Pivot Point คือ: สรุปพื้นฐานและเทคนิคการใช้ Pivot Point Indicator

Alexandros Theophanopoulos
30 นาที

Pivot Point คือ ? สำหรับเทรดเดอร์ที่กำลังสนใจเครื่องมือที่เรียก่วา Pivot Point ก็ถือว่ามาถูกที่แล้ว! โดยบทความนี้ก็จะให้ข้อมูลพื้นฐานของการใช้งาน Pivot Point และเทคนิคการใช้ Pivot Point ซึ่งเป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับการเทรดในตลาด Forex โดยเฉพาะวิธีการเทรดแบบ Day Trade 

Pivot Point คือ

Pivot Point คือ เครื่องมือระบุระดับราคาที่เป็นแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติ โดยคำนวณจากราคา High, Low และราคาปิด (Close) ของช่วงเวลาก่อนๆ ซึ่ง Pivot Point ถือเป็นเครื่องมือ Technical Analysis ชนิดหนึ่งที่ได้รับการนิยมอย่างมากในตลาดตราสารอนุพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน Forex, ทองคำ, น้ำมัน หรือฟิวเจอร์สของหุ้นต่างประเทศ เนื่องจาดตลาดดังกล่างมีความผันผวนสูงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้ Pivot Point เพื่อคำนวณแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติจึงสะดวกกว่า

Pivot Point คือ เครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัดสภาวะตลาด ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) หรือแนวโน้มขาลง (Bearish) เช่น

  • ถ้าแนวโน้มขาขึ้น เทรดเดอร์จะใช้ Pivot Point เพื่อดูแนวรับในการเข้าเทรด
  • ถ้าเป็นแนวโน้มขาลง เทรดเดอร์จะใช้ Pivot Point ดูแนวต้านเพื่อหาจังหวะในการเข้า Sell
  • ถ้าตลาดเป็น Sideway ก็จะใช้ทั้งแนวรับ-แนวต้านจาก Pivot Point สามารถเข้าเทรดได้ทั้ง 2 ฝั่ง

สูตรคำนวณ Pivot Point

เทคนิคการใช้ Pivot Point ขั้นแรกหลังจากที่ทราบแล้วว่า Pivot Point คือ Indicator Forex ที่ช่วย คำนวณแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติ โดยแนวคิดของ Pivot Point จริงๆ พื้นฐานมาจากเรื่องค่าเฉลี่ย หรือ "Mean" วิธีการของ Pivot Point Indicator จะคำนวณจุดกึ่งกลางออกมาก่อน ซึ่งจุดดังกล่าวจะเรียกว่า "PP" หรือจุด P (ซึ่งก็คือจุด Pivot Point นั่นเอง) โดยค่า PP แบบมาตรฐานจะคำนวณโดยใช้สูตร

  • P = (H + L + C)/3

สูตรข้างต้น คือการนำราคา High + Low + Close แล้วหาร 3 ก็จะได้ค่ากึ่งกลางของวันก่อน หลังจากนั้นจะนำค่า PP หรือค่ากึ่งกลางนั้นมาบวก-ลบ กับค่า High, Low อีกครั้ง ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้

  • แนวรับแรกจะเรียกว่า S₁ : คำนวณจาก = (Px2) - High
  • แนวรับที่สองจะเรียกว่า S₂ : คำนวณจาก = P - (High - Low)
  • แนวต้านแรกจะเรียกว่า R₁ : คำนวณจาก = (Px2) - Low
  • แนวต้านที่สองจะเรียกว่า R₂ : คำนวณจาก = P + (High - Low)
ภาพ 1.1 : กราฟ Bitcoin (BTCUSD)ราย 4 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 8 May - 9 July 2020, แสดงแนวรับ-แนวต้าน Pivot Point ที่สร้างขึ้นอัตโนมัติในกราฟ โดยจะแสดงด้านขวาสุดถัดจากราคาปัจจุบัน

 

พื้นฐาน 'แนวรับ-แนวต้าน' : ก่อนเลือกใช้ Pivot Point

การวิเคราะห์ทางเทคนิคเกือบทุกรูปแบบมีพื้นฐานจากการวิเคราะห์แนวโน้ม และการพยายามระบุให้ได้ว่า แนวโน้มดังกล่าวนั้น จะยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ได้หรือไม่ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดของการวิเคราะห์จุดกลับตัวต่างๆ (Reversal Pattern) แต่รูปแบบการกลับตัวของกราฟจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมันฟอร์มตัวขึ้นในบริเวณแนว "แนวรับ-แนวต้าน" หัวข้อนี้จะอธิบายพื้นฐานของเรื่องแนวรับ-แนวต้าน แล้วจึงอธิบายเทคนิคการใช้ Pivot Point ต่อลองพิจารณาตัวอย่างในภาพ 1.2

ภาพ 1.2 : กราฟ GBPUSD รายสัปดาห์, ตั้งแต่ June 2013 - July 2020, ภาพนี้แสดงตัวอย่างแนวรับ-แนวต้านในไทม์เฟรมที่ใหญ่ ในกรณีนี้ใช้ไทม์เฟรม Weekly ซึ่งเทรดเดอร์สามารถหาจุดที่เป็นแนว-แนวต้านได้ด้วยตาเปล่า

 

จะเข้าใจเรื่อง Pivot Point Indicator ได้ ก็ต้องเข้าใจที่มาที่ไปของแนวรับ-แนวต้านก่อน เพราะ Pivot Point จะเป็นตัวเสริมที่มีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเราเข้าใจหลักการพื้นฐานของเรื่องแนวรับ-แนวต้าน โดยในภาพ 1.2 จะเห็นว่า แนวรับ-แนวต้าน ก็คือแนวราคาที่เคยเป็นจุดกลับตัวเก่าๆ เมื่อตีเส้นแนวนอนจะได้เส้น [A] และเส้น [B] และอย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่า พวก Pattern ของราคาต่างๆ จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นในบริเวณแนวรับ-แนวต้าน

ให้สังเกตว่าที่จุด [2] และ [4] มีการกลับตัวลงไปเมื่อขึ้นมาชนแนวต้าน [B] ซึ่งความจริงแล้ว ทั้งจุด [2], [4] มีการฟอร์มเป็นรูปแบบราคาที่เรียกว่า Head and shoulders ซึ่งเป็นรูปแบบราคาที่แสดงว่า แนวโน้มของราคาในช่วงที่ผ่านมามีการอ่อนแรงและเสียทรงของแนวโน้มลงแล้ว ในขณะที่จุดที่ [1] และ [3] เกิดเป็นลักษณะ Engulfing และ Piercing ตามลำดับ ซึ่งเป็น รูปแบบ Price Action รูปแบบหนึ่งที่ทรงพลังมาก แสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาได้เช่นกัน และในกรณีนี้จะเห็นว่า ทั้ง [1], [3] เกิดรูปแบบการกลับตัวที่บริเวณแนวรับ [A]

เมื่อราคาปะทะที่ 'แนวรับ-แนวต้าน' แล้วเกิดรูปแบบการกลับตัวต่างๆ ราคาก็มักจะสะท้อนกลับ เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ก็มักเลือกที่จะเข้า Buy ที่จุด [1] และ [3] โดยจะกลับมารอ Sell ที่จุด [2] และ [4] นี่คือพื้นฐานของแนวคิดเรื่องแนวรับ-แนวต้าน ซึ่งจะดูเหมือนง่ายมากๆ เพราะ เวลาเทรดในไทม์เฟรมใหญ่ๆ เราจะโฟกัสเฉพาะจุดกลับตัวใหญ่ๆ เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่า จุดกลับตัว [1], [2], [3] และ [4] นั้น ระยะเวลาห่างเป็นอย่างน้อย 15 วัน และจาดจุด [1] ไป [2] มีระยะเวลาห่างกันถึง 2 เดือน! ซึ่งหากเราต้องการกำไรในระยะสั้น วิธีการตีแนวรับ-แนวต้านแบบนี้ก็นับว่าไม่เหมาะสมกับกลยุทธ์ของเรา ในหัวข้อต่อเราจะอธิบายว่า ทำไมการเทรดในไทม์เฟรมที่เล็กลงถึงมีความยากมากกว่า และตัว Pivot Point Indicator มีความสำคัญอย่างไรกับตลาด Forex และจะนำมาใช้แทน 'แนวรับ-แนวต้าน' ได้อย่างไร

เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีทดลองเทรดของ Admirals

หากคุณอ่านเกี่ยวกับ 'แนวรับ-แนวต้าน' และพอจะเริ่มได้ไอเดียเกี่ยวกับการเทรดด้วยวิธีการนี้บ้างแล้ว ซึ่งถ้าคุณใช้แนวรับ-แนวต้านตามที่ได้อธิบายในภาพ 1.2 นั่นแปลว่า คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นนักเทรดแบบ Swing Trader หรือเทรดแบบถือครองสถานะนานหน่อย

และแน่นอนว่าเทรดเดอร์ที่เลือกเทรดกับ Admirals จะสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) ได้ ซึ่งทำให้สามารถทดลองกลยุทธิ์ใหม่ๆ รวมถึงการใช้แนวรับ-แนวต้าน แบบไม่มี Pivot Point ด้วย คุณจะสามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ คำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึกเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MT5 ที่จะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

รู้จัก Pivot Point Indicator : ตี 'แนวรับ-แนวต้าน' อัตโนมัติ

อย่างที่บอกไปว่า วิธีการตีแนวรับ-แนวต้านแบบนั้นอาจไม่เหมาะสมกับกลยุทธ์ของเรา ในกรณีที่ต้องการเทรดระยะสั้น หรือนักเทรดแบบ Day Trader นั่นจะต้องการจังหวะการเทรดที่ละเอียดกว่าการใช้กราฟรายสัปดาห์ หรือก็คือในไทม์เฟรมสั้นๆ ราคาจะสร้าง "แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ" ขึ้นมามากมาย ให้ลองสังเกตตัวอย่างจากภาพ 1.3 ซึ่งเป็นกราฟราย 5 นาที ซึ่งคำถามก็คือ แล้วเราจะเลือก Action จากจุดไหนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพ 1.3 : กราฟ GBPJPY ราย 5 นาที, ตั้งแต่ 7 - 8 July 2020, ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า หากซูมภาพมาในไทม์เฟรมเล็กๆ เช่น 5 นาที หรือ 1 ชั่วโมง เป็นต้น เราจะพบจุดกลับตัวย่อยๆ มากมาย ซึ่งกรณีของ Day Trade มีอาจจำเป็นต้องเข้าไปเทรดในภาพย่อยๆ เหล่านี้ ซึ่งยากกว่าการรอเทรดในจุดกลับตัวใหญ่ๆ ในไทม์เฟรม Weekly

 

ในภาพ 1.3 เราเจอปัญหาว่า มีแนวรับ-แนวต้านย่อยๆ เกิดขึ้นมากมายในไทม์เฟรมย่อยๆ แล้วเราจะ Action ที่แนวราคาไหนดี ซึ่งในภาพ 1.4 จะเห็นว่า พอเข้าใส่ Pivot Point Indicator เข้าไป มันเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ในการเทรด Forex ของเราได้ โดย Pivot Point จะคำนวณให้เห็นเฉพาะแนวราคาที่สำคัญๆ เท่านั้น ซึ่งขออธิบายอีกครั้งหนึ่งว่า

  • S1, S2, S3 คือ แนวรับ
  • R1, R2, R3 คือ แนวต้าน
  • PP คือ จุดกลาง หรือจุดอ้างอิง

ภาพ 1.4 : กราฟ GBPJPY ราย 5 นาที, 9 July 2020, กราฟต่อเนื่องจากภาพ 1.3 แต่ในกรณีนี้ได้ใส่อินดิเคเตอร์ Admiral Pivot Point เข้าไปได้ โดยแนวรับ-แนวต้านที่สร้างขึ้นโดย Pivot Point จะแสดงอยู่ด้านขวา ส่วนเส้นประสีชมพูด้านซ้าย เป็นการลากขึ้นมาใหม่เพื่อแสดงให้เห็นว่า แนวรับแนวต้านที่เกิดจากจุดกลับตัวเก่าๆ ก็มีระดับใกล้เคียงหรือแทบจะเป็นระดับเดียวกันกับแนวรับ-แนวต้าน ที่สร้างขึ้นจาก Pivot Point

 

และจากภาพ 1.4 ด้านบน กรณีที่เราเล่น Day Trade จะเห็นว่า เราจะมองเห็นแนวรับ S2 ไว้ล่วงหน้าก่อนอยู่แล้ว การ Day Trade จะนิยมเก็บส่วนต่างราคาเป็นกรอบๆ ซึ่งกรณีนี้เราจะสามารถมาดัก Buy บริเวณแนวรับ S2 และปิดกำไรที่บริเวณ S1 ให้สังเกตว่า Pivot Point จะช่วยเรากำหนดกรอบในการเทรดได้ชัดเจนมาก ถ้าเราเข้า Buy ที่ S3 ก็ให้ Take Profit ที่แนวถัดไป คือ S2 นี่คือแนวคิดหลักของ Pivot Point เลย

ซื้อขายด้วยระบบ Pivot Point ผ่าน MT5

MT5 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายข่าว หรือนักวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader 5 คือแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง เพื่อดาวน์โหลดแพลตฟอร์มไปใช้งานได้ฟรี!

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

ระบบเทรด Pivot Point และข้อควรระวัง

คุณจะเห็นว่า ตัว Pivot Point เป็นเพียงแนวราคาที่สร้างขึ้นมาใช้เป็น แนวรับ-แนวต้าน ดังนั้น หากคุณกำลังมองหาเทคนิคการใช้ Pivot Point คุณก็ต้องเข้าใจว่า มันก็เหมือนคุณสร้างระบบเทรดจาก แนวรับ-แนวต้าน เพียงแต่จะใช้ Pivot Point มาแทนนั่นเอง แต่! มีข้อแตกต่างที่คุณต้องระวัง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ในที่นี่เราจะแบ่งอธิบายตามไทม์เฟรมที่ใช้

1. Day Trader และ Scalper

กรณีที่เป็น Day Trader หรือคนที่ต้องการเทรดแบบ Scalping กรณีที่ต้องการใช้ Pivot Point เป็น Indicator หลักในการเทรด ให้พิจารณาเงื่อนไข 2 ประการดังต่อไปนี้

  • ถ้าแนวโน้มของทั้งสัปดาห์ หรือย้อนหลังไป 5 วันทำการ เป็นลักษณะ Trading Range หรือ "ไซต์เวย์" แนะนำให้ปรับ Admiral Pivot Point ในช่อง Timeframe for pivot points ให้เป็น D1 (ดูภาพ 1.5)

  • แต่ถ้าราคาเคลื่อนเป็นแนวโน้ม เช่น Uptrend หรือ Downtrend ให้เลือก Admiral Pivot Point ในช่อง Timeframe for pivot points ให้เป็น H1 (ดูภาพ 1.5)

เหตุผลในเรื่องนี้ คือ เวลาที่ราคาเป็น Trading Range หรือ "ไซต์เวย์" มันคือการที่ราคาจะกระจุกบริเวณ "กรอบบน" หรือ "กรอบล่าง" ถ้าเราเลือก Pivot Point เป็น H1 มันจะคำนวณราคาเปิด-ปิด ของกราฟ 1 ชั่วโมง ซึ่งมักจะไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมราคา เพราะกราฟ 1 ชั่วโมงมักจะเป็นแนวโน้มย่อยๆ ใน Trading Range ในขณะที่ราคาเปิด-ปิด ของไทม์เฟรม Day จะสอดคล้องกับพฤติกรรมราคามากกว่า ซึ่งเรื่องนี้เทรดเดอร์อาจจำเป็นต้องหมั่นสังเกตอยู่เรื่อยๆ โดยวิธีการปรับค่า Admiral Pivot Point ได้อยู่ตามภาพ 1.5

ภาพ 1.5 : กราฟ GBPUSD ราย 5 นาที, 9 July 2020, การใส่ Pivot Point Indicator เข้าไปในกราฟในแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 เริ่มจากให้เลือกแท็บ View ด้านบน แล้วเลือก Navigator (หรือกด Ctrl + N จากคีย์บอร์ด) จะขึ้นแผงเครื่องมือด้านซ้าย ให้ลาก Admiral Pivot มาวางบนกราฟ หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่างการตั้งค่าดังภาพ

 

และเหตุผลที่ต้องปรับ Admiral Pivot Point ให้เป็น H1 ในกรณีที่ตลาดเป็นแนวโน้ม เพราะเวลาที่ตลาดเป็นแนวโน้ม จะมีจังหวะ "ย่อตัว" ที่ไม่ลึกมาก แต่เวลาตลาดเป็นแนวโน้ม เราต้องการเข้าเทรดในจังหวะย่อนั้นๆ เราจึงต้องปรับ Indicator ต่างๆ ให้เร็วขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวย่อยๆ ให้สังเกตและเปรียบเทียบภาพ 1.6 กับ 1.7 ข้างล่าง ซึ่งภาพ 1.6 เป็นการปรับ Pivot Point ให้เป็น H1 ในขณะที่ภาพ 1.7 จะปรับ Pivot Point เป็น Day

ภาพ 1.6 : กราฟ EURUSD ราย 5 นาที, 30 June - 9 July 2020, ปรับ Pivot Point เป็น H1 จะได้แนวรับ-แนวต้าน ที่แคบ

 

 

ภาพ 1.7 : กราฟ EURUSD ราย 5 นาที, 30 June - 9 July 2020, ปรับ Pivot Point เป็น Day จะได้แนวรับ-แนวต้าน ที่กว้าง

 

ภาพ 1.6 กับ 1.7 คือภาพเดียวกัน แต่ปรับ Pivot Point คนละช่วงเวลา แต่เราจะเห็นว่า EURUSD ในภาพเป็นแนวโน้มขาขึ้น และสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องทำเมื่อเกิด Uptrend ก็คือการ "ซื้อเมื่อย่อ" แต่แนวรับ S1 ที่สร้างขึ้นจาก Pivot Point คนละช่วงเวลานั้นแตกต่างกันมาก

    • แนวรับ S1 ของ Pivot-H1 ราคาจะย่อมาประมาณ 40-50%
    • แนวรับ S1 ของ Pivot-Day ราคาจะย่อมาเกือบ 80%

ไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงก็พอจะมองออกว่า แนวรับของ Pivot-Day นั้นไม่สมเหตุสมผล ซึ่งในกรณีที่เราต้องหาจังหวะเทรดในสภาวะที่ตลาดเป็นแนวโน้ม (ย้อนหลัง 5 วันทำการ) ถ้าราคายังเป็น Uptrend ที่แข็งแรง ราคาจะย่อกลับมาบริเวณแนว PP หรือ S1 แต่ถ้าราคามาถึง S2 ต้องดูว่า เกิด Pattern ที่น่าสนใจหรือไม่ แต่! ถ้าราคาย่อลงมา 80% แบบที่ Pivot-Day บอกไว้ มันก็หมายถึง สภาวะของ Uptrend ได้อ่อนแรงลงไปแล้ว ดังนั้น จะเห็นว่า การเลือก Pivot Point ต้องดูแน้วโน้มย้อนหลังด้วย ซึ่งจะขอสรุปอีกครั้งว่า

  • ถ้าราคาเป็นแนวโน้ม ให้เลือก Pivot Point เป็นไทม์เฟรมเล็ก เช่น H1
  • ถ้าราคาเป็น Trading Rage หรือ ไซด์เวย์ ให้เลือก Pivot Point เป็นไทม์เฟรมใหญ่ เช่น Day

2. Swing Trader

ในบทความ " Swing Trade คือ : รวมแนวคิดและตัวอย่างระบบสวิงเทรดที่ใช้ได้ผลจริง" อธิบายว่า Swing Trade คือ รูปแบบการเทรดที่คาดหวังกำไรจากรอบการเทรดในระยะกลาง หรือมักมีระยะทางของส่วนต่างราคาที่ใกล้เคียงกับความผันผวนของสินทรัพย์ทางการเงินของทั้งสัปดาห์ หรือของทั้งเดือน ซึ่งส่วนต่างราคาดังกล่าวอาจมากกว่า 10-100 เท่าจากการ Day Trade ดังนั้น Swing Trade อาจถือครองสถานะการเทรดเพียงไม่กี่วัน หรือเป็นสัปดาห์ๆ ตามแต่เป้าหมายที่วางไว้

ปัญหาของชาวสวิงเทรดอาจมีน้อยกว่า (เพราะปกติ Pivot Point จะปรับเป็น Day อยู่แล้ว) ดังนั้น สำหรับคนที่ใช้กลยุทธ์ Swing Trading สามารถเลือกใช้ Pivot Point แบบที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก แต่จากภาพ 1.5 เราอาจจะปรับแต่งวิธีการคำนวณได้ เช่น ถ้าราคามีการกระจุกตัวบริเวณไหนเยอะๆ (มีราคาปิดแต่ละแท่งใกล้เคียงกันมาก) กรณีแบบนี้เราอาจปรับให้คำนวณเป็น HLCC/4 หรือให้น้ำหนักกับราคาปิดมากหน่อย

ภาพ 1.8 : กราฟ USDCAD ราย 4 ชั่วโมง, 27 May - 9 July 2020, ตัวอย่างมุมมองการเข้าเทรดด้วย Pivot Point แบบ Swing Trading

 

ตัวอย่างของระบบเทรด Pivot Point แบบ Swing Trading ในภาพ 1.8 จะเห็นว่า ที่บริเวณแนวต้าน R2 จะกลายเป็นแนวสังเกตต่อไปที่เราจะดูว่า ราคาจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา ซึ่งจริงๆ แล้ว แนว R2 ที่ Pivot Point คำนวณออกมานั่นก็พอดีกับแนวต้านเก่าในช่วง 26 June 2020 พอดี แต่ทั้งนี้ เราจะใช้ Stochastic Oscillator ในการเข้ามากำหนดจังหวะการเทรดอีกครั้งหนึ่ง

  • สำหรับ Swing Trading พยายามรอที่แนว S2-R2, S3-R3 (ถ้าเป็น S1-R1 บ่อยครั้งจะเป็นแนวย่อยๆ ที่รับหรือต้านไม่อยู่)
  • รอการ Cross ของ Stochastic Oscillator และเข้าเทรด

Pivot Point คือ: คำถามที่พบบ่อย

 

ตั้งค่า Pivot Point ยังไงดี ?

กลยุทธ์ Pivot Point ที่ดี คือ ดำเนินการในกรอบเวลาสั้นๆ เช่น 1 นาที 2 นาที และ 5 นาที ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่Day Traders และทำให้ Pivot Point คือหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในเรื่องของความแม่นยำ

 

สิ่งสำคัญที่สุดใน Pivot Point คือ ?

พื้นฐาน Pivot Point คือการกำหนดระดับที่ตลาดที่ความสมดุล โดยเหนือระดับนี้จะบ่งชี้ถึงภาวะกระทิง และต่ำกว่านั้นบ่งชี้ถึงภาวะหมี เนื่องจากโดยทั่วไปในเดย์เทรดจะมองหาการเคลื่อนไหวที่น้อยกว่า ระดับ R1 และ S1 จึงมีความสำคัญมากที่สุดในฐานะแนวต้านและแนวรับ

 

Pivot Point คืออะไร ใช้งานอย่างไร ?

Pivot Point สามารถช่วยกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดที่มีแนวโน้มที่กว้างขึ้น ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว Pivot Point คือ แนวรับและแนวต้านอีกรูปแบบหนึ่งที่เทรดเดอร์ใช้ในการระบุราคา และใช้ค้นหาแนวรับหลังจากร่วงลงหรือวิ่งเข้าสู่แนวต้านหลังจากเพิ่มขึ้น

 

พร้อมเทรดแล้วใช่ไหม ?

เราชื่อว่า คุณกำลังฮึกเหิมและพร้อมที่จะเข้าไปเทรดในตลาด Forex, Gold ด้วยระบบเทรด Pivot Point แล้ว แต่เชื่อไหมว่า ในทางปฏิบัติจริงๆ มันยากมากๆ ที่คุณจะสามารถเทรดได้ดั่งที่ใจหวังไว้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณควรจะทดสอบสัญญาณการซื้อขายของคุณ และตรวจสอบว่า ระบบ Pivot Point ของคุณเหมาะสมกับสินค้าใดบ้าง ซึ่งถ้าคุณทดลองใน Demo Account ก่อน ก็เท่ากับว่า คุณได้ป้องกันความเสี่ยงในเบื้องต้นแล้ว พอร์ตจะโตขนาดไหน ขึ้นอยู่กับว่าคุณชำนาญกับระบบเทรด Pivot Point ของคุณมากแค่ไหนต่างหาก! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) ได้แล้ววันนี้ ฟรี!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

บทความที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

อกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
MACD คืออะไร? : เจาะลึกการใช้ MACD Indicator
MACD Indicator คือหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้ MACD Forex เป็นเหมือน "ของคู่กัน" โดยในบทความนี้ เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจเริ่มตั้งแต่ว่า MACD คืออะไร, การตั้งค่า MACD, ค่า MACD ที่เหมาะสม, แนวคิดของ MACD Indicator ว่ามีวิธีการใช้งานเบื้องต้นอย่างไร และส...
Market Sentiment คือ - รู้จักและเข้าใจตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของ Forex!
Market Sentiment คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นของตลาด Forex อย่างไร มาหาคำตอบ รวมถึงข้อมูลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น วิธีดู Market Sentiment เพื่อดูความเชื่อมั่นของตลาด และ Market Sentiment อินดิเคเตอร์ประเภทต่างๆ ในตลาด ไปพร้อมกันที่นี่เพราะการทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ตลาด Forex แนวคิด และคว...
Stochastic Oscillator คือ: เทคนิค การตั้งค่า และการใช้ Stochastic
Stochastic Oscillator หรือ Stochastic คือ Indicator ที่ช่วยให้สามารถเทรดได้อย่างคล่องตัวได้มากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสำหรับการเทรด Forex (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : Forex คือ), หุ้น รวมถึงสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ อย่างทองคำ, น้ำมัน คำว่า Stochastic เป็นค...
ดูทั้งหมด