ่งที่มักจะตัดสินความเป็นความตายให้กับการเทรดระยะสั้นๆ โดยเฉพาะบรรดา Day Trading ซึ่งความจริงแล้ว ชื่ออย่างเป็นทางการจริงๆ เวลาที่คนบอกว่า "อย่าลืมดูข่าว Forex" คือสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิทินเศรษฐกิจ" (Economic Calendar)

ปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) คือ กำหนดการอย่างเป็นทางการในการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ข่าวสําคัญ Forex ต่างๆ ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อถัดไป

สำหรับเฉพาะเทรดเดอร์ โดยเฉพาะในเมืองไทยนั้น เหตุผลที่เรานิยมเรียก "ปฏิทินเศรษฐกิจ" ว่าเป็นข่าว Forex ก็เพราะว่า การประกาศสิ่งต่างๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ มักจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน หรือ Forex หรืออธิบายในมุมกลับกันก็คือ เพราะตลาด Forex นั้นอ่อนไหวต่อการประกาศตัวเลขในปฏิทินเศรษฐกิจ เราจึงนิยมเรียกปฏิทินดังกล่าวว่า "ข่าว Forex" 

ภาพจากปฏิทินข่าว Forex จะเห็นว่า มีหัวข้อที่จะประกาศมากมาย ตั้งแต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค, อัตราการว่างงาน ไปจนถึงตัวเลขเงินเฟ้อ

 

ข่าว Forex สำคัญอย่างไร

โปรดทราบว่า ต่อไปนี้เราจะเรียก "ปฏิทินเศรษฐกิจ" ด้วยคำว่า "ข่าว Forex" เพื่อความสะดวก โดยตัวเลขที่ประกาศในตารางข่าว Forex นั้น คือ ข้อมูลที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ รวมถึงแนวทางที่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจจะดำเนินการกับประเทศดังกล่าว ดังนั้น

  • ข่าวฟอเร็กซ์ต่างๆ ที่ประกาศในปฏิทิน จึงเป็นข้อมูลที่เราจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข่าว Forex รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) อีกด้วย
    • ข่าวฟอเร็กซ์เกือบทุกข่าวจะส่งผลต่อแนวโน้มของคู่เงิน Forex ในระยะสั้นหรือทันที!
    • ข่าวฟอเร็กซ์บางข่าวจะส่งผลต่อแนวโน้มระยะยาวของคู่เงินต่างๆ
    • ข่าวฟอเร็กซ์จะส่งผลต่อตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพวก GDP, PMI

ตัวอย่างจากการอ่านข่าว Forex ในวันจันทร์ที่ 22 June 2020 ณ เวลา 21.00 น. มีการประกาศตัวเลข Existing Home Sales (May) ของสหรัฐฯ ซึ่งตัวเลขคาดการณ์เชื่อว่า ยอดขายน่าจะอยู่ประมาณ 4.12 ล้านอาคาร ในขณะที่ตัวเลขจริงๆ ประกาศออกมาเพียง 3.91 ล้านอาคารเท่านั้น ในการวิเคราะห์ข่าว Forex นั้นหมายความว่า ตัวเลขที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ขายได้น้อยลง หรือ ตัวเลขสหรัฐฯ ออกมาแย่! ลองพิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในภาพ 1.2 ด้านล่าง

ภาพจาก กราฟ EURUD ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 16 - 25 June 2020, จะเห็นว่า เมื่อตัวเลขสหรัฐฯ ออกมาแย่ สกุลเงินที่เป็นคู่ตรงข้ามอย่าง Euro ก็แข็งค่าขึ้นทันที และก็ยังกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นต่อไปอีกเป็นวันๆ

 

ดูข่าว Forex ได้จากไหน

โบรกเกอร์ Admirals ให้จัดเตรียมตารางข่าว Forex ให้ดูเรียบร้อยแล้ว ที่หน้าเว็บไซต์ให้เลือกแท็บ "การวิเคราะห์" แล้วเลือก "ปฏิทิน Forex" หรือสามารถเข้าโดยตรงได้ที่ลิงค์ : https://admiralmarkets.sc/th/analytics/forex-calendar

โดยปฏิทินข่าวเศรษฐกิจดังกล่าว จะแสดงกำหนดการทั้งหมดและของทั้งเดือนว่า ในแต่ละสัปดาห์จะมีประกาศตัวเลขอะไรที่สำคัญบ้าง และประกาศตอนกี่โมงตามเวลาประเทศไทย และที่สำคัญเลยก็คือ จะมีการอัปเดตข้อมูลตัวเลขแบบ Real-Time และ นอกจากนี้ในข่าว Forex ยังได้มีการ Guide คร่าวๆ ไว้ด้วยแล้วว่า "ข่าวไหนสำคัญ" หรือการข่าว Forex ดูที่ไหน ซึ่งเราจะได้อธิบายต่อไป

วิธีการดูข่าว Forex จากหน้าเว็บไซต์ เริ่มจากเลือก "การวิเคราะห์" แล้วเลือก "ปฏิทิน Forex"

ส่วนประกอบต่างๆ ของปฏิทิน

เมื่อคุณเข้าไปที่นข่าว Forex ในลิงค์ https://admiralmarkets.sc/th/analytics/forex-calendar แล้ว คุณจะพบเจอกับตารางกำหนดการการประกาศข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ดังภาพด้านล่าง

ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของข่าว Forex

 

  1. ตรงนี้คือโซนเวลา ให้เราเลือก Asia/Bangkok เพื่อให้เวลาที่แสดง เป็นเวลาตามประเทศไทย
  2. เวลาในส่วนนี้ปกติจะเป็นเวลา ณ วันที่คุณเปิดเข้ามา แต่คุณสามารถเลือกวันเวลาล่วงหน้าได้ เช่น ในกรณีนี้ ได้เลือกวัน จ-ศ ของสัปดาห์หน้า เพื่อดูว่าในสัปดาห์หน้ามีประกาศอะไรบ้าง เราจะได้วางแผนล่วงหน้าได้
  3. ปุ่มนี้ต้องกดหลังจากเลือกเวลาเสร็จแล้ว
  4. เวลาที่จะมีการประกาศ
  5. ข้อมูลตรงนี้จะบอกว่า เป็นประกาศจากหน่วยงานรัฐของประเทศไหน เช่น EUR ก็เป็นหน่วยงานด้านสถิติของยุโรปที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนั้นๆ ของ ซึ่งวิธีการดูง่ายๆ คือ ให้ดูธงว่าเป็นธงของประเทศไหน เพราะตัวเลขที่ประกาศนั้น จะส่งผลต่อสกุลเงินของประเทศนั้น
  6. ค่าความผันผวน : ตรงนี้จะเป็นตัว Guide ให้เราคร่าวๆ ว่า ข่าวไหนมีความสำคัญ ถ้ามี 1 ดาว (สีเขียว) ก็คือเป็นข่าวทั่วๆ ไป แต่เป็น 2-3 ดาว (สีส้ม, แดง) จะเป็นข่าวที่สำคัญและส่งผลต่อมุมมองในเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งจะได้อธิบายอย่างละเอียดต่อไป
  7. ชื่อเหตุการณ์ตรงนี้จะบอกว่ามันคือ "ข่าวอะไร"
  8. ตัวเลขคาดการณ์ และตัวเลขที่ประกาศออกมา ซึ่งในกรณีที่เราดูล่วงหน้าไปหลายๆ สัปดาห์ ตัวเลขคาดการณ์เหล่านี้จะยังไม่มีแสดงออกมา ต้องรอใกล้ๆ 2-3 วัน ก่อนการประกาศ
  9. ส่วน A, B เป็นส่วนที่มีความสำคัญน้อย โดย A จะเป็นเพียงการเลือกประเทศต่างๆ ที่แสดงในตารางข่าว Forex ซึ่งปกติระบบจะเลือกประเทศที่สำคัญทั้งหมดไว้ให้แล้ว ส่วน B จะเป็นตัวเลขทีประกาศก่อนหน้า ตรงนี้จะสำคัญก็ต่อเมื่อคุณมีการทำข้อมูลย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์อย่างละเอียด

วิธีการอ่านค่าความผันผวน 1-3 ดาว

จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า ตัวเลขเศรษฐกิจพวกนี้จะมีประกาศออกมาทุกวัน แต่ไม่ใช่ทุกข่าวที่มีความสำคัญ ตัวเลขบางอย่างไม่ได้จำเป็นหรือบ่งบอกอะไรที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ตารางข่าวของ Admirals จึงได้สรุปและแบ่งข่าวออกเป็น 3 ระดับ

  • 1 จุด : สีเขียว - มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : น้อย
    มีผลกระทบน้อยมาก หรือความจริงคือแทบจะไม่มีผลกระทบอะไรเลย เป็นตัวเลขที่ไม่สำคัญและไม่สามารถสะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้

  • 2 จุด : สีส้ม - มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : พอสมควร

    ณ วินาทีที่ประกาศ มักจะสร้างความผันผวนในระดับหนึ่ง แต่ไม่มากนัก โดยความสำคัญของข่าวสีส้ม คือมันเป็นตัวเลขที่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจได้ดี หากมีข่าว Forex 2 จุด ประกาศไปในทิศทางเดียวกันหลายๆ ข่าว ก็ย่อมเชื่อได้ว่า เศรษฐกิจเป็นแบบนั้นจริงๆ อย่างไรก็ตาม ข่าวสีส้มหรือ 2 จุด จะไม่ใช่ตัวเลขที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะ

    • มักเป็นตัวเลขของบางอุตสาหกรรม, บาง Sector ที่สำคัญ (แต่ยังไม่สะท้อนภาพรวมทั้งหมด)
    • มักเป็นตัวเลขที่ต้องการการยืนยันแนวโน้มจากตัวเลขอื่นๆ เช่น Personal Spending มักต้องการการยืนยันจากตัวเลขเงินเฟ้อหรือยอดค้าปลึก อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องจำให้ได้ทั้งหมด
    • อาจเป็นเพียงการแสดงความเห็นของคณะกรรมการในธนาคารแห่งชาติบางท่านเท่านั้น
    • อาจเป็นตัวเลขที่สำคัญก็จริง แต่ไม่ใช่ตัวเลขที่ประเทศนั้นๆ ใช้พิจารณาในการกำหนดนโยบาย เช่น Unemployed Rate ถ้าเป็นของสหรัฐฯ จะเป็น 3 จุด แต่ถ้าเป็น Unemployed Rate ของสหภาพยุโรป จะอยู่ในกลุ่ม 2 จุด

  • 3 จุด : สีแดง - มีผลกระทบ ณ วินาทีที่ประกาศ : ตลาดจะผันผวนสูงมากและมีความสำคัญมากที่สุดข่าว Forex ในกลุ่มนี้ จะเป็นตัวเลขที่สร้างความผันผวนให้ตลาดอย่างมาก ณ วินาทีที่ประกาศ และเป็นตัวเลขที่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมได้ชัดเจน มักเป็นตัวเลขที่ธนาคารกลางจะใช้พิจารณาว่า เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี? หรือจะต้องกำหนดนโยบายอย่างไร? ให้สังเกตว่า ข่าว 3 จุด มักเป็นอะไรที่เป็น "หัวใจ" ของเศรษฐกิจ เช่น Balance of Trade, Interest Rate, GDP
ภาพสีหรือจุดของแต่ละข่าวที่แตกต่างกัน

 

จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ในวันดังกล่าว มีข่าว "CAD" ที่เป็นสีแดงหรือ 3 จุด ในเวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย นั่นหมายความว่า หากคุณกำลังเทรด โดยเฉพาะการ Daytrade หรือ Scalping ในคู่เงินใดๆ ที่มี CAD อยู่ เช่น USDCAD, CADJPY, AUDCAD เป็นต้น คุณต้องจับตา "วินาที" ที่มีการประกาศตัวเลขในตอน 19.30 น. เพราะหากตัวเลขดี ค่าเงิน CAD ก็จะแข็งค่าขึ้น

การที่ Balance of Trade ของแคนาดา ออกมาดี ก็ย่อมหมายถึง ประเทศแคนาดาสามารถส่งออกได้มากกว่านำเข้า ทำให้ยอดผลรวมกลายเป็นบวก ในกรณีนี้เราอาจต้องพิจารณาข่าวนอกตารางอื่นๆ ว่า ปัจจัยใดที่ทำให้แคนาดาส่งออกได้เยอะ เช่น หากราคาน้ำมันเป็นแนวโน้มขาขึ้น แคนาดาส่งออกน้ำมันเยอะ ย่อมได้เงินในส่วนของบัญชี Export เยอะกว่าปกติ ซึ่งถ้าทุกอย่างสอดคล้องกัน ตัวเลข Balance of Trade ที่ออกมาดี ก็ย่อมทำให้มุมมองของค่าเงิน CAD ในระยะยาวเป็นบวก

เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีทดลองเทรด MT5

เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals จะทราบกันดีอยู่แล้วว่า พวกเขาสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) คุณสามารถทดลองกลยุทธ์ใหม่ๆ เทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ คำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ซึ่งจะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

ข่าวฟอเร็กซ์มีอะไรบ้างที่สำคัญ

  • การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls)
    • Nonfarm Payrolls นั้นเรียกได้ว่า เป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะคนที่เทรดตลาดหุ้นอเมริกา และส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสกุลเงิน U.S.Dollar และแน่นอนว่า มันส่งผลกระทบต่อสกุลเงินอื่นๆ ที่เป็นคู่ตรงข้ามกับดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงคนที่ต้องเทรดทองคำอีกด้วย ตัวเลขนี้ดูแลโดยสำนักงานสถิติสหรัฐฯ (Bureau of Labor Statistics) โดยจะประกาศทุกวันศุกร์ของสัปดาห์แรกของทุกเดือน
    • ตัวเลข Nonfarm Payrolls คือ "ตัวเลขการจ้างงาน" ของสหรัฐฯ ซึ่งจะนับรวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ, อุตสาหกรรม, คนทำงานออฟฟิศ ฯลฯ แต่จะไม่นับรวมคนที่เรียกว่า "Nonfarm" หรือภาคการเกษตรและครัวเรือน รวมถึงกลุ่ม NGOs ต่างๆ ด้วย โดยจะเป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงว่า มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนมากน้อยขนาดไหนเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
    • Nonfarm Payrolls สะท้อนนัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะหากตัวเลขเพิ่มขึ้น แปลว่ามีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า มีคนมีงานทำมากขึ้น มีรายได้เมื่อนำมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว นอกจากนี้ นัยสำคัญอีกประการของ Nonfarm Payrolls คือความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจ เพราะหากมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ก็แปลว่า เจ้าของธุรกิจมีความพร้อมและความมั่นใจที่จะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป
    • หาก Nonfarm Payrolls ประกาศออกมา "ดีกว่าคาดการณ์" จะทำให้ U.S. Dollar แข็งค่าขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้รับผลเชิงบวก แต่จะส่งผลลบต่อ "ทองคำ"
    • แต่หาก Nonfarm Payrolls ประกาศออกมา "แย่กว่าคาดการณ์" จะทำให้ U.S. Dollar อ่อนค่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้รับผลเชิงลบ แต่จะส่งผลดีต่อ "ทองคำ" เพราะทองคำเป็นคู่ตรงข้ามกับดอลลาร์
  • Unemployment Rate
    • ตัวเลขนี้คือ "อัตราการว่างงาน" เรื่องนี้สำคัญมากๆ แต่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน โดยว่าการประกาศ Unemployment Rate ออกมามีตัวเลขที่สูง ก็แปลว่า "คนตกงานเยอะ" นั่นจะส่งผลเสียต่อทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาพกราฟ Gold ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 25 May - 9 June, ให้สังเกตลูกศรสีน้ำเงิน นั่นคือจังหวะ ณ วินาทีที่มีการประกาศตัวเลข Nonfarm Payrolls ในวันศุกร์ที่ 5 June 2020 แค่เพียงแท่งเทียนแท่งเดียว (กราฟ 1 ชั่วโมง) ราคาทองคำก็ปรับตัวลงกว่า 1.37% หรือประมาณ 230 Pips เนื่องจากตัวเลขสหรัฐฯ ประกาศออกมา "ดีกว่าคาดการณ์" ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และทองคำก็ปรับตัวลดลง
  • อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Decision)
    • การประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง หมายถึง ดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เพื่ออ้างอิง หรือส่งสัญญาณให้ธนาคารเอกชนต่างๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยนโยบาย การปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมันจะส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ต่างๆ ผลตอบแทนจากเงินฝาก ฯลฯ และส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินอีกด้วย
    • ในที่นี้ จะอธิบายหลักการพื้นฐานคร่าวๆ โดยหากประเทศไหนมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำๆ มันจะหมายถึง ทั้งต่ำทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ หากภาคธุรกิจสามารถกู้เงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ก็มีแนวโน้มที่จะมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อไปทำธุรกิจมากขึ้น และเมื่อมีการลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มขยายตัว ดังนั้น
      • หากมีการประกาศ "ลดอัตราดอกเบี้ย" = กระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมเงิน มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะขยายตัว
      • หากมีการประกาศ "ขึ้นอัตราดอกเบี้ย" = ดึงคันเร่งทางเศรษฐกิจ แนวโน้มการกู้ยืมเงินจะหดตัว เศรษฐกิจจะค่อยๆ ชะลอตัวลง
    • โดยทั่วไป หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม การลดอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นสูง แต่ค่าเงินมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลง เนื่องจากผลตอบแทนจากพันธบัตรต่ำลง เม็ดเงินบางส่วนจึงไหลออกจากตลาดพันธบัตร อย่างไรก็ตาม หากตลาดไม่ได้เห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ย เช่น มองว่า การลดดอกเบี้ยอาจทำให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรง ผลลัพธ์ก็อาจตรงกันข้าม ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวลงได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญของเรื่องอัตราดอกเบี้ย คือต้องเข้าใจสภาวะรวมๆ ก่อนว่า ณ เวลานั้น ตลาดต้องอะไร? โดยหากตลาดเชื่อว่า การลดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจดี เมื่อมีการประกาศลดดอกเบี้ย ก็จะทำให้ผลลัพธ์ตรงตามตำราทุกประการ
    • ในทางตรงกันข้าม การขึ้นดอกเบี้ย ก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยจากตราสารหนี้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการไหลเข้าของกระแสเงินไปสู่ตลาดพันธบัตรของประเทศที่ขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ย ส่วนใหญ่ทำเพื่อควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดสภาวะเงินเฟ้อ โดยกลไกก็คือพอขึ้นดอกเบี้ยแล้ว มันจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินเพิ่มสูงขึ้น ภาคธุรกิจก็จะกู้น้อยลง และเมื่อมีการลงทุนน้อยลง เศรษฐกิจก็จะค่อยๆ หดตัว

อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่เรื่องมี "ตายตัว" แต่โดยพื้นฐาน (หากเป็นสภาวะที่เหมาะสมหรือปกติ) การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่วนการลดดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง แต่อย่างที่อธิบายไปแล้ว หากเป็นสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ปกตินัก เราจำเป็นต้องเข้าใจว่า ตลาดในช่วงนั้นต้องการนโยบายแบบไหน

  • อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP)
    • ตัวเลขนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่ทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product แปลเป็นไทยว่า "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ" แนวคิดของ GDP คือการวัด "มูลค่ารวม" ของสินค้าและบริการของประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ดังนั้น GDP ที่มากขึ้น ย่อมหมายถึง มีการลงทุนและมีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งย่อมจะต้องสอดรับกับความต้องการของประชาชน ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ดังนั้น GDP ที่เป็นบวก จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
  • อัตราเงินเฟ้อ (CPI)
    • CPI ย่อมาจาก Consumer Price Index ซึ่งเป็นการวัด "อัตราการเปลี่ยนแปลง" ของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคใช้เป็นประจำหรือเป็นปัจจัย 4 เช่น อาหาร, ค่าเช่า, ค่าเดินทาง, ต้นทุนเชื้อเพลิง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราเรียกมันว่า "อัตราเงินเฟ้อ" (Inflation) นั่นเอง
    • ทั้งนี้ ในสภาวะที่เศรษฐกิจเป็นปกติ คือไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ขยายตัวจนแทบจะเป็น "ฟองสบู่" หรือตกต่ำและถดถอยมาอย่างต่อเนื่อง ตัวเลข CPI จะสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจาก หากประชาชนมีรายได้ที่ดี ก็จะทำให้มีการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการต่างๆ และเมื่อมี Demand ในสินค้าเหล่านั้นมากๆ ก็จะทำให้ราคาของสินค้าและบริการค่อยขยับตัวขึ้น ดังนั้น CPI ก็เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปจะหมายถึง เศรษฐกิจกำลังขยายตัว ดังนั้น
      • หากตัวเลข CPI ประกาศออกมาเป็นบวกหรือเขียว = ค่าเงินของประเทศนั้นๆ มักจะแข็งค่าขึ้น
      • หากตัวเลข CPI ประกาศออกมาเป็นลบหรือแดง = ค่าเงินของประเทศนั้นๆ มักจะอ่อนค่าลง
    • อย่างไรก็ตาม หากเป็นสภาวะที่ไม่ปกติ เช่น เป็นกรณีที่อยู่ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) การที่ CPI หรือเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้ส่งผลดีนัก เพราะหากประชาชนไม่มีรายได้เพียงพอ การที่ภาพรวมเงินเฟ้อสูงขึ้น จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชน การไหวเวียนของเม็ดเงินทางเศรษฐกิจจะมีปัญหา และเศรษฐกิจจะยิ่งถดถอยลงไปอีก
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
    • PPI จะคล้ายกรณี CPI แต่เสมือนเป็นสัญญาณแจ้งเตือนในขั้นปฐมภูมิ โดย PPI ย่อมาจาก Producer Price Index หรือ "ดัชนีราคาผู้ผลิต" เป็นดัชนีที่วัดการเปลี่ยนแปลง "ราคาสินค้าที่ผู้ผลิตเป็นคนจำหน่ายเอง ณ แหล่งผลิตนั้นๆ"
    • จะเห็นว่า PPI คล้ายกับกรณีของ CPI ตรงนี้เป็นการวัด "ราคาสินค้า" เพียงแต่ PPI จะเจาะเฉพาะแค่ผู้ผลิตเท่านั้น แต่ CPI จะวัดภาพรวมทั้งราคาสินค้าและบริการอื่นๆ เช่น ต้นทุนเชื้อเพลิง, โรงพยาบาล, ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ ดังนั้น PPI จะถือว่าเป็นภาพย่อยๆ ใน CPI
    • PPI มีความสำคัญกับบางประเทศมากๆ เช่น สหรัฐฯ, จีน ที่มีรายได้มหาศาลจากการผลิต ทำให้ PPI เป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับประเทศเหล่านี้
  • ดัชนียอดขายปลีก (Retail Sales)
    • ยอดขายปลีก คือสิ่งที่สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ค่อนข้างตรงประเด็น โดยตัวเลข Retail Sales จะเข้าไปวัดและประมวลผลจากยอดการซื้อขายใน "สินค้าสำเร็จรูป" ทั้งสินค้าคงทนและไม่คงทน (อายุการใช้งานสั้นยาว) เรื่อง Retail Sales จะผูกอยู่กับ 2-3 ประเด็น อย่างแรกคือแน่นอนว่า มันสะท้อนว่า ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าเพิ่มขึ้นก็หมายถึง เศรษฐกิจขยายตัว ประเด็นต่อมา คือ Retail Sales เป็นตัวที่บ่งชี้ถึงกำไรของภาคธุรกิจด้วย เพราะหากยอดขายโต บริษัทก็มีแนวโน้มจะกำไรมากขึ้น ดังนั้น ตัวเลขนี้จึงมักส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างมาก
  • ยอดขายบ้าน : Home Sales & Pending Home Sales
    • ยอดขายบ้ายคือสิ่งที่สะท้อนกำลังซื้อของประชาชน ดังนั้น ตัวเลขนี้ตรงไปตรงมา หากยอดขายบ้านเพิ่มมากขึ้น สะท้อนถึงแนวโน้มที่น่าจะสดใสของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่าง New Home Sales กับ Pending Home Sales โดย Pending Home Sales จะยังไม่ถึงขั้นตอนของการจ่ายเงิน แต่จะผ่านขั้นตอนส่วนใหญ่ของกระบวนการซื้อขายบ้านแล้ว ทั้งการตรวจโครงการ, การหาสินเชื่อ ฯลฯ ซึ่งสถานะซื้อขายบ้านที่เป็น Pending จะเหลือแค่ลงนามทางกฎหมาย และส่วนใหญ่จะนำไปสู่การปิดการขายได้ในที่สุด (ซึ่งจะชำระเงินในตอนท้าย)
    • ทั้งนี้ New Home Sales และ Pending Home Sales มีความใกล้เคียงกัน และใช้ประเมินเศรษฐกิจได้ดีพอๆ กัน เพราะ Pending Home Sales ส่วนใหญ่มักจะนำไปสู่การปิดการขายได้
  • สำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
    • PMI ย่อมาจาก Purchasing Managers Index และคือที่บอกว่าสำรวจ เพราะมันเป็นการสำรวจจริงๆ จาก "ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ" ในกลุ่มบริษัทหนึ่งๆ ที่ทำการสุ่มตัวอย่างขึ้นมา ซึ่งจะสำรวจว่า Manager ของบริษัทนั้นๆ มีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาใหม่มากน้อยเพียงใด มียอดขายเป็นอย่างไร รอบการขายมากหรือน้อย เป็นต้น แต่จะให้น้ำหนักกับ "ยอดสั่งซื้อวัตถุดิบมาใหม่" มากที่สุด
    • PMI จะคำนวณออกมาเป็นดัชนี ซึ่งจริงๆ หากเพียง PMI ที่เกินกว่า 50 จะแปลว่า "เศรษฐกิจขยายตัว" พูดง่ายๆ คือแค่ 50 ก็ถือว่าดีแล้ว แต่สำหรับการเทรดในตลาด Forex เราต้องดูด้วยว่า การคาดการณ์เป็นอย่างไร เพราะหากเศรษฐกิจดีมากๆ นักเศรษฐศาสตร์ย่อมคาดการ์ไว้สูง ซึ่งถ้าผลลัพธ์ประกาศออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ เช่น คาดการณ์ 70 แต่ประกาศจริง 60 แบบนี้ก็จะส่งผลเชิงลบต่อหุ้น, ค่าเงิน แม้ว่าค่า 60 จะแปลว่า เศรษฐกิจขยายตัวก็ตาม แต่เป็นการขยายตัวที่น้อยกว่าความคาดหวังนั่นเอง

รายชื่อข่าว Forex ข้างต้น เลือกมาอธิบายเฉพาะส่วนที่ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาว และจำเป็นที่เทรดเดอร์ควรทำความเข้าใจไว้บ้าง แต่ทั้งนี้ ยังมีข่าวตามปฏิทินเศรษฐกิจอีกหลายรายการที่เป็นข่าวระดับ 3 จุด ซึ่งเทคนิคง่ายๆ คือ เทรดเดอร์ต้องฝึกใช้ปฏิทินเศรษฐกิจให้คล่อง หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่า แต่ละสัปดาห์มีข่าว 2-3 จุด ในช่วงเวลาไหน และวันไหนบ้าง

ซื้อขายด้วยแพลตฟอร์ม MetaTrader 5

คุณรู้หรือไม่ว่า? MT5 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายข่าว หรือนักวิเคราะห์ทางเทคนิค MT5 คือแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง เพื่อดาวน์โหลดแพลตฟอร์มไปใช้งานได้ฟรี!

แนวคิดการเทรดข่าว Forex

หากเป็นกรณีของการ Swing Trading เทรดเดอร์มักมองข้ามข่าวที่มีความผันผวนระดับ 1-2 จุดไป เนื่องจาก Swing Trader ตั้งใจที่จะถือครองสถานะเป็นระยะเวลาที่มากกว่าสัปดาห์อยู่แล้ว ดังนั้น ความผันผวนเพียงเล็กน้อย จึงไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนัก อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่เพิ่งถือครองสถานะ Swing Trading มาไม่นาน แล้วต้องเจอข่าว 3 จุด เทรดเดอร์อาจเลือกที่จะปิดสถานะออกไปก่อนครึ่งหนึ่ง

เหตุผลสำคัญ คือ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นข่าว 3 จุด มีโอกาสที่ทำให้กราฟเปลี่ยนทิศทางได้ ซึ่งอาจทำลายสัญญาณเข้าจากระบบสวิงเทรดในตอนแรกของเราได้เลย ดังนั้น กรณีของ Swing Trading ให้พิจารณาแค่ข่าว 3 จุด และพิจารณาว่า เราได้ถือครองสถานะมานานแล้วหรือยัง หากยัง! ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำหรับพวก Day Trading หรือ Scalping คือกลุ่มคนที่เข้าไปต่อสู้กับความผันผวนในแต่ละวันอยู่แล้ว ดังนั้น ข่าว 2-3 จุดของประเทศใหญ่ๆ ทุกข่าว จะมีส่งกระทบต่อการเทรดทั้งหมด ซึ่งในภาพกว้างๆ นิยมพิจารณาเป็น 2 กรณี

  • หากใกล้ถึงเวลาประกาศข่าว เช่น เหลือเวลา 30 - 45 นาที แต่เรายังถือครองสถานะการเทรดไว้อยู่ ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไร เทรดเดอร์อาจเลือกที่จะ Exit จากสถานะนั้นๆ เพราะการประกาศข่าวออกมา สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การขาดทุนนั้นบานปลาย
  • หลังประกาศข่าวแล้ว ก็พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
    • ถ้าเป็นข่าว 3 จุด กราฟ "มักจะ" เคลื่อนไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตัวเลขต่อไปอีกหลายชั่วโมง เช่น ถ้าตัวเลขดี ค่าเงินนั้นก็มักแข็ง
    • ถ้าเป็นข่าว 2 จุด กราฟอาจจะเคลื่อนสอดคล้องกับตัวเลขแค่ระยะสั้นๆ เทรดเดอร์อาจเลือกใช้กลยุทธ์ Scalping มากกว่าที่จะพยายามกินส่วนต่างให้ได้ยาวๆ แบบข่าว 3 จุด

กรณีที่เป็นนักเทรดแบบ Fundamental ( การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) มักจะใช้กลยุทธ์การเทรดในลักษณะของการสะสม Position ดังนั้น จึงไม่ค่อยนิยมให้ความสำคัญกับตัวเลขในระยะสั้นๆ มากนัก

แต่จะใช้ประโยชน์จากความผันผวนในระยะสั้นๆ เพื่อปรับต้นทุนในการถือครอง เช่น หากจ้องที่จะ Buy คู่เงิน EURUSD ไว้อยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่เทรดเดอร์กลุ่มนี้จะทำ คือการรอให้มีประกาศข่าว US หรือ EU แบบแรงๆ เผื่อให้ EURUSD ลงมาต่ำๆ และเข้าไปซื้อสะสม

บทสรุปการเทรดข่าว Forex

ข่าว Forex หรือปฏิทินเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ทุกสไตล์การเทรดต้องหมั่นทำความเข้าใจ โดยหากคุณเน้น Scalping หรือ Day Trading การลืมเช็คตารางข่าว Forex จะกลายเป็นสิ่งที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตการเป็นเทรดเดอร์ของคุณ หรือต่อให้คุณเป็นเทรดเดอร์ระยะยาว ไม่ว่าจะทำ Position Trading หรือ Swing Trading หากคุณรู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากความผันผวนในจังหวะการประกาศข่าวได้ คุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่มีความได้เปรียบต่อผู้เล่นอื่นๆ ในตลาด

และในทางปฏิบัติจริงๆ ของการเทรดข่าว Forex คุณควรจะต้องมีการทดสอบสัญญาณการซื้อขายของคุณว่า ใช้งานได้จริงๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีเงินจำลองหรือที่เรียกว่า Demo Account เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals จะทราบกันดีอยู่แล้วว่า พวกเขาสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) คุณสามารถทดลองกลยุทธ์ใหม่ๆ เทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ

คุณจะคำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ Demo Account คือบัญชีที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MT4 และ MT5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใดๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใดๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
Lot คือ : รู้จักกับ Forex Lot และการคํานวณ Lot Size
Lot คือ คำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex หรือสินค้าอ้างอิงใดๆ ที่เทรดผ่านสัญญา CFD ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, น้ำมัน หรือแม้แต่หุ้นรายบริษัท และหากเทรดโดยใช้ตราสาร CFD ก็จะต้องเทรดด้วยหน่วยของ Lot อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้ จะอธิบายว่า Lot คืออะไร คํานวณ Lot และการคํานวณ Lot Size สำคัญอย่างไร และจะส...
รูปแบบแท่งเทียนและคู่มือการอ่านกราฟแท่งเทียนใน Forex และตลาดหุ้น
รูปแบบแท่งเทียนและกราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ทำให้มองเห็นสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมราคาได้ง่ายขึ้น การใช้กราฟแท่งเทียนแบบญี่ปุ่นสำหรับกรอบระยะเวลาในการเทรดจะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจอารมณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น ต้องขอบคุณ Steve Nison ที่ทำให้เราได้รู้จักนำเอากราฟแท่งเทียนเข้ามาใช้ในการเทรดเพื่อให้ได...
เรียนรู้วิธีการเป็นนักเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ
การซื้อขาย Forex สามารถเข้าถึงได้ง่ายน่าตื่นเต้นศึกษาและมอบโอกาสมากมายให้ผู้ค้า แม้จะมีทั้งหมดนี้ผู้ค้าจำนวนมากยังล้มเหลวในการเรียนรู้วิธีที่จะกลายเป็นผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จและยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในตลาดนี้ ในความเป็นจริงแล้วผู้ค้า Forex จำนวนมากสูญเสียเงิน การเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยน Forex และการเ...
ดูทั้งหมด