วิธีการหา แนวรับ แนวต้าน ในการเทรดหุ้น, ค่าเงิน, ทองคำ ฯลฯ

แนวรับ-แนวต้าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการเทรด Forex แต่ไม่ใช่ว่า มันถูกใช้งานเฉพาะในตลาด Forex เท่านั้น เพราะถือเป็นพื้นฐานหลักในการเทรดและวิเคราะห์ตลาดการเงินอื่นๆ อีกด้วย
คุณจะได้เรียนรู้
แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร
แนวรับ แนวต้าน (Support & Resistance) คือ ระดับของราคาที่ถูกประเมินว่า มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา อาจเป็นเพียงราคาหนึ่ง ๆ หรือเป็นช่วงของราคาก็ได้ โดยระดับราคาเหล่านั้นจะถูกกำหนดขึ้นเองตามแต่มุมมองของแต่ละ Player ซึ่งสะท้อนว่า Player เหล่านั้นมองระดับราคาใดว่าเป็นตัวแทนของระดับ Demand & Supply ที่มีความสำคัญ ดังนั้น จะเห็นว่า มีข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับแนวรับ-แนวต้าน ดังต่อไปนี้
- ระดับราคา ที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา
- ระดับราคา ที่สะท้อน Demand & Supply
- ระดับราคา ที่เป็น แนวรับ-แนวต้าน ถูกกำหนดขึ้นเองตามมุมมองของแต่ละคน
แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เพราะมันคือ ระดับราคาที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น มันจึงเท่ากับเป็นตัวสะท้อนระดับ Demand & Supply นั่นเอง แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา ในแง่ที่ว่า เมื่อราคาเคลื่อนเข้ามาบริเวณ แนวรับ-แนวต้าน ราคาจะตอบสนองต่อแนวดังกล่าวโดยการแสดงพฤติกรรมหลายอย่างออกมา เช่น การสะท้อนกลับอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
แนวรับ-แนวต้าน ถูกกำหนดขึ้นเองตามแต่ละมุมมอง ดังนั้น มันมีหลายร้อยวิธีในการประเมินว่า ระดับราคาในช่วงไหนคือระดับราคาที่เป็น แนวรับ-แนวต้าน และสิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้อีกอย่าง คือมันมี แนวรับ-แนวต้าน ทั้งที่สำคัญมากและสำคัญน้อย และสิ่งที่คุณต้องทำต่อไปคือคุณต้องเริ่มเรียนรู้วิธีการหา แนวรับ-แนวต้าน ที่สำคัญก่อน เมื่อพื้นฐานแน่นแล้ว แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเทรดได้ดีขึ้น
- หา แนวรับ-แนวต้าน ที่สำคัญก่อน -> หา แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ทีหลัง
วิธีการหา แนวรับ-แนวต้าน Forex
เราเข้าใจแล้วว่า แนวรับ-แนวต้าน คือ ระดับราคาที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งความสำคัญดังกล่าว ตามมุมมองทางเทคนิคมักแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ๆ ข้อที่ [1] คือจุดที่เป็นจุดกลับตัวของราคา เพราะถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของความต้องการซื้อหรือขายใดๆ ไม่มีคนซื้อที่ราคาสูงกว่านี้ หรือไม่มีคนที่ขายที่ราคาต่ำกว่านี้ ส่วนข้อที่ [2] คือระดับราคาที่มีความหนาแน่นของราคา หรือมีแท่งเทียนหลายๆ แท่งเทียนมี 'ราคาปิด' กระจุกกันในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเราจะไปดูแต่ละข้อกันอย่างละเอียด
