Commodity คือ: รู้จักวิธีเทรด Commodity ใน 10 นาที

Jitanchandra Solanki
15 นาที

Commodity คือ ? รู้ไหมว่าการเทรด Commodity หรือการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์นั้นมีมาตั้งแต่อารยธรรมโบราณแล้ว โดยราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ผู้คนจะใช้เหรียญดินแลกเปลี่ยนกับแพะ หรือในศตวรรษที่ 17 ข้าวสารเป็นสินค้าที่เฟื่องฟูในประเทศญี่ปุ่นมากก็สามารถใช้ข้าวสารแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ได้ หรือจะใช้ข้าวสารในลักษณะของ 'ตั๋วเงิน' ก็ยังได้

แต่การเทรด Commodity ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นในปี 1848 ที่ Chicago Board of Trade ซึ่งยังคงทรงอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน และเป็นตลาดที่มีการซื้อขายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งบทความนี้จะพาคุณเข้าวงการลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมทำความรู้จักกับวิธีเทรด Commodity ไปพร้อมกัน!

Commodity คือ ?

Commodity คือ ผลิตภัณฑ์พื้นฐานในระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะจับต้องได้ และมีคุณสมบัติ "ใช้แทนกันได้" อย่างสมบูรณ์ (Fungibility) หากเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน เช่น น้ำตาลเกรด A ที่ผลิตในไทย ก็ย่อมมีลักษณะเดียวกันกับ น้ำตาลเกรด A ที่ผลิตในบราซิล มันจึงสามารถใช้แทนกันอย่างสมบูรณ์

กล่าวได้ว่า Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบตั้งต้นจากทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะนำไปเป็น "วัตถุดิบหลัก" ในการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำตาลกับโกโก้ จัดเป็น Commodity ประเภทหนึ่ง และใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้าที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่าง "ช็อกโกแลตแท่ง"

คุณสมบัติ Fungibility ของสินค้าโภคภัณฑ์ คือทำให้ตลาดซื้อขายมี "มาตรฐานกลางในการซื้อขาย" มีการจัดประเภทและคุณภาพอย่างชัดเจน ดังนั้น ไม่ว่าสินค้า Commodity ดังกล่าวจะผลิตที่ไหนหรือใครเป็นผู้ผลิต หากมีลักษณะตรงตามมาตรฐานการซื้อขายหนึ่งๆ ก็จะมีราคาสินค้าที่เท่ากันเสมอ

แล้ว Commodities คือ ? กล่าวคือผลิตภัณฑ์ที่จะเป็น Commodity ได้ต้องมี Fungibility หรือ สามารถใช้แทนกันได้ เช่น ทองคำ 95% ที่ประเทศไทย ก็มีค่าเท่ากับทองคำ 95% ที่ออสเตรเลีย

Commodities คือ ? สำคัญแค่ไหน ? ทุกคนต่างก็จำเป็นต้องพึ่งพาสินค้า Commodity ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราจึงจัดให้มันเป็น "สินค้าพื้นฐาน" หรือ Basic Goods โดย Commodity Product ที่คุ้นเคยอาจมีไม่กี่ชนิด เช่น น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ, น้ำส้ม, กาแฟ หรือทองคำ 

Commodity Product คือ ? แบ่งเป็นกี่ประเภท

หลังจากที่ทราบแล้วว่า Commodity คือ ? แล้ว ต่อมาคือประเภทของ Commodity คือ ซึ่งโดยมากแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

สินค้าโภคภัณฑ์ในภาคเกษตรกรรม (Agricultural)  วัตถุดิบ เช่น น้ำตาล, ฝ้าย, เมล็ดกาแฟ เป็นต้น โดยน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลดิบ มีการซื้อขายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แม้ว่าน้ำตาลจะเป็นสารให้ความหวาน แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการผลิตเอทานอลด้วย

นอกจากนี้ กาแฟที่เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก ซึ่งมีการบริโภคมากกว่า 2.25 พันล้านแก้วต่อวัน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นตลาดที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากปิโตรเลียม 
สินค้าโภคภัณฑ์ในภาค
พลังงาน (Energy)

