Volatility คืออะไร ความผันผวน Forex ส่งผลต่อการเทรดอย่างไรบ้าง?
Volatility เป็นคำที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเคยเจอ แต่คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามันหมายถึงอะไร หรือมีผลกระทบต่อการซื้อขายอย่างไรบ้าง? ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น
คุณจะได้เรียนรู้
Volatility คือ
Volatility คือ "ความผันผวน" เป็นวิธีการวัดความเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งอาจเป็นลักษณะของการวัด "การกระจายของราคา" จากค่าเฉลี่ยของราคาสินทรัพย์ รอบค่าเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือวัดว่าราคาของสินทรัพย์เคลื่อนที่ด้านใดด้านหนึ่งของราคาเฉลี่ย
สินทรัพย์ที่มี Volatility สูง จะมีราคาที่เคลื่อนออกจากค่าเฉลี่ยของราคาที่ค่อนข้างมาก ในขณะที่ราคาของสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ การกระจายของราคาก็จะวิ่งอยู่ใกล้ ๆ เส้นค่าเฉลี่ยของราคา
สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงถือเป็นความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การมีอยู่ของความผันผวนจำนวนหนึ่งอาจเป็นปัจจัยที่น่ายินดีสำหรับเทรดเดอร์ที่พยายามทำกำไรจากการแกว่งตัวของราคา โดยเฉพาะในสาย Day Trading ที่พยายามมองหาจังหวะเข้าเทรดทั้งในฝั่ง Buy หรือ Sell
▶ Historical Volatility กับ Implied Volatility แตกต่างอย่างไร?
Historical Volatility "ความผันผวนในอดีต" หรืออาจจะเรียกว่า ความผันผวนทางสถิติหรือที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะเป็นการ มองย้อนกลับไปที่ราคาในอดีตเพื่อวัดการกระจายของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
ในทางกลับกัน Implied volatility คือสิ่งที่ดูเหมือนจะอยู่อีกขั้วตรงข้าม Implied Volatility จะพิจารณา "ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต" ของราคาของสินทรัพย์ ซึ่งสามารถใช้เพื่อประเมินความผันผวนในอนาคต พูดง่าย ๆ คือ พยากรณ์ Volatility ในอนาคต
- Standard Deviation
เมื่อพูดถึง Volatility ซึ่งก็ต้องเน้นว่าเป็น Historical Volatility เพราะเรากำลังพูดถึงการตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มันจะมีเครื่องมือหนึ่งที่ดีมาก ๆ คือ "Standard Deviation" ซึ่งหากเอาตามตำราคณิตศาสตร์ จะดูเข้าใจยากมาก ๆ โดยมันเป็น "ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเป็นรากที่สองของความแปรปรวน"
โชคดีที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการคำนวณ Standard Deviation ของสินทรัพย์ที่ต้องการ และคุณสามารถเปิดใช้งานและให้โปรแกรมสร้างกราฟความผันผวนได้ทันทีผ่าน MetaTrader 5
ดังที่เห็นในภาพด้านบน คุณสามารถเพิ่มลงในกราฟราคาใดก็ได้โดยคลิกที่เมนูแล้วเลือก > Insert > Indicators > Trend > Standard Deviation
Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
สภาวะความผันผวนที่สูงของราคา มักเป็นสภาวะที่ผิดปกติ ซึ่งสภาวะนี้จะไม่สามารถคงทนได้นาน มีคำกล่าวว่า High Volatility จะนำไปสู่การกลับตัวของราคาในระยะอันใกล้ อยากให้ลองสังเกตจาก Standard Deviation โดยรอบที่มีการ Peak ของเครื่องมือดังกล่าว มักใกล้จะถึงจุดกลับตัว
อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่า Standard Deviation ค่อนข้างอ่อนไหวต่อราคามาก แต่จุดที่มัน Peak มักจะยังไม่ถึงจุดกลับตัวจริง ๆ ของราคา เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการพิจารณา เช่น RSI เป็นต้น
ในขณะที่ Low Volatility เทรดเดอร์จะใช้งานในอีกลักษณะ โดยเฉพาะการเทรดในช่วงที่ราคาเคลื่อนเป็นแนวโน้ม โดยจะนิยมเข้าเทรดในจังหวะที่ราคามีการพักตัวในแนวโน้ม โดยจังหวะที่พักตัว ต้องเป็นการพักตัวที่ไม่ได้มีความผันผวนรุนแรง ถ้าเป็นกรณีนี้ ในทางเทคนิคมักถือว่า เป็นการพักตัวที่มีคุณภาพ และหมายถึงโอกาสในการ "ไปต่อ"
ทดลองใช้ Standard Deviation ได้ฟรีผ่าน MetaTrader 5 โดยเปิดบัญชีทดลองได้ง่าย ๆ เพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
Black Scholes Model
Black Scholes หรือแบบจำลอง "แบล็ก-โชลส์" เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการกำหนดราคาสัญญาออปชั่น ซึ่งจะให้น้ำหนักในหลาย ๆ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องมีดังนี้:
- ราคาปัจจุบันของสินทรัพย์ที่อ้างอิงอยู่
- ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)
- วันหมดอายุสัญญา
- ผลตอบแทนแบบปลอดความเสี่ยง (Risk-Free Interest Rate)
- ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง ****
อย่างที่คุณเห็น หนึ่งในตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณราคาออปชั่น คือ ความผันผวน หรือ Volatility นั่นเอง และในทางคณิตศาสตร์ หากเราทราบตัวแปรอื่น ๆ ทั้งหมดในสมการ Black & Scholes ข้างต้น เราก็จะย้อนสมการเพื่อคำนวณหา "ความผันผวนของสินทรัพย์" ของได้
อย่างไรก็ตาม มีข้อเสียหลายประการในการใช้โมเดลนี้ในปัจจุบัน เพราะแบบจำลองนี้ อนุมานว่าความผันผวนของสินทรัพย์นั้นคงที่ ซึ่งในความเป็นจริง Volatility มันก็ผันแปรไปตามอุปสงค์และอุปทาน อีกทั้งต้องคำนึงถึงประเภทของ Option ด้วย เพราะออปชั่นแบบ European-style กับ American-style นั้นจะมีรูปแบบอายุสัญญาที่แตกต่างกัน
- ความผันผวน Forex
สาเหตุของความผันผวนในตลาด Forex นั้นมีหลายประการ และแต่ละตัวแปรก็ใช่ว่า จะสามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผันผวนจริง ๆ
สิ่งที่ประเมินได้ยากมาก ๆ คือ "ผู้คน" ว่าพวกเขาจะตอบสนองต่อข่าว เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ทั่วไปในตลาดการเงินต่าง ๆ อย่างไรบ้าง แต่ความคาดหวังทั่วไป คือ เมื่อใดก็ตามที่มีความไม่แน่นอน ก็ย่อมหมายถึง Volatility ที่มากขึ้น
เมื่อคำนึงถึงสิ่งนี้ และมีเหตุการณ์บางอย่างที่คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีความผันผวนสูงกว่าปกติ และคุณสามารถเลือกว่า "จะซื้อหรือขาย" หรือไม่และอย่างไร มันจะทำให้คุณสามารถวางกลยุทธ์ที่รอบคอบได้มากขึ้น และใช้ "ความผันผวน" เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักของกลยุทธ์ เช่น การใช้ Option มาป้องกันความเสี่ยง
หรือตัวอย่างเช่น ในช่วงก่อนหน้าและหลังการประกาศสำคัญทางเศรษฐกิจ ตลาดมีแนวโน้มที่จะมี Volatility ที่รุนแรง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องติดตามว่า จะมีการประกาศดังกล่าวเมื่อใด ศึกษาเพื่อปฏิทินเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่บทความ "ข่าว Forex ประเภทต่าง ๆ"
อะไรทำให้เกิด Volatility?
Volatility ของตลาดที่สูง จะหมายถึงระดับความเสี่ยงที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์และนักลงทุนต่างก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความผันผวน ขึ้นอยู่กับประเภทของเทรดเดอร์ที่พวกเขาเป็นและลักษณะในการยอมรับความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น นักลงทุนแบบดั้งเดิมที่วางแผนจะซื้อหุ้นในบริษัทเพื่อถือครองเป็นระยะเวลานาน มักจะมองหาและหลีกเลี่ยงสิ่งใดก็ตามที่มี Volatility ที่สูง นักลงทุนประเภทนี้จะต้องการหาหลักทรัพย์ที่สามารถ ซื้อได้และถือ โดยหวังว่าจะค่อย ๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องตรวจสอบตลาดอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน นักเทรดระยะสั้นจำนวนมาก หรือพวกสาย Scalping จะต้องการความผันผวนที่สูง ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับกลยุทธ์การซื้อขายของพวกเขาเลยด้วยซ้ำ เทรดเดอร์ประเภทนี้ พยายามที่จะทำกำไรจากทั้งราคาทั้งในขาขึ้นและขาลงของสินทรัพย์ต่าง ๆ
เทรดเดอร์กลุ่มนี้ จะสามารถยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นได้ เพื่อให้คุ้มค่ากับโอกาสในการทำกำไรที่อาจเกิดขึ้นจาก Volatility แตกต่างจากนักลงทุนระยะยาว
▶ ก่อนจากกันไป!
เชื่อว่า ตอนนี้คุณจะได้เข้าใจแล้วว่า ความผันผวนของตลาดคืออะไร วิธีการวัดว่าความผันผวนสูงต่ำเป็นอย่างไร และผลกระทบที่มีต่อเทรดเดอร์ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์จะใช้จัดการกับความผันผวน คือการบริหารความเสี่ยงที่ดี ซึ่งคุณอาจเริ่มจากบทความ "พื้นฐาน Money Management"
หากคุณรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นเข้าสู่วงการนักเทรดแล้ว เราอยากจะแนะนำอีกครั้งว่า ให้ทดสอบหรือฝึกการใช้งานโปรแกรมเทรดให้คล่องมือก่อน ซึ่งโปรแกรม MT5 นั้น โบรกเกอร์ Admirals มีให้โหลดไปใช้ได้ฟรี!
ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!
- เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
- เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
- ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR
การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:
สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้
- นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
- การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
- ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
- ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้