จุดกลับตัวของราคา
ภาพ 1.1 : กราฟ USDCAD ราย Weekly, ตั้งแต่ 1 Jan 2017 - 17 May 2020, แสดงโซนของแนวรับ-แนวต้าน ที่สร้างขึ้นจากจุดกลับตัวต่างๆ ของราคา
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
ในภาพ 1.1 นั้น ให้สังเกตที่ลูกศรสีแดง นั่นคือ "จุดกลับตัว" สำคัญ เพราะเป็นจุดที่ราคาในไทม์เฟรมใหญ่อย่าง Weekly มีการวกกลับอย่างรวดเร็ว และให้สังเกตที่ลูกศรสีแดงด้านบนอีกคร้ังว่า แนวต้าน (Resistance) ในกรณีนี้ไม่ใช่แค่ระดับราคาหนึ่งๆ แต่เป็นช่วงของราคา เราเรียกว่า "โซนแนวต้าน" โดยจะสังเกตได้ว่า มันคือพื้นที่ที่ครอลคลุมตั้งแต่ High ไปจนถึง Low ของกราฟแท่งเทียนที่กลับตัว
และให้สังเกตต่อไปที่บริเวณโซนแนวต้านนี้ จะเห็นว่า ราคาจะมีปฏิกิริยาทุกครั้งเมื่อเข้ามาบริเวณโซนดังกล่าว กราฟบริเวณกลางภาพจะเห็นว่า ราคาแตะโซนแล้วก็ร่วงลงทันที ในขณะภาพขวาสุด แม้ราคาจะทะลุผ่านไปมา และ Move สุดท้ายก่อนที่ราคาจะลง ราคาก็วกกลับมาปรับต้นทุน (การทดสอบของราคา) ที่บริเวณโซนของแนวต้านดังกล่าว ทั้งนี้ ในเรื่องแนวคิดของการทดสอบของราคา คุณสามารถไปอ่านเพิ่มเติมในบทความ " ทฤษฎีดาว คืออะไร" : ในหัวข้อ [3] การประยุกต์ใช้ Dow Theory ในตลาดจริง : แนวคิดเรื่องการ "ทดสอบราคา"
ระดับราคาที่มีความหนาแน่น
ภาพ 1.2 : กราฟแบบ Line Chart ของสินค้า Gold ราย 1 Day, ตั้งแต่ 1 Nov 2019 - 21 Jul 2020, แสดงโซนของแนวรับ-แนวต้าน ที่สร้างขึ้นจากโซนที่มีการกระจุกตัวของราคา
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
ในเบื้องต้นหากคุณยังไม่มีประสบการณ์ในการอ่านกราฟมาก "ความหนาแน่น" จะมองเห็นได้ชัดเมื่อท่านเปลี่ยนเป็นกราฟแบบ Line Chart ทั้งนี้ Line Chart จะนำ 'ราคาปิด' มาเรียงติดต่อกันจนเป็นเส้น และโซนของระดับราคาที่มีความหนาแน่นก็จะเป็น จุดที่ไม่ได้เรียงเป็นเส้นตรงทอดเป็นแนวโน้มขึ้นหรือลงยาวๆ บ่อยครั้งเป็นจุดที่มีการย้ำไปย้ำมาของเส้น หรือจุดที่มีเส้นยักๆ เรียงติดๆ กัน
เหตุผลที่การตี แนวรับ-แนวต้าน ในลักษณะนี้มีความสมเหตุสมผล ก็เนื่องจากการที่ราคาที่การย้ำหรือย่ำอยู่กับที่ของ 'ราคาปิด' มันก็หมายถึง จุดที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่างมีนัยสำคัญ
ภาพ 1.3 : กราฟ CADCHF ราย 1 Weekly, ตั้งแต่ 1 Jan 2017 - 21 Jul 2020, แสดงวิธีการตีโซน แนวรับ-แนวต้าน ด้วยแนวคิดความหนาแน่นของราคาแบบเดียวกับภาพ 1.2 แต่ในภาพนี้จะปรับเป็นกราฟ Candlestick
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
แต่เมื่อคุณมีประสบการณ์มากขึ้น คุณจะเริ่มสังเกตเห็นได้ว่า โซนที่ราคามีความหนาแน่นเยอะๆ ช่วงที่มีการเบียดกันของกราฟแท่งเทียนหลายๆ แท่งติดต่อกันนั่นเอง จากภาพ 1.3 ข้างบน ให้สังเกตที่บริเวณลูกศรสีน้ำเงิน จะแสดงให้เห็น กราฟแท่งเทียนที่มีความเบียดๆ ติดๆ กัน ไม่ได้สร้างแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง และการตีโซน แนวรับ-แนวต้าน Forex จะตีคลุม High และ Low ของทั้งแท่งเทียน นั่นเพราะธรรมชาติของตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูง และเคลื่อนไหวเป็นจุดทศนิยม มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสามารถระบุตัวเลขของราคาหนึ่งๆ ที่เป็นเลขโดดๆ ที่เป็น แนวรับ-แนวต้าน และเราจะใช้วิธีตี 'กะประมาณ' เป็นโซนๆ ไป โดยแนวคิดพื้นฐานในการเทรดมักเริ่มมักเริ่มจาก
