Inside Bar คือ ? พร้อมส่องกลยุทธ์การเทรด Inside Bar ที่นี่!

Admirals
20 นาที

Inside Bar คือ ? สรุปง่ายๆ ได้ว่านับว่า Inside Bar คือหนึ่งในรูปแบบ Price Action ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และยังถือกันเป็นรูปแบบที่ดีหรือทรงพลังมากที่สุดรูปแบบหนึ่งในการเทรดในตลาด Forex

เนื่องจากมีโอกาสที่จะทำกำไรจากการเทรดในรูปแบบ Inside Bar ได้ค่อนข้างสูง โดยให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ดี (Risk-Reward Ratio) หรือคือการที่เราสามารถเข้าเทรดได้ด้วย Stop Loss ที่กว้าง และมีเป้าหมายในการ Take Profit ได้ไกลกว่ามาก ซึ่งในบทความนี้จะพาคุณไปเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรด Inside Bar จนกว่าคุณจะเทรดได้

Inside Bar คือ ?

Inside Bar คือ ชุดของ Bar หรือกราฟแท่งเทียนที่เคลื่อนไหวอยู่ภายในกรอบ High-Low ของแท่งเทียนก่อนหน้า โดยแท่งเทียนก่อนหน้าจะเรียกว่า "Mother Bar" ทั้งนี้ แท่งเทียนที่เป็น Inside Bar จะมีลักษณะที่เล็กกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า โดยบีบตัวตรงเป็น Higher Low และ Lower High ลงมา จะเห็นว่า ความจริงแล้ว การเกิด Inside Bar ในภาพใหญ่ เช่น กราฟแบบ Daily เมื่อซูมเข้าไปดูในภาพเล็กๆ การที่ราคาจะบีบตัวเองเป็น Higher Low และ Lower High นั้น มันก็คือลักษณะการเคลื่อนตัวเป็นรูปแบบสามเหลี่ยม หรือ Triangular Pattern นั่นเอง

และเนื่องจากกลยุทธ์การเทรดแบบ Inside Bar นั้น จะคล้ายกับลักษณะของการเทรดแบบ Breakout มาก โดยในทางตำราที่แนะนำกันก็คือ คุณควรรอให้ราคามีการเคลื่อนผ่านจุด High หรือ Low ของแท่ง Mother Bar ไปก่อน แล้วจึงเข้าเทรด เช่น ถ้าคุณกำลังรอจังหวะที่จะ Sell ก็ต้องรอให้ราคา Breakout ผ่าน Low ของแท่ง Mother Bar ไปก่อน ลองดูตัวอย่างในภาพ 1.1

ภาพ 1.1 : กราฟ EURUSD ราย 1 Day, ตั้งแต่ 4 Dec 2019 - 24 FEB 2020, ตัวอย่างการเกิด Inside Bar จากภาพจะเห็นว่า กราฟแท่งเทียนหมายถึง [1] ก็คือ Mother Bar และกราฟแท่งเทียนหมายเลข [2] เป็นตัว Inside Bar เพราะทั้ง High และ Low ของแท่งเทียนที่ [2] นั่นบีบแคบลง มี High ที่ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า และมี Low ที่สูงกว่าแท่งก่อนหน้า

จากภาพ 1.1 จะเห็นว่า พอเกิดเป็นลักษณะของ Inside Bar สิ่งที่เรามักจะทำไว้ก่อนก็คือการตีกรอบ High และ Low ของแท่ง Mother Bar ไว้ และเมื่อมีการ Breakout แนวดังกล่าวออกไป นั่นก็จะถือเป็นสัญญาณการเข้าเทรด โดย ณ จุดที่ [3] เมื่อกราฟ Breakout จุด Low ของแท่ง Mother Bar ได้แล้ว ราคาจะลงไปเรื่อยๆ ตามทิศทางนั้น

และหากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่า การเทรด Breakout เมื่อเกิด Inside Bar นั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการพิจารณาการเกิดรูปแบบสามเหลี่ยม ซึ่งเมื่อราคา Breakout จากกรอบไปแล้ว ราคาจะวิ่งไปทิศทางนั้นๆ เป็นระยะทางประมาณ 2 เท่าของกรอบอยู่เสมอ แต่จงระวัง! แนวคิดนี้ถือเป็น Inside Bar ในอุดมคติ เพราะในตลาดจริงๆ บ่อยครั้งราคาก็วิ่งไปไม่ถึง ลองพิจารณาจากภาพ 1.2

ภาพ 1.2 : กราฟ NZDJPY ราย 1 Day, ตั้งแต่ 3 July - 19 Sep 2019, แสดงการเกิด Inside Bar เช่นเดียวกับภาพ 1.1 แต่จะเห็นว่า ระยะทางเมื่อ Breakout ไปแล้ว กลับวิ่งไปได้ไม่ไกลนัก และเพียงผ่านไปไม่กี่วัน ราคาก็วิ่งกลับเข้ามาในกรอบเช่นเดิม

Inside Bar Trading คือ ? สามารถสังเกต ได้ดังนี้

  • เราไม่รู้หรอกว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราจะรู้ตัวเร็วสุดเมื่อแท่ง Inside Bar ได้ปิดแท่งแล้ว
  • แท่งเทียน Inside Bar เมื่อซูมเล็กลงไป จะเคลื่อนเป็นกรอบสามเหลี่ยม
  • Inside Bar สามารถมีหลายๆ แท่งเรียงติดต่อกันได้
  • ยิ่งมี Inside Bar เรียงติดๆ กันมากเท่าไหร่ จะหมายถึง การบีบอัดที่ยาวนาน ซึ่งนำไปสู่การ Breakout ที่รุนแรง

เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีทดลองเทรด

หากคุณเริ่มได้ไอเดียเกี่ยวกับการเทรดแบบ Inside Bar แล้ว เราก็ขอนำเสนอว่า เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals สามารถเทรดในตลาดโดยไม่มีความเสี่ยงได้จากระบบบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) ได้ ซึ่งทำให้สามารถทดลองกลยุทธิ์ใหม่ๆ รวมถึงกลยุทธ์ Inside Bar Trading ด้วย คุณจะสามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงในสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ รวมทั้งการคำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MT5 ที่จะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

ความสำคัญของ Inside Bar

Inside Bar คือ สัญญาณที่บ่งบอกว่า กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการกลับตัว (Reversal) หรือเคลื่อนทะลุต่อไป (Continuation) และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ Inside Bar จะทำให้เราสังเกตเห็นว่า "ระยะเวลา" ของการพักตัวภายในกรอบ Mother Bar นั้นยาวนานขนาดไหน ซึ่งก็ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า การบีบอัดที่ยาวนาน จะนำไปสู่การ Breakout ที่รุนแรง ดังนั้น Inside Bar คือ ลักษณะหนึ่งของการพักตัวนั้นเอง ซึ่งมันจะมีนัยสำคัญก็ต่อเมื่อมันฟอร์มรูปแบบที่บริเวณแนวรับ-แนวต้าน

"ขนาด" ของ Inside Bar มีความหมายแตกต่างกัน

Inside Bar มักให้สัญญาณที่สร้างโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถเข้าไปเทรดได้ด้วยความเสี่ยงที่ต่ำ หากเป็นการฟอร์ม Inside Bar ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เทรดเดอร์สามารถเร่งอัตราการทำกำไรด้วยการเพิ่ม Lot ให้ใหญ่ขึ้นได้ ในประเด็นนี้มีเหตุผล 2 ข้อ ดังนี้

1. Inside Bar ที่มีขนาดเล็ก หรือในไทม์เฟรมย่อยๆ มักจะเป็นลักษณะ "การพักตัวเพื่อไปต่อ" หรือที่เรียกว่า การพักตัวด้วยความผันผวนที่ต่ำ [2] การพักตัวเป็น Inside Bar ในไทม์เฟรมย่อยๆ แบบนี้ จะยังได้รับแรงส่งจากการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้า ดังนั้น หากเป็นกรณีที่เกิด Inside Bar ขนาดเล็ก เทรดเดอร์มักเทรดตามแนวโน้มเดิม และอาจเพิ่ม Size การเทรดให้ใหญ่ขึ้น ดูภาพ 1.3 เป็นตัวอย่าง

ภาพ 1.3 : กราฟ EURUSD ราย 30 นาที, ตั้งแต่ 14 - 15 Jul 2020, Inside Bar ในไทม์เฟรมเล็กๆ ราคามักไปต่อ

 

แต่หากเป็น Inside Bar ขนาดใหญ่? ต้องย้อนกลับมาที่พื้นฐานก็คือ การเกิดแท่งเทียน Inside Bar มันมีไส้ในของแท่งเทียนเป็น "สามเหลี่ยม" นั่นเอง ดังนั้นหากแท่งเทียน Inside Bar ขนาดใหญ่ ก็หมายถึงมันเกิดการฟอร์มเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งจะมีความยากลำบากในการเทรดมากกว่า Inside Bar ขนาดเล็ก

2. Inside Bar ขนาดใหญ่ หมายถึง การเหวี่ยงเป็นสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ดังนั้น การที่ราคาจะ Breakout ไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง (โดยเฉพาะวิ่งไปทางแนวโน้มเดิม) มันจะต้องใช้กำลังมาก (ต้องใช้เงินในการดันราคาสูง ซึ่งก็ย่อมหมายถึง โอกาส Fail ก็จะง่ายกว่า)

  • เมื่อต้องใช้กำลังมาก ดังนั้น ราคาหลังจากการ Breakout มักมีความไม่แน่นอนสูง สามารถไปต่อหรือวิ่งกลับเข้าโซนเดิมได้เป็นเรื่องปกติ
  • ไม่ควรใช้กลยุทธ์ Breakout กับ Inside Bar ขนาดใหญ่
  • ควรใช้กลยุทธ์ซื้อสะสมในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มเดิม เช่น ถ้าราคาเป็นขาขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วอยู่ๆ ก็เกิด Inside Bar ขนาดใหญ่ กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการค่อยๆ สะสมสถานะ Sell ทีละน้อยๆ
ภาพ 1.4 : กราฟ EURUSD ราย Weekly, ตั้งแต่ Oct 2018 - June 2020, แสดงให้เห็นการเกิด Inside Bar ในไทม์เฟรมใหญ่ ซึ่งสร้างความปวดหัวได้มากกว่า


จากภาพ 1.4 จะเห็นปัญหาของการเทรด Inside Bar ในไทม์เฟรมใหญ่ค่อนข้างชัดเจน ในหมายถึง [1] มีการเกิด Inside Bar ขึ้นมา และหากเรายึกตำราว่า รอให้ Breakout ออกจากกรอบ แล้ว Buy สิ่งที่เกิดขึ้นในจุด [A] ก็คือการเกิด False Breakout และอีกจุดที่น่าสนใจ คือ [2] ที่ราคาได้ Breakout จากกรอบ Mother Bar ลงไป ซึ่งถ้าเราย้อนไปดูตัวอย่างที่ 1.1 จะเห็นว่า ราคาน่าจะลงไปต่อได้อีกเยอะ แต่พอมาเป็น Inside Bar ขนาดใหญ่แล้ว ราคาก็มักมีความไม่แน่นอนสูง และเพียงไม่กี่สัปดาห์ ราคาก็วิ่งไปเข้ามาที่โซนเดิม

ทดสอบกลยุทธ์การเทรด Inside Bar ด้วย MT5

รู้หรือไม่ว่า? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

กลยุทธ์การเทรด Inside Bar

จะเห็นว่า ในทางเทคนิคกลยุทธ์การเทรด Inside Bar แล้ว เมื่อเกิด Inside Bar ก็จะพิจารณาออกมาเป็น 2 ลักษณะคือเป็นแบบกลับตัว (Reversal) หรือไปต่อ (Continuation) โดยถ้าเป็นกรณีของการกลับตัว มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีการฟอร์ม Inside Bar ในไทม์เฟรมใหญ่ ส่วน "ไปต่อ" นั้น เทรดเดอร์นิยมมองว่า Inside Bar ในไทม์เฟรมเล็กๆ เช่น 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที เป็นต้น โดยเราสามารถต่อยอดเป็นกลยุทธ์ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ตามน้ำ

กรณีนี้จะเป็นการเทรดตามแนวโน้มนั้นเอง โดย Inside Bar ที่เกิดขึ้น ต้องเกิดขึ้นในไทม์เฟรมเล็ก เช่น 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที ลงมาเท่านั้น เพราะอย่างที่รู้กันแล้วก็คือ ยิ่งไทม์เฟรมใหญ่ๆ โอกาสที่จะเกิด False Breakout ก็สูง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเทรดแบบ "ตามน้ำ" ทั้งนี้ ลองดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในภาพที่ 1.5

ภาพ 1.5 : กราฟ EURGBP ราย 5 นาที, 14 - 15 Jul 2020, แสดงตัวอย่างจังหวะการเข้าเทรดเวลาเกิด Inside Bar ในไทม์เฟรมเล็กๆ ในภาพคือการเกิด Inside Bar ในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง และเมื่อซูมมาภาพเล็กที่กราฟ 5 นาที เราจะเห็นจังหวะการเทรดได้ชัดเจนขึ้น จากภาพ 1.5 จะเห็นว่า มีการใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA เข้ามากรองจังหวะการเทรด โดยในภาพจะเป็น EMA 20, 50 และ 200 ไม่สำคัญว่าจะใช้ EMA ค่าเท่าใด แต่จุดประสงค์เพื่อช่วยให้มองเห็นความชันและการเคลื่อนไหวของกราฟได้ชัดเจน

 

โดยในจุดที่ [1] จะเห็นว่า จริงๆ แล้วก็ควรเป็นจังหวะเข้า Sell แต่เมื่อเป็น Inside Bar เราต้องรอให้ราคาทะลุผ่าน Low ของ Mother Bar ไปก่อน ดังนั้น จังหวะเทรดตามน้ำจังหวะแรก คือจุดที่ [2] ซึ่งราคาได้ผ่าน Low ของ Mother Bar ไปแล้ว และราคาวกกลับมาสัมผัสที่บริเวณแนวเส้น EMA นี่คือจังหวะการเข้า Sell ที่งดงามที่สุดจังหวะหนึ่ง

2. ดัก Kill

กรณีนี้ เราจะเล่นกับความผันผวนของตลาด ซึ่งเราสามารถใช้กลยุทธ์แบบ Swing Trading เข้ามาผสมผสานได้เช่นกัน แต่แนวคิดหลักคือเราจะอาศัยประโยชน์จาก Inside Bar ในไทม์เฟรมที่ใหญ่ และดักเทรดในจุดที่มีแนวโน้มจะเกิด False Breakout

ภาพ 1.6 : กราฟ NZDCHF ราย Weekly, Aug 2015 - Sep 2016, แสดงตัวอย่างการ Breakout แต่ราคาจะหยุดถึงแค่ 127.2% เท่านั้น

การดัก Kill ในภาพ 1.6 เหมือนเดิมคือแท่งเทียนที่ [1] คือ Mother Bar และ [2] คือ Inside Bar (แม้จะไม่สมบูรณ์นัก) ทังนี้จะเห็นว่า ราคาได้ Breakout แท่ง Mother Bar ลงไป แต่ก็ไปได้ไม่ไกล ซึ่งคล้ายกับกรณีของภาพที่ 1.4 ที่ราคากลับเข้าโซนอีกครั้ง ซึ่งกรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยกับไทม์เฟรมใหญ่ และบ่อยครั้งมีราคามักจะหยุดที่บริเวณ 127.2% (มันคือระยะทางที่บวกเพิ่มไปอีก 27.2%

จากกรอบ High-Low ของแท่ง Mother Bar ซึ่งสามารถสรุปเป็นขั้นตอนการเทรดได้ดังนี้

  1. รอให้เกิด Inside Bar
  2. ตีแนว Fibonacci Retracement ไว้ และรอสังเกตพฤติกรรมราคาที่แนว 127.2%
  3. เมื่อราคามาถึงแนว 127.2% ให้กลับไปดูไทม์เฟรมเล็กลงไปว่าเกิดสัญญาณกลับตัวหรือไม่ เช่น สัญญาณ Divergence เป็นต้น

และนั่นคือทั้งหมดสำหรับบทความกลยุทธ์ Inside Trading ในวันนี้ ขอฝากไว้อีกอย่างหนึ่ง 127.2% จะยังเป็น Level ที่พิจารณาการ False Breakout ส่วนถ้าราคาหลุดไปบริเวณ 161.8% แล้วสามารถกลับตัวไป อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างใด เพราะระยะทางที่ไกลถึงขนาด 161.8% ราคามีโอกาสที่จะอ่อนแรงลงได้ง่าย และเกิดรูปแบบการกลับตัวขึ้น นั่นก็แปลว่า เราจะสามารถดัก Kill ได้ทั้ง 127.2% และ 161.8% เพียงแต่ความหมายของกราฟจะแตกต่างกันเท่านั้นเอง

กรอบเวลาที่ดีที่สุดในการเทรด Inside Bar

เวลาที่ดีที่สุดในกลยุทธ์ Inside Bar คือ กรอบเวลารายวัน เพราะในกรอบเวลาที่อยู่ใต้กราฟรายวัน แท่ง Inside Bar ในจะเติบโตมากเกินไปจนคุ้มที่จะเทรด อาจมีสตริงยาวของแท่งในแผนภูมิ 4 ชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมงก่อนที่จะเกิดการทะลุ เป็นต้น และการพยายามซื้อขายพวกมันอาจทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากจำนวนการทะลุที่ผิดพลาดทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นในกรอบเวลาของกราฟ

เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่มักจะเทรดในกรอบเวลาที่ต่ำกว่า โดยอาจเทรดในกรอบเวลาในกราฟ 4H ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่ต่ำที่สุดที่แนะนำให้ซื้อขายในกรอบเวลา กราฟรายวันเหมาะที่สุดสำหรับกลยุทธ์ Inside Bar และนอกจากนี้ กราฟรายสัปดาห์ยังสามารถสร้างกำไรได้ในบางครั้งได้

นอกจากนี้ยังสามารถใช้แท่ง Inside Bar ไปพร้อมกับการเทรดตามแนวโน้มเฉพาะบนกราฟ 240 นาทีหรือกราฟ รายวัน ซึ่งมือใหม่ควรยึดติดกับกราฟรายวันจนกว่าจะได้เรียนรู้อย่างสมบูรณ์และสามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่องด้วยการตั้งค่าในกรอบเวลานั้น

หากต้องการรายละเอียดในใช้การตั้งค่าการเทรด Inside Bar สามารถเรียนรู้จากวิดีโอนี้

เริ่มต้นเทรดออนไลน์ Admirals

คุณพร้อมแล้วใช่หรือไม่ที่จะได้ทดสอบระบบเทรด Inside Bar ในตลาด Forex แบบจริงจัง? เราเชื่อว่าเป็นแบบนั้น! แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ คุณควรจะต้องมีการทดสอบก่อนว่า ระบบเทรดของคุณใช้งานได้จริงๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีทดลองเทรดหรือ "Demo Account" ซึ่งทำให้คุณสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ สามารถทดสอบกลยุทธิ์ใหม่ๆ ผ่านการซื้อขายที่เหมือนตลาดจริง และเหมือนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ

คุณจะได้ซื้อขายด้วยราคา Real-Time กำไร-ขาดทุนตามการคำนวณจริงๆ เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง ดังนั้น Demo Account ก็เปรียบเสมือนห้องเรียนที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

 คำถามที่พบบ่อยในการเทรด Inside Bar

 กลยุทธ์ Inside Bar ทำกำไรได้จริงมั้ย ?

การดู Inside Bar Pattern นั้นตรงไปตรงมา ทำให้ง่ายต่อการมองเห็นบนกราฟและเทรดได้ง่ายโดยใช้การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา ทำให้กลยุทธ์ Inside Bar น่าเชื่อถือได้และให้ผลกำไรได้ 

 

Inside Bar สำคัญอย่างไร ?

Inside Bar คือตัวบ่งชี้ที่มี Break out แต่เทรดเดอร์ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าราคาจะ Break out ตามที่คาดการณ์ไว้ ในการเทรดด้วย Inside Bar จึงควรวาง Stop Loss ไว้ด้วย

 

สีของแท่ง Inside Bar มีความหมายอย่างไร ?

แท่งเทียน Inside Bar จะมี 2 แท่ง โดยแท่งเทียนแท่งแรกเรียกว่า 'แถบแม่' ในขณะที่แท่งเทียนแท่งที่ 2 จะมีสีที่ใช้เป็นเพียงเพื่อสังเกตเท่านั้น สีในแท่งเทียน Inside Bar จึงไม่สำคัญ

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

Disclaimer: เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
6 กลยุทธ์การเทรดและเทคนิคการเทรด Forex สำหรับปี 2024!
ไม่ว่าการที่มีกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพมาช่วยในการนำทางการเทรดในตลาดการเงินนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด รวมไปถึงการตัดสินใจลงทุนให้กับคุณได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อะไรที่ถือเป็นเทคนิคการเทรดที่มีประสิทธิภาพ และยิ่งไปกว่านั้นคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือเทคนิคการเทรดยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีที่ส...
แนวรับ แนวต้าน ในการเทรด Forex หุ้น ทองคำ และ Indicator แนวรับแนวต้าน ที่คุณต้องรู้จัก!
แนวรับ แนวต้าน เครื่องมือสำคัญในการเทรด Forex และยังถือเป็นพื้นฐานหลักในการเทรดและการวิเคราะห์ตลาดการเงินอื่นๆ ด้วย โดยวิธีดูแนวรับแนวต้านหรือเครื่องมือหาแนวรับแนวต้านนี้จะใช้ Indicator แนวรับแนวต้าน หรือที่เราเรียกกันว่าตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการซื้อขาย Forex และ CFD ซึ่งบทค...
Scalping คือ ? พร้อมเทคนิค Scalping ใน 1 นาที ฉบับใช้ได้จริง!
Scalping คือ ? ถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดเทรดใหม่ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเคยได้ยินคำว่า 'scalping' มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะแนวความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด Forex ระยะสั้นหรือที่เรียกกันว่า 'Scalping Forex' รวมทั้งสอนกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ ในการเทรดแบบ Scalping ด้วย ในที...
ดูทั้งหมด