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

โดยน้ำมันดิบ (Crude Oil) นับเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ยอดนิยมสำหรับการซื้อขาย โดยน้ำมันดิบหลักในตลาด Commodity คือ WTI และ Brent Crude Oil เนื่องจากมีความผันผวนที่สูง ด้วยผู้ผลิตน้ำมันดิบชั้นนำ อย่างซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางการเมืองอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความต้องการในน้ำมันดิบที่สูง เนื่องจากมักจะถูกนำมาใช้สำหรับการขนส่งเชื้อเพลิง การผลิตพลาสติก สิ่งทอสังเคราะห์ ปุ๋ย คอมพิวเตอร์ เครื่องสำอาง เป็นต้น

ส่วนก๊าซธรรมชาติจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมหลายประเภท รวมถึงการผลิตไฟฟ้า โดยมีผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ ได้แก่ Gazprom, Royal Dutch Shell, ExxonMobil, PetroChina และ BP

สินค้าโภคภัณฑ์
ในกลุ่มโลหะมีค่า (Metal)

ทองคำ, เงิน ทองคำ แพลทินัม และแร่โลหะหายากอื่นๆ กล่าวได้ว่าทองคำเป็นอีกหนึ่งสินค้ายอดนิยม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนนิยมนำเงินไปลงทุนเมื่อตลาดเกิดความวุ่นวาย ซึ่งหมายความว่าทองคำมักมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับดอลลาร์สหรัฐฯ และเนื่องจากทองคำมีมูลค่าที่สูง จึงมักถูกมองว่าน่าสนใจสำหรับนักลงทุนระยะยาว

แม้ว่าทองคำจะเป็นสินค้าโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการซื้อขาย แต่โลหะเงิน แร่เงิน หรือ Silver ก็มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวเร็วกว่าราคาทองคำมาก ทำให้เป็นที่น่าสนใจสำหรับเทรดเดอร์ที่สนใจเทรด Commodity 

ส่วนทองแดง ก็ยังสามารถนำไปใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า วิศวกรรม ประปา และอุปกรณ์ทำอาหาร ราคาของทองแดงจึงสามารถใช้เป็นมาตรวัดที่เชื่อถือได้ของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นการลงทุนในทองแดงจึงเป็นวิธีหนึ่งในการแสดงจุดยืนเชิงบวกต่อ GDP โลก

สินค้าโภคภัณฑ์ในภาค
ปศุสัตว์ (Livestock and Meat)
เนื้อหมูสามชั้น, วัวเป็นๆ และปศุสัตว์ทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการแบ่งประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ คือ จะเแบ่งตามลักษณะการกำเนิดของมันว่า แหล่งที่มาเป็นอย่างไร ต้องใช้วิธีปลูกหรือเลี้ยงแบบไหน การสกัดจากแหล่งธรรมชาติ หรือวิธีการทางเหมือง ซึ่งก็จะแบ่งภาพรวมของสินค้าโภคภัณฑ์ เป็น 2 ประเภท ดังนี้

Soft Commodity คือ ผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่สามารถได้มาโดยการเพาะปลูกหรือใช้กระบวนทางการเกษตร เป็นสินค้าที่สามารถเกิดจากการควบคุมดูแลของมนุษย์ เช่น ข้าวสาลี, ถั่วเหลือง, เนื้อหมู, น้ำตาล เป็นต้น

Hard Commodity คือ ผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ไม่สามารถผลิตได้โดยการเพาะปลูกหรือใช้กระบวนทางการเกษตร มนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้ การจะได้วัตถุดิบเหล่านี้มา จึงต้องใช้วิธีการสกัดหรือผ่านกระบวนทางเหมือง เช่น แร่ธาติ, ทองคำ, น้ำมัน เป็นต้น

สำหรับที่ท่านที่เริ่มสนใจลงทุนใน Commodities คือ เรามีเหตุผลสำคัญที่อยากอธิบายว่า ทำไมควรเลือกโบรกเกอร์ Admirals ให้ดูแลบัญชีคุณ การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมากๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีทดลองเทรด (Demo) หรือบัญชีจริง เพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงก์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

วิธีเทรด Commodity เริ่มต้นอย่างไร ?

Commodity ก็มีสถานะใกล้เคียงกับ "เงิน" ที่เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนมูลค่า ซึ่งในระยะยาว Commodity ก็จะแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ หรือก็คือมีคุณสมบัติในการ "สะสมมูลค่า" นั่นเอง

แต่การลงทุนใน Commodity โดยตรงนั้น อาจมีความไม่สะดวกในหลายอย่าง โดยเฉพาะการส่งมอบและการเก็บรักษา เช่น เราไม่สามารถซื้อน้ำมันดิบเป็นของสะสมไว้ในบ้านได้ หรือโดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม Soft Commodity เช่น น้ำส้ม, โกโก้ ที่จะเสียหายได้ง่าย ดังนั้น นักลงทุนจึงมักเลือกวิธีการอื่นๆ ในการลงทุน Commodity ดังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้

1. เทรด Commodity โดยการซื้อขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ จริงๆ

หนึ่งในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์หรือ Commodity คือไปซื้อสินค้านั้นๆ ด้วยตนเอง (เช่น ซื้อน้ำมัน ทองคำ หรือน้ำตาลโดยตรง) และเมื่อเวลาผ่านไป หากราคาสูงขึ้น คุณก็สามารถหาผู้ซื้อและรับส่วนต่างของกำไรได้

แต่นอกจากการไปหาผู้ผลิตและผู้ขายน้ำมันหรือน้ำตาลเพื่อซื้อสินค้าแล้วนั้น ยังต้องหาผู้ซื้อสินค้าของคุณด้วย นอกจากนี้ยังต้องมีสถานที่จัดเก็บสินค้านั้นๆ ไว้จนกว่าจะมีราคาที่เพิ่มขึ้น จึงจะสามารถขายออกได้

นอกจากนี้ ยังมีความผันผวนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าหุ้นและพันธบัตร เนื่องจากมีปัญหาด้านอุปสงค์และอุปทานที่ส่งผลต่อราคามากกว่า

นอกเหนือจากพื้นที่เก็บข้อมูลจริงแล้ว คุณจะต้องพิจารณาปัจจัยการจัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องซื้อโลหะมีค่า ก็จะต้องมีสถานที่จัดเก็บที่ปลอดภัย ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนและความซับซ้อนในการลงทุนของคุณ

2. การเทรด Commodity CFD

วิธีเทรด Commodity ด้วยการเทรด CFD คือ การเทรดออนไลน์ผ่านโบรกเกอร์ เปรียบเสมือนการเข้าไปลงทุนโดยตรง แต่เป็นลักษณะการถือสัญญา นักลงทุนที่เทรด CFD ไม่ต้องส่งมอบสินค้ากันจริงๆ โดย Position ที่ถือครองจะอยู่มูลค่าหรือลดลงตามราคาที่เปลี่ยนแปลงไปของ Commodity Product นั้นๆ

ในการเทรด CFD นักลงทุนนิยมโฟกัสใน "สินค้ามหาชน" เท่านั้น เนื่องจากมีสภาพคล่องและจังหวะการสวิงที่กว้าง และมีความผันผวนในแต่ละช่วงของเวลาที่ค่อนข้างสม่ำเสมอซึ่งแตกต่างจากสินค้าเกษตรหลายชนิดที่มีสภาพคล่องน้อย ทำให้เกิดการกระโดดของราคาบ่อยๆ เช่น Feeder Cattle

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

กรณีของ Feeder Cattle ผู้ซื้อขายจะมีเพียงธุรกิจที่มีการซื้อขายเนื้อสัตว์กันจริงๆ และทำไปเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือ การทํา Commodity Hedging เท่านั้น ไม่เหมาะกับการเข้าไปลงทุนโดยตรงด้วย CFD เหมือนสินค้ากลุ่ม Metal, Energy เช่น ทองคำ, แร่เงิน, น้ำมัน เป็นต้น

ข้อดีของการเทรด Commodity CFD

วิธีเทรด Commodity ด้วย CFD ทำให้คุณสามารถเก็งกำไรได้ทั้ง "ขาขึ้น" และ "ขาลง" หมายความว่า คุณจะเลือก Buy เพื่อทำกำไรในตลาดขาขึ้น หรือเลือก Sell เพื่อทำกำไรในตลาดขาลงก็ได้ ซึ่งในกรณีที่ต้องการ Sell ก็ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องครอบครอง Commodity ไว้ในพอร์ตอยู่ก่อน

CFD อนุญาตให้คุณถือครอง Position ข้ามเดือนข้ามปีได้ โดยไม่ต้อง Rollover สัญญาแบบ "ฟิวเจอร์ส" ที่ทำให้ต้นทุนในการเข้าซื้อเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม CFD จะเรียกเก็บดอกเบี้ยข้ามคืน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากเพื่อเทียบกับการต้อง Rollver แบบฟิวเจอร์ส

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ข้อดีอีกประการของ Commodity CFD คือความสะดวกสบายในการบริหารพอร์ต ภาพด้านบนเป็นการเทรดทอง CFD ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มต้นของการระบาด Covid-19 เมื่อเศรษฐกิจเกิดความไม่แน่นอน นักลงทุนนิยมย้ายเงินเข้ามาไว้ในสินทรัพย์กลุ่ม Metal เช่น Gold, Silver

ในกรณีนี้ หากเราเลือกวิธีการเข้าไปซื้อ "ทองคำแท่ง" เก็บไว้ นอกจากเรื่องความยุ่งยากในการเก็บรักษาแล้ว เรายังต้องเจอค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่แพง ในขณะที่หากเราเทรด Spot ด้วย CFD ตรงๆ จะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ซื้อขายออนไลน์ได้ทันที และที่สำคัญคือสามารถใช้ Leverage ได้

ภาพด้านบน "ทอง" ถือเป็น Commodity ที่เป็น Safe Asset เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น มันสามารถให้ผลตอบแทนระดับ 30-40% ได้ไม่ยาก ยิ่งเราใช้ Leverage CFD เช่น 1:5 จากเดิมที่ได้กำไร 30% เราก็สามารถทำกำไรได้ 150% เป็นต้น โดยโบรกเกอร์ Admirals ให้ Leverage มากสุดถึง 1:500 เลยทีเดียว ทดลองใช้งานบัญชีทดลองเทรด และทดลองใช้บริการต่างๆ ของเราได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับเงินลงทุนจริงได้แล้ววันนี้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

เทรด Forex & CFDs

เข้าถึงคู่เงินมากกว่า 40+ ซื้อขายได้ตลอด 24/5

แนวทางการวิเคราะห์ราคา Spot ของ Commodity

Commodity แต่ละชนิดจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรุนแรง อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากที่สินค้านั้น ๆ เกิดขาดแคลนหรือมีมากเกินไปจนล้นตลาด รวมถึงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น

  • Supply

Supply หรือปริมาณสินค้า ตามหลักเศรษฐศาสตร์ หากสินค้าในตลาดมีมาก ราคาสินค้าก็ตกต่ำลง อย่างกรณีของ Commodity กลุ่มเกษตร จะมีความผันผวนในเรื่อง Supply จากสภาพภูมิอากาศ เช่น ความแห้งแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งแปลว่า "ปริมาณสินค้าจะน้อยลง" แบบนี้ก็ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นนั่นเอง

หรือกรณีของสงคราม ที่มีแนวโน้มทำให้ Commodity เกือบทุกกลุ่มจะแพงขึ้น เพราะหากเกิดสงครามในวงกว้าง ก็ไม่สามารถทำการเกษตรได้ แต่ทั้งนี้ อาจเป็นสงครามหรือก่อการร้ายที่มุ่งโจมตีเฉพาะบางสินค้า 

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ประเด็นนี้เป็นข่าวที่โด่งดังมาก เพราะเป็นโรงกลั่นสุดในโลกในซาอุดิอาระเบีย การหยุดทำงานของโรงกลั่น ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดลดลงถึง 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลที่ตามมาก็คือ ราคาน้ำมันดิบ Bent พุ่งสูงขึ้นกว่า 20% และเป็นการพุ่งแบบ "ราคากระโดด" สร้างความเสียหายให้นักลงทุนเป็นจำนวนมาก

  • Demand

Demand หรือความต้องการสินค้า เป็นประเด็นที่มีความหลากหลายมาก และมักเป็นเรื่อง "การเปลี่ยนพฤติกรรม" ของผู้บริโภค เช่น แนวโน้มการใช้พลังงานลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ บางสินค้าจะมี Demand พิเศษที่เกิดขึ้นเป็นบางช่วง เช่น ราคาก๊าซธรรมชาติ จะแพงขึ้นในช่วงหน้าหนาวของสหรัฐฯ, ยุโรป เนื่องจากมีความต้องการใช้งานเยอะขึ้นเพื่อสร้างความอบอุ่นในครัวเรือน

  • กราฟเทคนิค หรือ Technical Analysis

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เหมาะกับนักลงทุนรายย่อยมาก เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ไปที่กราฟราคาโดยตรง ซึ่งแก้ปัญหาที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่มีทรัพยากรมากพอในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งหมด จึงใช้การวิเคราะห์กราฟ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าเทรดและบริหารความเสี่ยง

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

จากตัวอย่างกราฟ NGAS หรือก๊าซธรรมชาติ ด้านบนนั้น จะเป็นการเทรดในลักษณะที่เรียกว่า Swing Trading โดยใช้ไทม์เฟรมระดับกลาง คือ 4 ชั่วโมง แนวคิดคือ รอให้ราคาทะลุกรอบ Sideway ออกมาและเคลื่อนเป็นแนวโน้มชัดเจนก่อน หลังจากนั้นจึงเข้า Sell เมื่อราคาปะทะเส้น EMA ตามลูกศร

หุ้น Commodity มีอะไรบ้าง

การเทรด Commodity แบบ Spot หรือ CFD นั้นจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา Commodity ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีอัตราการเหวี่ยงที่รุนแรง โดยเฉพาะทองคำ, น้ำมัน ดังนั้น นักลงทุนหลายคนจึงเลือกที่จะลงทุนในหุ้น Commodity เนื่องจากมีโอกาสง่ายกว่าที่จะกำไรได้ในระยะยาว

หุ้น Commodity คือ บริษัทที่มีรายได้จาก Commodity Product ซึ่งอาจเป็นการขุดเจาะ, พ่อค้าคนกลาง หรืออาจเป็นปลายน้ำก็ได้ แต่ลักษณะร่วมที่สำคัญของหุ้นเหล่านี้ คือการที่ราคามักจะสอดคล้องไปกับราคา Commodity

บริษัทเหล่านี้มีมากมายให้ลงทุนในตลาด เช่น Wheaton Precious Metals, Rio Tinto Group, Southern Copper Corp. เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในที่นี่จะยกมาอธิบายที่เด่นๆ 2 บริษัท ได้แก่

  • BHP Group
  • Exxon Mobil

BHP Group

BHP Group ถือเป็นหุ้น Commodity ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะยาวมาก ๆ โดยเป็นบรรษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจเหมืองโลหะและกิจการด้านปิโตรเลียม เคยเป็นบริษัทเหมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2017 เมื่อวัดตามมูลค่าบริษัทหรือ Market Cap แต่แม้จะความผันผวนของราคาบ้าง ขนาดกิจการก็ติดดับ 1-3 ของโลกมาโดยตลอด

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

BHP เป็นเจ้าของงานเหมืองและงานขุดเจาะใน Commodity Product ที่สำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนิกเกิล, โปแตช, กลุ่มพลังงานทั้งหมด และแน่นอนว่า "ทองแดง" กับ "เหล็ก" ที่เป็น Commodity ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ก็เป็นทาง BHP ที่ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้

Exxon Mobil

BHP แทบจะครอบคลุมตลาด Commodity ทุกประเภท แต่ความแตกต่างระหว่าง BHP กับ Exxon Mobil คือพอร์ตการลงทุนของ Exxon Mobil จะเน้นที่ด้านพลังงานโดยตรง ทำให้ราคาหุ้น Exxon Mobil มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันดิบมากเป็นพิเศษ

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

Exxon Mobil คือ บรรษัทน้ำมันข้ามชาติรายใหญ่ของโลกที่มีศูนย์กลางในเท็กซัส, สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าเป็น "ทายาท" ของตำนานเจ้าพ่อน้ำมันอย่าง Rockefeller ซึ่งชื่อ Exxon Mobil ตั้งขึ้นมาใหม่ในปี 1999 ที่ทำการควบรวมระหว่าง 1] Exxon กับ 2] Mobil ซึ่งความจริงมันก็คือ ควบรวม "Standard Oil" สาขา New Jersey กับ New York เข้าด้วยกันนั่นเอง

Commodity Trading คือ ? ทำไมต้องเทรดกับ Admirals?

  • สามารถใช้ 'เลเวอเรจ' ลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ "Leverage คือ"
  • Negative Balance Protection: คุ้มครองเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าศูนย์ บัญชีเทรดจะไม่มียอดติดลบ นักลงทุนจะไม่มีโอกาสเป็นหนี้โบรกเกอร์แบบตลาดหุ้นทั่วไป
  • เทรดด้วยแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้งบน Windows, Mac, Web, Android และ iOS
  • ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของตัวบัญชีได้ด้วยการเข้าไปเทรด Hedging ได้ตลอด 24 ชั่วโมง / 5 วันต่อสัปดาห์

สำหรับท่านที่ต้องการเปิดบัญชีเทรด Commodity ออนไลน์ หรือต้องการทดลองใช้ "ระบบเงินจำลอง" ซึ่งจำลองเงินมาให้คุณฝึกเทรดทองในตลาดจริงๆ ได้ คุณสามารถลงทะเบียนเปิดใช้งานได้ฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

กองทุน Commodity

เรากำลังพูดถึง ETF โดยนักลงทุนสามารถเลือกกองทุนของ Commodity คือที่ลงทุนในภาพรวมของ Commodity Market หรือจะเลือกกองทุนที่เน้น Commodity เป็นรายตัวอย่าง เช่น กองทุนที่เทรดแต่น้ำมัน หรือเทรดแต่ทองคำ แบบนี้ก็ได้เช่นกัน

โดยกลยุทธ์การเทรด Commodity โดยเลือกกองทุน Commodity ที่น่าสนใจในตลาดนั้นมีหลากหลายเจ้ามาก เช่น iShares, Vanguard, Invesco, Charles Schwab ในบทความนี้จะเลือกแนะนำให้รู้จักเพียง 1 เจ้า คือ SPDR ในกองที่ชื่อว่า "SPDR S&P Oil & Gas Exploration & Production"

SPDR S&P Oil & Gas Exploration & Production

กองทุน Commodity ของ SPDR กองนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะพูดถึง "ผลตอบแทน" เป็นอันดับแรก แม้เราจะทราบดีว่า สินทรัพย์ในสายพลังงานทั้งหมดให้ผลตอบแทนในระดับ 4-5 เท่าจากจุดต่ำสุดในปี 2020 อย่างไรก็ตาม SPDR กองนี้ ทำผลตอบแทนชนะตลาดน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นการชนะอย่างน้อย 3 เท่าจากกองทุนอื่น ๆ

กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

กองทุนนี้มีการกระจายการซื้อหุ้นแบบ multi-Cap คือไม่ให้ยึดติดกับขนาดหุ้นเฉพาะเล็กหรือใหญ่ แต่กระจายไปหุ้นละ 2-3% แต่แน่นอนว่า ราวๆ 90-92% เป็นบริษัทด้าน Oil & Gas การที่ผลตอบแทนทำได้หลัก 1,000% หมายความ หุ้นที่กองทุนเลือกมา มีหุ้นหลายตัวที่ทำผลงานชนะตลาดแบบฉีกมากๆ เช่น Phillips 66, Devon Energy, ConocoPhillips เป็นต้น

ทำไมต้องเทรด Commodity ?

การเติบโตขึ้นของจำนวนประชากร ส่งผลให้เกิดความต้องการในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้ทรัพยากรทั้งในกลุ่ม Metal, Energy มากขึ้น และแน่นอนว่า จำนวนประชาชนที่มากขึ้นก็ย่อมทำให้สินค้าเกษตรอาจมีแนวโน้มที่แพงขึ้น เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ทันความต้องการ ประกอบกับแนวโน้มของสภาวะโลกร้อนที่จะยิ่งทำให้การเกษตรเป็นไปอย่างยากลำบาก

อีกทั้งยังมีทั้งปัจจัยที่ทำให้ Demand เพิ่งสูงขึ้น และยังมีปัจจัยที่ทำให้ Supply ลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้ ควรจะส่งผลให้ราคา Commodity พุ่งสูงขึ้นอีกในระยะยาว และนอกจากประเด็นในเรื่องราคาแล้ว การลงทุน Commodity นั้นเป็นเหตุผล ดังนี้

1. เหตุผลในการกระจายการลงทุน

แน่นอนว่า "อย่าใส่ไข่ทั้งหมดลงในตะกร้าเพียงใบเดียว" และเหตุผลของการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ใช่เพียงเพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจใช้เป็นลักษณะของการบริหารความเสี่ยง โดย Commodity ส่วนใหญ่มีสถานะเป็น "เครื่องมือปกป้องเงินเฟ้อ" โดยในสถานการณ์ที่มีความสุ่มเสี่ยงที่ค่าเงินจะอ่อนค่าลง นักลงทุนสถาบันนิยมย้ายเงินมาไว้ใน Commodity เช่น ทองคำ, แร่เงิน ฯลฯ

2. ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีความมั่นคงสูงมาก

Commodity Market คือ ตลาดที่มีพัฒนาการที่ยาวนาน หรือผู้เล่นที่มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก และเป็นสินค้าที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ทำให้โอกาสที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะกลายเป็นศูนย์นั้นแทบจะไม่มีเลย โดยเฉพาะ ทองคำที่หลายคนอาจมองเป็นเครื่องประดับ แต่มันก็มี "ผู้เล่น" ในภาคธุรกิจจริงๆ ที่ซื้อทองคำไปเผื่อผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับการระดมทุนในโครงการสกุลเงินดิจิทัล (คริปโต) ตัวใหม่ๆ ที่ยังมีความเสี่ยงที่จะโดน Rug Pull หรือ "ได้เงินแล้ว แต่ผู้พัฒนามอบเงินหนีไป" โครงการก็ล้มลง ไม่มีใครพัฒนาต่อ เหรียญของโครงการนั้นก็กลายเป็นศูนย์

สร้างกลยุทธ์การเทรด Commodity ใช้งาน MT5 และเปิดบัญชีทดลองเทรดฟรี! เทรดตลาด Commodity สำคัญๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

คำถามที่พบบ่อยในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น มีอะไรบ้าง ?

สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น หรือหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์นั้นสามารถซื้อขายในหุ้นที่หลากหลาย ได้แก่ กาแฟ น้ำตาล โกโก้ ทองคำ เงิน ทองแดง น้ำมัน หรือวัสดุพื้นฐานที่ใช้สร้างผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น อาหาร รถยนต์ อาคาร เป็นต้น

 

วิธีเทรด Commodity ทำอย่างไร ?

วิธีเทรด Commodity หรือการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ สามารถทำได้ด้วย CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) โดยคุณสามารถคาดเดาทิศทางราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง (สินค้าโภคภัณฑ์นั้นๆ จริงๆ) ซึ่งคุณสามารถเลือกเทรดระยะยาวหรือในระยะสั้นตามกลยุทธ์หรือแผนการลงทุนที่ตั้งใจไว้

 

สินค้า Commodity มีอะไรบ้าง

สินค้า Commodity หรือ Commodity Product คือผลิตภัณฑ์ที่ส่วนมากใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่างๆ โดยนิยมแบ่งสินค้าโภคภัณฑ์เป็นกลุ่มๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคพลังงาน กลุ่มโลหะมีค่า โลหะอุตสาหกรรม และภาคปศุสัตว์

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) Jitanchandra Solanki (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด