Indicator คืออะไร : อินดิเคเตอร์ Forex ที่ดีที่สุด ในแต่ละสาย!

Admirals
15 นาที

บทความนี้จะพาไปสำรวจ Indicator Forex หลายๆ ตัว ที่ได้ชื่อว่า เป็นอินดิเคเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด ซึ่งจะพยายามแบ่ง Indicator เป็นหมวดหมู่ว่า Indicator ในกลุ่มไหน ต้องใช้อะไรบ้าง เช่น Trend Indicator จะมี ADX, Aroon เป็นต้น หรือ Indicator Forex ในกลุ่ม Momemtum ก็จะมี RSI ที่หลายคนยกให้เป็น Indicator ที่ดีที่สุด รวมถึง Stochastic Oscillator ที่มักประยุกต์ใช้กับการเทรดระยะสั้น แน่นอนว่า บทความนี้จะตอบคำถามคุณได้เลยว่า Indicator ตัวไหนดีที่สุด

Indicator ตัวไหนดีที่สุด

เมื่อคุณเริ่มทำการซื้อขาย Forex สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือการมองหา Indicator Forex ที่ดีที่สุดนั้น "ไร้ประโยชน์" เพราะไม่มี Holy Grail (จอกศักดิ์สิทธิ์) ในสนามรบแห่งนี้ เพราะในการเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จ คุณจะต้องเดินตามเส้นทางของผู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหมายถึง "วินัยในการลงทุน" และอีกสิ่งสำคัญคือการ "อยู่ฝั่งเดียวกับตลาด" ซึ่งการจะเทรดให้ได้ทิศทางเดียวกันกับตลาด คุณต้องมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่ดี และนี่เองที่ Indicator Forex จะกลายมาเป็นตัวช่วยของคุณ แต่ก่อนอื่น คุณจะต้องเข้าใจก่อนว่า Indicator เหล่านั้น ทำงานอย่างไร ใช้ทำอะไร และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร

Indicator คืออะไร

Indicator คือ ตัวชี้วัดทางเทคนิคสำหรับการเทรด Forex, หุ้น ฯลฯ เป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่จะวิเคราะห์อย่างน้อย 1 ใน 5 ของตัวแปรเหล่านี้ ได้แก่ ราคาเปิด, ราคาสูงสุด, ราคาต่ำสุด, ราคาปิด และปริมาณการซื้อขาย จากการคำนวณ Indicator Forex จะแสดงผล (พล็อตกราฟ) เป็นรูปแบบแผนภูมิหรือกราฟดัชนีต่างๆ ออกมา ซึ่งหน้าต่างกราฟอินดิเคเตอร์เหล่านี้ อาจจะวางทับกราฟราคา หรือแยกเป็นอีกหน้าต่างก็ได้ แล้วแต่ลักษณะของเครื่องมือ เช่น หากเป็น RSI ก็จะแยกเป็นหน้าต่าง Indicator ไว้ต่างหาก แต่หากเป็นเส้นค่าเฉลี่ย EMA ก็จะวางทับกราฟราคาไปเลย

สิ่งที่ควรทราบอีกประการหนึ่ง คือ Indicator ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนามาเพื่อใช้กับตลาดหุ้นและพัฒนาจากวิธีคิดที่มองราคาเป็นวันๆ (ใช้กราฟรายวัน) เนื่องจากสมัยก่อน ไม่สามารถสร้างกราฟแบบเรียลไทม์รายนาทีได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีการใช้งาน Indicator Forex เหล่านี้ในการเทรดระยะสั้น Scalping หรือกลยุทธิ์ที่เกินต้องใช้กราฟรายวัน

Indicator เทรดแนวโน้ม - อินดิเคเตอร์ Forex ที่ดีที่สุด สาย Trend

Average Directional Movement Index (ADX)

ADX เป็น Indicator Forex อีกตัวที่ใช้วัด "ความแข็งแกร่ง" ซึ่งตัวมันเอง ถูกสร้างขึ้นมาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ EMA (Exponential Moving Averages) ของ 2 เส้นอินดิเคเตอร์ที่ชื่อว่า +DI กับ -DI (มี DI "บวก" กับ "ลบ") โดย DI ย่อมาจาก "Directional Movement" และทั้งบวกและลบ ถูกคำนวณจากจุดราคาสูงสุดของวัน (High), จุดต่ำสุดของวัน (Low) และราคาปิด (Close) นำมาเปรียบเทียบกับค่าสถิติของวันที่ผ่านมา ผลรวมของตัวเลขเหล่านี้จะถูกหากด้วยเครื่องมือ Average True Range (ATR) อีกทีหนึ่ง

  • High, Low, Close ---> DI ---> ATR ---> ADX

ในสาระสำคัญ +DI จะบอกเราว่า ความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) มีมากขนาดไหนเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า ในขณะที่ -DI จะบอกเราว่า ความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลง (Bearish) เมื่อเทียบกับวันก่อนๆ จะแข็งแกร่งมากน้อยเพียงใด และเมื่อนำเส้น DI ทั้ง 2 อย่างมาอ่านค่าพร้อม ทำให้ ADX สามารถบอกได้ว่า ทั้งฝั่งของ "ขาขึ้น" และ "ขาขึ้น" หากเทียบกับช่วงวันเวลาก่อนหน้าที่กำหนด ใครแข็งแกร่งกว่ากันในปัจจุบัน

พิจารณา Indicator ตัว ADX จะมีเส้นทั้งหมด 3 เส้น โดยปกติ แพลตฟอร์มมักจะกำหนดให้ตัวเส้น ADX เป็นเส้นทึบเต็มเส้น ในภาพคือเส้นสีขาว และมักกำหนดให้เส้น DI ทั้ง 2 เส้นเป็นเส้นประ จะเห็นว่า +DI เป็นเส้นสีเขียว วัดค่าแนวโน้มขาขึ้น และเส้น -DI เป็นเส้นสีแดง วัดค่าแนวโน้มขาลง ซึ่งจะแสดงบนกราฟดัชนี ตั้งแต่ระดับ 0 ถึง 100

หากตัวเส้น ADX สีขาว ต่ำกว่า 20 แนวโน้ม ไม่ว่าราคาจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม มันสะท้อนสภาวะราคา ณ ปัจจุบัน ไม่ได้แข็งแกร่งนัก แต่หากเส้น ADX อยู่ประมาณ 40 เรามักให้น้ำหนักและแปลความหมายว่า มันบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ยิ่งถ้าเลยระดับ 50 ขึ้นไปแล้ว จะถือเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่งมาก (Very Strong Trend) หลังจากนั้นให้ดู +DI, -DI ประกอบกัน

  • หากเส้น +DI อยู่สูงกว่า -DI จะแปลว่า ตลาดขาขึ้นหรือฝั่ง Bullish กำลังปกคลุมตลาดในขณะนั้น
  • ให้สังเกตความสม่ำเสมอของเส้น +DI, -DI เพราะหากสองเส้นนี้ไม่สามารถยืนเหนือกันได้อย่างเด็ดขาด มีการสลับขึ้นสลับลง ก็จะสะท้อนถึงสภาวะที่ตลาดกำลังเคลื่อนเป็นกรอบ
  • หากเส้น +DI, -DI รักษาระยะห่างได้เป็นแนวโน้ม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เส้นเริ่มบีบเข้าหากัน ก็ย่อมหมายถึง สภาวะของระดับ Demand & Supply กำลังเปลี่ยนทิศทาง ซึ่งอาจหมายถึงจุดกลับตัวของราคา โดยจะใช้ ADX เส้นขาวเป็นตัวยืนยันสัญญาณ

ตัวอย่างภาพใน MetaTrader 4 - NZDUSD - แสดง Indicator ADX - เข้าถึงเมื่อ 27 April 2020 - คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือการทางเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

Aroon

Aroon เป็น Indicator Forex ที่ใช้ประเมินแนวโน้มของราคาได้อย่างหลากหลายว่า ณ ปัจจุบัน มีการเกิดของแนวโน้มหรือไม่ (เป็นหรือไม่เป็นแนวโน้ม) สามารถประเมินได้ว่า ลักษณะการฟอร์มตัวของแนวโน้มมีข้อมูลเชิงลึกอย่างไร และสุดท้าย หากเกิดแนวโน้มขึ้นแล้ว มันจะบอกว่า Trend ในตอนนั้น แข็งแกร่งเพียงใด อินดิเคเตอร์ Aroon ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคำนวณ "จุดสูงสุด" กับ "จุดต่ำสุด" ของช่วงเวลาที่ผ่านมามีลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างไร โดยแนวโน้มขาขึ้นจะพิจารณาจากเส้น Aroon's Bullish และแน่นอนว่า อีกฝั่ง Aroon's Bearish จะวัดลักษณะของแนวโน้มขาลง

จะเห็นว่า ทั้ง 2 เส้นจะแกว่งไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ 0 ถึง 100 และวิธีการตีความ จะเป็นลักษณะเดียวกันกับ ADX คือต้องสังเกตระดับของเส้นเขียว (Bullish) กับเส้นแดง (Bearish) โดยจะสามารถแยกตีความในแต่ละส่วนได้ชัดเจนมาก คือ ยิ่งเส้นสีเขียวขึ้นไปอยู่ในระดับบนๆ ของดัชนี และสีแดงอยู่ต่ำใกล้ 0 ก็แปลว่า แนวโน้มขาขึ้นมีความแข็งแกร่งมาก อย่างไรก็ตาม Aroon และ ADX มีลักษณะที่เหมือนกันคือเป็น Lagging Indicator ดังนั้น สัญญาณที่แสดสถาวะราคา ย่อมจะมาช้าเสมอ จึงควรมีการใช้งาน Indicator อื่นๆ เพื่อมายืนยันจุดเข้าซื้อขายอีกครั้งหนึ่ง

ตัวอย่างภาพใน MetaTrader 4 - NZDUSD - แสดง Indicator Aroon เข้าถึงเมื่อ 27 April 2020 - คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือการทางเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

Moving Average Convergence/Divergence (MACD)

Indicator ตัวนี้เป็นที่นิยมมาก ชื่อว่า MACD โดยสามารถอ่านอย่างละเอียดได้ที่ "MACD คืออะไร?" ทั้งนี้ MACD มีจุดประสงค์เพื่อต้องการวัดการเปลี่ยนแปลงของความแข็งแกร่ง และที่มันได้รับความนิยมเพราะมันสามารถอ่านค่าที่บ่งบอกทิศทางได้สะดวกกว่าหลายๆ Indicator มาก โดยพื้นฐานมันถูกสร้างขึ้นจากค่าเฉลี่ยเคลื่อน (Moving Average) 2 เส้น ค่ามาตรฐาน คือ 12 และ 26 ซึ่งความจริงตัว Histogram ที่แสดงใน MACD ก็คือระยะห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 12 กับ 26 นั้นเอง เพียงแต่ตัว MACD จะมีการคำนวณเพิ่มเติม เรียกว่าเส้น Signal ซึ่งเป็นตัวที่สามารถบ่งบอกถึงสภาวะโมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมักนำไปสู่การกลับตัวของราคา เดิมที่ MACD ใช้กับกราฟรายวันในหุ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม การเทรด Forex สามารถเลือกใช้ H4 ได้เหมือนกัน

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของ MACD คือ เส้น 0 หรือ Zero Line เพราะเป็นเสมือนตัวแบ่งระหว่างขาขึ้นกับขาลงออกจากกันอย่างชัดเจน การที่ Histogram อยู่เหนือเส้น 0 แต่เกิดสัญญาณจากเส้น Signal ขึ้นมา ก็หมายถึง สภาวะของแนวโน้มขาขึ้นได้อ่อนแอลง ทำให้นักลงทุนที่ถือครองสถานะระยะยาวมา มักจะถอนกำไรออกไปบางส่วน มันถือเป็นสัญญาณเตือนที่มีประสิทธิภาพมาก จึงยังอยู่ในหมวด Trend Indicator ที่ได้รับความนิยมอยู่

Indicator เทรดสวิง - อินดิเคเตอร์ Forex ที่ดีที่สุด สาย Swing

Relative Strength Index (RSI)

ดัชนีความแข็งเชิงเปรียบเทียบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า RSI ย่อมาจาก Relative Strength Index เรียกว่าเป็น Indicator Forex อันดับ 1 ในกลุ่ม Momentum แม้จะอินดิเคเตอร์ยอดนิยมอื่นๆ ด้วย เช่น Williams% หรือ Stochastic ที่ให้ข้อมูลของราคาในวัตถุประสงค์แบบเดียวกัน แต่ RSI อาจจะมีความหลากหลายมากกว่าในแง่ของการใช้งาน อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของ Momentum Indicator คือ การที่มันสามารถบอกระดับ overbought หรือ oversold ได้ โดยการวัดความอิ่มตัมของราคาดังกล่าว จะวัดจากอัตราเร่งหรือความเร็วที่ผ่านๆ มาของราคา คำนวณกับระยะทางของราคา ทำให้ RSI สามารถเปรียบเทียบได้ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อัตราความเร็วของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคา มีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด

จะเห็นว่า ความจริง เรื่องของ "โมเมนตัม" (Momentum) พื้นฐานมันคือการวัด "อัตราการเปลี่ยนแปลงราคา" แต่ RSI จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านั้นได้ด้วย เพราะ RSI ได้คำนวณราคาปิดของเทียนปัจจุบันและแท่งเทียนก่อนหน้านี้เปรียบเทียบกัน และเฉลี่ยค่าดังกล่าวให้ไปอยู่ในรูปของดัชนี 0 - 100 ดังนั้น ในพื้นฐาน เส้น RSI จะเป็นเสมือนตัวที่บอกว่า "วันนี้" มีแรงส่งของราคามามากน้อยเพียงใด โดยดูจากเส้น RSI ว่าจะขยับจากดัชนีเท่าไหร่ มาถึงดัชนีเท่าไหร่

พูดง่ายๆ คือ หากราคาในช่วงเวลานี้ มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของราคาปิดในช่วงที่ผ่านมาๆ ตัวเส้น RSI ก็จะปรับตัวขึ้น เส้น RSI ที่ทะลุแนว 50 ขึ้นไป มักแสดงถึงสัญญาณขาขึ้นที่กำลังเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่หาก RSI ขึ้นไปแตะระดับ 80 นั่นจะเป็นพื้นที่ของ overbought zone ถือเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคา "อาจจะ" ใกล้หมดแรงแล้ว โดยเทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญมักใช้เครื่องมืออื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็น Price Action ในการเข้ามายืนยันสัญญาณว่า ราคาเหมาะสมที่จะ Sell ได้แล้ว

Stochastic Oscillator

ความจริง Indicator ทุกตัวมักจะกระโดดขึ้นลง ไปๆ มาๆ ซึ่งทำให้สามารถสังเกตเห็นระดับการแกว่งของราคาได้ ดังนั้น Indicator ประเภทแนวโน้ม หรือ Trend Indicator ก็อาจจะใช้เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งแบบ Oscillator ได้ แต่สำหรับ Stochastic Oscillator จะถูกออกแบบมาเพื่อหา oversold และ overbought โดยเฉพาะ เพราะโครงสร้างการคำนวณจะเป็นการวัดความผันผวนของกรอบราคา ทำให้เห็นแนวโน้มของการอิ่มตัวได้ชัดเจนและรวดเร็ว แต่ก็จะถูกลบความสามารถในการมองแนวโน้มของราคาออกไป ซึ่งในส่วนนี้แตกต่างจาก RSI ที่ประยุกต์ในเชิงกว้างได้หลากหลาย

แต่เพราะไม่มี Indicator ไหนดีที่สุด เพราะอย่าง Stochastic Oscillator ที่สร้างดัชนี 0 - 100 มาเหมือนกันก็จริง แต่ความรวดเร็วในการค้นหาระดับการอิ่มตัว เทรดเดอร์จึงใช้ Stochastic Oscillator เป็นตัวสัญญาณเองเลย เช่น หาก Indicator สามารถระบุได้แล้วว่า กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม MACD อาจจะติดขึ้นจาก Histogram หลังจากนั้น เทรดเดอร์จะรอจังหวะที่ Stochastic Oscillator ตัดขึ้นมาจากโซน 20 อีกรอบ ก็เป็นอันว่า ถือเป็นสัญญาณในการเข้า Buy

เริ่มเทรดด้วยบัญชี MT5

MetaTrader 5 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายข่าว หรือนักวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader 5 คือแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง เพื่อดาวน์โหลดแพลตฟอร์มไปใช้งานได้ฟรี!

Indicator : วัดความผันผวน (Volatility)

Average True Range (ATR)

Indicator Forex กลุ่มนี้จะแตกต่างจากอินดิเคเตอร์อื่นๆ ที่อธิบายมา เนื่องจากมันเป็นเพียงเครื่องมือที่วัดโปรไฟล์ของตลาดเท่านั้น ซึ่งการวัดความผันผวน หรือ Volatility นั้น จะเป็นตัวกำหนดในการใช้กลยุทธิ์สำหรับเทรดเดอร์หลายๆ คน กรณีของ ATR หรือ Average True Range เป็นการวัดค่าความผันผวนอย่างหยาบๆ ที่เปรียบเทียบ High ของวันนี้ แล้วลบออกด้วย Low ของวันนี้ แล้วจะมีการเฉลี่ยค่าด้วยเทคนิค EMA อีกครั้งหนึ่ง โดยจะเปรียบกับ High - Low ของช่วงเวลาก่อนๆ หน้า

ยิ่งความแตกต่างของราคา (High กับ Low) มีค่ามากเท่าไหร่ เส้น ATR ก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งความหมายก็คือ ความผันผวนของตลาดกำลังสูงขึ้น โดยหากกลยุทธิ์ของคุณต้องการพึ่งพาสภาวะตลาดที่มีความผันผวนมาก เช่น Grid Trading, Reversal Trading เป็นต้น ATR ก็จะเป็นสัญญาณให้คุณได้ว่า จังหวะเวลาที่คุณจะได้ใช้กลยุทธิ์ของคุณ มาถึงแล้ว!

Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นอีก Indicator ที่ดีที่สุดในกลุ่มของการวัด Volatility โดยจะแสดงเป็นกรอบของเส้นค่าเฉลี่ย มีพื้นฐานการคำนวณจากเส้นค่าเฉลี่ย SMA หรือ EMA แล้วนำค่าเฉลี่ยดังกล่าวมาคำนวณเป็นค่าเส้นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเส้น (Standard Deviation) ซึ่งหากนำ ATR มาเปรียบเทียบกัน เวลาที่ ATR พุ่งขึ้นสูงๆ หรือความผันผวนเพิ่มมากขึ้น ตัวของ Bollinger Bands ก็จะขยายออกเช่นกัน ซึ่งมักเกิดในไม่กี่กรณี เช่น การกลับตัวของราคา หรือ การ Breakout ออกจากกรอบ

อินดิเคเตอร์ Forex : แบบวัด "Volume"

การวัดปริมาณการซื้อขายของตลาดโดยรวมของตลาด Forex นั้นเป็นสิ่งที่ "เป็นไปไม่ได้" ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนที่เทรดในตลาด OTC เช่นกัน เนื่องจากการที่ไม่มีระบบหรือคนกลางในการเข้ามารับหน้าที่ "ชำระราคา" (Clearing) ทำให้ไม่มีตัวกลางในการคำนวณปริมาณการซื้อขายจริงๆ ทุกอย่างจึงเป็นค่าประมาณเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ แตกต่างจากการเทรดในตลาดหุ้นที่เราเห็นปริมาณการซื้อขายได้จริงๆ

ปริมาณการซื้อขายที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มของคุณนั้น มาจากการสตรีมข้อมูลของโบรกเกอร์ของคุณ (ข้อมูลการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโบรกเกอร์) ตัวเลขเหล่านั้นไม่ได้รายงานปริมาณการซื้อขายจากโบรกเกอร์อื่นๆ หรือจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในการเทรด Forex ด้วยการประเมินค่าของ Indicator ประเภท Volume แม้มันจะไม่ใช่ปริมาณการซื้อขายที่ถูกต้องหรือแท้จริงในตลาดก็ตาม

On-Balance Volume (OBV)

เครื่องมือที่นิยมมากที่สุด คือ On-Balance Volume (OBV) ใช้เพื่อวัดการเพิ่มหรือลดลงของปริมาณการซื้อขายของตราสารต่างๆ เทียบกับราคาของมัน แนวคิดก็คือ "Volume นำ Price" หรือปริมาณการซื้อขายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยมันจะเป็นสิ่งที่ยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาว่า "หนักแน่น" เพียงใด โดยหากปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น ตัว OBV ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น + ในทางตรงกันข้าม หากปริมาณการซื้อขายลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนๆ OBV ก็จะลดลง

วิธีการดูง่ายๆ คือ หากราคาเพิ่มขึ้น ตัว OBV ก็ควรจะเพิ่มขึ้นสนับสนุนตามกันไปด้วย เพราะหากราคาเพิ่มขึ้น แต่ OBV ลดลง ก็ย่อมแปลว่า ปริมาณการซื้อขายไม่ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งเท่ากับว่า สภาวะราคาปัจจุบันที่กำลังสูงขึ้นนั้น แท้จริงแล้ว "อ่อนแอ" และนั้นหมายถึงการมาของสัญญาณเข้า Sell

สุดท้ายนี้ หากคุณพร้อมและอยากเริ่มต้นลงทุน Forex ด้วยเทคนิคการใช้ Indicator ต่าง ๆ ก่อนอื่นนั้น คุณควรจะแน่ใจก่อนว่า คุณเข้าใจวิธีการใช้งานแพลตฟอร์มการเทรดเป็นอย่างดีแล้วหรือไม่ ซึ่งเราแนะนำให้คุณ เปิดบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account"

บัญชีดังกล่าวจะจำลองเงินมาให้คุณเทรด แต่จะเทรดในตลาดจริง สภาพแวดล้อมเหมือนจริงทุกประการ คำนวณกำไร-ขาดทุนให้ตามราคาตลาดจริงๆ เพียงแต่เป็นระบบเงินจำลองเท่านั้น บัญชี Demo จึงเป็นเหมือนห้องแล็บสำหรับการเทรด และถ้าพร้อมแล้ว คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่าง

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

Disclaimer: เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
MACD คืออะไร? : เจาะลึกการใช้ MACD Indicator
MACD Indicator คือหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้ MACD Forex เป็นเหมือน "ของคู่กัน" โดยในบทความนี้ เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจเริ่มตั้งแต่ว่า MACD คืออะไร, การตั้งค่า MACD, ค่า MACD ที่เหมาะสม, แนวคิดของ MACD Indicator ว่ามีวิธีการใช้งานเบื้องต้นอย่างไร และส...
Market Sentiment คือ - รู้จักและเข้าใจตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของ Forex!
Market Sentiment คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นของตลาด Forex อย่างไร มาหาคำตอบ รวมถึงข้อมูลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น วิธีดู Market Sentiment เพื่อดูความเชื่อมั่นของตลาด และ Market Sentiment อินดิเคเตอร์ประเภทต่างๆ ในตลาด ไปพร้อมกันที่นี่เพราะการทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ตลาด Forex แนวคิด และคว...
Stochastic Oscillator คือ: เทคนิค การตั้งค่า และการใช้ Stochastic
Stochastic Oscillator หรือ Stochastic คือ Indicator ที่ช่วยให้สามารถเทรดได้อย่างคล่องตัวได้มากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสำหรับการเทรด Forex (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : Forex คือ), หุ้น รวมถึงสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ อย่างทองคำ, น้ำมัน คำว่า Stochastic เป็นค...
ดูทั้งหมด