Grid System คืออะไร? : อธิบายแนวคิดพื้นฐานของ Grid Trading System

Admirals
30 นาที

ยินดีต้อนรับเทรเดอร์ทุกท่านสู่อีกบทความเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเทรด Forex โดยในบทความนี้จะนำเสนอแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ Grid Trading System ตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเทรดแบบ Grid ไปจนถึงสถานกาณ์ที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับคนที่ใช้ Grid System ในตลาด Forex ซึ่งการศึกษากรณีตัวอย่าง จะทำให้เทรดเดอร์สามารถวางแผนการเทรดได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น 

Grid Trading System คืออะไร

Grid System คือ ระบบเทรดที่วางคำสั่งซื้อขาย Buy และ Sell กระจายไปทุกๆ ระดับของราคาเท่าที่เงินทุนจะสามารถทำได้ ทำให้สามารถสร้างกำไรจากส่วนต่างราคาได้เกือบตลอดเวลา เพราะเมื่อราคามีการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะในทิศทางใดก็ตาม เทรดเดอร์ที่ใช้ระบบเทรด Grid จะมีสถานะการเทรดที่สอดคล้องกับทิศทางตลาดอยู่เสมอ

Grid ในภาษาไทย คือ "ตะแกรง" หรือรูปแบบลวดลายที่มีลักษณะเป็นตาถี่ๆ เรียงกันคล้ายตะแกรง คำว่า Grid Trading จึงล้อไปกับลักษณะของการวางคำสั่งซื้อขายเรียงติดกันถี่ๆ ไปทั้งกระดานเทรด เปรียบเสมือนว่ามีตะแกรงล้อมรอบทุกระดับราคาไว้ ให้สังเกตภาพที่ 1.1 ด้านล่าง

ภาพ 1.1 : กราฟ GBPUSD ราย 1 Day, ตั้งแต่ 16 October 2019 - 3 July 2020, ลูกศรสีแดงเป็นคำสั่ง Sell ล่วงหน้า (Sell Limit) ส่วนลูกศรสีแดงจะเห็นว่า เป็นกลุ่มของคำสั่ง Buy ล่วงหน้า (Buy Limit) ซึ่งไม่ว่าราคาจะวิ่งไปทิศทางใด เทรดเดอร์ก็จะมีคำสั่งซื้อขายพกไว้ติดพอร์ตอยู่เสมอ

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

Grid Trading System ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์ เพราะถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีพื้นฐานเรียบง่ายและทำกำไรได้จริง แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า ทุกระบบเทรดนั้นมีความเสี่ยงในตัวของมันเอง ไม่มีกลยุทธ์ใดที่ไร้จุดอ่อน และระบบเทรด Grid มันก็ไม่ได้การันตีว่า คุณจะประสบความสำเร็จจากตลาด Forex ได้ เนื่องจากตลาดการเงิน ไม่ว่าจะหุ้นหรือฟอเร็กซ์ ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถคาดการณ์ใดๆ ได้ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด Forex ได้ที่บทความ : Forex คืออะไร)

แนวคิดพื้นฐานของ Grid System Forex

แนวคิดหลักของ Grid System คือการอาศัยประโยชน์จากสภาวะตลาดที่ "ผันผวนสูง" และเคลื่อนไหวเป็นกรอบ "กลับไปกลับมา" ซึ่งจะทำให้ระบบกริดสามารถสร้างกระแสเงินสด หรือ "Cash Flow" ออกมาได้ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ใช้ระบบจะมีสถานะทั้ง Buy และ Sell ติดพอร์ตไว้อยู่เสมอ และเรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับ Money Management อย่างมากอีกด้วย แต่โดยพื้นฐานจะเห็นว่า มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

  • สินค้าที่เลือกใช้
    • ควรเป็นสินค้าที่มีความผันผวนสูง เนื่องจากจะทำให้มีรอบในการเก็บกำไรได้บ่อย ดังนั้น ความผันผวน จึงมีค่าเท่ากับ "กระแสเงิน" (Cash Flow)
    • ควรเลือกสินค้าที่มีพฤติกรรมราคาที่เทรดเป็นกรอบกว้างๆ เป็นประจำ ลองดูกรณีตัวอย่างในภาพ 1.2 ด้านล่าง
  • จำนวนเงินในพอร์ต
    • Grid System คือการพยายามกระจายคำสั่งซื้อขายไปทุกๆ ระดับราคา ดังนั้น วิ่งราคาเคลื่อนไหวไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งไกลๆ นั่นย่อมหมายถึง เราจะมีสถานะซื้อขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การมีเงินในพอร์ตเยอะๆ จะทำให้เราได้เปรียบในแง่ของความเสี่ยง ถ้ามีเงินในพอร์ตเยอะ สัดส่วนของคำสั่งซื้อขายเมื่อเทียบกับเงินในพอร์ต มันจะลดลงเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ก็คือ มีเงินเยอะ แต่ซื้อน้อย แต่ถ้าเรามีเงินในพอร์ตน้อย และไม่ได้คำนวณเงินไว้อย่างรอบคอบ มันมีโอกาสที่จะทำให้ระบบเทรดเกิดความเสียหาย เพราะพอร์ตอาจจะต้องแบกรับปริมาณการซื้อขาย ณ เวลาหนึ่งๆ ในปริมาณที่มากเกินกว่าจำนวนเงินในพอร์ตจะรองรับได้
    • ดังนั้น จำนวนเงินในพอร์ต ยิ่งมากยิ่งปลอดภัย โดยประเด็นนี้จะเกี่ยวกับเรื่อง Money Management และการคำนวณ Lot Size ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป อย่างไรก็ตาม คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Lot ได้ที่บทความ : "Lot คือ"

ภาพ 1.2 : กราฟ GBPJPY ราย 1 Day, ตั้งแต่ 16 October 2019 - 3 July 2020, ในภาพนี้แสดงภาพรวมตั้งแต่หลายปี 2019 จนถึงปี 2020 เส้นประแนวตั้งคือเส้นแบ่งช่วงเวลา (Period Separator) โดยหากปรับกราฟเป็นไทม์เฟรม Day เส้นแบ่งช่อง 1 ช่องจะเท่ากับช่วงเวลา 1 เดือน

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ภาพคู่เงิน GBPJPY ในภาพ 1.2 ข้างต้น จะเห็นว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน กราฟมักมีพฤติกรรมเคลื่อนกลับไปกลับมา ดังนั้น ต่อให้ภายในแต่ละเดือน เรามีสถานะที่ติดค้าง เช่น พลาดไป Sell บริเวณที่ราคาต่ำๆ หรือโซนแนวรับ หรือ Buy ไว้กลางๆ โซน แต่ถึงที่สุด ด้วยพฤติกรรมของราคาในคู่เงิน GBPJPY จะมักจะเคลื่อนกลับไปกลับมาเป็น Sideway ภายในระยะเวลา 1 เดือน มีโอกาสพอสมควรที่แต่ละสถานะที่เราถือค้างไว้อยู่จะกลับมากำไรได้ หรือพูดง่ายๆ คือ เรามีโอกาสเคลียร์ทุกสถานะได้ภายใน 1 เดือน หากเรามีความเข้าใจพื้นฐานในประเด็นนี้ เราจะรู้สึกว่าการเทรดแบบ Grid นั้นง่ายๆ มาก แต่ถ้าเราวางหมากผิดแต่แรก หากเลือกสินค้าที่ไม่เหมาะสม เราอาจเกิดปัญหาได้ ลองดูกรณีตัวอย่างที่ 1.3

ภาพ 1.3 : กราฟราคาหุ้น Alibaba (BABA) ราย 1 Day, ตั้งแต่ 16 October 2019 - 3 July 2020, กราฟหุ้นมักมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่กว้างและยาวนานกว่า เช่นในกรณีของหุ้น Alibaba จะเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้มครั้งละประมาณ 3 เดือนต่อ 1 รอบสวิง

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ในภาพ 1.3 ก็เช่นกัน คือ แต่ละช่องคือช่วงเวลา 1 เดือน แต่เราจะเห็นว่า Alibaba รวมถึงกราฟหุ้นหลายๆ ตัวมักมีรอบการเคลื่อนไหวที่ยาวนานกว่า ในกรอบแนวโน้มขาขึ้นซ้ายสุด จะเห็นว่าใช้ระยะเวลานานถึง 3 เดือน สิ่งในกรณีนี้ หากเรามีเงินในพอร์ตไม่มากนัก เราจะไม่สามารถใช้กลยุทธ์แบบ Grid Trading ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะธรรมชาติของวิธีการเทรดกริด เรามักจะมีสถานะทั้ง Buy และ Sell เปิดไว้ในทุกๆ ระดับราคาที่สำคัญ

ต่อให้เราสามารถเก็บกำไรจากสถานะ Buy ได้บ่อยๆ ในช่วงที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น แต่จากภาพ 1.3 มีโอกาสสูงมากที่เราจะติดสถานะ Sell ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจังหวะที่ราคาวิ่งกลับลงมาให้เราเคลียร์สถานะ Sell ได้เลย มันก็จะกลายเป็นว่าเราได้สะสม Sell ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะใหญ่จนจำนวนเงินในพอร์ตไม่สามารถรองรับได้ไหว (แน่นอนว่า ปัญหานี้แก้ไขได้ถ้าคำนวณอย่างรอบคอบ)

ถ้าเราต้องสะสม Sell เรื่อยๆ และต้องติด Sell อย่างน้อยๆ 3 เดือน สิ่งที่เราต้องเตรียมไว้ "จำนวนเงินในพอร์ต" อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่า องค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ [1] สินค้าที่เลือกใช้ และ [2] จำนวนเงินในพอร์ต ในกรณีของหุ้น Alibaba เราเห็นได้ชัดเจนเลยว่า นี่คือสินค้าที่พฤติกรรมราคาที่ไม่เอื้อต่อการเทรดแบบ Grid Trading เพราะหากเราไม่สามารถเคลียร์สถานะ Sell ได้ตั้งแต่เดือนแรกๆ เราจะต้องรออีกประมาณ 5-6 เดือน กว่าที่ราคาจะวิ่งกลับมา แต่อย่าลืมว่า รอบของหุ้นส่วนใหญ่มีรอบการเคลื่อนไหวเป็นเดือนๆ ถ้ารอบนั้นๆ เป็นขาขึ้นรอบใหญ่ สถานะที่ผิดทางของเรา อาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีกแล้ว!

เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีทดลอง MetaTrader 5

หากคุณเริ่มได้ไอเดียเกี่ยวกับการเทรดด้วย Grid Trading System แล้ว เราก็ภูมิใจเช่นกันที่จะนำเสนอว่า เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals สามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีทดลอง (Demo Account) ได้ ซึ่งทำให้สามารถทดลองกลยุทธิ์ใหม่ๆ รวมถึง Grid Trading ด้วย คุณจะสามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ คำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

วิธีเทรดด้วย Grid Trading System

ถ้าเป็นสมัยนี้เราสามารถตั้งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าไปเลย โดยเราสามารถออกแบบการซื้อขายล่วงหน้าได้ทั้ง Buy Stop, Sell Stop, Buy Limit, Sell Limit ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป แต่ในขั้นตอนแรกก่อนจะเทรดด้วยระบบ Grid เราต้องเริ่มการเลือกสินค้าก่อน เช่น คู่เงินต่างๆ (ศึกษาวิธีการเลือกคู่เงินอย่างละเอียดที่บทความ : " คู่เงิน Forex") และค่อยๆ ทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. เลือกสินค้า
  2. กำหนดโซนในการเทรด
    • ตรวจสอบพฤติกรรมราคาย้อนหลังว่ามีกรอบการสวิงประมาณกี่ Pips
    • คำนวณระยะทาง (Pips) และกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้
  3. วางคำสั่งซื้อขายไปตามระดับราคาต่างๆ
    • กำหนดจุด Take Profit ของแต่ละสถานะ

กำหนดโซนในการเทรด

ในขั้นตอนของการเลือกสินค้า เราได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อ "แนวคิดพื้นฐานของ Grid System Forex" ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนดโซนที่เราจะใช้เทรด ซึ่งจะนำไปสู่การคำนวณเพื่อให้ได้ตัวเลขที่แท้จริงว่า จะต้องใช้เงินเท่าไหร่สำหรับระบบการเทรดนี้ ลองดูแนวคิดตัวอย่างในภาพ 1.4 ด้านล่าง

ภาพ 1.4 : กราฟ EURUSD ราย 1 Day, ตั้งแต่ 16 October 2019 - 3 July 2020, ในภาพจะแบ่งโซนการเทรดเป็นโซนละ 100 Pips

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ในภาพ 1.4 จะเห็นว่า เราพยายามตรวจสอบพฤติกรรมราคาย้อนหลังในคู่เงิน EURUSD ว่ามีกรอบการสวิงประมาณกี่ Pips ซึ่งจะเห็นว่า EURUSD ก็เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่มีพฤติกรรมเคลื่อนกลับไปกลับมา แม้จะเป็นคู่ที่มีความผันผวนปานกลาง ไม่ได้สูงมากเท่ากับคู่ GBPJPY ก็ตาม แต่การที่มีความผันผวนน้อยกว่า และกรอบการสวิงที่แคบกว่า ย่อมหมายถึงจำนวนเงินที่ต้องใช้ก็น้อยกว่าเช่นกัน

คำนวณระยะทาง

ความจริงแล้วคู่เงิน EURUSD จะมีการเทรดเป็น Sideway เป็นระยะๆ และค่อยๆ Breakout ค่อยไปเป็นแนวโน้ม เพียงแต่ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นแนวโน้มรุนแรงเหมือนกรณีหุ้น Alibaba ที่ได้ยกตัวอย่างไป ทำให้เรามีจังหวะในการเก็บ Cash Flow เมื่อราคาวิ่งกลับไปกลับมาภายในเดือน ทั้งนี้ วิธีการวางแผนและ วิธีการคำนวณเงินในเบื้องต้น ให้สังเกตว่า เราให้แบ่งโซนในภาพ 1.4 ได้ออกมา 9 โซนที่ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 16 October 2019 - 3 July 2020

โดยแต่ละโซนจะมีระยะห่างเท่ากันพอดีที่ 100 Pips และออกได้เป็น 9 โซน (วิธีอ่านและคำนวณระยะ Pips อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : Pips คืออะไร) หมายความว่า ตั้งแต่ช่วงเวลา 16 October 2019 - 3 July 2020 หรือระยะเวลาประมาณ 8 เดือน คู่เงิน EURUSD มีกรอบการเคลื่อนไหวสูงสุดเพียงประมาณ 900 Pips เท่านั้น ที่นี่พอเราได้ระยะทางทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะคำนวณว่า ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเทรดทั้งระบบนี้

ภาพ 1.5 : กราฟ EURUSD ราย 4 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 22 May 2020 - 6 July 2020, ให้สังเกตที่ [1] จะเห็นคำว่า Buy Limit ซึ่งเป็นการตั้งคำสั่ง "ซื้อ" ไว้ล่วงหน้าหากราคาย้อนกลับมาที่ราคาดังกล่าว และที่จุด [2] คือการตั้งจุด Take Profit ไว้ล่วงหน้าเช่นกัน ส่วนจุดที่ [3] หากเรานำ Mouse ไปวางบนเส้นประที่เป็นเส้น Take Profit ตัวแพลตฟอร์มจะแสดงรายละเอียดว่า ถ้าถึงจุดนี้แล้ว เราจะได้กำไรเท่าไหร่ คิดเป็นกี่ Pips (ระบบจะคำนวณเป็น Point โดย 10 Points จะเท่ากับ 1 Pips)

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ในภาพ 1.4 เราประเมินแล้วว่า ต่อให้วิ่งไป 8 เดือน ราคาก็อยู่ประมาณ 900 - 1000 Pips เท่านั้น และเราได้แบ่งเป็น 9 โซน โซนละ 100 Pips และสุดท้ายในภาพที่ 1.5 ได้แสดงให้เห็นว่า หากเราใช้จำนวน Lot ที่ 0.01 Lot ระยะทาง 100 Pips จะเท่ากับจำนวนเงิน 8.86 EUR (ณ ตอนนั้น) ซึ่งหากบัญชีคุณเป็นหน่วย USD เงินจำนวนนี้จะเท่ากับ 10 USD พอดี (เหตุผลที่แต่ละคู่เงินให้กำไรแตกต่างกัน ให้อ่านในบทความ "Pips คืออะไร")

ดังนั้น จำนวนเงินขั้นต่ำ หากเราเทรด Buy แล้วติดดอยตั้งแต่โซนหมายเลข [9] ในภาพ 1.4 หมายถึงถ้าเข้าที่เส้นประหมายเลข [9] เลย เราจะโดนลากให้ขาดทุนจากหมายถึง [9] ถึงหมายเลข [1] เป็นจำนวนระยะทาง 800 Pips ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำที่เราต้องมีในพอร์ตก็คือ 80 USD ต่อ 0.01 Lot พูดง่ายๆ คือ ถ้าเรามีเงินประมาณ 100 USD เราสามารถเทรด EURUSD ได้สูงสุดประมาณ 0.01 Lot แบบไม่เสี่ยงเท่าไหร่ ถ้ามองจากมุมนี้ที่ว่า EURUSD ในระยะเวลาประมาณ 3 ไตรมาส นั้นวิ่งแค่ 800 Pips เท่านั้น

ซื้อขายด้วยระบบ Grid System ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5

คุณรู้หรือไม่ว่า? MetaTrader 5 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายข่าว หรือนักวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader 5 คือแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง เพื่อดาวน์โหลดแพลตฟอร์มไปใช้งานได้ฟรี!

เปิดบัญชี MT5 ฟรี!

การคำนวณข้างต้นนั้นเพื่อให้เห็นภาพสำหรับมือใหม่เท่านั้น ในการเทรดจริงๆ คุณต้องคำนวณด้วยว่า แต่ละสถานะที่คุณเปิดนั้น ต้องใช้ Margin ในการเปิดสถานะแต่ละครั้งเท่าใด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบัญชีของคุณว่า ได้ใช้ Leverage เป็นอัตราส่วนเท่าใด บัญชีนักลงทุนทั่วไปก็จะตั้งค่า Leverage ไว้ที่ 1: 500 หรือเทรดได้มากกว่าเงินที่มีอยู่ 500 เท่า

โบรกเกอร์ Admirals จะเตรียมเครื่องคำนวณไว้ให้แล้ว เช่น กรณีของ EURUSD ที่ 0.01 Lot และใช้ Leverage ที่ 1:500 จะต้องใช้ Margin ในการเปิด 2.25 USD ดังนั้น ถ้าเราคำนวณไว้ว่า ทั้งโซนต้องใช้เงิน 80 USD ในการรองรับการลาก เราต้องบวก 2.25 USD นี่เข้าไปด้วย (และค่า Swap ในอนาคตอีกต่างหาก ซึ่งค่า Swap จะเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับส่วนต่างราคา ดังนั้น ค่า Swap จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่)

เพิ่มเติม : ในบทความ " Leverage คืออะไร" ของโบรกเกอร์ Admirals เราให้คำนิยามของ Leverage ว่า "เครื่องมือทางการเงินที่ช่วยให้นักลงทุน สามารถ "เพิ่มผลลัพธ์" หรือขนาดของการลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่จริงๆ" ส่วนคำว่า Lot นั้น ในบทความ "Lot คือ" ก็ได้ให้คำนิยามไว้แล้วเช่นกันว่า "Lot คือหน่วยวัดของขนาดสัญญาสำหรับการเทรดบนตราสาร CFD ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินทั้ง Forex, Cryptocurrency หรือดัชนีหุ้นต่างประเทศ จะเทรดกันด้วยตราสาร CFD แทบจะทั้งหมด"

'ระบบกริด' ใช้ประโยชน์จาก Volatility

ในตัวอย่างภาพ 1.4 และ 1.5 คือภาพรวมๆ ของทั้งกระดาน หากเราเลือกที่จะเทรดคู่เงินใดๆ อย่างในกรณีของ EURUSD เราประเมินว่าควรมีเงินทุนอย่างน้อย 100 USD ต่อการเทรด 0.01 Lot ดังนั้น ถ้าเรามีเงินทุน 2,000 USD หรือประมาณ 6 หมื่นกว่าบาท เราจะสามารถกระจายสถานะการเทรดได้ประมาณ 20 สถานะ พูดง่ายๆ คือ สำหรับคู่เงิน EURUSD ถ้าเรามี 2,000 USD จะเทรด 0.01 Lot ได้ 20 ไม้

ยิ่งถ้าเรามีเงินทุนเยอะๆ เราก็จะยิ่งกระจายได้หลายไม้ ยิ่งเงินทุนเยอะก็ยิ่งเปิดสถานะได้ถี่ๆ ตามที่มาของมันว่า "Grid" หรือเป็นตารางๆ นั่นเอง ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องตั้ง Take Profit ไกลมากถึงระดับเป็นร้อยๆ Pips เพราะถ้าเรามีเงินทุนเยอะๆ เราสามารถตั้งซื้อขายไว้ถี่ๆ เพราะตั้ง Take Profit ถี่ๆ อาจจะแค่ 10 Pips ก็ได้ ลองดูตัวอย่างในภาพ 1.6 ด้านล่าง

ภาพ 1.6 : กราฟ AUDCHF ราย 15 นาที, ตั้งแต่ 30 June 2020 - 6 July 2020, ตัวอย่างสภาวะตลาด "ในฝัน" สำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้ระบบกริด

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

จากภาพ 1.6 ให้สังเกตราคาด้านขวาว่า เราจะแบ่งเส้นระดับราคาไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว และถ้าเรามีเงินทุนเยอะขึ้น เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ถ้าตั้งระยะการตั้ง Take Profit แค่ประมาณ 10 Pips เท่านั้น วันนึงเราจะเก็บกำไรได้หลายรอบมากๆ ถี่ก็คือเป้าหมายหลักของระบบเทรดแบบ Grid Trading System โดยในภาพเป็นไทม์เฟรม 15 นาที ในวันที่ 2 เราสามารถเก็บกำไรได้ถึง 3 รอบ รอบละ 12.5 Pips ซึ่งคิดเป็นกำไรทั้งหมด 37.5 Pips นี่คือการที่ระบบ Grid ใช้ประโยชน์จากความผันผวนหรือ Volatility เพราะถ้าเราเลือกคู่เงินที่ผันผวนน้อย เราจะไม่สามารถทำรอบการ Take Profit ได้ถึง 2-3 ครั้งต่อวันอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพ จะนิยมเก็บสถิติเป็นจำนวน Pips เช่นในกรณีของภาพ 1.6 เราจะมองเป็นค่าเฉลี่ยว่า ในแต่ละเดือนหรือในแต่ละไตรมาส จำนวน Pips เฉลี่ยที่สามารถเก็บได้ต่อวันจะอยู่เท่าไหร่ เช่น วันละ 25 Pips คิดเป็น Cash Flow ที่คาดว่าจะได้รับประมาณเดือนละ 50 USD แต่การประมาณนี้อยู่บนพื้นฐานที่เราสามารถวางคำสั่งซื้อขายได้ประมาณ 10 ไม้ต่อ 100 Pips ถ้าต้องการวางคำสั่งซื้อขายให้ครอบคลุมการเคลื่อนไหวของ EURUSD ที่วิ่งอยู่ประมาณ 800 Pips และเราต้องการกำไรคาดหวังวันละ 25 Pips ตามโมเดลนี้ เราควรมีเงินประมาณ 8,000 USD ดังนั้น ถ้าได้กำไรวันละ 25 Pips หรือราวๆ 2.5 USD ปีนึงก็จะได้กำไรประมาณ 600 USD ต่อเงินทุน 8,000 USD หรือคิดเป็น 7.5% ต่อไป

Grid System Forex ได้กำไรน้อย จะแก้ไขอย่างไร?

จากที่อธิบายไปประกอบตัวอย่างที่ 1.6 เราจะเห็นว่า กำไรปีนึงประมาณ 7.5% เท่านั้น ซึ่งหากเราลงทุนใน ตลาดหุ้นอเมริกาหรือฝากให้มืออาชีพจัดการผ่านกองทุน ETF เรามีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 7.5% ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว เราจะเทรดด้วยระบบ Grid Trading ไปทำไม? คำตอบก็คือ ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ Optimize ระบบ Grid ของเราเลย! กำไรที่คาดหวังระดับ 7.5% ต่อปี เป็นกำไรที่คาดว่าจะได้รับโดยมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก

ในตัวอย่างที่ผ่านๆ มา และ พื้นฐานของระบบ Grid คือเราจะคำนวณจำนวนเงินที่ต้องใช้ไว้ทั้งกระดาน และจะเข้าเทรดในทุกระดับราคาที่เราแบ่งโซนไว้ ทำให้เวลาที่ตลาดที่แนวโน้มเคลื่อนไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยเฉพาะทิศทางที่ตรงข้ามกับสถานะของเรา เรามีแนวโน้มที่จะเข้าไป "รับมีด" แบบถี่ๆ หรือ "ยิ่งลงยิ่งซื้อ" นั่นเอง และนั่นคือจุดอ่อนของระบบ Grid Trading

วิธีการที่เราจะใช้เงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะต้องพึ่งพา "Timing" หรือจังหวะในการเข้าเทรด ซึ่ง การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เพราะหากกรองบางจังหวะของตลาดที่ไม่ส่งผลดีกับระบบเทรดของเราออกไปได้ เราก็จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปรับซื้อทุกระดับราคา ซึ่งจะทำให้พอร์ตให้ต้องถือครองสถานะเป็นจำนวนมากๆ อยู่ตลอดเวลา ลองดูตัวอย่างภาพ 1.7

ภาพ 1.7 : กราฟ AUDCHF ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 25 June - 6 July 2020, ตัวอย่างการใช้ Technical Analysis เข้ามากำหนดจังหวะการเทรด ทำให้ระบบ Grid Trading ของเราไม่จำเป็นต้องรับซื้อทุกๆ ระดับราคา

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้

ตัวอย่างจากภาพ 1.7 ให้สังเกตตัวเลขสีเหลืองว่ามีการพยายามแบ่งโซนการเทรดไว้ โดยตั้งใจจะเข้า Buy ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 5 ซึ่งหากราคาผ่านทุกโซน ก็จะได้ 0.01 Lots เป็นจำนวน 5 ไม้ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในหัวข้อนี้คือการพยายามลดภาระของพอร์ตในการถือครองสถานะออกไป โดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยในที่นี่จะใช้ Stochastic Oscillator ในการกำหนดจังหวะการเทรด โดยเรามีแนวโน้มที่จะซื้อตั้งแต่ [1], [2] และ [3] ไปจนถึง [5] แต่ถ้าพยายามกรองบางจังหวะออกไป เช่น เราจะไม่ Buy เมื่อ Stochastic อยู่ในโซนที่ใกล้ 80

ซึ่งในภาพจะเห็นว่า ถ้าเราพยายามกรองจังหวะที่ Stochastic อยู่ในโซนที่ใกล้ 80 ออกไป โซนที่เราแบ่งไว้ คือ [1], [2] และ [3] จะกลายเป็นโซนที่เราไม่เข้าเทรด จากเดิมที่เราต้องเข้าไปรับซื้อ รวมเป็นจำนวนทั้งหมด 0.03 Lots เทรดเดอร์ที่ชำนาญจะนำ 0.03 Lots ที่ยังไม่เทรด ไปมัดรวมกับโซน [4] และ [5] ยกตัวอย่าง เช่น

  • รวบ 0.03 Lots ที่ว่างอยู่มาสัก 0.01 Lots ให้กับโซน [4]
    • ดังนั้น จะเท่ากับว่า เราจะเข้าซื้อโซน [4] เป็นจำนวน 0.02 Lots (จากเดิมแค่ 0.01)
  • รวบ 0.03 Lots ที่ยังเหลืออยู่อีก 0.02 Lots มาให้กับโซน [5]
    • ดังนั้น จะเท่ากับว่า เราจะเข้าซื้อโซน [5] เป็นจำนวน 0.03 Lots (จากเดิมแค่ 0.01)

จะเห็นว่า เราได้ทำการ เข้าซื้อได้หนักขึ้นในจุดที่ถูกลง แต่ความเสี่ยงยังคงเป็นเท่าเดิม เพราะจำนวน Lot รวมทั้งหมดก็ยังเท่ากับ 0.05 Lots ตามที่เราวางแผนไว้ในภาพ 1.7 แล้วเมื่อราคากลับขึ้นไปอีกครั้ง จะทำให้กำไรที่เราได้รับนั้นมากขึ้น สรุปก็คือ เราไม่ได้เข้าซื้อทุกราคาตามที่วางแผน แต่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมากรองบางจังหวะออกไป ทำให้เข้าซื้อในจุดที่ดีกว่าด้วย Size การเทรดที่หนักขึ้นได้ นี่เป็นแนวคิดเบื้องต้นในการเริ่งอัตราการทำกำไรสำหรับระบบ Grid Trading เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะประโยชน์กับผู้อ่าน โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่กำลังสนใจศึกษาระบบเทรดในแนวนี้อยู่

ทดสอบระบบเทรด Grid Trading กับโบรกเกอร์ Admirals

คุณพร้อมแล้วใช่หรือไม่ที่จะได้ทดสอบระบบเทรด Grid Trading System ในตลาด Forex แบบจริงจัง? เราเชื่อว่าเป็นแบบนั้น! แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ คุณควรจะต้องมีการทดสอบก่อนว่า ระบบเทรดของคุณใช้งานได้จริงๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account" ซึ่งทำให้คุณสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ สามารถทดสอบกลยุทธิ์ใหม่ๆ ผ่านการซื้อขายที่เหมือนตลาดจริง และเหมือนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ

คุณจะได้ซื้อขายด้วยราคา Real-Time กำไร-ขาดทุนตามการคำนวณจริงๆ เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง ดังนั้น Demo Account ก็เปรียบเสมือนห้องเรียนที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer): เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
6 กลยุทธ์การเทรดและเทคนิคการเทรด Forex สำหรับปี 2024!
ไม่ว่าการที่มีกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพมาช่วยในการนำทางการเทรดในตลาดการเงินนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด รวมไปถึงการตัดสินใจลงทุนให้กับคุณได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อะไรที่ถือเป็นเทคนิคการเทรดที่มีประสิทธิภาพ และยิ่งไปกว่านั้นคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือเทคนิคการเทรดยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีที่ส...
แนวรับ แนวต้าน ในการเทรด Forex หุ้น ทองคำ และ Indicator แนวรับแนวต้าน ที่คุณต้องรู้จัก!
แนวรับ แนวต้าน เครื่องมือสำคัญในการเทรด Forex และยังถือเป็นพื้นฐานหลักในการเทรดและการวิเคราะห์ตลาดการเงินอื่นๆ ด้วย โดยวิธีดูแนวรับแนวต้านหรือเครื่องมือหาแนวรับแนวต้านนี้จะใช้ Indicator แนวรับแนวต้าน หรือที่เราเรียกกันว่าตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการซื้อขาย Forex และ CFD ซึ่งบทค...
Scalping คือ ? พร้อมเทคนิค Scalping ใน 1 นาที ฉบับใช้ได้จริง!
Scalping คือ ? ถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดเทรดใหม่ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเคยได้ยินคำว่า 'scalping' มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะแนวความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด Forex ระยะสั้นหรือที่เรียกกันว่า 'Scalping Forex' รวมทั้งสอนกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ ในการเทรดแบบ Scalping ด้วย ในที...
ดูทั้งหมด