QE คือ - ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

Admirals
25 นาที

QE คือ ? มาหาคำตอบพร้อมกันที่นี่!

กล่าวได้ว่าวิกฤตด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิดทำให้ทั่วโลกกลับมาพูดถึงมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจกันอีกครั้ง ซึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย คือ Quantitative Easing หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า QE หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ที่แม้จะเป็นคำที่เกิดขึ้นประจำในช่วงไม่กี่ปี แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจว่ามาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาชวนคุณทำความรู้จักและเข้าใจว่า QE คืออะไร พร้อมเจาะลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ที่เหล่าธนาคารกลางทั่วโลกดำเนินการในนโยบายนี้เพื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศของตน

Quantitative Easing หรือ QE คือ 

ก่อนที่เราจะพูดถึงรายละเอียดว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE คือ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงพื้นฐาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเศรษฐกิจกันก่อน นั่นคือการทำให้เศรษฐกิจเติบโตจำเป็นต้องดำเนินนโยบายสำคัญๆ ดังนี้

  • เพิ่มกำลังการผลิต
  • พัฒนาและปรับปรุงพื้นฐานเทคโนโลยี
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเงินตรา

ซึ่งวัตถุประสงค์ของนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE คือ เพื่อช่วยให้สกุลเงินหมุนเวียนต่อไปท่ามกลางการการชะลอตัว จึงเป็นโครงการกระตุ้นการลงทุน การใช้จ่าย และการบริโภค ด้วยการเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินเชื่อราคาถูก

ดังนั้น Quantitative Easing หรือ QE คือ นโยบายการเงินเชิงรุกที่ธนาคารกลางจะซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจำนวนมาก เพื่อพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ "อัดฉีด" เงินสดโดยตรง

โดยธนาคารกลางสามารถซื้อสินทรัพย์ทางการเงินและพันธบัตรรัฐบาลหรือบริษัทได้ การซื้อเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มเงินสำรองของธนาคาร จึงช่วยให้สามารถเสนอเงินกู้ได้มากขึ้น จึงเป็นการดำเนินการที่สามารถบรรลุผล 2 ประการในเวลาเดียวกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียน โดยในทางทฤษฎีมาตรการการนี้มักจะให้ผลลัพธ์ในทางบวก จากการบริโภคและการสร้างงานที่มากขึ้น

ซึ่งมาตรการ QE นี้ สามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ โดยจะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางว่าซื้อจากใคร และในจำนวนเท่าไหร่

การทำ QE ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

การดำเนินนโยบาย QE นี้จะขึ้นอยู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง เนื่องจากเศรษฐกิจสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ ในสัดส่วนที่มหาศาล จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรักษาการหมุนเวียนของเงินเพื่อรักษาสภาพไว้ได้ตลอดเวลา 

นอกจากนี้ หากผู้คนหรือบริษัทรู้สึกไม่ปลอดภัยกับเงินกู้อีกต่อไปก็อาจะทำให้การหมุนเวียนของทุนลดลง ซึ่งจะนำไปสู่การใช้จ่ายสาธารณะที่ลดลง รวมทั้งความต้องการสินค้าและบริการลดลง ทำให้การขยายธุรกิจช้าลง อีกทั้งบริษัทต่างๆ ก็จะลดการผลิตและเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเพื่อพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาวะตลาดใหม่

ซึ่งห่วงโซ่ทั้งหมดนี้อาจนำไปสู่

  • อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
  • รายได้ครัวเรือนลดลง
  • การบริโภคภายในครอบครัวน้อยลง

และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธนาคารรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะปล่อยเงินกู้แก่ลูกค้า ทั้งกับบุคคลหรือบริษัท คำตอบก็เหมือนกับข้างต้น คือการไหลเวียนของเงินหยุดลง

ซึ่งในบริบทนี้ หากบุคคลและบริษัทต่างๆ หยุดชำระเงินกู้ เนื่องจากไม่สามารถจ่ายได้ สถาบันการเงินอาจล้มเหลว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Lehman Brothers เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้ว สถานการณ์นี้รุนแรงขึ้นเมื่อประชาชนรีบถอนเงินจากธนาคารเพราะกลัวขาดสภาพคล่อง และตามที่ได้แสดงให้เห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พฤติกรรมของนักลงทุนนั้นติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะหากอยู่ในสภาวะที่หวาดกลัว ที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนจากวิกฤตโควิดที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในตลาดตราสารทุนและการล่มสลายโดยทั่วไป

กล่าวได้ว่า ก่อนถึงเวลาถอนเงินจากธนาคารจำนวนมาก ธนาคารกลางต้องดำเนินการเพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยและกระตุ้นปริมาณเงินอีกครั้ง ผ่านอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์สามารถพลิกกลับได้ และเมื่อธนาคารเอกชนรู้สึกปลอดภัยอีกครั้งก็จะกลับมาใช้นโยบายการให้กู้ยืมแก่บุคคลและบริษัทต่างๆ และเงินทุนก็จะหมุนเวียนในตลาดอีกครั้ง

ทั้งนี้ที่ Admirals มีแหล่งข้อมูลด้านการศึกษามากมายให้คุณเรียนรู้นโยบายการเงินเพิ่มเติม คลิกแบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีฟรี รวมทั้งสื่อการเงินและสัมนาการเทรดออนไลน์ฟรี ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับคุณโดยเฉพาะ รวมทั้งบัญชีทดลองเทรด ที่คุณสามารถเรียนรู้การเทรดในสภาวะตลาดจริงได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับเงินลงทุน!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยใกล้เป็น 0% แล้วและไม่สามารถปรับลดลงได้อีก นี่คือที่มาของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

การทำ QE ในประวัติศาสตร์โลก

มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือการทำ QE เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างทันสมัย โดยมีการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันที่ประจำอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 1990 ศาสตราจารย์ Richard Werner ที่เข้าใจว่าปริมาณเงินที่ใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจไม่ได้มาจากธนาคารกลาง แต่มาจากธนาคารเอกชนซึ่งใช้ตัวคูณเงิน (อัตราดอกเบี้ย) เมื่อทำการกู้ยืม จากจุดนั้น ด้วยแนวคิดที่ว่าธนาคารกลางไม่จำเป็นต้องซื้อหนี้สาธารณะจำนวนมาก แต่ซื้อสินทรัพย์ระยะยาวอย่างจริงจังจากธนาคารเอกชน

โดยในปี 2001 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ใช้นโยบาย QE แต่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ Werner แนะนำ เนื่องจากนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยการซื้อหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าไร้ประโยชน์เนื่องจากไม่ได้ช่วยยุติช่วงภาวะเงินฝืดที่ยาวนานกว่าทศวรรษ และอาจนำไปสู่ช่วงภาวะเงินฝืดที่ใหญ่ขึ้นเป็นครั้งที่สองเท่านั้น

ในปี 2009 ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) มีการใช้นโยบาย QE ในรูปแบบของตนเอง ไปพร้อมก็การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มผลกระทบ แต่ความพยายามนี้ก็ล้มเหลวเช่นกัน สิ่งที่สหราชอาณาจักรทำคืออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรงผ่านธนาคารเอกชนตามที่ Werner แนะนำ แต่ก็ไม่ได้เป็นการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ แต่เป็นเพียงการซื้อขายทางการเงินและเงินปอนด์เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ช่วยให้ผลดีเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรอย่างที่ตั้งใจไว้

ต่อมาในปี 2014 BoE ได้พิมพ์เงินจำนวน 410 ล้านล้านปอนด์ และแม้ว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่อัตราเงินเฟ้อก็ลดลงต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ 2% ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่ 0.0% ซึ่งคุกคามภาวะเงินฝืด และแน่นอนว่าผลลัพธ์นี้ตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจไว้

ทั้งนี้ ในช่วงสิ้นปี 2008 Fed ได้เริ่มมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งเป็นโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่มีความทะเยอทะยานมากที่สุด จนกระทั่งมีการประกาศแผนใหม่ล่าสุดภายใต้การนำของ Trump ด้วยแนวคิดในการดำเนินการ คือ การซื้อสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเริ่มต้นด้วยสินทรัพย์ที่ถูกที่สุดที่มีอยู่ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ทำให้ตลาดอิ่มตัวเพราะไม่มีใครต้องการ เงินกู้เหล่านี้จึงรวมถึงการจำนองซับไพรม์ ซึ่งจุดประกายวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 นั่นเอง

ที่มา: ธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาเซนต์หลุยส์ รูปภาพแสดงวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ "อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลาง" - อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต่างๆ คิดกันเมื่อให้กู้ยืมเงิน - จนถึงเดือนมีนาคม 2020

 

และผลที่ได้คือการอัดฉีดเงินเพิ่มเติม 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระจายไปทั่วทั้งเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีต่อมา

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า นี่เป็นเพียงความสำเร็จครั้งเดียวของการทำ QE แต่ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องจากแหล่งเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ภาครัฐ แต่แผนนี้ก็ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้บ้าง แม้ไม่อาจเยียวยาระบบเศรษฐกิจทั้งหมด 

โดยไม่นานมานี้ในปี 2018 Fed ได้ริเริ่มนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นจึงอนุมัติการปรับลดอีกครั้งตั้งแต่ต้นปี 2019 เนื่องจากแรงกดดันจาก Donald Trump ที่ต้องการให้เงินดอลลาร์ที่ถูกกว่า เพื่อปรสนับสนุนการส่งออก ท่ามกลางสงครามการค้า

Fed และการสนองตอบต่อวิกฤตโควิดในปี 2020 

การระบาดหนักที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศเป็นอัมพาต และทำให้ธนาคารกลางใหญ่ๆ ร่วมมือกันรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา และผู้เข้าร่วมตลาดคาดหวังไว้ โดยในวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2020 จะเป็นวันที่หน้าหนังสือประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นวันที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ร่วมกับพันธมิตรในสหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา และสหราชอาณาจักร ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การเงิน เพื่อลดผลกระทบจากโรคระบาดในครั้งนี้

การทํา QE ใหม่นี้ ประกอบด้วยการตัดสินใจต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอย่างมาก โดยเหลือเพียงประมาณ 0-0.25% จาก 1-1.25%
  • การซื้อสินทรัพย์มูลค่า 700 พันล้านดอลลาร์ ภายในอีกไม่กี่เดือนต่อมา จากการที่เฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ และสินทรัพย์ค้ำประกันมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์
  • Fed และธนาคารกลางอื่นๆ ตกลงที่จะลดราคาของ swap line เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดหาดอลลาร์ให้กับสถาบันการเงิน

แต่มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลตามที่คาดไว้ต่อตลาดหุ้น เนื่องจากตลาดหุ้นตอบสนองด้วยการร่วงลงอย่างไม่สมดุล นอกจากนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ สามารถในการทำกำไรที่ลดลงเล็กน้อย

ความผันผวนคือแนวโน้มหลักในตลาดสกุลเงิน บางครั้งที่นักลงทุนก็มองข้ามดอลลาร์ เนื่องจากเงินยูโรมีแนวโน้มที่ชี้ว่าจะแข็งค่าขึ้นในวันแรกหลังจากทราบมาตรการ QE ลองดูที่กราฟ EUR/USD ด้านล่างนี้

ที่มา: Admirals MetaTrader 5Supreme Edition. กราฟราคา EUR/USD H1 ช่วงวันที่ 13 มีนาคม - 16 มีนาคม 2020 วันที่เตรียมการ: 16 มีนาคม 2020 หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่ตัวบ่งชี่สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต 

 

จากกราฟ ระหว่างการปิดของวันศุกร์ที่ 13 มีนาคมและการเปิดของวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม มีช่องว่างขนาดใหญ่และในชั่วโมงต่อมามีความผันผวนสูง ที่จะต้องจัดการต่อในวันทำการถัดไปด้วยความรอบคอบและอดทน

หากคุณต้องการใช้ประโยชน์จากความผันผวนในตลาด Forex คลิกแบนเนอร์ด้านล่างและเริ่มเทรดในแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกอย่าง MetaTrader ฟรี!

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) 2015

ในปี 2015 ยูโรโซนเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เพื่อพยายามให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปขยายตัว โดยการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณของ ECB เริ่มต้นแบบ "ไม่รุนแรง" ที่ล้านล้านดอลลาร์ - ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจ

แนวคิดของ ECB ค่อนข้างคล้ายกับ Fed เนื่องจากมาตรการ QE เป็นการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน รวมถึงหนี้สาธารณะของประเทศหรือประเทศสมาชิก ตลอดจนสินทรัพย์ของหน่วยงานและสถาบัน ซึ่งแผนนี้กำหนดอัตราเงินเฟ้อต่อปีที่ 2% เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้นโยบาย QE 

การวิพากษ์วิจารณ์ในนโยบาย QE

มาตรการ QE ไม่ได้ปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ อีกทั้งยังมีการโต้แย้งว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ก่อผล และยังอาจสาเหตุของภาวะเงินฝืดโดยธรรมชาติ จากเหตุผลที่ว่า "การเทเงินสด" เข้าธนาคารเอกชนเป็นวิธีการที่ไม่ได้ผล เนื่องจากธนาคารจะนำไปใช้ในในตลาดการเงิน แทนที่จะใช้เพื่อขยายสินเชื่อให้กับประชาชน จึงถือเป็นนโยบายที่ล้มเหลว

ในทางกลับกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก็ถือว่า QE คือนโยบายการเงินเชิงรุก เนื่องจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณสามารถดึงเศรษฐกิจออกจากวงจรธุรกิจ โดยทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยราบรื่น ดังนั้น ธนาคารกลางจึงสามารถชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังภาวะถดถอยได้

ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (ธนาคารกลางของธนาคารกลาง) ที่แม้จะต้องรักษาความเป็นกลางและสังเกตการณ์ธนาคารกลางแห่งชาติก็ได้เตือนว่าโลกได้พึ่งพาสิ่งกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป ในขณะที่ธนาคารกลางของเยอรมนีระบุว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณได้ช่วยให้เศรษฐกิจบางประเภทดำเนินการได้ เช่น การปฏิรูปทางการเงินในประเทศอิตาลี

มาตรการ QE กับ Forex

การทำ QE อาจส่งปฏิกิริยาที่สำคัญ 2 อย่างในตลาด Forex คือ

  • ราคาอาจพุ่งทันทีหลังการประกาศข่าว
  • การปรับราคาที่เริ่มมีอิทธิพลต่อตลาดหลังจากการใช้นโยบาย

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการประกาศ QE จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อใช้กับตลาด คำตอบในทางทฤษฎี ของทั้ง 2 คำถามนี้ คือ ทำให้สกุลเงินอ่อนค่า เนื่องจากนโยบายนี้ทำให้เกิดการเพิ่มสกุลเงินหมุนเวียนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือการประกาศ QE โดย ECB ทำให้ EUR/USD ร่วงลง 500 pips ใน 2 วันต่อมา แต่จากช่วงเวลานั้น การร่วงก็หยุดลง ดังที่เห็นในกราฟด้านล่าง

ที่มา: MetaTrader 5 กราฟราคาของ EUR/USD D1 วันที่ 22 มกราคม 2015 จัดทำขึ้นในเดือนกันยายน 2019

ในส่วนของสหราชอาณาจักร มีการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในเดือนมีนาคม 2009 ทำให้ GBPUSD ร่วงลง 600 จุดใน 2 สัปดาห์ แต่ก็ฟื้นตัวในอีก 4 เดือนต่อมาซึ่งยังคงอยู่ในอันดับสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี

ที่มา: MetaTrader 5 กราฟราคาของ GBP/USD W1 มีนาคม 2009 จัดทำขึ้นในเดือนกันยายน 2019

 

โดยสหรัฐฯ มีการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบแรกในเดือนธันวาคม 2008 และในสัปดาห์ต่อมา EUR/USD เพิ่มขึ้น 2,000 pips จนกลับสู่ระดับเดิมในที่สุด และในเดือนถัดไปก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปีเพื่อเข้าสู่ช่วงอีกครั้ง

ที่มา: MetaTrader 5 กราฟราคา EUR/USD D1 ธันวาคม 2008 จัดทำขึ้นในเดือนกันยายน 2019

 

USD อ่อนค่าตลอดการเดินทางจนถึงปี 2011 และแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่นั้นมา ในส่วนของญี่ปุ่นได้เริ่มมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่ในเดือนเมษายน 2013 ทำให้สกุลเงิน JPY อ่อนค่าลง 900 pips เมื่อเทียบกับ USD

อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างคู่สกุลเงินเหล่านี้มีเสถียรภาพในปีครึ่งถัดไป โดยสรุป ปฏิกิริยาแรกคือการทำให้ค่าเงินที่สูงเกินจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไป สกุลเงินดังกล่าวกลับแข็งค่าขึ้นแม้จะมีตรรกะทางทฤษฎีก็ตาม จนถึงตอนนี้ พูดในเชิงสถิติแล้วการทํา QE อาจทำให้กลายเป็นภาวะเงินฝืดโดยธรรมชาติในตลาด Forex

หากคุณต้องการลองซื้อขายในตลาดสกุลเงินในช่วงเวลาปัจจุบันของการกระตุ้นทางการเงิน ก็สามารถทำได้โดยไม่มีความเสี่ยง กับบัญชีทดลองฟรี เปิดบัญชีและเทรดทดลองเทรดได้แล้ววันนี้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

มาตรการ QE กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ประเภทของเศรษฐกิจมี 2 ประเภท คือ

  • เศรษฐกิจแบบกำลังพัฒนา
  • เศรษฐกิจแบบพัฒนาแล้ว

ไม่ว่าในกรณีใดๆ เศรษฐกิจก็ต้องเติบโตในอัตราคงที่ไม่มากก็น้อย หากเศรษฐกิจหยุดเติบโตหรืออัตราการเติบโตชะลอตัวลง เศรษฐกิจก็จะเข้าสู่โซนชะงักงันหรือแม้แต่ภาวะถดถอย ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องทำซ้ำๆ จนกว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราที่คงที่หรือเพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นเศรษฐหกิจก็จะเข้าสู่ภาวะถดถอยแทน

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาและเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว คือ อัตราการเติบโต โดยประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งมีรการเติบโตที่ยอมรับได้ของ GDP ที่เพิ่มขึ้นที่ 2% ต่อปี

ในทางตรงกันข้าม ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเติบโตประมาณ 6-8% ของ GDP ต่อปี

ลองนึกภาพว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนา คุณจะต้องการอะไร ?

ซึ่งประเทศจำเป็นต้องมีการผลิตที่มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากร โดยทั่วไปจะสามารถทำได้ 2 วิธี คือ โดยการเพิ่มจำนวนคนทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ดังตัวอย่าง เช่น ชาวนาคนเดียวไถพรวนดิน โดยทั่วไปก็เป็นการบริหารงานที่ดีสำหรับพวกเขา แต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทางเศรษฐกิจและในฐานะสมาชิกของรัฐบาลคุณจะทำอย่างไร ? ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเป็นการลงทุนในงบประมาณบางส่วนเพื่อใช้ในการเกษตรให้ได้ 100 เท่า แต่จะอย่างไร? ก็อาจจ้างคนอีก 99 คนไถนา หรือใช้คนไถนาทำงานแทนคน 100 คนด้วยคันไถ

ทั้งนี้ คุณก็จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานให้เรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือต่างๆ ด้วย

ซึ่งในกรณีนี้มีสิ่งสำคัญ 2 อย่างที่ควรทราบ คือ

  1. การผลิตในระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กที่กำลังเติบโตจะเพิ่มขึ้น แต่เพื่อให้ดำเนินต่อไปในอัตราที่คงที่ ก็ต้องเพิ่มเครื่องจักรหรือเพิ่มคนทำงานในอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  2. ารเพิ่มแรงงานมักเป็นทางเลือกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากมีแรงงานทักษะต่ำจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น อินเดียหรือจีน เป็นต้น

ในทางกลับกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาหรือเยอรมนี ซึ่งมีอัตราการเติบโตของประชากรต่ำและมีระดับการศึกษาและเทคโนโลยีสูง ก็มักจะดำเนินการด้วยการจัดหาเครื่องจักร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตเต็มที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วต้องผ่านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโอกาสเดียวที่จะเพิ่มการผลิตด้วยความเร็วที่ต้องการ นอกจากนี้ที่ดินเพื่อการเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีทรัพยากรจำกัด เช่นเดียวกับผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของกำลังการผลิต จึงจำเป็นต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องจักร ปุ๋ย พืชดัดแปลงพันธุกรรม ฯลฯ เพื่อใช้ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

นโยบาย QE และการพัฒนาระบบการเงิน

หากเศรษฐกิจกำลังเติบโต ความต้องการทางการเงินก็เพิ่มขึ้น เพราะไม่ว่าเราจะสนับสนุนการเติบโตด้วยวิธีใด เงินก็เป็นสิ่งจำเป็นในการเริ่มงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

และการจัดหาเงินทุนของเศรษฐกิจจะต้องเติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากประสบปัญหา เราก็ต้องหาเงินเพื่อทำให้เศรษฐกิจของเราเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้น โดยคุณสามารถสร้างระบบธนาคารโดยมีธนาคารกลางแห่งชาติขนาดใหญ่เป็นเครือข่ายของธนาคารเอกชนขนาดเล็ก เมื่อสร้างระบบธนาคารแล้วก็สามารถใช้กระดาษแผ่นหนึ่ง ใส่ลายน้ำ และออกใบรับประกันเงิน 

ด้วยวิธีนี้ เงินและหนี้จะถูกสร้างขึ้นพร้อมกัน และสามารถทำได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก (ตอนนี้ลืมเรื่องหนี้สินไปชั่วขณะ) แล้วโฟกัสไปที่การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเงินที่เพิ่งสร้างใหม่ นั่นคือจากพันธบัตรคุรัฐบาล (หนึ่งหน่วยของหนี้ในประเทศ) ขั้นตอนต่อไปคือการจัดประมูลที่เราจะเชิญชวนให้ธนาคารซื้อพันธบัตรของเรา โดยธนาคารสามารถซื้อตราสารหนี้และถือไว้จนกว่าคุณจะชำระทุกอย่างเสร็จสิ้น หรือสามารถไปที่ธนาคารกลางและแลกเปลี่ยนพันธบัตรเป็นเงินจริงได้

และแน่นอนว่าคุณสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินจากประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาชั้นนำมากมายกับ Admirals เปิดบัญชีฟรี คลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

เทรด Forex & CFDs

เข้าถึงคู่เงินมากกว่า 40+ ซื้อขายได้ตลอด 24/5

ข้อดีและข้อเสียของ QE และกับดักการสร้างเงิน!

ข้อเสียของ QE หรือข้อควรระวังใน QE คือ ยิ่งสร้างเงินมากเท่าไหร่ เงินก็ยิ่งไหลเวียนมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น มูลค่าก็ยิ่งน้อยลง ตามหลักการของอุปสงค์และอุปทาน กระบวนการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจนี้คือสิ่งที่เรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ

ดังนั้น หากคุณต้องการให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป ธนาคารกลางควรพิมพ์เงินต่อไป แต่ในอัตราที่ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจต่างๆ จะพยายามรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติบโต ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 2-5% ต่อปี ส่วนภาวะเงินฝืดคือภาวะที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ซึ่งเป็นอันตราย เนื่องจากสามารถชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจและนำไปสู่วิกฤตได้

เนื่องจากหากเกิดภาวะเงินฝืด ก็อาจทำให้ผู้คนไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอสำหรับชำระค่าสินค้าที่ระบบเศรษฐกิจผลิต และบริษัทต่างๆ จะถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนนโนบายการดำเนินการ ซึ่งการผลิตจะลดลงและในพริบตา และ 30% ของประชากรอาจว่างงาน เพียงเพราะปริมาณเงินลดลงเล็กน้อย

ดังนั้น เงินเฟ้อต่ำจึงไม่ใช่เรื่องดี แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเงินเฟ้อสูงเกินไป? กล่าวได้ว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 7-10% เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อรุนแรง (hyperinflation) ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากเช่นกัน เนื่องจากเป็นวิกฤตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างเงินเร็วที่เกินไป เนื่องจากการมีเงินสดจำนวนมาก แต่จะไม่สามารถซื้อสิ่งของหรือบริการได้มากนัก เนื่องจากราคานั่นเพิ่มขึ้นไปมาก จากการที่เงินได้สูญเสียมูลค่าไป ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงนี้เคยเกิดขึ้นในสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) ในปี 1921 ซึ่งทำให้กระดาษที่ออกโดย Bundesbank ไร้ประโยชน์ จนชาวเยอรมันลงเอยด้วยการเผาธนบัตรบนเตาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ผ่านพ้นฤดูหนาวอันโหดร้าย

เมื่อคุณคำนวณอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเศรษฐกิจของคุณแล้ว คุณจะต้องกำหนดเป้าหมายสำหรับธนาคารกลางของคุณ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหากเราต้องการให้อัตราเงินเฟ้อต่อปีอยู่ที่ 3% ธนาคารกลางจะต้องหาสมดุลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการทำเช่นนี้สามารถใช้กลไกหลายอย่าง เช่น

  • ให้รัฐบาลกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างถนน
  • ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทเพื่อให้เงินหมุนเวียนผ่าน

ซึ่งทางเลือกที่ 2 นั้นจะควบคุมได้ยากกว่า เนื่องจากธนาคารเอกชนมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนเอง และหากไม่ได้รับผลประโยชน์จากแนวทางนี้ก็จะไม่ไปธนาคารกลางเพื่อขอสินเชื่อ และในทำนองเดียวกัน หากธนาคารไม่พบลูกค้าที่จะสามารถให้ยืมเงินและธุรกิจที่ทำกำไรได้ วิธีการนี้จะไม่สามารถชดเชยให้กับธนาคารได้เช่นกัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการไหลเวียนของเงินก็จะไม่เกิดขึ้น

และเมื่อต้องเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ธนาคารกลางจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้สถาบันการเงินขอยืมเงิน คำตอบนั้นง่าย คือการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย การลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหมายถึงเงินกู้ที่ถูกกว่าสำหรับธนาคาร ดังนั้น ด้วยมาร์จิ้นที่มากขึ้นก็จะได้รับผลประโยชน์เมื่อปล่อยกู้ให้กับลูกค้านั่นเอง

  • อัตราดอกเบี้ยต่ำ = เงินกู้มากขึ้น = อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
  • อัตราดอกเบี้ยสูง = เงินกู้น้อยลง = อัตราเงินเฟ้อต่ำ

ดังนั้น ธนาคารเอกชนจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดหาสกุลเงินในระบบเศรษฐกิจ หากธนาคารกลางสามารถเพิ่มเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ธนาคารเอกชนก็สามารถเพิ่มเงินที่หมุนเวียนผ่านระบบที่เรียกว่า "ธนาคารเก็บเงินสดสำรองบางส่วน (fractional reserve banking)" ซึ่งประกอบด้วยธนาคารที่ถือครองเพียงเศษเสี้ยวของเงินทุนของลูกค้านั่นเอง

ทำความเข้าใจง่ายกว่ากับตัวอย่าง ดังนี้

  1. John ไปที่ธนาคารและเปิดบัญชีด้วยเงินฝากเริ่มต้น 100 ยูโร ด้วยระบบเงินสำรองแบบเศษส่วน ตอนนี้ธนาคารสามารถให้ยืมเงินจำนวน €90 เนื่องจากต้องการเพียง 10% ในเงินสำรอง
  2. James ต้องการกู้เงิน 90 ยูโรเพื่อจ่ายค่าพนันที่เขาแพ้ให้กับ Helen ธนาคารก็ให้เขายืมด้วยเงินที่ John ฝากไว้
  3. Helen รวบรวมหนี้ของเพื่อน และตัดสินใจเก็บเงินนั้นไว้ในบัญชีธนาคารของเธอ แล้วฝากเงิน €90 ตอนนี้ธนาคารมี 90% ของเงินจำนวนนั้น 81 ยูโร เพื่อให้ยืมกับลูกค้าคนต่อไปที่ต้องการเงินกู้ซึ่งก็คือ Judy

จากตัวอย่างด้านบน ด้วยมุมมองของกิจการ บันทึกการบัญชีเหล่านี้จะครอบคลุมถึงรายละเอียด ดังนี้

  • John มีเงิน 100 ยูโรในบัญชี 
  • Helen มีเงิน 90 ยูโรในบัญชี 
  • Judy มีเงิน 81 ยูโรในกระเป๋า

รวมแล้ว 271 ยูโร แต่ธนาคารสามารถจัดการได้เพียง 100 ยูโรเท่านั้น ซึ่งนี่ก็คือวิธีการเพิ่มเงินโดยธนาคารเอกชนด้วยการออกสินเชื่อ

นโยบาย QE กับระบบธนาคาร

แม้ว่าระบบธนาคารจะมีอิทธิพลต่อปริมาณเงิน แต่มีแค่การปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจเท่านั้นที่สามารถเพิ่มความต้องการได้ โดยบุคคล ธุรกิจ และธนาคารจะยืมเงินก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าสามารถจ่ายคืนได้ ซึ่งรัฐบาลจะสามารถมีอิทธิพลต่อความต้องการเงินได้ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพเท่านั้น ดังนั้น ความต้องการที่ลดลงจึงหมายถึงเงินหมุนเวียนน้อยกว่าที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการ

การทำ QE หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณสิ้นสุดลงอย่างไร ?

โดยในสิ้นปี 2018 ECB ตัดสินใจยุติการสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินในยูโรโซน ในขณะเดียวกันก็ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ คำถามคือว่าถูกเวลาหรือไม่ ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังแสดงสัญญาณของการชะลอตัวโดยมีปัจจัยที่เลวร้ายลง เช่น สงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐฯ และ Brexit เป็นต้น ซึ่งบริบทนี้เองที่ทำให้ ECB พิจารณานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหม่ แต่ดังที่เราได้เห็นจากมาตรการล่าสุดที่ดำเนินการโดยสหรัฐฯ เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 ซึ่งอาจยังมีสถานที่สำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในอนาคตอันใกล้นี้

สรุปการใช้ QE กับเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE คือ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกันในแต่ละกรณี

ในประเทศส่วนใหญ่ที่มีความพยายามทำ QE ทุกรูปแบบ ล้วนส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งบางครั้งนำไปสู่ภาวะเงินฝืด แม้แต่เศรษฐกิจที่เติบโตเต็มที่ก็สามารถฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ล่มสลายของตนได้ แต่เงินที่สร้างขึ้นได้ข้ามพรมแดน ทำให้เกิดฟองสบู่ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

และสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่หรือเทรดเดอร์มือโปรที่กำลังมองหาโอกาสในเรียนรู้กลยุทธ์การเทรด Forex จากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้วย Copy Trading จาก Admirals คลิกแบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีหรือรายละเอียดเพิ่มเติม

เปิดบัญชี Copy Trading

คัดลอกการซื้อขายจากเทรดเดอร์มืออาชีพ ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

QE คือ ? และคำถามที่พบบ่อยในนโยบาย QE

 

ข้อเสียของมาตรการ QE คือ ?

อันตรายที่ใหญ่ที่สุดของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE คือความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อ เมื่อธนาคารกลางพิมพ์เงิน ปริมาณเงินก็จะเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

 

มาตรการ QE ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มการส่งออกอย่างไร ?

เพราะ QE คือการเพิ่มปริมาณเงิน อีกทั้งยังเป็นการรักษามูลค่าของสกุลเงินของประเทศให้ต่ำอีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น เมื่อค่าเงินUSD อ่อนค่าลง หุ้นสหรัฐฯ ก็จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่นักลงทุนสามารถรับเงินได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การส่งออกมีราคาถูกลงอีกด้วย

 

หากลด QE แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ?

อาจยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าเมื่อนโยบาย QE สิ้นสุดลงแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้น เนื่องจากผลลัพธ์จากกระแสเงินง่ายๆ จากนโยบายของธนาคารกลางหยุดลงอาจนำมาซึ่งการดึงดูดในตลาดต่างประเทศที่ลดลงหรืออาจส่งผลให้เกิดผลดีกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศด้วยเช่นกัน

 

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รู้จักกับ Admirals

Admirals คือ โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

TOP ARTICLES
6 กลยุทธ์การเทรดและเทคนิคการเทรด Forex สำหรับปี 2024!
ไม่ว่าการที่มีกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพมาช่วยในการนำทางการเทรดในตลาดการเงินนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด รวมไปถึงการตัดสินใจลงทุนให้กับคุณได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อะไรที่ถือเป็นเทคนิคการเทรดที่มีประสิทธิภาพ และยิ่งไปกว่านั้นคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือเทคนิคการเทรดยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีที่ส...
แนวรับ แนวต้าน ในการเทรด Forex หุ้น ทองคำ และ Indicator แนวรับแนวต้าน ที่คุณต้องรู้จัก!
แนวรับ แนวต้าน เครื่องมือสำคัญในการเทรด Forex และยังถือเป็นพื้นฐานหลักในการเทรดและการวิเคราะห์ตลาดการเงินอื่นๆ ด้วย โดยวิธีดูแนวรับแนวต้านหรือเครื่องมือหาแนวรับแนวต้านนี้จะใช้ Indicator แนวรับแนวต้าน หรือที่เราเรียกกันว่าตัวบ่งชี้แนวรับและแนวต้าน เป็นเครื่องมือสำคัญในการซื้อขาย Forex และ CFD ซึ่งบทค...
Scalping คือ ? พร้อมเทคนิค Scalping ใน 1 นาที ฉบับใช้ได้จริง!
Scalping คือ ? ถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดเทรดใหม่ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเคยได้ยินคำว่า 'scalping' มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะแนวความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด Forex ระยะสั้นหรือที่เรียกกันว่า 'Scalping Forex' รวมทั้งสอนกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ ในการเทรดแบบ Scalping ด้วย ในที...
ดูทั้งหมด