การใช้ Standard Deviation Indicator สำหรับการเทรดหลักทรัพย์, หุ้น

Admirals

บทความนี้จะกล่าวถึงตัว Standard Deviation Indicator เป็นเครื่องมือในแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ซึ่งใช้แนวคิดทางสถิตินี้กับการซื้อขายในตลาด Forex และสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์และศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ 'ความผันผวน' ของตลาด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเทรดเป็นอย่างมาก

Standard Deviation คืออะไร?

Standard Deviation (S.D.) หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ หลักการในทางวิชาสถิติศาสตร์ที่ใช้อธิบายลักษณะการกระจายของชุดข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำให้นักสถิติสามารถประเมินคุณภาพของค่าเฉลี่ยของข้อมูลได้ ยิ่งค่าของ Standard Deviation มากเท่าใด ก็หมายถึงชุดของข้อมูลนั้น ๆ มีการกระจายมาก แน่นอนว่า ถ้าค่า S.D. น้อย ก็แปลว่า มีการกระจายที่แคบ

Standard Deviation Indicator ในตลาดฟอเร็กซ์?

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของตลาดการเงิน ถูกใช้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธีสำหรับการวัดปริมาณความผันผวน หรือ 'Volatility' ซึ่งความผันผวนจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเทรด อย่างไรก็ตาม ความผันผวน ถูกใช้ในหลายบริบท แต่ในบทความนี้ จะอธิบายพื้นฐานของคำว่า "ความผันผวน" ที่ใช้ในการเทรด

ทำไมต้องสนใจ "ความผันผวน"

Volatility เป็นสิ่งที่คนระดับ "ผู้จัดการกองทุน" ให้ความสนใจอย่างมาก แน่นอนว่า รวมถึงการใช้ Standard Deviation Indicator ด้วย ซึ่งมีการใช้งานที่แตกต่างกันในหลาย ๆ กรณี

บทบาทแรกของความผันผวน คือ สังเวียนของการเปรียบเทียบผลงานของกองทุนรวม หนึ่งในมาตรวัดที่พบบ่อยที่สุดคือ "Sharpe Ratio" ซึ่งอัตราส่วนนี้ ใช้เป็นตัววัดผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุนโดยเปรียบกับความเสี่ยง และหารด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฟังดูงง ๆ หน่อย แต่ถ้าให้อธิบายอย่างง่าย คือ ถ้ากองทุนที่มี Sharpe Ratio สูง จะหมายถึง สามารถทำผลกำไรได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่เท่า ๆ กัน

กรณีข้างต้น ในการเปรียบเทียบกองทุน กรณีที่ตลาดมีความผันผวนมาก กองทุนก็ควรได้รับผลตอบแทนที่มากตามไปด้วย แต่โดยทั่วไป Sharpe Ratio ที่สูง มักมาจากตลาดมีความผันผวนสูงเช่นกัน ซึ่งหมายถึง โอกาสที่เงินทุนจะสูญเสีญ, ขาดทุนหรือแกว่งในระยะสั้น ๆ นั้นมีสูงมากเช่นกัน การลงทุนในกองทุนประเภทนี้จึงไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่สามารถสูญเสียเงินทุนได้ หรือทนความผันผวนไม่ได้ เนื่องจากต้องโยกเงินไปมา เป็นต้น

ความผันผวน ในการเทรด Forex จริง ๆ นิยมมองเป็นระยะห่างระหว่าง High กับ Low ราคาสินทรัพย์ที่มีความผันผวนมาก จะหมายถึงความเสี่ยงของเทรดเดอร์ที่มากขึ้น และก็ส่งผลให้ต้องวาง Stop Loss ให้กว้างขึ้นเพื่อที่จะสามารถทนต่อความผันผวนนั้น ๆ ได้

แต่ในหลายกรณี จะใช้เครื่องมือที่มีพร้อมกับแพลตฟอร์มในการประเมินความผันผวน เช่น Standard Deviation Indicator เพื่อดูว่า "ตลาดผันผวนมากน้อยแค่ไหน" ซึ่งก็มีหลักคิดเดียวกัน คือ ถ้าค่า S.D. สูงมาก จะเท่ากับ High Risk - High Return ซึ่งนี่คือสภาวะที่เทรดเดอร์ชอบเข้าไปเทรด อย่างไรก็ตาม S.D. ต่ำ ๆ อาจเป็นสภาวะการพักตัวของราคา ซึ่งก็เป็นจังหวะของเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่เน้นกลยุทธ์ของการสะสมสถานะ

จะเห็นว่า สำหรับการเทรดหรือการลงทุนแล้ว ความผันผวนก็เหมือนเหรียญ 2 ด้าน ไม่มีถูกหรือผิดตายตัว เพราะความผันผวนหมายถึงโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น ในขณะที่ความผันผวนต่ำ ๆ หรือเป็นสภาวะที่ตลาดไม่วิ่งไปไหนนั้น ก็เป็นโอกาสสำหรับเทรดเดอร์อีกกลุ่ม โดยเฉพาะพวกเทรดตามแนวโน้ม ดังนั้น เรื่องนี้ไม่มีอะไรดีกว่า สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่ากลยุทธ์ของเราชอบตลาดที่ผันผวนมากหรือผันผวนน้อย

ฝึกฝนการเทรดด้วยบัญชีทดลองผ่าน MetaTrader 5

คุณรู้หรือไม่ว่า? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย และการเทรดกับโบรกเกอร์ Admirals ยังมีข้อดีอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

  • เปิดบัญชีทดลองได้ฟรี
  • และหากต้องการลงทุนในตลาดจริง เงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD หรือประมาณ 750 บาทเท่านั้น!
  • สามารถใช้ Leverage ได้สูงสุดถึง 1:1000 ทำให้ซื้อขายได้มากกว่าปกติ 1,000 เท่า เหมาะสำหรับการแก้สถานการณ์ต่าง

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี Demo หรือบัญชีจริง คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

เปิดบัญชีฝึกเทรดฟรี!

การใช้ Standard Deviation Indicator

Standard Deviation Indicator เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มาพร้อมกับโปรแกรมเทรด MetaTrader 5 ซึ่งปกติจะมี Indicator ให้เลือกใช้งานเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ Trend, Oscillators, Volumes และ Bill Williams ทั้งนี้ สำหรับตัว standard deviation จะอยู่ในหมวด 'Trend' ดังที่จะเห็นได้จากภาพด้านล่าง

โปรดทราบว่า ถึงแม้เครื่องมือนี้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในกลุ่ม Trend แต่หน้าที่หลักของมันก็คือการบ่งชี้ให้เห็นถึง "ความผันผวน" ซึ่งในแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 เปิดโอกาสให้เราปรับค่าพารามิเตอร์ของเครื่องมือนี้ได้ละเอียดมาก ทั้งนี้ ค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 20 Period หรือย้อนคำนวณไป 20 แท่งเทียนตามไทม์เฟรมที่เลือกนั่นเอง

หลักการทั่วไปในการใช้งานจะเป็นลักษณะของ 'การเปรียบเทียบ' จากภาพกราฟ USDJPY ด้านล่างนั้น จะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของ Standard Deviation อยู่ต่ำกว่า 0.5 ทั้งนี้พิจารณาจากเส้นสีเขียวที่แสดงในตัว Indicator ได้เลย เราก็ต้องถือว่าโอยการเปรียบเทียบ ค่าที่ต่ำกว่า 0.5 ก็ถือว่า ไม่ได้มีความผันผวนพิเศษใด ๆ

กราฟคู่เงิน USDJPY จากแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 - Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

แต่ตั้งแต่ช่วง 8 Sep เป็นต้นมา ค่าของ Indicator เริ่มปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนทะลุจุด Peak เก่าด้านซ้ายจนทำจุดสูงสุดราว ๆ 0.4123 ตามภาพ เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่า สภาวะที่ราคามีความผันผวนมากเกินค่าเฉลี่ยนั้น สภาวะแบบนี้จะคงอยู่ได้ไม่นาน เมื่อสภาวะของราคาไม่เสถียรจากความผันผวนที่เกินกว่าค่าเฉลี่ย ในที่สุด มันก็มักเป็นจุดกลับตัวของราคา

ลงลึกเรื่องความผันผวนกันอีกหน่อย

เราเกริ่นกันไปตั้งแต่แรกแล้วว่า "ความผันผวน" คือสิ่งที่บ่งชี้ได้ถึงผลตอบแทนและความเสี่ยง ความผันผวนที่มากขึ้น หมายถึง ผลตอบแทนที่คาดหวังได้มากขึ้น สภาวะที่ราคามีความผันผวนสูง มักเป็นสภาวะที่เกิดการ Breakout ของราคาเพื่อยืนยันทิศทางนั้น ๆ ตามแนวโน้มเดิม

พิจารณาภาพด้านล่าง เป็นกราฟราคาทองคำ หรือ Gold ในไทม์เฟรม 4 ชั่วโมง โดยเส้นแนวตั้งแต่ละเส้นจะแบ่งช่วงเวลาของแต่ละสัปดาห์ เมื่อเรามองกรอบเป็น "ภาพของสัปดาห์" จะทำให้เราเลือกกลยุทธ์การเทรดได้ง่ายขึ้นว่า สัปดาห์นั้น ๆ ควรใช้กลยุทธ์แบบไหน โดยอ้างอิงจากความผันผวนของสัปดาห์นั้น ๆ

ลองดูตัวอย่างของจุดที่เป็น Successful Breakout มักมีความผันผวนที่สอดรับตามกัน โดยถ้าไม่ใช่การ "เบรคหลอก" ตัวอัตราเร่งของราคาก็จะเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ เมื่อดูย้อนหลังจะเป็นลักษณะที่เรียกว่า "High Volatility"

ในขณะที่ Failed Breakout ในครั้งก่อน ๆ มักเป็นจุดที่ Standard Deviation อยู่ในโซนต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเอง ดังนั้น ข้อสังเกตเบื้องต้น สำหรับนักเทรดสาย Breakout คือพยายามเช็ค Standard Deviation ก่อนว่า มีการยกฐานขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอแล้วหรือไม่ ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะได้เข้าเทรดใน Setup ที่เป็น Successful Breakout

กราฟ Gold จากแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 เพื่อแสดงตัวอย่างการใช้งานกับ Standard Deviation Indicator - Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

แน่นอนว่า Successful Breakout ให้ผลตอบแทนในระยะสั้นที่ "เร้าใจ" แต่ก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับเทรดเดอร์ทุกคน และอย่างที่เกริ่นไปแต่แรกนั้น เทรดเดอร์บางคนก็ชอบสภาวะที่เป็น Low Volatility มากกว่า เนื่องจากถนัดในการใช้กลยุทธ์อีกแบบ

ลองสังเกตว่า จุดที่เป็น "ความผันผวนต่ำ" ในภาพด้านบนนั้น คือจุดที่มีการพักตัวในลักษณะ "คลื่นลมสงบ" ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นการพักตัวเพื่อไปต่อตามแนวโน้มเดิม ตัว Standard Deviation จะอยู่ในโซน ในขณะที่ราคาก็ฟอร์มเป็นกรอบที่สม่ำเสมอ ไม่แคบหรือกว้างเกินไปเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม ที่ต้องเน้นว่า "คลื่นลมสงบ" เนื่องจาก การพักตัวแม้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสวยงาม แต่หากมีความผันผวนเกิดขึ้นภายในอย่างมาก ก็จะสะท้อนถึงจุดที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่าง Buy-Sell หนาแน่น มักก่อให้เกิดการดันค่า Standard Deviation ให้สูงขึ้น ตามหลักการราคามักถูกเทขายออกมาก่อน การจะ Breakout ในทิศทาง ต้องใช้เงินมากกว่าปกติ เพราะได้มีการสู้รับระหว่าง Buyer กับ Seller ไปค่อนข้างมากแล้ว

นี่เป็นหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินเรื่องของความผันผวน เราเคยมีบทความที่อธิบายตัวอย่างการใช้งาน Volatility กับเครื่องมืออื่น ๆ ที่อยากแนะนำให้อ่าน คือบทความชื่อว่า "วิธีใช้และการตั้งค่า Bollinger Band สำหรับการเทรด" ซึ่งมีใช้หลักการวิเคราะห์ความผันผวนเพื่อประเมินสภาวะของแนวโน้มว่ายังจะสามารถไปต่อหรือมีโอกาสกลับตัว

เรื่องใหญ่ของเรื่อง "ความผันผวน" และการใช้ Standard Deviation Indicator นั้น เป็นเรื่องความเข้าใจที่ต้องมีการตีความ 2 รอบ ทั้งในส่วนของราคาและเครื่องมือวัดความผันผวน ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคแบบ Price Action ที่ดูแค่ราคาอย่างเดียวก็เทรดได้ คำแนะนำของเราสำหรับทุก ๆ คนคือการฝึกสังเกตและทดลองเทรดในบัญชีทดลองผ่านแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพดูก่อน อย่าง MT5!

ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!

  • เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
  • มีหุ้นให้ทดลองเทรดเหมือนตลาดจริงมากกว่า 4,000 หุ้นจากตลาดหุ้นสำคัญ 17 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
  • เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
  • ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

บทความที่คุณอาจสนใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
MACD คืออะไร? : เจาะลึกการใช้ MACD Indicator
MACD Indicator คือหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้ MACD Forex เป็นเหมือน "ของคู่กัน" โดยในบทความนี้ เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจเริ่มตั้งแต่ว่า MACD คืออะไร, การตั้งค่า MACD, ค่า MACD ที่เหมาะสม, แนวคิดของ MACD Indicator ว่ามีวิธีการใช้งานเบื้องต้นอย่างไร และส...
Market Sentiment คือ - รู้จักและเข้าใจตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของ Forex!
Market Sentiment คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นของตลาด Forex อย่างไร มาหาคำตอบ รวมถึงข้อมูลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น วิธีดู Market Sentiment เพื่อดูความเชื่อมั่นของตลาด และ Market Sentiment อินดิเคเตอร์ประเภทต่างๆ ในตลาด ไปพร้อมกันที่นี่เพราะการทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ตลาด Forex แนวคิด และคว...
Stochastic Oscillator คือ: เทคนิค การตั้งค่า และการใช้ Stochastic
Stochastic Oscillator หรือ Stochastic คือ Indicator ที่ช่วยให้สามารถเทรดได้อย่างคล่องตัวได้มากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสำหรับการเทรด Forex (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : Forex คือ), หุ้น รวมถึงสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ อย่างทองคำ, น้ำมัน คำว่า Stochastic เป็นค...
ดูทั้งหมด