ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นและค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ คืออะไร ?

Jitanchandra Solanki

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ คือ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของเทรดเดอร์ที่มักถูกมองข้าม ดังนั้น เทรดเดอร์จึงไม่ควรมองข้ามค่าธรรมเนียมการเทรดต่างๆ เช่น สเปรดและค่าสวอป (Swap) ซึ่งแต่ละโบรกเกอร์ก็มีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ แม้จะใช้โบรกเกอร์เดียวกัน แต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายของตราสารต่างๆ ก็แตกต่างกันด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ก็อาจแตกต่างจากค่าธรรมเนียมการซื้อขาย Forex และค่าธรรมเนียมการซื้อขาย bitcoin เป็นต้น ดังนั้น เราจึงชวนคุณมาทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่างๆ พร้อมเคล็ดลับการเลือกค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ที่น่าสนใจไปพร้อมกัน! 

ในบทความนี้จะอธิบายทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น รวมทั้ง ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ความแตกต่างของค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ถูกที่สุดกับค่าธรรมเนียมการซื้อขายทั่วไป และวิธีที่คุณสามารถเริ่มต้นการซื้อขายวันนี้ด้วยค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต่ำที่สุดในตลาด

Brokerage fees หรือ ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ คืออะไร ?

ในการซื้อหรือขายในตลาดการเงินใดตลาดหนึ่ง จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์หรือค่าคอมมิชชั่นนายหน้า โดยพื้นฐานแล้ว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากคุณในการใช้บริการ ในฐานะพ่อค้าคนกลาง ในการอำนวยความสะดวกในการส่งคำสั่งซื้อขายของคุณไปยังผู้ซื้อและผู้ขายรายอื่นๆ ในตลาด

โบรกเกอร์แต่ละรายจะมีการคิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่แตกต่างกัน ในอดีต ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์นั้นค่อนข้างสูง เนื่องจากเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนาเท่ากับในปัจจุบันด้และความยากลำบากในการเข้าถึงตลาด อย่างไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีใหม่ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ ทำให้โบรกเกอร์หรือนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์มีการแข่งขันสูงและสามารถจัดการให้มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำให้กับเทรดเดอร์ทั่วไปได้

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการเงินทำให้เกิดบริษัทนายหน้าหรือโบรกเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีสามารถจัดการให้ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายที่ลดลง โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น จากการดำเนินการส่งคำสั่งซื้อขายทางออนไลน์ ดังนั้น เลือกใช้โบรกเกอร์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องการลงทุนในหุ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ?

รายการด้านล่างคือค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์โดยทั่วไปที่เทรดเดอร์ที่ควรทราบ เพื่อให้สามารถวางแผนการเทรดได้อย่างเหมาะสม และเพื่อระมัดระวังค่าธรรมเนียมแอบแฝงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

1. ค่าธรรมเนียมสเปรด (Spread)

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่พบมากที่สุด คือ สเปรด (Spread) หรือส่วนต่างการซื้อขายของสินทรัพย์ โดย สเปรด คือ ความแตกต่างของมูลค่าระหว่างราคาซื้อ (ask price) และราคาขาย (bid price) ของสินทรัพย์ ซึ่งสเปรดการซื้อขายเรียกอีกอย่างว่า bid-ask spreads ซึ่งจะมีสเปรดที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของสินทรัพย์

โดนสามารถดูสเปรดของตราสารการซื้อขายต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายของโบรกเกอร์เช่น ในแพลตฟอร์มการซื้อขาย Admirals MetaTrader คุณสามารถดูราคา bid และราคา ask ของประเภทสินทรัพย์ต่างๆ ผ่านหน้าต่าง Market Watch (Ctrl+M):

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโบรกเกอร์มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ถูกที่สุดหรือค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำที่สุดในตลาด? วิธีเดียวที่จะทราบคือเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการซื้อขายออนไลน์

การเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์

สามารถการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการซื้อขายออนไลน์ (ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นและค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์) ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2019 ดังตัวอย่างจากภาพด้านล่าง

ทั้งนี้ สเปรดในการซื้อขายของแต่ละโบรกเกอร์จะไม่เหมือนกัน ซึ่งมีบางค่าที่สูงกว่าและต่ำกว่าค่าสเปรดอื่นๆ เช่น เทรดเดอร์ที่เทรด Dow Jones CFD จะจ่ายเพิ่ม 200% ในค่าสเปรดจากผู้ให้บริการสเปรดต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อผลกำไรจากการเทรด

และที่ Admirals UK Ltd คุณสามารถทดสอบสเปรดของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ได้โดยใช้บัญชีทดลองเทรด ฟรี ที่จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบสเปรดด้วยตัวคุณเองแบบเรียลไทม์ ที่มีครบทั้งสเปรดการซื้อขายของ Forex และ CFD ในหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนี คริปโต - พร้อมเทรดหรือทดสอบกลยุทธ์ของได้ไม่ต้องเสี่ยงกับเงินทุน สมัครบัญชีทดลองเทรดหรือตรวจสอบรายละเอียดได้แล้ววันนี้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

 

2. ค่าคอมมิชชั่นในการเทรด

นอกเหนือจากค่าสเปรดแล้ว อาจมีค่าคอมมิชชั่นนายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่นการซื้อขายเพิ่มเติมสำหรับธุรกรรมแต่ละรายการที่ดำเนินการ เช่น โบรกเกอร์นำเสนอผ่านบัญชีฟอเร็กซ์ ECN (เครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ - Electronic Communication Network) และ STP (การดำเนินการโดยตรงผ่านการประมวลผล - Straight Through Processing) ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถซื้อขายโดยตรงกับผู้ให้บริการสภาพคล่องของโบรกเกอร์ (โดยปกติจะเป็นธนาคารชั้นนำ) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับสเปรดการซื้อขายที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ซึ่งค่าคอมมิชชั่นมักจะมาพร้อมกับค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมต่อธุรกรรมที่ดำเนินการ เช่น ด้วยบัญชี Zero.MT4 คุณสามารถทำการซื้อขาย STP ด้วยค่าคอมมิชชั่นต่อ 1 ล็อตอยู่ระหว่าง $1.8 - $3 โดยมีข้อดี คือ สเปรดบัญชี Zero.MT4 เริ่มต้นที่ 0 pips รายละเอียดบัญชี Zero.MT4 คลิกที่นี่ได้เลย!

สำหรับบัญชี Forex ดั้งเดิม อย่าง บัญชี Trade.MT4 การซื้อขาย Forex นั้นจะไม่มีค่าคอมมิชชั่น แต่จะจ่ายเป็นค่าสเปรดและ Swap เท่านั้น ในขณะเดียวกันการเทรด CFD หุ้นและกองทุน ETF จะมีการคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารวมของหุ้นที่มีการซื้อขายหรือต่อหุ้นที่มีการซื้อขาย 

3. ค่าสวอป (Swap)

Swap (สวอป) หรือหรือบางครั้งเรียกค่าธรรมเนียมข้ามคืน มีผลกับเทรดเดอร์ที่ถือ position ข้ามคืน หรือ roll-over ใน position ซื้อหรือขายจากวันทำการซื้อขายหนึ่งไปยังวันถัดไป โดยค่าธรรมเนียมการซื้อขาย Swap คือ ค่าธรรมเนียมดอกเบี้ยที่จะหักหรือให้เครดิตกับคุณเมื่อสิ้นสุดการซื้อขายในแต่ละวัน สามารถดูอัตราแลกเปลี่ยนได้ในหน้าข้อกำหนดสัญญาของ Admirals ใต้สัญลักษณ์ตลาดที่คุณกำลังซื้อขาย ซึ่งค่าธรรมเนียมการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะมีการคำนวณที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตลาดที่มีการซื้อขาย

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์ต้องรู้

แม้ว่าค่าธรรมเนียมนายหน้าหรือค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์จะเป็นต้นทุนหลักในการเทรดในตลาดการเงิน แต่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่นๆ จากโบรกเกอร์ ดังนี้

  • การฟีดข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time data feeds)

ในการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์หรือตามเวลาจริงของตลาดการเงินจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโบรกเกอร์อาจดำเนินการโดยให้ผู้ใช้งานเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียม เช่น การได้รับราคาหุ้นเรียลไทม์จากธนาคาร เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการเข้าถึงราคาแบบเรียลไทม์ของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ จะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) จะมีค่าใช้จ่าย 7 ดอลลาร์ต่อเดือน ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq อีก 7 ดอลลาร์ต่อเดือน ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) 7 ปอนด์ต่อเดือน ตลาดหลักทรัพย์ Deutsche Bőrse (DB) ของเยอรมนี 7 ยูโรต่อเดือน เป็นต้น 

แต่หากคุณมีบัญชีเทรดของ Admirals ที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลตลาดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม!

  • ค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี (Account maintenance fees)

โบรกเกอร์และสถาบันการลงทุนบางแห่งอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการมีบัญชีจากผู้ใช้งาน เพื่อใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแพลตฟอร์ม การบริการ การบริหารจัดการด้านกฎระเบียบต่างๆ และเป็นค่าใช้จ่ายให้กับพนักงาน

เช่น สถาบันการเงินบางแห่งอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการบัญชีแบบตายตัวทึ่เดือนละ 1.80 ปอนด์ ในขณะที่ธนาคารบางแห่งเรียกอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการบัญชีขั้นต่ำที่ 4 ปอนด์ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมรายเดือนเหล่านี้สามารถเริ่มเพิ่มขึ้นได้แม้ว่าจะไม่ได้ใช้บัญชีก็ตาม ทั้งนี้ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีหรือการดูแลใดๆ จากบัญชีซื้อขายของ Admirals 

  • ค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม (Platform fees)

การวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นสามารถช่วยระบุรูปแบบและ signal ของการซื้อหุ้นตามเวลา ดังนั้น การบำรุงรักษาและความเสถียรของแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ทันสมัยจึงอาจมีราคาแพง และโบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายนี้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ โบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าใช้บริการเพิ่มเติมจากเครื่องมือการลงทุนต่างๆ ซึ่งอาจทำโอกาสในการทำกำไรของคุณลดลงหรืออาจเปลี่ยนหุ้นต้นทุนต่ำให้กลายเป็นหุ้นราคาแพงได้ แต่คุณสามารถใช้บัญชี Invest.MT5 แพลตฟอร์มการลงทุนชั้นนำได้ฟรี!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

  • ค่าธรรมเนียมซื้อขายจากการไม่ใช้งาน (Inactivity Trading Fees)

ปัจจุบัน โบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจากการไม่เข้าใช้งานบัญชีเป็นรายเดือน โดยลูกค้าของ Admirals ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมใดๆ ในช่วง 24 เดือน และมียอดคงเหลือเป็นบวกในบัญชีเทรด จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ 10 ยูโรต่อเดือน

  • ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน (Currency Conversion Fees)

โบรกเกอร์มักจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน หากคุณซื้อขายตราสารที่มีราคาเป็นสกุลเงินที่แตกต่างจากสกุลเงินหลักในบัญชี สำหรับลูกค้าของ Admirals การโอนเงินภายในระหว่างบัญชีซื้อขายที่มีสกุลเงินเริ่มต้นต่างกันจะมีค่าธรรมเนียม 1% ของจำนวนเงินทั้งหมด

  • ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน (Withdrawal Fees)

แม้ว่าโบรกเกอร์หลายแห่งอาจเสนอเงินฝากแบบไม่มีค่าคอมมิชชั่น แต่ส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินบางประเภท ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามวิธีการถอนและจำนวนเงิน โดยลูกค้าของ Admirals จะสามารถถอนเงินได้ฟรี 1 ครั้งต่อเดือน ด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ Forex

ค่าธรรมเนียมการซื้อขายฟอเร็กซ์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของบัญชีที่ใช้ เช่น

  • บัญชี Trade.MT4 ช่วยให้คุณสามารถเทรด Forex ได้โดยไม่มีค่าคอมมิชชั่น และด้วยสเปรดที่ต่ำ
  • บัญชี Zero.MT4 ช่วยให้คุณสามารถเทรด Forex ได้โดยตรงกับผู้ให้บริการสภาพคล่องของโบรกเกอร์ (โดยปกติจะเป็นธนาคารชั้นนำ) เพื่อรับสเปรดที่ต่ำกว่า (จาก 0 pips) แต่มีค่าคอมมิชชั่นต่อล็อตที่ซื้อขายต่อการทำธุรกรรม

ทั้งนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนสำหรับบัญชีทั้ง 2 ประเภท ข้างต้นด้วย

การคำนวณสเปรดในการเทรด Forex

สเปรดการซื้อขายฟอเร็กซ์สามารถคำนวณได้โดยการเปิดแพลตฟอร์ม Admirals MetaTrader และกด F9 บนสัญลักษณ์ที่คุณต้องการซื้อขาย จากนั้น จะเป็นการเปิดตั๋วซื้อขายซึ่งจะมีราคา bid และราคา ask

ตัวอย่างตั๋วซื้อขายบน MetaTrader 5

สเปรดการซื้อขายสามารถคำนวณได้โดยการลบราคา ask ออกจากราคา bid โดยในตั๋วการซื้อขายด้านบนเป็นตั๋วของ AUD.CAD ซึ่งค่านี้จะเท่ากับ 0.00024 (0.90956 - 0.90932) เนื่องจากการเคลื่อนไหวของ 1 pip ใน AUD.CAD คือ 0.0001 สเปรดด้านบนคือ 2.4 pip หากตลาดเคลื่อนไหวที่ 2.4 pip ในทิศทางที่คุณเลือก แสดงว่าคุณอยู่ในระดับ 'คุ้มทุน' เนื่องจากคุณได้ครอบคลุมค่าสเปรดแล้ว และอะไรก็ตามที่เกิน 2.4 pip ก็คือกำไรที่เป็นไปได้ ตราบเท่าที่ยังอยู่ในทิศทางการเทรดของคุณ

การคำนวณค่าธรรมเนียมการซื้อขายแลกเปลี่ยน

ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนสามารถตรวจสอบได้จากในแพลตฟอร์ม Admirals MetaTrader จากใน Market Watch (Ctrl+M) จากนั้นเพียงแค่คลิกขวาที่ตราสารที่ต้องการ จากนั้นเลือก Specification ซึ่งจะเปิดหน้าต่างคำอธิบายพร้อมค่า Swap Long และ Swap Short

ตัวอย่างที่แสดงคำอธิบายของสัญลักษณ์เฉพาะใน MetaTrader 5

Forex swap คือ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 2 สกุลเงินที่กำลังซื้อขาย เมื่อทำการซื้อขายฟอเร็กซ์ด้วยมาร์จิ้น คุณจะได้รับดอกเบี้ยสำหรับตำแหน่ง Long และจ่ายดอกเบี้ยสำหรับตำแหน่ง Short ความแตกต่างของค่าเหล่านี้เรียกว่าค่า carry

โดยหากค่า carry เป็นบวกก็คือการที่คุณได้รับดอกเบี้ยมากกว่าที่คุณต้องจ่าย ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีซื้อขายของคุณ และหากมีค่า carry เป็นลบ นั่นจึงหมายความว่าคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าที่จะได้รับ ซึ่งจะถูกหักจากบัญชีซื้อขายของคุณ อย่างไรก็ตาม หากคุณเปิดและปิดการซื้อขายในวันเดียวกันก็ไม่จะไม่มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้เพิ่มเติม เช่น จากภาพข้อกำหนดสัญญาของ EUR.AUD ด้านล่าง บรรทัด SWAP Value (Short) อ่านว่า 0.2 pip หมายความว่าเทรดเดอร์จะได้รับเครดิต 0.2 pip ของขนาดสัญญาต่อ pip สำหรับการถือครองการซื้อขายข้ามคืน และเทรดเดอร์ที่เปิดการซื้อขายระยะยาวข้ามคืนจะต้องจ่าย 1.425 pip ซึ่งจะถูกหักออกจากบัญชีการซื้อขาย

ที่มา: Admirals ข้อกำหนดสัญญาของ EUR.AUD 18 สิงหาคม 2020

การคำนวณค่าธรรมเนียมการซื้อขาย Forex ในสกุลเงินต่างประเทศ 

แม้ว่าจะไม่มีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเพิ่มเติมในการซื้อขายฟอเร็กซ์ในบัญชี Trade.MT4 แต่บัญชี Zero.MT4 จะมีค่าคอมมิชชั่นต่อการทำธุรกรรม ซึ่งเป็นเรื่องปกติของบัญชี ECN ที่โบรกเกอร์ดำเนินการโดยตรงกับผู้ให้บริการสภาพคล่อง แม้ว่าค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์ แต่ส่วนใหญ่จะมีการคำนวณในลักษณะเดียวกัน โดนสามารถดูตัวอย่างการใช้ค่าธรรมเนียมบัญชี Zero.MT4 ดังภาพด้านล่าง

ที่มา: การคำนวณค่าคอมมิชชั่นของ Admirals 18 สิงหาคม 2020

โดยในการหาค่าคอมมิชชั่นสำหรับการซื้อขายแบบ round turn (ซึ่งรวมถึงการเปิดและปิดของการซื้อขาย ซึ่งจะถูกเรียกเก็บเมื่อเปิดการซื้อขาย) จะใช้สูตรต่อไปนี้

ค่าคอมมิชชั่น (ในสกุลเงินของบัญชี) = ขนาดสัญญา * อัตราค่าคอมมิชชั่น (ในสกุลเงินของบัญชี) * 2

ดังนั้น หากเทรดเดอร์ซื้อ AUD.CAD 1 ล็อตในบัญชีสกุลเงิน EUR ค่าคอมมิชชั่นในบัญชี Zero.MT4 จะเท่ากับ 5.2 EUR (1 Lot * 2.6 EUR *2)

และหากเทรดเดอร์ตัดสินใจซื้อ AUD.CAD 2 ล็อตในบัญชีสกุลเงิน USD ค่าคอมมิชชันจะเท่ากับ 12 USD (2 * 3.0 USD * 2)

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น - การซื้อขายหุ้นออนไลน์

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายกองทุน ETF ต่างประเทศของแต่ละโบรกเกอร์จะแตกต่างกันมากนอกจากนี้ ความแตกต่างของค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชีซื้อขายหุ้นที่คุณมี เช่น บัญชี Trade.MT5 สำหรับการซื้อขาย CFD หุ้น หรือบัญชี Invest.MT5 สำหรับลงทุนในหุ้นและกองทุน ETF ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ของ CFD หุ้น 

เนื่องจากการซื้อขาย CFD หุ้น จะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายบนมาร์จิ้นได้ จึงมีค่าธรรมเนียม Swap เพื่อชะลอการซื้อขายข้ามคืน และเช่นเดียวกับค่าสเปรดในการซื้อขายที่สามารถดูค่าสวอปและข้อมูลสเปรดทั่วไปได้ในแพลตฟอร์ม Admiral Markerts MetaTrader หรือตรวจสอบได้จากหน้าข้อกำหนดของสัญญา

โดยค่าธรรมเนียมการซื้อขายแลกเปลี่ยนของ CFD หุ้นจะคำนวณแตกต่างกันไปตามตลาด Forex และแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังตัวอย่างข้อกำหนดของสัญญาของ Apple CFD ด้านล่าง

ที่มา: Admirals ข้อกำหนดสัญญาของ #AAPL 18 สิงหาคม 2020

นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต้องพิจารณาเมื่อทำการซื้อขาย CFD หุ้น เช่น ค่าคอมมิชชั่นของ CFD หุ้นจะเริ่มต้นที่ $0.01 หากต้องการดูค่าคอมมิชชันของ CFD หุ้นที่คุณกำลังซื้อขาย เพียงไปที่ตราสารที่คุณกำลังซื้อขายในหน้าข้อกำหนดสัญญา

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นสำหรับการลงทุนในหุ้นและกองทุน ETF ต่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนหุ้นและกองทุน ETF มีความคล้ายคลึงอยู่บ้าง ด้วยบัญชี Invest.MT5 เมื่อเทียบกับการซื้อขาย CFD หุ้น ด้วย Trade.MT5 เช่น เมื่อลงทุนหุ้นจะยังคงมีสเปรดการซื้อขายและค่าคอมมิชชั่นการซื้อขายต่อธุรกรรมที่ต้องจ่าย ซึ่งจะเหมือนกันในบัญชีทั้ง 2 ประเภท ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลในหน้าข้อกำหนดสัญญาของสัญลักษณ์ที่คุณกำลังซื้อขาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อลงทุนหุ้น นักลงทุนจำเป็นต้องชำระเงินเต็มมูลค่าของหุ้นที่ซื้อล่วงหน้า เนื่องจากการลงทุนประเภทนี้ไม่ใช้มาร์จิ้นหรือเลเวอเรจ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม Swap ข้ามคืน

ซึ่งเราได้ลดความซับซ้อนของอัตราค่าคอมมิชชันของหุ้นและกองทุน ETF สำหรับคุณ และปรับปรุงค่าคอมมิชชันในตลาดที่เหมาะสมกับการซื้อขายกับเรา

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของค่าคอมมิชชั่นการลงทุนที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

  • ขั้นต่ำในธุรกรรม ซึ่งลดลงจาก 5 ยูโรเหลือเพียง 1 ยูโร
  • ค่าคอมมิชชัน โดยที่ % ของมูลค่าการซื้อขายตอนนี้เท่ากันสำหรับการลงทุนหุ้นและกองทุน ETF

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้จากตารางด้านล่างหรือที่หน้าข้อกำหนดสัญญา


ตลาดที่เกี่ยวข้อง
ค่าคอมมิชชั่น
(ตั้งแต่ 1 กันยายน 2020)
หุ้นและกองทุน ETF
มูลค่าการเทรด ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ

ออสเตรเลีย

0.15%

8 AUD

เยอรมนี

0.10%

1 EUR

ออสเตรีย

0.15%

1 EUR

ฝรั่งเศส

0.1 %

1 EUR

เนเธอร์แลนด์

0.15 %

1 EUR

เบลเยียม

0.15 %

1 EUR

ไอร์แลนด์

0.15 %

1 EUR

สเปน

0.15 %

1 EUR

โปรตุเกส

0.15 %

1 EUR

สวิตเซอร์แลนด์

0.15 %

1 CHF

เดนมาร์ก

0.15 %

10 DKK

ฟินแลนด์

0.15 %

1 EUR

สวีเดน

0.15 %

10 SEK

นอร์เวย์

0.15 %

10 NOK

สหราชอาณาจักร

0.10%

1 GBP

สหรัฐอเมริกา

0.02 USD ต่อหุ้น

1 USD

คุณรู้หรือไม่ว่าบัญชี Invest.MT5 จะช่วยให้คุณลงทุนหุ้นและกองทุน ETF จาก 15 ตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์ได้ฟรี โดยไม่มีค่าคอมมิชชั่นต่ำ และค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี พร้อมรองรับเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพระดับพรีเมียม ฟรี ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเปิดบัญชี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

 

ค่าธรรมเนียมการเทรด Bitcoin

ค่าธรรมเนียมการเทรดคริปโต เช่น Bitcoin อาจมีค่าสเปรด ค่า Swap และค่าคอมมิชชันในการทำธุรกรรม แต่ที่ Admirals การซื้อขาย CFD คริปโต จะไม่มีค่าคอมมิชชั่นในการทำธุรกรรม รวมทั้งค่าสเปรด หรือค่า Swap

ทั้งนี้ ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดของค่าธรรมเนียมการเทรด Bitcoin (BTCUSD) คือค่า Swap ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นจากธรรมชาติที่ผันผวนของตลาด

โดยคุณสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมการเทรด CFD คริปโตที่แสดงอยู่ในหน้าข้อกำหนดสัญญา ดังตัวอย่างค่าธรรมเนียมการเทรด Bitcoin (BTCUSD) จากภาพด้านล่าง

ที่มา: ข้อกำหนดสัญญาของ BTC.USD ของ Admirals 18 สิงหาคม 2020

ค่าธรรมเนียมการเทรดระยะสั้น

เทรดเดอร์ที่เทรดระยะสั้นอย่าง Day Trader มักจะจ่ายค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า เพราะไม่ได้ถือการเทรดข้ามคืน ดังนั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม Swap ข้ามคืน แต่บางครั้งก็อาจทำให้เทรดเดอร์อาจพลาดโอกาสในตลาดที่ให้อาจมี carry ในเชิงบวก จากการโอนเงินเข้าบัญชีในแต่ละคืน

ค่าธรรมเนียมการเทรดระยะสั้นที่สำคัญที่สุดสำหรับ Day Trader คือ ค่าสเปรดและค่าคอมมิชชันการซื้อขายต่อการทำธุรกรรม ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ยิ่งสเปรดต่ำ ต้นทุนของเทรดเดอร์ก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ดังนั้น กำไรโดยรวมในบัญชีก็จะยิ่งสูงขึ้น

จากภาพด้านบน แต่ละโบรกเกอร์จะมีสเปรดในการเทรดที่แตกต่างกัน ซึ่งเทรดเดอร์ใหม่อาจมีค่าสเปรดสูงหรือต่ำกว่าค่าสเปรดอื่นๆ แม้ว่าการเห็นความแตกต่างนี้อาจดูเล็กน้อยแต่ก็อาจทำให้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการเทรดเพิ่มขึ้นได้ บางครั้งเทรดเดอร์ CFD ดาวโจนส์อาจต้องจ่ายค่าสเปรดเพิ่มขึ้น 200% จากผู้ให้บริการสเปรดที่ต่ำที่สุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งเป็นผลกระทบอย่างมากต่อผลกำไรจากการเทรด!

การหาโบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมไม่มากสำหรับตลาดที่คุณต้องการเทรด จึงเป็นการเตรียมการที่คุ้มค่า แม้อาจมีบางโบรกเกอร์ที่จะโฆษณาว่ามีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ต่ำที่สุด (ณ จุดหนึ่งของวัน) เช่น ช่วงการซื้อขายในลอนดอนซึ่งมีการซื้อขายหรือกิจกรรมสูงและสเปรดต่ำมากเนื่องจากมีผู้ซื้อและผู้ขายซื้อขายในตลาดมากขึ้น จึงทำให้สเปรดสูงขึ้นมากในช่วงเวลาที่เหลือของวัน 

การเทรดกับโบรกเกอร์ที่มีกฎระเบียบทางการเงินระดับสูงอาจให้ผลตอบแทนที่ดี เช่น Admirals Group ซึ่งประกอบด้วยบริษัท ดังนี้

  • Admirals Pty Ltd - ได้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลโดย Australian Securities and Exchange Commission (ASIC)
  • Admirals Cyprus - ได้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลโดย Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC)
  • Admirals UK Ltd - ได้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลโดย Financial Conduct Authority (FCA)
  • Admirals AS -ได้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลโดย Estonian Financial Supervision Authority (EFSA)

ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ทั่วไปคืออะไร?

ค่าธรรมเนียมของ Admirals เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับโบรกเกอร์อื่นๆ ?

ในการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ โบรกเกอร์นั้นเป็นธนาคารหรือไม่ เนื่องจากเป็นวิธีที่นักลงทุนมักซื้อและขายหุ้น (สินทรัพย์ที่มีการซื้อขายและลงทุนมากที่สุด) กล่าวได้ว่า ธนาคารส่วนใหญ่เสนอบริการซื้อขายหุ้นมานานตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่ก็มักมีค่าธรรมเนียมนายหน้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สูง อย่างไรก็ตาม การแข่งขันจากบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้นจึงทำให้ค่าธรรมเนียมในการลงทุนมีการปรับลดลงมาก

โดยมาก ธนาคารส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่คงที่ แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมขั้นต่ำที่สูง เช่น HSBC Invest Direct มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ €21.95 ต่อการซื้อขาย (ในขณะที่เขียน) ดังนั้น ในการเปิดและปิด position จึงต้องจ่าย €43.90 (€21.95 เมื่อทำการซื้อหุ้น และอีก €21.95 เมื่อทำการขาย)

แต่ในบัญชี Invest.MT5 ซึ่งเป็นบัญชีการลงทุนแบบซื้อและถือแบบดั้งเดิมของ Admirals ซึ่งคุณสามารถซื้อหุ้นมูลค่า €7,500 ใน Adidas โดยเสียค่าธรรมเนียมเพียง €5 ในการเปิดposition หรือ €10 เพื่อเปิดและปิด position ทั้งนี้ ในโบรกเกอร์อื่นๆ ก็อาจมีการแข่งขันสูงกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม เช่น ค่าคอมมิชชั่นต่อการซื้อขายสำหรับการซื้อและขายหุ้นสหรัฐฯ กับโบรกเกอร์บางแห่งคือ $0.02 โดยมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำที่ $15 เป็นต้น

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ : การซื้อหุ้นสหรัฐฯ ในบัญชี USD

  • สกุลเงินในบัญชี: USD
  • หุ้นที่ซื้อ: Apple
  • สกุลเงินของหุ้น: USD
  • ปริมาณ/จำนวนหุ้นที่จะซื้อ: 10 lot
  • ประเภทคำสั่ง: ซื้อ
  • ราคาหุ้น: $155

สมมติว่าคุณต้องการซื้อหุ้น Apple 10 หุ้น ซึ่งซื้อขายกันที่ $155 ต่อหุ้น

  • จำนวนเงินลงทุนจะถูกคำนวณด้วยผลรวมต่อไปนี้ = 10 หุ้น x $155 ต่อหุ้น = $1,550
  • ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์จะถูกคำนวณด้วยผลรวมต่อไปนี้ = ขนาดสัญญา x จำนวนหุ้น = 10 ล็อต x $0.01 = $0.1

เนื่องจากค่าคอมมิชชัน ($0.1) ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ $1 ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ในการทำธุรกรรมนี้จึงอยู่ที่ $1

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ : ซื้อหุ้น EU ในบัญชี EUR

  • สกุลเงินในบัญชี: EUR
  • หุ้นที่ซื้อ: Adidas
  • สกุลเงินของหุ้น: EUR
  • ปริมาณ/จำนวนหุ้นที่จะซื้อ: 50 lots
  • ประเภทคำสั่ง: Buy
  • ราคาหุ้น: €150

สมมติว่าคุณต้องการซื้อหุ้น Adidas 50 หุ้น ซึ่งซื้อขายกันที่ €150 ต่อหุ้น

  • จำนวนเงินลงทุนจะถูกคำนวณด้วยผลรวมต่อไปนี้ = 50 หุ้น x €150 ต่อหุ้น = €7,500
  • ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์จะถูกคำนวณด้วยผลรวมต่อไปนี้ = ราคาหุ้น x ขนาดสัญญา x อัตราค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ = €150 x 50 ล็อต x 0.1% = €7.50

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ : การขายหุ้น

เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์สำหรับการออกจาก position จะใช้สูตรเดียวกัน โดยใช้จำนวนหุ้นที่ต้องการขาย ราคาขายหุ้นหรือ ETF ที่โบรกเกอร์เสนอราคา ณ เวลา ธุรกรรมและค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์ 0.1% ของมูลค่าตามสัญญาของธุรกรรม

หากต้องการเรียนรู้การซื้อขายเพิ่มเติมหรือต้องการฝึกฝนการเทรดสามารถสมัครเข้าร่วมการสัมมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี ของ Admirals ที่จัดขึ้นโดยเทรดเดอร์มืออาชีพ ที่มีสัมนาทั้งรายวันและรายสัปดาห์ในหัวข้อที่หลากหลายตามสถานการณ์ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการต่างๆ ที่คุณอาจมี แน่นอนว่าสัมนานั้นมีทั้งสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ไปจนถึงเทรดเดอร์มืออาชีพที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม รวมทั้งมีสัมนาสำหรับทั้งการเทรดระยะสั้นไปจนถึงการลงทุนระยะยาว

และหากคุณต้องการเรียนรู้การเทรดหรือเรียนรู้วิธีเปิด position ในคู่สกุลเงินต่างๆ โดยใช้แพลตฟอร์มการซื้อขาย MetaTrader หรือวิธีการซื้อขายระยะยาวและระยะสั้น ห้ามพลาดสัมมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี! ที่ที่คุณสามารถทักษะการเทรด และเข้าถึงการวิเคราะห์กราฟขั้นสูง รวมทั้งแนวโน้มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) รวมทั้งพูดถึงเรื่องราวของเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการซื้อขายในอนาคต เป็นต้น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือลงทะเบียนเข้าร่วมสัมนาได้แล้ววันนี้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได่เลย!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

 

ทำไมต้องเทรดกับ Admirals?

นอกเหนือจากค่าสเปรดที่ต่ำและค่าธรรมเนียมการเทรดไม่มากแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ในการเทรดกับ Admirals ที่คุณต้องรู้!

  • เทรดกับบริษัทที่มีชื่อเสียงและดำเนินการมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลอย่างสูง รวมถึงกฎระเบียบจาก FCA จากสหราชอาณาจักร, ASIC จากออสเตรเลีย, CySEC จากไซปรัส และ EFSA จากเอสโตเนีย
  • ซื้อขายกับโบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ต่ำที่สุดและโปร่งใสในตลาด
  • เข้าถึงแพลตฟอร์มการเทรดที่รวดเร็วและปลอดภัยที่สุดจาก MetaTrader สำหรับ PC , Mac, Android และ iOS
  • เทรดด้วยสเปรดระดับสถาบันแบบต่ำสุดเพียง 0 pips ด้วยบัญชี Zero.MT4 และดำเนินการโดยตรงกับผู้ให้บริการสภาพคล่องชั้นหนึ่ง
  • เทรดแบบไม่มีค่าคอมมิชชันหรือค่าสเปรดที่ต่ำกว่าพร้อมค่าคอมมิชชั่นในบัญชีการเทรดอื่นๆ
  • เทรดสบายใจไปกับจากนโยบายการป้องกันยอดคงเหลือติดลบ

หากคุณพร้อมเริ่มซื้อขาย Admirals พร้อมอำนวยความสะดวกในการเทรด Forex และ CFD ในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ในดตลาดขนาดใหญ่ทั่วโลก พร้อมอัปเดตข่าวสาร และใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคระดับสูง ฟรี! คลิกที่แบนเนอร์ได้เลย!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

 

รู้จักกับ Admirals

Admirals คือ โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอ คำแนะนำสำหรับธุรกรรมในตราสารทางการเงินต่างๆ และกราฟสำหรับตราสารทางการเงินในบทความนี้ใช้เพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น ประสิทธิภาพการดำเนินการในอดีตไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของการดำเนินการในอนาคต

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การวิเคราะห์การซื้อขายข้างต้นจึง ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของประสิทธิภาพในปัจจุบันหรืออนาคต ก่อนตัดสินใจลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด