อิชิโมกุ (Ichimoku) - คู่มือการใช้ในระบบเทรดแบบต่างๆ

Admirals
20 นาที

เทคนิคการเทรดที่มาจากดินแดนปลาดิบ "ญี่ปุ่น" มีเทคนิคที่เป็นที่รู้จักกันดีในโลกของการวิเคราะห์ทางเทคนิค นั่นก็คือ "กราฟแท่งเทียนญี่ปุ่น" (Japanese candlesticks) แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการเทรดที่มาจากญี่ปุ่น? คำตอบก็คือ "Ichimoku Kinko Hyo" หรือบางคนจะนิยมเรียกสั้นๆ ว่า "Ichimoku Cloud" เพราะลักษณะเป็นเหมือน "ก้อนเมฆ" ที่ทำหน้าที่ในการติดตามแนวโน้ม (trend-following) และทำให้คุณสังเกตเห็น Price Action ในภาพรวมได้อย่างรวดเร็ว

ichimoku kinko hyo หรือ Ichimoku คือ?

Ichimoku คือ อินดิเคเตอร์วิเคราะห์กราฟราคา ที่มีความสามารถหลากหลาย ตั้งแต่ระบุแนวรับ-แนวต้าน ยืนยันทิศทางของราคา ประเมินกำลังของแนวโน้ม และสามารถใช้เป็นตัวให้สัญญาณในการเข้าเทรดได้โดยตรง

ระบบการเทรด ichimoku ส่วนใหญ่จะเรียกสั้นๆ ว่า Ichimoku Cloud มันได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดย Goichi Hosoda "นักข่าวชาวญี่ปุ่น" ผู้ใช้เวลากว่า 30 ปี ในการปรับปรุงเทคนิคนี้ของเขาให้สมบูรณ์ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะในช่วงราว 1960

มันเป็นระบบการเทรดที่ทำงานกับได้ดีกับทุกไทม์เฟรมและทุกๆ สินค้าทางการเงินใดๆ Indicator ตัวนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าใจสภาวะตลาดในสินค้าประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ค้นพบโอกาสในการเข้าเทรดได้มากกว่า พูดง่ายๆ ก็คือ มันจะช่วย "กรอง" สภาวะตลาดที่เรา "จะเทรด" หรือ "ไม่เทรด" ได้ทีละหลายๆ สินค้าในช่วงเวลาเดียวกันได้ ทำให้ประหยัดเวลาในการมอนิเตอร์ตลาดลงไปได้อย่างมาก ทั้งนี้อิชิโมกุสามารถใช้ได้ดีทั้งตลาดที่เป็น Uptrend หรือ Downtrend โดยมันได้รับความนิยมอย่างมากในการเทรดในตลาด Forex

 

ส่วนประกอบของ Ichimoku

Ichimoku Kinko Hyo คือ อินดิเคเตอร์ที่ประกอบด้วยกราฟิกจำนวนมากที่พล็อตลงบนกราฟราคา ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เราสามารถระบุว่าแนวรับและแนวต้านว่าอยู่ที่บริเวณใด และจะมีส่วนที่บอกว่า ตลาดมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ดังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้

เวลาเราใส่อิชิโมกุเข้าไปใน MT5 ก็จะมีให้ปรับแต่งอยู่ 5 อย่าง โดยตัวหลัก คือ Up Kumo กับ Down Kumo ซึ่งจะเป็นตัวที่แสดงก้อนเมฆ ให้สังเกตที่ภาพ 1.1 ด้านล่าง ถ้า Up Kumo อยู่ด้านบน ตัวก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นสีของ Up Kumo หรือก็คือ "เป็นขาขึ้น" ซึ่งในกรณีนี้ตั้งค่าไว้เป็นสีฟ้า แต่ถ้า Down Kumo อยู่ด้านบน ตัวก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นสีของ Down Kumo หรือ "ขาลง" ซึ่งในกรณีนี้ตั้งค่าไว้ให้เป็นสีแดง

ภาพ 1.1 : กราฟ EURCHF ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 15 Jun - 28 Jul 2020, แสดงกราฟิกต่างๆ ที่จะแสดงเมื่อใช้ Ichimoku Kinko Hyo ในแพลตฟอร์มของ Admirals