- เมื่อราคาเข้ามา 'ทดสอบ' ที่บริเวณโซน แนวรับ-แนวต้าน ราคามักสะท้อนกลับออกไปสักระยะหนึ่ง
- เมื่อราคาหล่นมา 'แนวรับ' (Support) ที่อยู่ด้านล่าง : เทรดเดอร์จะรอ Buy
- เมื่อราคาไปปะทะ 'แนวต้าน' (Resistance) ที่อยู่ด้านบน : เทรดเดอร์จะรอ Sell
เริ่มเทรดโดย "ไร้ความเสี่ยง" กับบัญชีเงินจำลอง
หากคุณเริ่มได้ไอเดียเกี่ยวกับการเทรดด้วย แนวรับ แนวต้าน Forex แล้ว เราก็ภูมิใจเช่นกันที่จะนำเสนอว่า เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals สามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีเงินจำลอง (Demo Account) ได้ ซึ่งทำให้สามารถทดลองกลยุทธิ์ใหม่ๆ อย่างไร้ข้อจำกัด คุณจะสามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ คำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
สรุปความสำคัญของ 'แนวรับ-แนวต้าน'
แนวรับ-แนวต้าน คือ ระดับราคาที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอย่าง หรือก็คือ "ต้นทุน" ของ Player ในไทม์เฟรมต่างๆ ดังนั้น แนวรับ-แนวต้าน จะใช้เป็นแนวราคาสำหรับการเข้าเทรดด้วย เพราะหากตลาดยังมีแนวโน้มเดียวกันกับทิศทางของกลยุทธ์เรา การเข้าเทรดที่ แนวรับ-แนวต้าน จะส่งผลต่อประเด็นสำคัญในการเทรด 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
- มันจะกลายเป็นต้นทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น : จุดเข้าเทรด
- มันจะทำให้เราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ดีกว่า
ต้นทุนที่ดี
ประเด็นนี้สืบเนื่องมาจากการพฤติกรรมราคาโดยทั่วไปเมื่อมันปะทะกับแนวรับ-แนวต้าน หลังจากที่มีการแลกเปลี่ยน Transaction หรือพูดง่ายๆ คือ Buyer กับ Sell ต่อสู้กันในโซนนั้นๆ และไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะ ราคาจะวิ่งออกจากโซน แนวรับ-แนวต้าน เป็นระยะทางที่ไกล จนกว่าจะไปถึงแนวรับ-แนวต้านถัดไป ให้ลองดูกรณีศึกษาในภาพ 1.4
ภาพ 1.4 : กราฟ BTCUSD ราย 1 Daily, ตั้งแต่ 17 Jul 2019 - 3 Jul 2020, แสดงแนวรับ (Support) ของราคา Bitcoin ซึ่งแนวรับดังกล่าวเป็นแนวที่แสดง "ต้นทุน" และมันก็เป็นต้นทุนที่ดีที่สุดเมื่อเข้าเทรด Buy ในจังหวะที่ราคาย่อตัว
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
จากภาพ 1.4 เป็นการเทรดตามแนวโน้ม เส้นคู่แนวนอนคือเส้นแนวรับ "Support" (หมายถึงกรณีที่ราคา ณ ปัจจุบันอยู่เหนือโซนเหล่านี้ เพราะถ้าอยู่ใต้เส้น เช่น เส้นคู่บนสุด นั่นเราจะเรียกว่าแนวต้าน "Resistance)
จะเห็นว่า ความจริงราคามันก็เคลื่อนไปตามแนวโน้มของมันปกติ เราไม่มีทางรู้เลยว่า ราคาจะขึ้นถึงไหน ลงถึงไหน แต่ราคาจะมาหยุดพักที่บริเวณ แนวรับ-แนวต้าน เสมอ และในกรอบ Uptrend ในภาพ 1.4 ราคาก็เคลื่อนเป็นแนวโน้มขาขึ้น แต่ก็จะมีการพักตัวเป็นระยะๆ แต่ทุกครั้งมันจะกลับมาพักตัวบริเวณแนวรับที่สำคัญ
เมื่อเราพิจารณาได้แล้วว่า แนวโน้มของราคาเป็นอย่างไร ในกรณีนี้คือเป็นแนวโน้มขาขึ้น เราก็จะรอ Buy ที่แนวรับ จะเห็นได้ภาพบริเวณลูกศรสีน้ำเงินที่ชี้ไปที่บริเวณพื้นที่ที่ราคากลับมาทดสอบและกลับตัว นี่คือจังหวะที่ดีที่สุดในการเข้าเทรด Buy เมื่อแนวโน้มเป็นขาขึ้น
คุมความเสี่ยง
จังหวะการเข้าเทรดจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงในการเทรดแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คุณต้องเข้าใจพฤติกรรมราคาในเบื้องต้นก่อนว่า เมื่อราคาเลยโซนแนวรับ-แนวต้าน ออกมาแล้ว ราคามีโอกาสหรือสามารถวิ่งเป็นระยะทางที่ไกลหรือในอัตราที่เร็วมากได้ ตัวอย่างในภาพ 1.5 บริเวณลูกศรสีน้ำเงิน จะเห็นว่า นั่นคือตัวอย่างที่แสดงว่า เวลาราคาอยู่กลางๆ โซนระหว่าง แนวรับ-แนวต้าน นั้น ราคามีโอกาสวิ่งเป็นแท่งยาวๆ ได้ง่ายมาก
ภาพ 1.5 : กราฟ BTCUSD ราย 1 Daily, ตั้งแต่ 16 Sep 2019 - 27 Apr 2020, แสดงจังหวะต่างๆ ที่เป็นไปได้ในการเข้าเทรด ซึ่งแต่ละจังหวะที่ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
การเทรดในกลางๆ โซนเป็นสิ่งที่อันตราย เนื่องจากเราจะโดดความผันผวนของราคาบีบให้เราออกจากเกมง่ายเกินไป นั่นเป็นเหตุผลที่คุณต้องเทรดให้ใกล้โซนไว้ เพราะนอกเหนือจากประเด็นความผันผวนของราคาแล้ว อย่าลืมว่า มันคือต้นทุนของ Player อย่างที่เราได้อธิบายไปแล้ว
ที่นี้จากภาพ 1.5 เช่นเดิม ให้สังเกตลูกศรสีดำที่มีเครื่องหมาย "X" ตัวเล็กๆ ติดอยู่ นั่นคือตัวอย่างของจังหวะการเทรดทั้งสัญญาณ Sell คุณจะเห็นว่า จังหวะการ Sell ใน 2 จังหวะแรกนั่น แม้จะเหมือนเข้า Sell ได้ที่จังหวะ High พอดี แต่นี่ถือเป็นความเสี่ยงพอสมควร ที่ต้องไปไล่ราคาในกลางโซนแบบนี้ ส่วนในจังหวะสุดท้าย คุณอาจจะมองว่า เป็นสัญญาณ Sell แต่จะเห็นว่า คุณจะโดนธรรมชาติของราคาที่อยู่กลางๆ โซน กระชากขึ้นไปในเวลาสั้นๆ ได้
ดังนั้น แนวรับ-แนวต้าน ส่งผลต่อจังหวะการเทรด ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเสี่ยงของการเทรดแต่ละครั้ง ในลองดูที่ลูกศรสีเขียว นั่นจังหวะการเข้าเทรดที่บริเวณแนวรับ ซึ่งจะเห็นว่า มันง่ายกว่ามากๆ ในการตั้ง Stop Loss ไว้อย่างใต้แท่งเทียนก่อนหน้าแท่งที่เราจะเข้าเทรด และโอกาสที่เราจะโดน Stop Loss จะยากกว่ามากๆ เพราะเราเข้าที่บริเวณใกล้แนวรับซึ่งเป็นจุดกลับตัว
ฝึกวิเคราะห์ แนวรับ แนวต้าน ด้วยบัญชีทดลองผ่าน MetaTrader 5
คุณรู้หรือไม่ว่า? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย และการเทรดกับโบรกเกอร์ Admirals ยังมีข้อดีอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
- เปิดบัญชีทดลองได้ฟรี
- และหากต้องการลงทุนในตลาดจริง เงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD หรือประมาณ 750 บาทเท่านั้น!
- มีหุ้นมากกว่า 4,000 รายการจากตลาดหุ้นสำคัญ 17 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
- สามารถใช้ Leverage ได้สูงสุดถึง 1:1000 ทำให้ซื้อขายได้มากกว่าปกติ 1,000 เท่า เหมาะสำหรับการแก้สถานการณ์ต่าง
การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี Demo หรือบัญชีจริง คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
การใช้เครื่องมืออื่นๆ ช่วยหา 'แนวรับ-แนวต้าน'
ในหัวข้อที่ผ่านๆ มา เราได้ปูพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดในการหา แนวรับ แนวต้าน Forex ที่มุ่งเน้นในการหาแนวหลักๆ หรือ (Major support & resistance) ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด อยากให้ย้อนกลับไปดูในภาพ 1.3 ท่านจะเห็นว่า Major support & resistance เราจะใช้เส้นแทบทึบในการตีโซนไว้ ในขณะที่ แนวรับ แนวต้าน Forex ย่อยๆ (Minor support & resistance) จะใช้เส้นประในการตี
'แนวหลัก' กับ 'แนวย่อย' มีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น เมื่อคุณลองพิจารณาจะเห็นว่า " แนวหลัก" คือ แนวกลับตัวใหญ่ๆ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า และเมื่อมันมักเป็นแนวกลับตัวใหญ่ๆ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างแนวหลักๆ จะไกลกันมาก ซึ่งจะถ้าเราใช้เฉพาะ "แนวรับ-แนวต้าน หลักๆ" เราจะมีจังหวะในการเข้าเทรดที่ไม่ถี่ หรือนานๆ เทรดได้ทีนึง ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถใช้กลยุทธ์บางประเภท โดยเฉพาะที่กลยุทธ์ที่เน้นในการเพิ่มอัตราการเพิ่มขึ้นของผลกำไร (เร่งจังหวะ หรือเร่งอัตราการผลิต Cashflow)
ภาพ 1.6 : กราฟ BABA ราย 15 นาที, ตั้งแต่ 12 FEB - 14 May 2020, แสดงแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ เป็นเส้นประ ในกราฟหุ้น Alibaba
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
ในกรณีที่เราต้องการเร่งจังหวะการเทรด โดยเฉพาะการ Scalping หรือ Daytrade ด้วยกลยุทธ์เรามักถูกบังคับให้เราไปต่อสู้กับความผันผวนในตลาด และเครื่องมือสำคัญที่เราต้องใช้ คือ "แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ" แต่จากภาพ 1.6 คุณจะเห็นว่า แนวย่อยๆ ดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ให้สังเกตลูกศรสีฟ้าด้านขวาที่ชี้ไปที่ราคาที่เป็นแนวย่อยๆ ซึ่งมีเป็นสิบแนวๆ ในขณะที่ลูกศรสีเขียวพยายามอธิบายการเคลื่อนไหวของราคา ที่มี Reaction ต่อแนวย่อยต่างๆ อย่างไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น การจะเข้าไปเทรดตามแนวย่อยๆ เพื่อเร่งจังหวะการเทรด เราต้องมีเครื่องมือช่วยในการกรองจังหวะ
Indicator แนวรับแนวต้าน
มี Indicator หลายตัวมากๆ ที่สามารถใช้หา แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในที่นี่เราจะแนะนำวิธีการใช้ Indicator ทั้งหมด 3 ตัว ซึ่งเป็นตัวแทนจากเครื่องมือ 3 ประเภท คือ Trend, Oscillator และ Pivot Point
Trend : Moving Average
สำหรับกราฟราคาหุ้น ไทม์เฟรมเล็กสุดที่พอจะเป็นไปได้ที่จะใช้ Moving Average อาจจะใช้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะหุ้นจะมีรอบการเทรดที่น้อย การเคลื่อนไหวของราคามีน้อย จึงควรใช้ไทม์เฟรมที่ไม่เล็กเกิน โดยค่าของ Moving Average ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมราคา ลองดูตัวอย่างในภาพ 1.7 ด้านล่าง ในกรณีนี้คือใช้ค่า 50 ใน Moving Average
อย่างไรก็ตาม หากเป็นตลาด Forex ที่มีสภาพคล่องสูง ทำให้มีการซื้อขายกันตลอดเวลา ในกรณีแบบนี้เราสามารถปรับไทม์เฟรมให้เล็กลงเพื่อให้สอดรับกับความผันผวนของตลาดได้ โดยอาจใช้ไทม์เฟรม 5 นาที และปรับ Moving Average เป็น 200 เป็นต้น สิ่งลักษณะบางประการที่ทำให้ตลาด Forex แตกต่างจากตลาดหุ้น
ภาพ 1.7 : กราฟ BABA ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 12 FEB - 14 May 2020, แสดงวิธีกรอง แนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่สามารถใช้เป็นจังหวะเทรดได้โดยมีความเสี่ยงน้อยกว่าการไล่ซื้อทุกแนวย่อย ในกราฟหุ้น Alibaba
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
คุณจะเห็นว่า มีแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่เราเคยตีไว้ในภาพ 1.6 มาผสานกันกันแนวเส้น Moving Average ซึ่งจะหมายความว่า ที่มีราคาย่อยๆ บริเวณนั้น คือแนวย่อยๆ ที่แข็งพอจะใช้เป็นจังหวะในการเข้าเทรดได้ ซึ่งจากเดิมที่แนวย่อยๆ เหล่านี้มีเป็นสิบๆ แนว ตอนนี้จะเหลือแค่ 4-5 แนวดังภาพ ที่มีการเน้นเปลี่ยนจากเส้นประเป็นเส้นทึบ แต่ทั้งนี้อยากจะโน๊ตไว้อีกประการหนึ่งว่า เครื่องมือยอดนิยมอย่าง Bollinger Bands สามารถใช้แทนในหัวข้อนี้ได้โดยตรง
Oscillator : RSI
กรณีของ Oscillator เราใช้มันหา แนวรับ-แนวต้าน บนพื้นฐานของแนวคิดเรื่อง "การแลกเปลี่ยน Transaction" อีกเช่นกัน โดยจุดที่เป็น Overbought หรือ Oversold ที่พีคเกินเส้น 30 หรือ 70 ไปมากๆ แล้วราคากลับตัวในภายหลัง จุดนั้นมักเป็นจุดที่มีการแพ้-ชนะ อย่างกระทันหัน ของ Buyer และ Seller แล้วราคาจะมีการกระชากกลับมา และจุดนั้นก็คือแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่แข็งพอสำหรับใช้เข้าเทรด ลองดูตัวอย่างในภาพ 1.8 ด้านล่าง
ภาพ 1.8 : กราฟ EURUSD ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 9 Jun - 20 Jul 2020, แสดงแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่สร้างขึ้นจากมุมมองของการใช้ RSI
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
Admiral Pivot
ในบทความเทคนิคการใช้ " Pivot Point Indicator" อธิบายไว้แล้วว่า Pivot Point คือ เครื่องมือระบุระดับราคาที่เป็นแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติ โดยคำนวณจากราคา High, Low และราคาปิด (Close) ของช่วงเวลาก่อนๆ
ภาพ 1.9 : กราฟ GBPJPY ราย 5 นาที, 9 July 2020, แสดงแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่สร้างขึ้นจาก Admiral Pivot Point
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
จากเดิมที่เราเคยเจอปัญหาว่า มีแนวรับ-แนวต้านย่อยๆ เกิดขึ้นมากมายในไทม์เฟรมย่อยๆ แล้วเราจะ Action ที่แนวราคาไหนดี ซึ่งในภาพ 1.9 จะเห็นว่า พอเข้าใส่ Pivot Point Indicator เข้าไป มันเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ในการเทรด Forex ของเราได้ โดย Pivot Point จะคำนวณให้เห็นเฉพาะแนวรับ-แนวต้านย่อยๆ ที่สำคัญๆ เท่านั้น โดย
- S1, S2, S3 คือ แนวรับ
- R1, R2, R3 คือ แนวต้าน
- PP คือ จุดกลาง หรือจุดอ้างอิง
ในภาพ 1.9 ให้ท่านเริ่มจากการพิจารณา เส้นประสีชมพูที่ด้านซ้ายก่อน จะเห็นว่ามันคือแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่สร้างขึ้นจากมุมมองของการตีกรอบในบริเวณที่มีความหนาแน่นของราคาและเป็นกรอบที่ราคามี Reaction ด้วย ส่วนด้านขวาจะเป็น เครื่องแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ ที่สร้างขึ้นจาก Pivot Point จะเห็นว่า มีแนวราคาที่ใกล้เคียงกันมาก ดังนั้น ในกรณีของ Pivot Point คุณสามารถใช้เพื่อยืนยันความแข็งแกร่งของแนวรับ-แนวต้าน ย่อยๆ แบบเดียวกันกับเทคนิคการหาด้วย Moving Average ก็ได้
ตัว Pivot Point ในแพลตฟอร์ม MetaTrader ทั่วๆ ไป จะไม่ได้แถมมาให้ ซึ่งสำหรับเฉพาะลูกค้าของโบรกเกอร์ Admirals จะมีแพลตฟอร์มพิเศษ ชื่อว่า MetaTrader 5 Supreme Edition ซึ่งไม่ได้มีแค่ Admiral Pivot Point ยังมีปลั๊กอินพิเศษอื่นๆ เช่น Indicator ตรวจสอบความแข็ง-อ่อน ของค่าเงินต่างๆ โดยคุณสามารถดาวนืโหลดไปใช้ได้ฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!
Fibonacci Retracement
ในบทความนี้จะไม่ลงลึกเกี่ยวกับ " กลยุทธ์ Fibonacci Trading" ทั้งหมด แต่จะอธิบายพื้นฐานเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ แนวรับ-แนวต้าน Forex เท่านั้น โดยความจริงแล้ว เรื่องนี้มีพื้นฐานจากทฤษฎีดาวมากพอสมควร โดย Dow สังเกตเห็นว่า ในตลาดที่เป็นแนวโน้ม ตลาดมักจะย่อตัวแค่ 2 ระดับใหญ่ๆ คือ 1/3 และ 2/3 ของการเคลื่อนไหวของราคา โดยมุมมองตลาดต่อการย่อตัวจะเป็นดังนี้
- ย่อตัว 1/3 จะหมายถึง แนวโน้มของตลาดยังมีสภาวะที่แข็งแกร่งพอสมควร
- ย่อตัว 2/3 จะหมายถึง แนวโน้มของตลาดได้อ่อนแรงลง ซึ่งนำไปสู่ 2 ประเด็นต่อเนื่อง
- โอกาสที่ราคาจะยังคงทิศทางเดิมยังมีอยู่ แต่จะใช้กำลังและเวลามากกว่า ที่จะทำ New High ได้อีกครั้ง
- โอกาสที่ราคาจะเทรดเป็น Sideways ไปสักพัก จะมีสูงมาก เพราะการย่อตัวในระดับ 2/3 หรือราวๆ 60% จะทำให้ Buyer (กรณีเป็น "ขาขึ้น" บางกลุ่มต้องออกจากตลาดไปชั่วขณะ
จะเห็นว่า ระดับการย่อตัวมีผลมุมมองในเชิง Technical Analysis อย่างมาก ซึ่งการย่อตัวดังกล่าวนั้น มักจะพอดีกับแนวรับ-แนวต้านย่อยๆ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม มุมมองของ Dow มันเหมาะกับตลาดแบบเก่า แต่หากเป็นตลาด Forex ในปัจจุบัน จะมีคลื่นของการเคลื่อนไหวของราคาที่มากกว่า ความผันผวนที่มากกว่า จึงนิยมใช้ Fibonacci Retracement เพราะจะสามารถกำหนดจังหวะการเทรดได้ละเอียดกว่า ลองดูภาพตัวอย่าง 2.0 ด้านล่าง
