ทุกเรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป!

Rakan Rashed

การบูรณาทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการรวมตัวของตลาดการเงินระหว่างประเทศทำให้เกิดส่วนแบ่งของกองทุนต่างประเทศในสถาบันการเงินต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทข้ามชาติที่เข้าถึงตลาดการเงินต่างๆ ผ่านบริษัทสาขาที่ตั้งอยู่ทั่วโลกที่ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะนักลงทุนสถาบันและองค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนรายย่อยด้วย

ซึ่งในบทความนี้ เราจะนำคุณไปพบกับตลาดหุ้นยุโรปและภาคส่วนต่างๆ ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจลงทุนตลาดหุ้นยุโรปไปพร้อมกันที่นี่!

คุณรู้จักตลาดหุ้นยุโรปมากแค่ไหน ?

ตลาดหุ้นยุโรปสร้างและพัฒนาขึ้นในปี 1970 ด้วยเหตุผลหลัก 2 อย่าง คือ คือการเพิ่มภาษีในสหรัฐฯ ในปี 1964 และเพื่อจำกัดการโอนทุนโดยสมัครใจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในขณะนั้นอยู่ในระดับต่ำ เพื่อการกระตุ้นให้บริษัทต่างชาติกู้เงินในราคาถูก และการขึ้นภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดการให้กู้ยืมในสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนของเครดิต 

นอกจากนี้ ข้อจำกัดในการโอนทุนโดยสมัครใจ ก็มีจุดประสงค์เพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากบริษัทอเมริกันที่มีสาขาในยุโรปไม่สามารถส่งออกเงินทุนไปยังตลาดยุโรปได้ บริษัทเหล่านี้จึงเริ่มมองหาเงินกู้ในสหรัฐฯ แทน

นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ เช่น อดีตสหภาพโซเวียตก็มีเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนมาก แต่ก็กลัวที่จะนำเงินนั้นไปลงทุนในธนาคารของอเมริกาจุึงนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในตลาดยุโรป มี 2 ฝ่ายหลักในตลาดหุ้นยุโรป คือ 

  • ตลาดสกุลเงินยูโร (Eurocurrency Market) - โดยทั่วไปบริษัทหรือสถาบันการเงิน เช่น กองทุนรวมและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ มักจะใช้สกุลเงินยูโรมในการรับเงิน จากความสามารถในการใช้สกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้เปรียบจากการรับเงินทุนระหว่างประเทศ
  • ตลาดทุนยูโร (Euro Capital Market) - ตลาดเงินสำหรับสกุลเงินนอกประเทศ ที่มีการซื้อขายอย่างถูกกฎหมาย เช่น หุ้นและพันธบัตร เป็นต้น

ตลาดสกุลเงินยูโร (Eurocurrency Market)

ตลาดสกุลเงินยุโรป คือ ตลาดหลักสำหรับเงินฝากและเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว การวางตำแหน่งหรือการกู้ยืมเงินทุนในสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่งนอกประเทศที่สกุลเงินนั้นดำเนินการ หมายความว่าธุรกรรมได้เกิดขึ้นในตลาดสกุลเงินยูโร

ซึ่งตลาดสกุลเงินยูโรนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุม และหน่วยงานหลักที่ดำเนินการในตลาดนี้คือธนาคารในยุโรปและบริษัทระหว่างประเทศ โดยมีสกุลเงินหลักที่ซื้อขายกันในตลาดยูโร คือ USD หรือที่เรียกว่ายูโรดอลลาร์ (EUR/USD)

ในกรณีของเงินกู้ EUR/USD อัตราดอกเบี้ยเงินกู้พื้นฐานนั้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในลอนดอน (London Inter-Bank Offer Rate - LIBOR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เสนอเงินฝากและเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารในลอนดอน โดยมีระยะเวลาของเงินกู้สำหรับเงินกู้สกุลเงินยูโรนั้นมีความหลากหลาย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 - 3 ปี สำหรับเงินกู้ระยะกลาง และ 4 -10 ปีสำหรับเงินกู้ระยะยาว

ตลาดสกุลเงินยูโรมีสภาพคล่องสูง ซึ่งหมายความว่าแม้แต่เงินฝากระยะสั้นในธนาคารในยุโรปก็อนุญาตให้เปลี่ยนเป็นเงินกู้ระยะกลางและระยะยาวได้ ไปพร้อมกับการรักษาระดับความปลอดภัยที่เหมาะสมและระดับสภาพคล่องของธนาคาร

ตลาดทุนยูโร (Euro Capital Market)

ยูโรบอนด์ หรือ Eurobond คือ ตราสารหนี้ที่มีผู้ถือซึ่งซื้อขายในตลาดหุ้น เช่นเดียวกับในกรณีของพันธบัตรทั่วไป โดยผู้ออก Eurobond ตกลงที่จะจ่ายเงินเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะชำระเป็นงวดเดียวหรือผ่อนชำระตามวันที่กำหนดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยูโรบอนด์ก็อาจมีการเสนอขายในสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงิน EUR และบ่อยครั้งที่ Eurobonds ก็เป็นสกุลเงินยูโร ดอลลาร์สหรัฐ (EUR USD)

ทั้งนี้ ก็ยังมีพันธบัตรที่ออกในต่างประเทศโดยรัฐบาลหรือบริษัทในสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินของประเทศผู้ออก ยูโรบอนด์จึงมักเป็นตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD)

การซื้อขายพันธบัตรที่ออกใหม่ของ Eurobond จะมีจำหน่ายในตลาดยุโรปและในตลาดโลกเป็นหลัก ในทางกลับกันก็มีการเสนอขายพันธบัตรในตลาดรองก่อนวันไถ่ถอน ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการของอุปสงค์และอุปทาน ราคาตลาดถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของมัน

ประเภทของยูโรบอนด์ (Eurobond)

ตราสารหนี้ยูโร Eurobond มีลักษณะที่สามารถแบ่งประเภทได้หลายอย่าง ดังนี้

  • ภาคสาธารณะ (Public sector) - รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานท้องถิ่น
  • ภาคการเงินเอกชน (Private financial sector) - ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
  • ภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-financial private sector) - บริษัทเอกชน บริษัทร่วมทุน และบริษัทระหว่างประเทศขนาดใหญ่
  • ภาคองค์การระหว่างประเทศ (International Organizations Sector) - ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป

นอกจากนี้ยังมีตลาดตราสารหนี้ในตลาดยุโรปอีก 2 ประเภท ที่ใช้สกุลเงินยูโร คือ

  • Yankee bonds - พันธบัตรต่างประเทศที่ออกโดยบริษัทของสหรัฐฯ นอกตลาดสหรัฐฯ
  • Samurai bonds - พันธบัตรต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นและธนาคารที่ออกนอกประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ พันธบัตรยังสามารถแบ่งตามการคิดอัตราดอกเบี้ย อีก 2 ประเภท ได้แก่

  • หุ้นกู้สามัญที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว
  • พันธบัตรที่มีเงื่อนไขการชำระเงินพิเศษ

และส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของพันธบัตรระหว่างประเทศ คือ พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัวทั่วไป หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRN) เพื่อรับประกันนักลงทุนในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งสูงกว่า คือ อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่มี หลักประกันสาหรับระยะเวลาต่างๆ (LIBOR) ซึ่งจะชำระเมื่อสิ้นสุดงวดการชำระเงินทุกครึ่งปี เนื่องจากมีเป้าหมายที่นักลงทุนสถาบัน FRN ที่ออกมาจึงมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าที่ตราไว้สูงกว่า (5,000 ดอลลาร์, 10,000 ดอลลาร์, 100,000 ดอลลาร์) มากกว่าพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ 

ปัจจุบันตลาดหุ้นยุโรป ล่าสุด และ Eurobond ออกโดยบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีอันดับเครดิตสูงเพื่อรับประกันเงินลงทุนระยะยาว โดยการออก Eurobond ถูกควบคุมโดยสมาคมธนาคาร ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจที่มีขนาดใหญ่ในแต่ละประเทศที่รวมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทุนจำนวนมาก และรวมกันเป็นหนึ่งหรือที่เรียกว่ากลุ่มร่วม

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

จุดเด่นของตลาดหุ้นยุโรป

โดยภาวะตลาดหุ้นยุโรป ที่ใช้สกุลเงิน EUR มีอยู่พร้อมกับตลาดตราสารหนี้ยูโร และเป็นส่วนที่ 2 ของตลาดยุโรป มีการเสนอขายหุ้นยูโรโดยบริษัทนอกประเทศ ซึ่งโดยปกติแล้ว บริษัทระหว่างประเทศขนาดใหญ่จะตัดสินใจออกหุ้นในสกุลเงินยูโร สามารถลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเงิน บริษัทผู้ถือหุ้นเสนอในหลากหลายประเทศและสกุลเงิน ประโยชน์ของ บริษัท ที่ออกหุ้นในสกุลเงินยูโรสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ต้นทุนเงินทุนอาจต่ำกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งเงินทุนอื่นๆ
  • การรักษาความปลอดภัยเงินทุนที่จำเป็นในสกุลเงินที่ต้องการจากมุมมองของการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  • แหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถหาได้จากตลาดเกิดใหม่
  • การขายหลักทรัพย์ในตลาดต่างประเทศ เพิ่มความต้องการที่เป็นไปได้สำหรับหุ้นของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น - และเป็นผลให้ดึงดูดนักลงทุนรายใหม่

จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 การเสนอขายหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในการออกหุ้นให้กับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนได้เกิดขึ้นในตลาดต่างประเทศ ตัวอย่างคือ กรณีของ British Gas หรือ KLM ซึ่งเป็นหุ้นที่ออกในตลาดทุนระหว่างประเทศสามารถใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาบริษัทต่อไปได้

นอกจากนี้ บริษัทอเมริกันก็มีการออกหุ้น 2 ประเภท คือในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานจัดการการออกที่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม บริษัทในยุโรปมักจะเตรียมชุดเดียวที่จัดการโดยบริษัทที่ออกและแจกจ่ายไปยังแต่ละตลาด โดยหุ้นยูโรยังมีจำหน่ายในตลาดรองด้วย เนื่องจากตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดมีการขายหลักทรัพย์ประมาณ 20% ของมูลค่าการซื้อขายระหว่างประเทศทั้งหมด

เนื่องจากเงื่อนไขที่แตกต่างกันในการรับหลักทรัพย์ เพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักทั่วโลก การซื้อขายหุ้นต่างประเทศจึงกระจุกตัวในตลาดหลักทรัพย์ที่มีข้อกำหนดเสรีมากกว่า เช่น ในตลาดหุ้นอเมริกา แต่ก็มีเงื่อนไขในการรับขายหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ถูกจำกัดอย่างมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นยุโรป

ความสำคัญของตลาดหุ้นยุโรป

บริษัทที่กำลังมองหาเงินทุนต่างประเทศ สามารถพึ่งพาแหล่งเงินทุนหลัก 3 แห่ง ดังนี้

  • เงินกู้ระหว่างประเทศระยะกลางและระยะยาวในสกุลเงินยูโร
  • การออกพันธบัตรยูโร
  • แลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินยูโร

ซึ่งบทบาทของแหล่งเงินทุนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เช่น บริษัทญี่ปุ่นและเยอรมันพึ่งพาเงินกู้ระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในทางตรงกันข้าม บริษัทของสหรัฐฯ มักจะระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรและหุ้น ซึ่งในปัจจุบัน กระบวนการลดเงินกู้ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการออกยูโรบอนด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมของตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นของตลาดยุโรป

ปัจจุบันตลาด Eurobond สามารถตอบสนองความต้องการเงินกู้ระยะยาวจากต่างประเทศได้ โดยหลักการแล้ว การดำเนินการทางการเงินในตลาด Eurobond จะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลทางการเงินของธนาคารในประเทศ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนตลาดหุ้นยุโรป รวมทั้งการออกหุ้นของบริษัทต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอเมริกันที่ได้รับประโยชน์จากความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นในตลาดหุ้นยุโรป

ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเป็นตลาดรองสำหรับหุ้นที่ออกของบริษัทต่างชาติ ทำให้สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนต่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งตลาดการเงินในประเทศไม่สามารถรับมือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอเมริกันได้รับประโยชน์จากความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนผ่านการออกหุ้นต่างประเทศ ทำให้สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนต่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งตลาดหุ้นในประเทศไม่สามารถรับมือได้

อยากลงทุนตลาดหุ้นยุโรปทำอย่างไร ?

ด้วยเทคโนโลยีทางการเงินในปัจจุบัน ที่คุณสามารถทำการซื้อขายออนไลน์ได้จากทั่วทุกมุมโลก แน่นแนว่าสามารถเข้าถึงและลงทุนตลาดหุ้นยุโรปและต่างประเทศ โดยหากพูดถึงลูกค้ารายย่อย ส่วนใหญ่ก็สามารถเลือกลงทุนใน CFD ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายหุ้นและพันธบัตรจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือยุโรป ตลอดจนในตลาดสกุลเงินต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ การลงทุนในตลาด CFD ยังไม่ต้องกังวลกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นปัญหา แต่ใช้การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาในอนาคตเท่านั้น ซึ่งพัฒนาการของ CFD ทำให้ตลาดจนถึงเมื่อไม่นานมานี้สงวนไว้สำหรับนักลงทุนรายใหญ่โดยเฉพาะ และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน แม้แต่ในทศวรรษที่ 1980 ตลาดหุ้น ตลาดสกุลเงิน และตลาดฟิวเจอร์สก็ยังเป็นตลาดเดียวที่มีอยู่

นอกจากนี้ CFD ยังมีจุดเด่นหลายๆ อย่าง เช่น 

  • แทบไม่มีข้อจำกัดในการซื้อขายในตลาด CFD ไม่ว่าจะในตลาดหมีหรือในตลาดกระทิง ซึ่งซึ่งคุณสามารถทำสิ่งที่เรียกว่าการขายชอร์ตได้เหมือนกัน
  • สามารถเข้าถึงตลาดได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์
  • เข้าถึงตลาดหลายร้อยแห่งในที่เดียว ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักและตลาดได้ทั่วโลกได้
  • ตลาด CFD มีเลเวอเรจสูง ทำให้สามารถเปิดสถานะได้มากกว่ามูลค่าของยอดเงินในบัญชีจริง
  • ทำการซื้อขายได้จากทุกที่ในโลก ยกเว้นบางประเทศที่ห้ามซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คุณสามารถเก็งกำไรในตลาดสกุลเงิน หุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ และอื่นๆ ได้ทุกที่ที่เวลา ได้ตามต้องการ

ตัวอย่างการซื้อขาย CFD ของเครื่องมือทางการเงินต่างๆ 

สมมติว่า คุณมีเงินในบัญชี $1,000 และมีเลเวอเรจ 1:100 จากโบรกเกอร์ ในกรณีนี้คุณสามารถเปิดตำแหน่งได้สูงถึง $100,000 ด้วยเลเวอเรจ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของจำนวนเงินทั้งหมดเพื่อลงทุนในตราสารใดๆ อย่างไรก็ หากคุณใช้เลเวอเรจมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวเช่นกัน

หากคุณมีคำถามและข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมสัมนาการเทรดออนไลน์ เพื่อเรียนรู้การเทรดที่สามารถใช้งานได้จริงไปพร้อมกับเทรดเดอร์มือโปร ที่ Admirals จัดให้คุณแบบฟรีๆ ทุกสัปดาห์ ลงชื่อเข้าร่วมสัมนาหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกที่แบนเนอร์ได้เลย! 

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รู้จักกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนทำธุรกรรมในเครื่องมือทางการเงิน นอกจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การวิเคราะห์การซื้อขายข้างต้นจึงไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

TOP ARTICLES
Lot คือ : รู้จักกับ Forex Lot และการคํานวณ Lot Size
Lot คือ คำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex หรือสินค้าอ้างอิงใดๆ ที่เทรดผ่านสัญญา CFD ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, น้ำมัน หรือแม้แต่หุ้นรายบริษัท และหากเทรดโดยใช้ตราสาร CFD ก็จะต้องเทรดด้วยหน่วยของ Lot อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้ จะอธิบายว่า Lot คืออะไร คํานวณ Lot และการคํานวณ Lot Size สำคัญอย่างไร และจะส...
รูปแบบแท่งเทียนและคู่มือการอ่านกราฟแท่งเทียนใน Forex และตลาดหุ้น
รูปแบบแท่งเทียนและกราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ทำให้มองเห็นสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมราคาได้ง่ายขึ้น การใช้กราฟแท่งเทียนแบบญี่ปุ่นสำหรับกรอบระยะเวลาในการเทรดจะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจอารมณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น ต้องขอบคุณ Steve Nison ที่ทำให้เราได้รู้จักนำเอากราฟแท่งเทียนเข้ามาใช้ในการเทรดเพื่อให้ได...
เรียนรู้วิธีการเป็นนักเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ
การซื้อขาย Forex สามารถเข้าถึงได้ง่ายน่าตื่นเต้นศึกษาและมอบโอกาสมากมายให้ผู้ค้า แม้จะมีทั้งหมดนี้ผู้ค้าจำนวนมากยังล้มเหลวในการเรียนรู้วิธีที่จะกลายเป็นผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จและยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในตลาดนี้ ในความเป็นจริงแล้วผู้ค้า Forex จำนวนมากสูญเสียเงิน การเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยน Forex และการเ...
ดูทั้งหมด