Disclaimer: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

Kumo หรือ Cloud 

Kumo นับว่าสำคัญที่สุดสำหรับการใช้ Ichimoku ซึ่งจะแบ่งเป็น Up Kumo กับ Down Kumo โดย Up Kumo เดิมทีจะเรียกว่า Senkou Span A (SSA) ในขณะที่ Down Kumo จะเรียกว่า Senkou Span B (SSB) หน้าที่หลักของ Kumo คือการระบุแนวโน้ม

  • ถ้า SSA อยู่เหนือ SSB = แนวโน้มจะเป็นขาขึ้น (หรือดูว่าเป็นก้อนเมฆสีตาม Up Komo)
  • ถ้า SSB อยู่เหนือ SSA = แนวโน้มจะเป็นขาลง (หรือดูว่าเป็นก้อนเมฆสีตาม Down Komo)
  • ถ้าก้อนเมฆวิ่งตัดกลับไปกลับมา หรือราคาวิ่งมาพันกับแนวก้อนเมฆ แน่นอนว่า สภาวะแบบนี้คือช่วงที่ตลาดเป็น Sideways
  • ถ้าก้อนเมฆ "แคบ" = ช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย
  • ถ้าก้อนเมฆ "กว้าง" = ก็คือช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก โดยหลักการนี้จะเหมือนกับแนวคิดของ Bollinger Bands

Tenkan-Sen และ Kijun-Sen

Tenkan หรือเส้น "Fast Line" กับ Kijun Sen หรือเส้น "Slow Line" ทั้ง 2 อย่างนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือระบุสัญญาณการเทรด โดยจะใช้แนวคิดเดียวกันกับ Moving Average โดย Tenkan ทำหน้าที่เป็นภาพแทนของแนวโน้มระยะสั้น ในขณะที่ Kijun-Sen คือภาพแทนของแนวโน้มระยะกลาง

  • Tenkan จะถูกพิจารณามากกว่า โดยเป็นภาพแทนของโมเมนตัมในระยะสั้น
  • Tenkan ที่เพิ่งตัดเหนือ Kijun-Sen ขึ้นก็เปรียบเสมือนเส้นค่าเฉลี่ยที่ตัดขึ้น และสะท้อนภาพ Bullish ในระยะสั้น
  • ในทางตรงกันข้าม หาก Tenkan ตัดเส้น Kijun-Sen ลงมา ย่อมหมายถึง ภาพที่เป็น Bearish

Chikou หรือ "ภาพใหญ่"

หน้าที่ของ Chikou คือการแสดงการเคลื่อนไหวของราคาในช่วง 26 แท่งเทียนที่ผ่านมา ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถปรับวันเป็นจำนวนวันอย่างอื่นได้ แต่ที่ต้องใช้ 26 วันเพราะมองว่า จะเป็นตัวแทนของภาพการเทรดในรอบ 1 เดือน ซึ่งจะอยู่ประมาณ 20 - 30 วันนั่นเอง ฉันหมายถึงมันเป็นรูปแก้วที่มีราคาแพง แต่มันเปลี่ยนไป 26 แท่งเทียน ด้วยเหตุนี้สถานการณ์ราคาปัจจุบันจึงเปรียบได้กับช่วงเวลา 26 ก่อนหน้า การวิเคราะห์ของ Chikou ยืนยันถึงแนวโน้มใหม่และศักยภาพของมันเมื่อเทียบกับระดับอื่นๆ ในอิชิโมกุ 

ทดลองเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย Ichimoku 

คุณคงไม่ทราบว่า เทคนิคการเทรดของค่ายแดนปลาดิบไม่ว่าจะเป็น "การแท่งเทียน" หรือที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้อย่างอิชิโมกุนั้น หลักๆ พัฒนาเพื่อการเทรดในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะการเทรดในตลาดข้าว ดังนั้น การคุณกำลังทดลองที่จะใช้อิชิโมกุแล้ว เราอยากขอให้แนะนำให้คุณทดลองเปิดบัญชีเทรด Commodity กับ Admirals ดู คุณสามารถทดลองเทรดด้วยบัญชีเงินจำลองได้อย่างไม่จำกัด ง่ายๆ เพียงคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง เปิดบัญชีฟรี!

ข้อดีของระบบ Ichimoku

  1. สามารถใช้ในตลาดการซื้อขายเกือบทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตลาดฟิวเจอร์สและออปชัน ฟอเร็กซ์ ดัชนี และโลหะมีค่า (ทองและเงิน) เป็นต้น
  2. Ichimoku ช่วยให้คุณสามารถเลือกการกำหนดค่าหรือการตั้งค่าการเทรดได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเข้าใจทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา ความรู้สึก โมเมนตัม และความแข็งแกร่งของแนวโน้มในทันที
  3. Ichimoku แสดงภาพที่ชัดเจนมาก เนื่องจากแสดงข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งให้ความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นในการทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคา เทคนิคนี้รวมอินดิเคเตอร์ 3 ตัวในกราฟ ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลมากขึ้น
  4. Ichimoku เป็นระบบกราฟระบุแนวโน้ม ซึ่งจะทำงานได้ดีที่สุดในตลาดที่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน เพื่อช่วยในการค้นหาทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อให้ผู้ซื้อขายมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับแนวโน้มโดยทั่วไป
  5. Ichimoku จะช่วยให้จับทิศทางของแนวโน้มในกรอบเวลาของการเทรด เพื่อจับภาพการแบ่งราคาที่ผิดพลาดได้

การใช้ Ichimoku ใน MT4

การใช้งาน Ichimoku Kinko Hyo ใน MT4 ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด Ichimoku มาเพิ่ม เนื่องจากเป็นอินดิเคเตอร์ที่มาพร้อมกับเครื่องมือหลักของแพลตฟอร์ม แต่สิ่งที่ต้องทำคือดูที่รายการอินดิเคเตอร์ในแท็บ "Navigator" ตามภาพด้านล่างที่แสดงให้เห็นว่ามี 4 โฟลเดอร์ย่อยของอินดิเคเตอร์ใน MT4 ซึ่ง Ichimoku จุอยู่ภายในโฟลเดอร์ย่อย "Trend"

ที่มา: MetaTrader 4 - กราฟราคา 1 ชั่วโมงของ USD/JPY - การตั้งค่าสีของ Ichimoku

จากนั้นคลิกที่ "Ichimoku Kinko Hyo" ซึ่งจะเป็นการเปิดหน้าต่างที่แสดงรายการองค์ประกอบกราฟิกต่างๆ ของอินดิเคเตอร์ขึ้นมา โดยภาพด้านบนคือสีแบบเริ่มต้น ซึ่งคุณสามารถกำหนดค่าลักษณะภาพอื่นๆทางดร็อปดาวน์ (เช่น ความหนาของเส้น การแต่งจุด ฯลฯ) ซึ่งสามารถคลิกที่แท็บ "Parameters" ทั้งนี้ ค่าเริ่มต้นจะแสดง ดังนี้

  • Tenkan-sen: 9
  • Kijun-sen: 26
  • Senkou span B: 52

ภาพด้านล่างจะแสดงอินดิเคเตอร์ Ichimoku พร้อมค่าเริ่มต้นที่เพิ่มลงในกราฟ USD/JPY รายชั่วโมง:

ที่มา: MetaTrader 4 - กราฟราคารายชั่วโมงของ USD/JPY กราฟที่ใช้อินดิเคเตอร์ Ichimoku - Disclaimer: กราฟของตราสารทางการเงินในบทความนี้มีไว้เพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายเท่านั้น และไม่ถือเป็นคำแนะนำในการซื้อขายหรือการชักชวนให้ซื้อหรือขายตราสารทางการเงินใดๆ ที่จัดทำโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) และประสิทธิภาพการดำเนินงานในอดีตไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในอนาคต

วิธีการตีความด้วย Ichimoku Kinko Hyo

การพิจารณา Tenkan-sen + Kijun-sen + Chikou span

Tenkan-sen "เส้นเร็ว" แสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น ซึ่งมันก็เปรียบเสมือน "เส้นเร็ว" เวลาเราใช้ Moving Average แบบเป็นคู่ ถ้าหากราคาสูงกว่าเส้น Tenkan-sen มันก็บ่งบอกว่า ในระยะสั้นนั้น ราคาเป็นขาขึ้น แต่หากราคาต่ำกว่า Tenkan-sen ก็หมายถึง ตลาดกำลังเป็นขาลงในระยะสั้น จะเห็นว่า แนวคิดเหมือนเรื่องเส้นค่าเฉลี่ยทุกประการ

  • Tenkan-sen คือ ภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น

เทคนิคของ Tenkan-sen คือการที่เราต้องพยายามสังเกตลักษณะการเคลื่อนที่ของมัน โดยถ้าเส้น Tenkan-sen มีลักษณะราบเรียบ หรือยักไปยักมา นั่นจะบ่งบอกว่า ในระยะสั้น ตลาดยังเคลื่อนเป็น Sideways อยู่ ซึ่งถ้าภาพในระยะสั้นยังไม่มีแนวโน้ม เราก็ยังไม่ควรเข้าไปเทรด แต่ถ้า Tenkan-sen เคลื่อนเป็นแนวโน้ม เช่น มีการทำ Higher High ในตัวเส้น Tenkan-sen นั่นก็อาจหมายถึง ตลาดกำลังจะเคลื่อนเป็นแนวโน้มครั้งใหม่

เนื่องจาก Ichimoku Cloud คือ อินดิเคเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเน้นให้เทรดเกาะไปตามแนวโน้มเป็นหลัก ดังนั้น การจะตอบคำถามที่ว่า ichimoku cloud ใช้ยังไง ก็สามารถตอบได้ว่าจะใช้เมื่อตลาดมีแนวโน้มเท่านั้น และการจะยืนยันแนวโน้มได้ เราจะใช้ Tenkan-sen (เส้นเร็ว) และ Kijun-sen (เส้นช้า) ประกอบกัน โดยตัว Kijun-sen นั้นก็ใช้แนวคิดเรื่อง Moving Average เช่นเดียวกัน แต่มันจะเป็นภาพแทนของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า

  • Kijun-sen คือ ภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะกลาง

การทำงานร่วมกันระหว่างของ Tenkan-sen และ Kijun-sen จะสามารถให้สัญญาณการเทรดแก่เราในลักษณะคล้ายกับการ 'ครอสโอเวอร์' ของเส้นค่าเฉลี่ยได้ กล่าวคือ หาก Tenkan-sen (เส้นเร็ว) เคลื่อนที่ตัดขึ้นไปเหนือ Kijun-sen (เส้นช้า) นี่ก็เท่ากับเป็นสัญญาณให้เข้า Buy ได้ ในทางกลับกัน ถ้า 'เส้นสั้น' ตัด 'เส้นยาว' ลงมา ก็ใช้เป็นสัญญาณ Sell ได้

แต่ทั้งนี้ Chikou span จะเป็นตัวคุมภาพรวมในการเทรดระยะสั้นทั้งหมด ตัว Chikou span จะเป็นตัวบอก "Big Picture" หรือภาพใหญ่ ณ ขณะนั้นว่า สัญญาณจาก Tenkan-sen และ Kijun-sen จะสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ วิธีการดู Chikou span คือให้โฟกัสที่เส้น Chikou span เลยว่า มันอยู่เหนือราคาหรือใต้ราคา

  • ถ้า Chikou span สูงกว่าราคา = อยู่ในโทน Bullish
  • ถ้า Chikou span ต่ำกว่าราคา = อยู่ในโทน Bearish

คุณควรจะใช้ Chikou span เป็นตัวกรอง ก่อนที่จะใช้สัญญาณกาตัดกันของ Tenkan-sen และ Kijun-sen เช่นในกรณีที่คุณต้องการ Sell คุณต้องรอให้ Chikou span ต่ำกว่าราคาก่อน แล้วค่อยไปดู Tenkan-sen (เส้นสั้น) ว่ามันได้ตัด Kijun-sen (เส้นยาว) ลงมาหรือไม่

Cloud

Kumu หรือ "ก้อนเมฆ" เป็นพื้นที่ระหว่าง Senko Span A และ Senko Span B คืออะไร หากราคาอยู่เหนือก้อนเมฆก็เป็นสัญญาณ Bullish ส่วนบนของคลาวด์ทำหน้าที่เป็นบรรทัดแรกและส่วนล่างของก้อนเมฆเป็นบรรทัดที่สอง หากราคาต่ำกว่าคลาวด์การกลับรายการจะเป็นจริง

อย่างที่เคยบอกว่า Cloud นั่นถือว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่สุดของระบบการเทรด ichimoku คือเครื่องหมายคร่าวๆ และด้านล่างของก้อนเมฆทำหน้าที่เป็นแนวต้านระดับแรก มีเหตุผลส่วนบนของก้อนเมฆเป็นระดับที่สองของแนวต้าน ยิ่งก้อนเมฆกว้างเท่าไหร่ก็จะยิ่งรองรับหรือต้านทานได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่ก้อนเมฆมีขนาดบาง นั่นหมายถึงความแข็งแกร่งของแนวนั้นๆ ก็เบากว่าก้อนเมฆที่มีขนาดใหญ่

สรุปประโยชน์ของ Ichimoku Kinko Hyo

จากคำอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ของ Ichimoku จะเห็นว่า แต่ละองค์ประกอบมีประโยชน์ในตัวของมันเอง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • สามารถใช้เทรดในตลาดการเงินได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น, ฟิวเจอร์สหรือออปชั่น แน่นอนว่ารวมถึงตลาด Forex ด้วย ซึ่งที่ทำให้ Ichimoku Cloud สามารถใช้ได้กับสินค้าที่หลากหลายเนื่องจากมันถูกออกแบบในแก้จุดอ่อนของเครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมิน "ความผันผวน" ของตลาดได้อย่างสะดวก โดยในกรณีของ Ichimoku Kinko Hyo จะสามารถวิเคราะห์ความผันผวนผ่าน "ขนาดของเมฆ" ได้ทันที
  • Ichimoku จะช่วยให้คุณเลือกตัวเลือกที่กระชับหรือแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วรวมถึงความเข้าใจอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับทิศทางความรู้สึกแรงผลักดันและความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคา
  • Ichimoku แสดงภาพที่ชัดเจนขึ้นเพราะมันแสดงข้อมูลจำนวนมากขึ้นซึ่งให้ความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการทำความเข้าใจกับการเคลื่อนไหวของราคา เทคโนโลยีนี้รวมตัวบ่งชี้สามตัวบนแผนที่ทำให้ผู้ค้าสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น
  • Ichimoku Kinko Hyo เป็นระบบกราฟแนวโน้มความชอบ นั่นคือมันทำงานได้ดีที่สุดในตลาดที่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ค้าหาทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคาเพื่อให้เขาสามารถเข้าใจแนวโน้มโดยรวมได้ดีขึ้น วิธีนี้ช่วยให้คุณสามารถจับทิศทางของแนวโน้มระหว่างชั่วโมงการซื้อขายเพื่อที่ Ichimoku จะได้รับการแบ่งราคาผิด

กลยุทธ์การเทรด Ichimoku Kinko Hyo

ทฤษฎีหรือเคล็ดลับเทรดด้วย ichimoku แต่หัวข้อนี้จะแสดงตัวอย่างวิธีการเข้าเทรดด้วยสัญญาณจาก Ichimoku โดยท่านสามารถเลือกใช้วิธีการเทรดได้อย่างหลากหลาย โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อดังที่แสดงต่อไปนี้

การอ่านแนวโน้มด้วย Ichimoku Cloud

ภาพ 1.2 : กราฟ Gold ราย 1 Day, ตั้งแต่ 7 May - 29 Nov 2019, แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านแนวโน้มด้วย Ichimoku Cloud

Disclaimer: กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

สำหรับคนที่เทรดตามแนวโน้ม จะมี 2 จังหวะ อย่างแรกคือที่แสดงตามภาพ 1.2 จะเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่ราคาวิ่งจากด้านบนทะลุเมฆลงมา นั่นจะถือเป็นจังหวะในการเข้า Sell ในทางตรงกันข้าม หากราคาอยู่ใต้ดินมาตลอด แล้วสามารถสะสมกำลังจนวิ่งขึ้นไปทะลุก้อนเมฆของ Ichimoku Kinko Hyo ได้ ก็จะถือว่าเป็นสัญญาณ Buy ลองสังเกตลูกศรตามภาพที่ 1.2

อีกประการหนึ่งที่เป็นข้อสังเกต คือ กรณีที่มีการวิ่งทะลุเมฆ หลายครั้งมักเกิดจากการสะสมกำลังจนเปลี่ยนทิศ ซึ่งก่อนจะเปลี่ยนทิศมักมีสัญญาณ Divergence ในเครื่องมือประเภท Oscillator ดังนั้น ในกรณีที่เราจะใช้วิธีการเทรดตามแน้วโน้มโดยรอให้ราคาวิ่งทะลุเมฆ อยากให้สังเกตว่า ก่อนหน้านั้นได้มีสัญญาณ Divergence จากเครื่องมือ เช่น MACD หรือ RSI หรือไม่

การซื้อสะสม

ยังอยู่ที่ภาพ 1.1 เช่นเดิม ตอนแรกเป็นการเทรดตามแนวโน้ม ส่วนในกรณีของการ "ซื้อสะสม" ก็ยังอาศัยการเทรดตามแนวโน้มเช่นเดิม แต่จะใช้แนวคิดของการซื้อสะสม ซึ่งคุณสามารถประยุกตร์ใช้เข้ากับเทคนิคการเทรดแบบ Grid Trading ได้ด้วย โดยการซื้อสะสมจะเข้าซื้อในจังหวะการย่อตัวของราคาที่เป็นแนวโน้ม

สิ่งที่เราต้องทำคือให้สังเกตว่า ขนาดของก้อนเมฆที่มารอรับเรานั้น มีขนาดใหญ่ขนาดไหน เช่น ถ้า Range ของก้อนเมฆอยู่ที่ประมาณ 50 Pips ก็ให้เราเตรียมเงินที่จะซื้อในช่วง 50 Pips หรืออาจจะคูณ 1.5 เพื่อขยายพื้นที่ในการรับซื้อก็ได้

คำถามคือว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า จะต้องเตรียมตัวตอนไหน วิธีการดูก็คือให้ดูที่ Tenkan-sen เพราะมันคือ คือ ภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น ถ้าในขณะที่ราคาเคลื่อนเป็นแนวโน้มขาขึ้นแล้ว แต่แล้วหลังจากนั้น Tenkan-sen ได้เคลื่อนตัดเส้น Kijun-sen ลงมา ก็ถือว่า การพักตัวได้เริ่มขึ้นแล้ว และให้เรารอสะสม Buy ตามขนาดของก้อนเมฆ

เริ่มทดสอบกลยุทธ์การเทรด Ichimoku Kinko Hyo กับ Admirals

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมากๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีทดลองเทรด (Demo) หรือบัญชีจริง เพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่ปุ่มด้านล่างนี้ได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MT4 และ MT5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

Disclaimer: เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
MACD คืออะไร? : เจาะลึกการใช้ MACD Indicator
MACD Indicator คือหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้ MACD Forex เป็นเหมือน "ของคู่กัน" โดยในบทความนี้ เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจเริ่มตั้งแต่ว่า MACD คืออะไร, การตั้งค่า MACD, ค่า MACD ที่เหมาะสม, แนวคิดของ MACD Indicator ว่ามีวิธีการใช้งานเบื้องต้นอย่างไร และส...
Market Sentiment คือ - รู้จักและเข้าใจตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของ Forex!
Market Sentiment คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นของตลาด Forex อย่างไร มาหาคำตอบ รวมถึงข้อมูลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น วิธีดู Market Sentiment เพื่อดูความเชื่อมั่นของตลาด และ Market Sentiment อินดิเคเตอร์ประเภทต่างๆ ในตลาด ไปพร้อมกันที่นี่เพราะการทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ตลาด Forex แนวคิด และคว...
Stochastic Oscillator คือ: เทคนิค การตั้งค่า และการใช้ Stochastic
Stochastic Oscillator หรือ Stochastic คือ Indicator ที่ช่วยให้สามารถเทรดได้อย่างคล่องตัวได้มากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสำหรับการเทรด Forex (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : Forex คือ), หุ้น รวมถึงสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ อย่างทองคำ, น้ำมัน คำว่า Stochastic เป็นค...
ดูทั้งหมด