ภาพ 2.0 : กราฟ CADCHF ราย 1 ชั่วโมง, ตั้งแต่ 18 FEB - 22 July 2020, แสดงแนวรับ-แนวต้าน ที่สร้างขึ้นจาก Fibonacci Retracement
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer) : กราฟของสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในบทความนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือชักชวนให้ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวนอนาคตได้
ในกรณีของ Fibonacci Retracement จะนิยมแบ่งสภาวะความแข็งแกร่งของแนวโน้มค่อนข้างละเอียด จะเห็นว่า ในภาพ 2.0 คือแนวโน้มขาลง โดยลูกศรสีน้ำเงินคือการจำลอง Reaction ที่เป็นไปได้ที่ราคาจะกระทำต่อแนว Fibonacci Retracement โดยให้สังเกตแต่ละระยะดังต่อไปนี้
- 23.6%, 38.2% = ในกรณีนี้คือการย่อตัวที่มองว่า "ราคายังแข็งแกร่งอยู่" = ราคามีโอกาสวิ่งไปแนวโน้มเดิมได้ง่าย
- 50%, 61.8% = เป็นการย่อตัวที่มาก "ราคาอ่อนแรงลงพอสมควร"
- สำหรับในตลาด Forex การย่อตัวมาที่ระดับ 50%, 61.8% สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก และราคายังคงสามารถกลับไปเป็นแนวโน้มเดิมได้
- แต่แม้ราคาจะยังเป็นแนวโน้มเดิม ที่การย่อตัวระดับนี้ ราคามักจะเคลื่อนเป็น Sideways ก่อนสักระยะ ดังนั้น เทรดเดอร์อาจใช้วิธีเข้าเก็บระยะสั้นๆ เช่น ตามภาพ 2.0 ที่เป็นขาลง เทรดเดอร์อาจเข้า Sell ที่แนว 50% แล้วมาปิดทำกำไรบริเวณแนว 38.2%
- มากเกิน 61.8% แต่ไม่เกิน 78.6% : กรณีที่ราคาย่อตัวเกิน 61.8% ขึ้นไป เรามักถือว่าแนวโน้มมีจบลงแล้ว (ไปต่อยาก)
- ราคาที่ย่อมาระดับ 78.6% มักเป็นจุดสังเกตการสำหรับคนที่รอเทรดด้วย Pattern แบบ Harmonic ซึ่งเป็นมุมมองการเทรดสำหรับตลาดแบบ Sideways
และนี่คือทั้งหมดของเรื่อง แนวรับ แนวต้าน Forex เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากบทความนี้พอสมควร
เริ่มต้นเทรดออนไลน์กับโบรกเกอร์ Admirals
คุณพร้อมแล้วใช่หรือไม่ที่จะได้ทดสอบระบบเทรด "แนวรับ แนวต้าน Forex" ของคุณแบบจริงจัง? เราเชื่อว่าเป็นแบบนั้น! แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ คุณควรจะต้องมีการทดสอบก่อนว่า ระบบเทรดของคุณใช้งานได้จริงๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account" ซึ่งทำให้คุณสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ สามารถทดสอบกลยุทธิ์ใหม่ๆ ผ่านการซื้อขายที่เหมือนตลาดจริง และเหมือนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ
คุณจะได้ซื้อขายด้วยราคา Real-Time กำไร-ขาดทุนตามการคำนวณจริงๆ เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง ดังนั้น Demo Account ก็เปรียบเสมือนห้องเรียนที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
เกี่ยวกับ Admirals
Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้
คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer): เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว