เทคนิค Price Action เพื่อหาจังหวะเทรด

Admirals

เทคนิค Price Action นั้นคือหนึ่งในสุดยอดเทคนิคในการประเมินจังหวะการเข้าเทรด รูปแบบของ Price Action ที่ทรงพลัง แต่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาในการทำความเข้าใจ รวมถึงการ "พยายามจำ" รูปแบบทั้งหมดโดยไม่จำเป็น ทั้งๆ ที่รูปแบบ Price Action สำคัญๆ ที่เป็นแก่นแท้ของการวิเคราะห์ กลับมีอยู่เพียงไม่กี่ลักษณะ ซึ่งแสดงออกผ่าน "แท่งเทียนที่ไม่สมบูรณ์" 

และในบทความนี้ เราจะแชร์มุมมองเกี่ยวกับ "แท่งเทียนที่ไม่สมบูรณ์" โดยการใช้ Indicator ที่เทรดเดอร์ส่วนหนึ่งในยุโรปนิยมใช้ ซึ่งเรียกว่า Price Action ไปพร้อมกัน!

Price Action Indicator คืออะไร?

ตามมุมมองของบทความนี้ Price Action Indicator คือ แนวคิดที่ใช้ Indicator ในการประเมินหรือยืนยันความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของรูปแบบ Price Action เมื่อมันสร้างรูปแบบขึ้นมาแล้ว ไม่ได้หมายถึง Indicator ที่เอาไว้คำนวณหา Price Action อัตโนมัติแต่อย่างใด

แต่ก่อนที่เราจะใช้เทคนิค Price Action ในการยืนยัน "ความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอ" ของรูปแบบ Price Action เราต้องเข้าใจพื้นฐานของกราฟแท่งเทียนก่อนว่า จะพิจารณาความแข็งแกร่งของแท่งเทียนได้อย่างไร ทั้งนี้ให้ลองพิจารณาที่ภาพด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างจริงจากกราฟ EURJPY ราย 1 ชั่วโมง

ภาพ 1.1 - แสดงความหลากหลายของกราฟแท่งเทียน Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

กลยุทธ์ Price Action นี้ตรงไปตรงมาอย่างและเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ ให้สังเกตสังเกตที่ลูกศรที่เหลืองที่จะชี้เฉพาะแท่งเทียนสีเขียวที่เป็นแท่งยาวๆ นี่คือ Price Action ที่แสดงให้เห็นความแข็งแกร่งของราคา "แท่งเทียนที่แข็งแกร่ง" นั่นเอง โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง

  • ต้องมีความยาวมากกว่าค่าเฉลี่ยของแท่งเทียนรอบๆ
  • ต้องเป็นแท่งเทียนเต็มแท่ง ไม่มีไส้เทียนที่ยาวใกล้เคียงกับตัวแท่งเทียน

ตัวอย่างข้างต้นคือกรณีที่เป็นเทคนิค Price Action "แท่งเทียนแข็งแกร่ง" ซึ่งปรับใช้ได้ทั้งแท่งเทียนแบบขาขึ้นและขาลง แต่ในทางตรงกันข้าม "แท่งเทียนอ่อนแอ" ก็จะเป็นแท่งเทียนที่ไม่สามารถฟอร์มตัวให้ปิดราคาแบบเต็มแท่งอย่างสวยงามได้ ตรงนี้จะสะท้อนความไม่เป็นเอกภาพของฝั่ง Buyer, Seller ณ ช่วงเวลานั้นๆ เพราะถ้าเทรดเดอร์มองไปในทิศทางเดียวกัน ราคาจะพุ่งไปในทิศทางหนึ่งๆ อย่างแข็งแรง

ให้พิจารณาที่กรอบสี่เหลี่ยมสีขาว แท่งเทียนที่อ่อนแอในภาพมีหลายลักษณะมาก จากสองกล่องด้านขวา จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า หากเราเอาเรื่อง "ไส้เทียน" เป็นจุดหลักในการพิจารณา แท่งเทียนเหล่านั้นล้วนแต่ไร้ซึ่งพละกำลังแล้ว ตรงนี้จะไม่เหมาะสำหรับคนที่เข้ามาเทรดทำรอบหรือต้องการโมเมนตัมจากแท่งเทียนเป็นแรงส่งเพื่อกินส่วนต่างราคา

ไส้เทียนกินพื้นที่ของแท่งเทียนไปเยอะมาก มีทั้งไส้เทียนที่ชี้บนและล่าง ตรงนี้จะไม่ใช่จุดที่เหมาะสมในการเทรดกลยุทธ์อื่นๆ เลย (อาจยกเว้นในกรณีสะสม Position เพื่อกิน Trend ใหญ่) ส่วนสี่เหลี่ยมสีขาวด้านซ้าย แม้จะมีพื้นที่แท่งเทียนบ้าง แต่ถ้าเทียบกับ "แท่งเทียนที่แข็งแกร่ง" ที่เพิ่งยกตัวอย่างไป จะเห็นว่าขนาดแตกต่างกันมาก อีกทั้งยังมีไส้เทียนแทงออกมา ตรงนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นแท่งเทียนที่แข็งแกร่งแต่อย่างใด

ภาพ 1.2 - ลักษณะพื้นฐานกับแท่งเทียนที่ไม่แข็งแรง ซึ่งมักมีมากกว่าแท่งเทียนแบบเต็ม

 

ในเบื้องต้น ให้สังเกตว่า กราฟแท่งเทียนที่มีไส้เทียนยาวๆ เราจะตีความก่อนว่า เป็นสภาวะแท่งเทียนที่ไม่สมบูรณ์ ทิศทางของแท่งเทียนมีพลังที่จำกัด แตกต่างจากแท่งเทียนขวาสุดที่มีความแข็งแกร่ง เป็นลักษณะของการเลือกทิศทาง

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

การใช้ EMA ในกลยุทธ์ Price Action Indicator 

เทคนิค Price Action ตัวแรกสามารถใช้เป็น Price Action Indicator ที่ยืนยันได้ทั้งสภาวะของแท่งเทียนที่ "อ่อนแอ่" และแข็งแกร่ง มีรายละเอียดการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ เทคนิค Price Action Indicator หรือกลยุทธ์ Price Action นี้ส่วนมากจะเน้นหนักไปในทางการยืนยันความอ่อนแอของแท่งเทียน

ลองดูตัวอย่างที่กราฟด้านล่าง เป็นกราฟจริงในคู่เงิน GBPUSD ราย 1 ชั่วโมง กับเส้นค่าเฉลี่ย Period ที่ 200 โดยค่า Period ควรเป็นตัวเลขที่สำคัญในเชิง Timeframe จริงๆ เช่น 20, 50, 200 เป็นต้น โดยเฉพาะค่า 200 ที่มักเป็นจุด

ภาพ 1.3 - ตัวอย่างแนวคิดของ Price Action Indicator ในตลาดจริงๆ -Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

ในกรณีที่ใช้เทคนิค Price Action ในลักษณะของการยืนยัน "แท่งเทียนอ่อนแรง" หรือมีแรงสวนทิศทางกลับมา จุดนี้จะสะท้อน "การอ่อนแรงของทิศทางเดิม" ซึ่งเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มักจะเริ่มเปลี่ยนหน้าเทรด

ความแตกต่างของการใช้ EMA และ Price Action

เทคนิค Price Action นี้แตกต่างมากเลย ลองกลับไปพิจารณาที่ภาพ 1.2 อีกครั้ง ความจริงเราจะเห็นว่า แท่งเทียนที่ไม่แข็งแรงนั้นปรากฏอยู่ทั่วไป และเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะใส่ใจมัน เพราะแท่งเทียนเหล่านั้นจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อมันอยู่ในโซนที่มีความหมาย และนั่น Price Action Indicator ก็นำมาใช้เพื่อยืนยันว่า แท่งเทียนแท่งไหนกำลังอยู่ในโซนที่มีความหมายนั่นเอง

ลูกศรและกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลืองแรกด้านซ้าย จะเห็นว่า จริงๆ แนวโน้มของราคาเป็นขาขึ้นมาโดยตลอด และคุณจะเห็นว่า มันเกิดแท่งเทียนอ่อนแอขึ้นตลอดเวลา มันแค่บ่งบอกว่า สภาวะของ Trend มีการชะลอแรง แต่ยังไม่ใช่ "โซนที่ใช่" จนกว่ามันปะทะกับแนว EMA ที่ 200 Period

หากไส้เทียนไปปะทะตรงเส้นพอดี นั่นถือว่ากลยุทธ์ Price Action ให้ยืนยันความอ่อนแอของ Price Action และแนวโน้มแล้ว แต่ในตัวอย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เพราะมันก็ไม่ได้แปลว่า ราคาจะกลับแนวโน้มทันที แม้มันจะมีแรงเทขายบ้างก็ตาม แต่ทั้งนี้ หากเทรดเดอร์ที่เน้นกลยุทธ์เทรดสั้น สามารถเริ่ม Sell เก็บสั้นๆ ได้มัน EMA ยืนยันการอ่อนแรงนี้ได้เลย

ภาพ 1.4 - ตัวอย่างแนวคิดของ Price Action Indicator ในการยืนยันความแข็งแกร่ง - Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

กรณีที่ต้องการยืนยันจังหวะในการเข้าเทรดแท่งเทียนที่เป็น Strong Bar หรือมีความแข็งแกร่ง ค่าเฉลี่ย EMA ก็ยังมาในรอบนี้ด้วย ซึ่งจริงๆ ถ้าเข้าใจไอเดีย เราปรับใช้กับอะไรก็ได้ กลยุทธ์ Price Action นั้นเป็นเพียงการยืนยันจังหวะที่ใช่ และโซนที่ใช่เท่านั้น

ซึ่งจากภาพ 1.4 มี Strong Bar ทีเกิดอาการ Failed มากมาย เนื่องจากอาจจะอยู่ในโซนที่สูงเกินไป แต่หากเป็นแท่งเทียนที่เพิ่งปะทะกับแนว EMA มันจะสร้างโอกาสในการทำกำไรได้ง่ายกว่า ตรงนี้จะเห็นได้ชัดจากสี่เหลี่ยมที่ [1] และ [3]

ส่วนในสี่เหลี่ยมที่ [2] จะเป็นอีกแนวคิด โดยใช้หลักการของ Breakout และ Price Action Indicator มายืนยัน โดยราคาต้องเป็นแท่งแบบ Full Bar ตามในภาพ และแท่งเทียนได้ Breakout EMA ขึ้นไป หลังจากนั้นจึงวิ่งกลับมาที่แนวเส้น EMA อีกครั้ง นี่จะกลายเป็นจุดเข้าเทรดที่น่าสนใจมาก

ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองเทรดฟรี!

  • คุ้มครองเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าศูนย์ บัญชีเทรดจะไม่มียอดติดลบ นักลงทุนจะไม่มีโอกาสเป็นหนี้โบรกเกอร์แบบตลาดหุ้นทั่วไป
  • เทรดด้วยแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้งบน Windows, Mac, Web, Android และ iOS
  • เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
  • ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของตัวบัญชีได้ด้วยการเข้าไปเทรด Hedging ได้ตลอด 24 ชั่วโมง / 5 วันต่อสัปดาห์

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมากๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

คำถามที่พบบ่อยในเทคนิค Price Action 

 

กลยุทธ์ Price Action แม่นยำจริงไหม ?

กลยุทธ์ Price Action คือการวิเคราะห์จากการเคลื่อนไหวของราคาเข้ากับตัวอินดิเคเคอร์ต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ทำให้ได้สัญญาณหรือสัญญาณที่มีความแม่นยำ ทำให้เทรดเดอร์จำนวนมากเลือกกลยุทธ์ Price Action นั่นเอง

 

จำเป็นต้องรู้อะไรในการใช้เทคนิค Price Action ?

การเคลื่อนไหวของราคานั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลในอดีต รวมทั้งการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต และตัวชี้วัดทางเทคนิคทั้งหมด เช่น กราฟ เส้นแนวโน้ม แถบราคา การแกว่งสูงและต่ำ ระดับทางเทคนิค (แนวรับ แนวต้าน และการรวมตัว) และอื่นๆ จะถูกนำมาพิจารณาตามความเหมาะสมของกลยุทธ์ของเทรดเดอร์

 

เทคนิค Price Action ใช้กับ Scalping ได้ไหม ?

เทคนิค Price Action หรือที่สามารถเรียกได้อีกอย่างว่ากลยุทธ์หาจุดซื้อด้วย Price Action จะคอยดูการเคลื่อนไหวของราคาในระดับต่างๆ เพื่อหาสัญญาณซื้อหรือขายใน 2 นาทีหรือมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำกำไรสูงสุดในระหว่างวัน ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับระดับแนวรับและแนวต้านมากกว่า

 บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
6 กลยุทธ์การเทรดและเทคนิคการเทรด Forex สำหรับปี 2024!
ไม่ว่าการที่มีกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพมาช่วยในการนำทางการเทรดในตลาดการเงินนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด รวมไปถึงการตัดสินใจลงทุนให้กับคุณได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อะไรที่ถือเป็นเทคนิคการเทรดที่มีประสิทธิภาพ และยิ่งไปกว่านั้นคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือเทคนิคการเทรดยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีที่ส...
แนวรับ แนวต้าน ในการเทรด Forex หุ้น ทองคำ และ Indicator แนวรับแนวต้าน ที่คุณต้องรู้จัก!
แนวรับ แนวต้าน เครื่องมือสำคัญในการเทรด Forex และยังถือเป็นพื้นฐานหลักในการเทรดและการวิเคราะห์ตลาดการเงินอื่นๆ ด้วย โดยวิธีดูแนวรับแนวต้านหรือเครื่องมือหาแนวรับแนวต้านนี้จะใช้ Indicator แนวรับแนวต้าน หรือที่เราเรียกกันว่าตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการซื้อขาย Forex และ CFD ซึ่งบทค...
Scalping คือ ? พร้อมเทคนิค Scalping ใน 1 นาที ฉบับใช้ได้จริง!
Scalping คือ ? ถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดเทรดใหม่ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเคยได้ยินคำว่า 'scalping' มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะแนวความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด Forex ระยะสั้นหรือที่เรียกกันว่า 'Scalping Forex' รวมทั้งสอนกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ ในการเทรดแบบ Scalping ด้วย ในที...
ดูทั้งหมด