ลงทุนในโลหะมีค่า คู่มือสำหรับมือใหม่!

Admirals

โลหะมีค่าและการลงทุนในโลหะมีค่า เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้คนเป็นเวลานับพันปี โดยเฉพาะโลหะมีค่าอย่าง ทองคำและแร่เงิน (Silver) เนื่องจากคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างการหาได้ยากทำให้มีคุณค่าเฉพาะตัว และได้รับการยอมรับในการฐานะมูลค่าที่สามารถแลกเปลี่ยนหรือส่งต่อผ่านผู้คนต่างๆ แต่ด้วยราคาที่สูงมากจึงไม่นิยมนำมาใช้จ่ายในฐานะสกุลเงิน แต่ถูกใช้เป็นสินทรัพย์ในการลงทุน และใช้เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแทน

การลงทุนในโลหะมีค่า - คืออะไร ?

โลหะมีค่า หรือ Precious Metal คือ องค์ประกอบทางเคมีจากกลุ่มโลหะที่หาได้ยากในธรรมชาติ ทนทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดออกซิเดชัน มีคุณสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาและการควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ดี และที่สำคัญคือยังมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย 

ในปี 1864 William Odling ได้ตีพิมพ์ตารางธาตุซึ่งจัดกลุ่ม "โลหะมีค่า" หลายชนิดที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน โดยมี Gold (ทองคำ) เงิน (Silver) Rhodium (โรเดียม) Ruthenium (รูทีเนียม) Palladium (แพลเลเดียม) Platinum (แพลทินัม) และ Iridium (อิริเดียม) 

โลหะมีค่า - ทำอะไรได้บ้าง ?

นอกจากการใช้ในการแลกเปลี่ยนในอดีตแล้ว โลหะมีค่ายังมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • จิวเวลรี่ - ทองคำ เงิน แพลทินัม และแพลเลเดียม
  • อิเล็กทรอนิกส์ - ทองคำ เงิน แพลทินัม รูทีเนียม
  • ยา - ทองคำ เงิน แพลทินัม อิริเดียม
  • พลังงานแสงอาทิตย์และนิวเคลียร์ - เงิน
  • การถ่ายภาพ - เงิน (ใช้ในฟิล์มถ่ายภาพ)
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ - แพลทินัม แพลเลเดียม โรเดียม รูทีเนียม และออสเมียม
  • อุตสาหกรรมน้ำมัน -แพลทินัม และออสเมียม

การลงทุนในโลหะมีค่า - มีอะไรบ้าง ?

  • Gold (ทองคำ)
  • เงิน (Silver)
  • โลหะในกลุ่ม Platinum (แพลทินัม) Ruthenium (รูทีเนียม) Rhodium (โรเดียม) Palladium (แพลเลเดียม) Osmium (ออสเมียม) Iridium (อิริเดียม) และ Platinum (แพลทินัม) 

ในอดีต Aluminum (อะลูมิเนียม) ถือเป็นโลหะมีค่า และมีราคาแพง เนื่องมาจากวิธีการสกัดที่ยาก แต่หลังจากค้นพบว่าเป็นองค์ประกอบทางเคมีที่พบมากที่สุดในโลกก็ทำให้อะลูมิเนียมถูกลบออกจากรายการของโลหะมีค่าไป

ทำไมต้องลงทุนในโลหะมีค่า - ข้อดี 

  • ปกป้องเงินทุนจากภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยในหลายส่วนของโลกเป็น 0 หรือติดลบ ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางและรัฐบาลต้องเพิ่มปริมาณเงินผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2010-2020) ธนาคารกลางเป็นผู้เล่นหลักในการซื้อทองคำสุทธิ และรองรับราคาได้อย่างแน่นอน

  • ใช้ในการทำ Hedging (ป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง) เช่น การล่มสลายทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางทหารและการค้า ภัยธรรมชาติ โรคระบาดทั่วโลก เป็นต้น
  • สร้างโอกาสในการเพิ่มทุน หากราคาของโลหะมีค่าที่ลงทุนเพิ่มขึ้น
  • สามารถใช้ในการกระจายพอร์ตสินทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร เงินฝากธนาคาร เป็นต้น
  • สภาพคล่องสูง ทำให้สามารถซื้อ/ขายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในต้นทุนที่ต่ำ (ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนออนไลน์ในทองคำและโลหะมีค่า)

Citigroup Inc. คาดการณ์ว่าความต้องการโลหะมีค่าในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 450 ตัน (หลังจากที่ลดลงมาอยู่ที่ 375 ตันใน 2021 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี) โดย HSBC Securities Inc. (USA) คาดการณ์ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากประมาณ 390 ตันในปี 2020 เป็น เป็น 400 ตัน 

ภาพจาก : Bloomberg - กราฟการซื้อทองคำสุทธิของธนาคารกลางทั่วโลก รวมทั้งการคาดการณ์การซื้อทองคำของ Citigroup Inc. ในปี 2020 และ  2021

ทำความเสี่ยงในการลงทุนโลหะมีค่า

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ แม้ว่าการลงทุนทองคำหรือการเทรดทองที่มักจะถูกมองว่าเป็น "Recession Proof" ซึ่งการลงทุนในโลหะมีค่าก็มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • ช่วงเวลาที่มีความผันผวนของราคาสูง
  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองของพื้นที่/ประเทศที่มีเหมืองโลหะมีค่า
  • ความต้องการโลหะมีค่าบางชนิดที่ลดลง จากการแทนที่ด้วยโลหะอื่นๆ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่มีต้องการโลหะมีค่าลดลง
  • กฎระเบียบใหม่ในภาคสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

แต่คุณก็สามารถจำกัดความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยกลยุทธ์ในการลงทุนโลหะมีค่าที่เหมาะสม ซึ่งสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับสัมนาออนไลน์ ฟรี ของเรา ที่มีทั้งการเทรดสดออนไลน์ และสัมนาในหลากหลายหัวข้อจากเหล่าเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก พร้อมเรียนรู้จากการเทรดจริงได้ในบัญชีทดลองเทรดของเรา รายละเอียดเพิ่มเติมหรือเปิดบัญชีทดลองเทรดฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาโลหะมีค่า

ราคาโลหะมีค่าไม่เพียงมีความสำคัญต่อผู้ผลิตและผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือติดตามภาวะเศรษฐกิจและตลาดมาช้านาน ซึ่งปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลต่อราคาของโลหะมีค่ามี ดังนี้

1. อุปสงค์ อุปทาน และความคาดหวังต่ออุปสงค์อุปทานในอนาคต

ความต้องการและความคาดหวังที่สูงขึ้นสำหรับความต้องการที่สูงขึ้นในอนาคต อาจส่งผลให้ราคาโลหะมีค่าสูงขึ้นและลดลงได้

2. ราคาของ USD

เนื่องจากมีการซื้อขายโลหะมีค่าในสกุลเงิน USD การอ่อนค่าของ USD ก็อาจทำให้ราคาโลหะมีค่าสูงขึ้น

3. อัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงิน

ยิ่งอัตราดอกเบี้ยต่ำลง หรือนโยบายของธนาคารกลางหลักทั่วโลกผ่อนคลายมากขึ้น ราคาโลหะมีค่าก็จะยิ่งสูงขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อที่อาจสูงขึ้นและอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์อย่างพันธบัตรลดลง

4. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแออาจทำให้นักลงทุนต้องเพิ่มความต้องการสินทรัพย์ที่ลี้ภัยอย่างทองคำ และลดความต้องการโลหะที่มีความเสี่ยง เช่น แพลเลเดียม (ขึ้นอยู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ) และหากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ที่รายงานพักอาศัยอ่อนแอลง ซึ่งจะส่งผลให้สินทรัพย์มีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

5. ความไม่แน่นอนทางการเมือง

ความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจส่งผลต่องความต้องการของนักลงทุน และผลักดันให้ผู้เข้าร่วมตลาดแสวงหาความเสี่ยงหรือความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในภูมิภาคที่มีการขุดโลหะมีค่าอาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดลง ทำให้เกิดอุปทานที่ลดลงและราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

การเทรดโลหะมีค่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ ?

คำตอบสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล ที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

  • โอกาสของแต่ละบุคคล: โอกาสของเทรดเดอร์และนักลงทุนที่แตกต่างกัน ดังนั้ นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนในการเริ่มต้นของแต่ละคน

  • เป้าหมายทางการเงิน: คุณสามารถสร้างเป้าหมายในการลงทุนในกรอบเวลาที่ต้องการ โดยเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระยะสั้น การลงทุนระยะยาว หรือการลงทุนสะสม (สะสมรายเดือนที่สามารถทำให้ผลตอบแทนได้ที่อาจไม่มากนัก เมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้) 

    สิ่งสำคัญคือคือการเริ่มระบุเป้าหมายทางการเงิน ว่าต้องการอะไรในอนาคต คุณอาจต้องการซื้อบ้านหรือรถยนต์ จัดหาเงินทุนเพื่อการศึกษา หรือวางแผนวันหยุดพักผ่อนในต่างประเทศ ดังนั้น การเริ่มต้นอย่างมีเป้าหมายนจะช่วยให้สามารถสร้างแผนการลงทุนอย่างเหมาะสม
  • ความเสี่ยงที่รับได้: การยอมรับความเสี่ยงหรือความสามารถในการรับความเสี่ยงนี้ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น รายได้ปัจจุบัน เงินออม ค่าใช้จ่าย ภาระผูกพันทางการเงิน และความคุ้มครองทางการเงินที่เพียงพอสำหรับชีวิตและสุขภาพ และสุดท้ายคืออารมณ์ในการรับมือกับความเสี่ยงของคุณ

อยากลงทุนโลหะมีค่า เริ่มยังไง ?

นักลงทุนต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับตนเอง โดยคำนึงถึงความสามารถส่วนบุคคล เป้าหมายทางการเงินและการยอมรับความเสี่ยงของตน ซึ่งสามารถเลือกลงทุนหรือซื้อขายโลหะมีค่าได้หลักๆ 6 รายการ ดังนี้

1. การซื้อโลหะมีค่าทางกายภาพ

เมื่อพูดถึงวิธีลงทุนในโลหะมีค่า คนส่วนใหญ่นึกถึงการซื้อทองคำแท่ง เหรียญ แท่งโลหะ หรือแม้แต่เครื่องประดับ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการลงทุนโลหะ แม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ แต่ก็เป็นวิธีที่ต้องใช้เงินทุนที่สูง พร้อมด้วยคอมมิชชั่นในการซื้อและขายที่สูง อีกทั้งยังต้องมีพื้นที่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษา หรือความไม่สะดวกในการซื้อขายที่จำกัดตามน้ำหนักเฉพาะเท่านั้น และที่สำคัญคือมีระยะเวลาในการซื้อขายที่จำกัดในแต่ละวัน 

การลงทุนทองคำจริงๆ หรือซื้อขายทางกายภาพนี้จึงอาจไม่เหมาะสมสำหรับทุกคน อีกทั้งยังมีข้อจัดสำหรับโอกาสในการทำกำไรอีกมากเมื่อเทียบกับการเทรดทองออนไลน์

2. การซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นเหมืองทอง

การซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นเหมืองทอง หรือบริษัทสกัดโลหะมีค่าต่างๆ นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการลงทุนออนไลน์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์จากราคาในตลาดที่สูงขึ้นสำหรับการขุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะทำให้หุ้นนั้นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

การลงทุนในหุ้นทองคำมีข้อดี คือ มีสภาพคล่องสูงมากกว่าตลาดจริงของโลหะมีค่า ทำให้คุณสามารถเข้าถึงโอกาสในตลาดด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่นการซื้อหุ้นที่ต่ำ (ค่าคอมมิชชั่นของ Admirals เริ่มต้นที่ $0.02 โดยมีขั้นต่ำ $2 ต่อธุรกรรม) เพื่อสร้างโอกาสในการกระจายสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนของคุณด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการซื้อขายโลหะมีค่านั้นจริงๆ (แต่บางครั้งราคาหุ้นบริษัทนั้นๆ ก็อาจไม่เป็นไปตามราคาของโลหะมีค่าอ้างอิง)

โดยมี ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินการในเหมืองทองคำอย่าง Newmont Mining และ Barrick Gold ผู้ผลิตแร่เงินรายใหญ่ Pan American Silver และ Fresnilo และผู้ผลิตทองคำขาวชั้นนำ Anglo American Plc เป็นต้น 

ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบกราฟราคาของผู้ผลิตทองคำรายใหญ่อันดับสองของโลก Barrick Gold ได้จากกราฟด้านล่าง

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 กราฟราคารายสัปดาห์ของ #ABX ในช่วงวันที่: 17 ก.พ. 2013 - 8 ธันวาคม 2020 วันที่เก็บภาพ: 8 ธันวาคม 2020 หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็๋นข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

3. การลงทุนใน ETF โลหะมีค่า

กองทุนทองคำ หรือ ETF โลหะมีค่าอื่นๆ คือการลงทุนโดยตรงในโลหะมีค่าหรือในหุ้นของบริษัทสำหรับโลหะมีค่านั้นๆ โดย ETF คือ ตะกร้าหลักทรัพย์ที่คุณสามารถซื้อและขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องผ่านตัวกลางการลงทุน ซึ่งกองทุน ETF นี้จะติดตามประสิทธิภาพของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น ดัชนี ตะกร้าหุ้นหรือพันธบัตร สกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงโลหะมีค่าด้วย 

ซึ่งการลงทุนในกองทุน ETF นั้นมีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิชชันจะเหมือนกับการซื้อขายหุ้น แต่จะเป็นการลดความเสี่ยงได้มากกว่า เนื่องจากเลือกเทรดในหลายบริษัท ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้น และมาพร้อมกับสภาพคล่องที่สูงกว่า และยังสามารถรับเงินปันผล ช่วยในการกระจายพอร์ต และเริ่มต้นในต้นทุนที่ไม่สูงมากอีกด้วย!

แต่ด้วย ETF คุณจะไม่มีสินทรัพย์ทางกายภาพในครอบครอง และ ETF บางกอง (มักลงทุนในหุ้น) ก็อาจมีราคาที่แตกต่างจากราคาของโลหะมีค่าจริงๆ 

ซึ่งกองทุน ETF ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับโลหะจริงๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของทางกายภาพคือ SPDR Gold Trust ซึ่งจัดการสินทรัพย์มากกว่า 76 พันล้านดอลลาร์ (ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2020) สามารถดูจากกราฟราคาด้านล่าง

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 กราฟราคารายสัปดาห์ของ #GLDAR ในช่วงวันที่: 10 ก.พ. 2013 - 8 ธันวาคม 2020 วันที่เก็บภาพ: 8 ธันวาคม 2020 หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็๋นข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

4. ลงทุนใน CFD ทองคำ หรือโลหะมีค่าอื่นๆ 

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เป็นอนุพันธ์ทางการเงินที่เป็นข้อตกลงระหว่างเทรดเดอร์และโบรกเกอร์เพื่อแลกเปลี่ยนส่วนต่างในราคาของสินทรัพย์ สัญญานี้มีผลใช้บังคับจนกว่าผู้ซื้อขายจะปิด และการชำระเงินภายใต้สัญญาจะดำเนินการผ่านโบรกเกอร์แทนการส่งมอบสินทรัพย์ที่ซื้อขายจริง

กล่าวได้ว่า CFD ให้ประโยชน์แก่นักลงทุนในการลงทุนในตราสารทางการเงิน ได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของ พร้อมข้อดีต่างๆ ดังนี้

  • Short Sell การซื้อขาย CFD ในปัจจุบันคือความเป็นไปได้ในการเปิดสถานะขาย ทำให้คุณอาจได้รับประโยชน์จากตลาดโลหะมีค่าทั้งขาขึ้นและขาลง
  • เลเวอเรจ (Leverage) สามารถซื้อขายและจัดการเงินในจำนวนที่มากกว่าที่มีในบัญชีซื้อขายของ ด้วยการใช้เลเวอเรจ
  • สามารถทำธุรกรรมภายในหนึ่งวันหรือสั้นกว่านั้น 
  • เข้าถึงตลาดโลกได้ง่าย หลากหลายตลาด เช่น หุ้น พันธบัตร สกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงินดิจิทัล (คริปโต) เป็นต้น
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเปิดและปิดตำแหน่งในการซื้อขาย CFD กับ Admirals 
  • เทรด CFD โลหะมีค่า ได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • เทรด CFD กับ Admirals ได้หลายรูปแบบ

แต่การเทรด CFD ก็มีข้อเสีย ดังนี้

  • ไม่สามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง
  • CFD อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการควบคุมน้อยกว่า บางโบรกเกอร์อาจเสนอขายโดยไม่มีใบอนุญาต
  • เลเวอเรจอาจเป็นดาบสองคม คือนอกจากการเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังเพิ่มการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย
  • มีค่าธรรมเนียมข้ามคืน

สามารถตรวจสอบกราฟราคา CFD แพลทินัม ได้จากภาพด้านล่าง

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 กราฟราคารายสัปดาห์ของ CFD แพลทินัม ในช่วงวันที่: 17 ก.พ. 2013 - 8 ธันวาคม 2020 วันที่เก็บภาพ: 8 ธันวาคม 2020 หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็๋นข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

คุณสามารถซื้อขาย CFD ทองคำ เงิน แพลทินัม และแพลเลเดียมได้อย่างปลอดภัยกัลโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมรางวัลการันตีที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานมากกว่า 20 ปี อย่าง Admirals ได้แล้ววันนี้ หรือหากยังไม่มั่นใจสามารถเริ่มต้นไปกับคอร์สการเทรดอย่างกับเรา คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อสมัครหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย!

Zero to Hero

เรียนรู้การเทรดใน 20 วัน ตั้งแต่การตั้งค่าไปจนถึงการเทรดจริง!

5. ลงทุนในฟิวเจอร์สทองคำหรือโลหะมีค่าอื่นๆ 

ฟิวเจอร์สหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นตราสารอนุพันธ์ที่เป็นข้อตกลงในด้านหนึ่งในการซื้อและจัดหาสินค้า ซึ่งในกรณีนี้คือโลหะมีค่า ผู้ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตกลงที่จะชำระเงินและผู้ขายจะส่งมอบ

ซึ่งมาพร้อมกับข้อดีอย่าง สภาพคล่องมากกว่าและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการซื้อขายและการลงทุนในโลหะมีค่ามากกว่าการซื้อจริง ไม่มีค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ช่วยกระจายสินทรัพย์ในพอร์ตและสามารถเทรดฟิวเจอร์สโลหะมีค่าตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ 

แต่การเทรด
เทรดฟิวเจอร์สจะหมดอายุในวันที่กำหนด ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์หรือนักลงทุนทำได้ยากหากต้องการเปิดสถานะระยะยาว และอาจต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่มากขึ้น เนื่องจากขนาดของสัญญาที่ค่อนข้างใหญ่ (สามารถแก้ไขได้โดยใช้ CFD ในฟิวเจอร์ส)

สามารถดูกราฟราคา CFDs ในฟิวเจอร์สทองคำที่มีการส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 จากภาพด้านล่าง

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 กราฟราคารายสัปดาห์ของ CFD ฟิวเจอร์สทองคำ ในช่วงวันที่: 9 ต.ค. 2019 - 8 ธ.ค. 2020 วันที่เก็บภาพ: 8 ธ.ค. 2020 หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็๋นข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

6. การซื้อขายลงทุนในออปชั่น (Options) โลหะมีค่า

แม้จะไม่ได้รับความนิยมน้อยมากนัก แต่ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คุณเริ่มลงทุนในโลหะมีค่าได้ คือ การลงทุนแร่เงินหรือแพลทินัม

โดนออปชันให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อ แต่ไม่มีข้อผูกมัดในการซื้อ (call option)หรือขาย (put option) ในสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งในกรณีนี้คือโลหะมีค่า โดยการทำธุรกรรมจะต้องสรุปราคาให้ได้ในราคาที่แน่นอนก่อนวันที่กำหนดในอนาคต

โดยราคาของออปชั่นขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาดท โดยมีข้อดีที่สามารถจำกัดการสูญเสียอยู่ที่ค่าพรีเมียมที่จ่ายสำหรับออปชันได้

คุณสามารถเริ่มการซื้อขายออนไลน์ในโลหะมีค่าและเครื่องมือทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการด้วยแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งของโลก - MetaTrader 5 จาก Admirals ดาวน์โหลด MT5 ฟรี ได้แล้ววันนี้คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

คำถามที่พบบ่อยในการลงทุนโลหะมีค่า

ลงทุนโลหะมีค่ามีความเสี่ยงต่ำจริงไหม ?

โดยรวมแล้ว โลหะมีค่าเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ประเภทที่ปลอดภัยที่สุด แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ทองคำและเงิน (Silver) ก็มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนทางการเงินอื่นๆ

 

ลงทุนโลหะมีค่าต่างกับลงทุนหุ้นยังไง ?

การลงทุนโลหะมีค่าเทียบกับตลาดหุ้น แต่มีความแตกต่างคือ หุ้นถูกจัดประเภทเป็น "ตราสารทุน" ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นถือหุ้นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ออกหุ้น ในขณะที่โลหะมีค่าถูกจัดประเภทเป็น "สินค้าโภคภัณฑ์" หมายความว่าเจ้าของโลหะมีค่าจะลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางกายภาพที่แตกต่างออกไป

 

ทำไมใครๆ ก็ลงทุนในโลหะมีค่า ?

โลหะมีค่าเป็นสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะทองคำที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ทองคำ 1 ออนซ์ก็ยังคงเหมือนเดิม ทำให้เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่ดีตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ผู้คนยังชื่นชอบการซื้อขายโลหะมีค่า เพื่อป้องกันอัตราเงินเฟ้อและใช้เป็นเกราะป้องกันกำลังซื้อของตนอีกด้วย

รู้จักกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย และได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลกกว่า เช่น FCA, CySEC, ASIC, IIROC, EFSA, JSC เป็นต้น โดย Admirals ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

ข้อมูลเกี่ยวกับบทความ/สื่อที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์:

บทความหรือสื่อที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทั้งหมด ทั้งการประมาณการ การคาดการณ์ การทบทวนตลาด มุมมองรายสัปดาห์ หรือการประเมินหรือข้อมูลอื่นที่คล้ายคลึงกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า "การวิเคราะห์") ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทการลงทุนของ Admirals ที่ดำเนินการภายใต้เครื่องหมายการค้า Admirals (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "Admirals") โปรดทำความเข้าใจในข้อมูลเหล่านี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน

  • บทความนี้คือการสื่อสารการตลาด โดยมีเนื้อหาในการเผยแพร่เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น จึงไม่สามารถตีความว่าเป็นคำแนะนำหรือคำแนะนำในการลงทุนได้ อีกทั้งบทความนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นตาม
    ข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใดๆ ในการดำเนินการก่อนการเผยแพร่งานวิจัยด้านการลงทุน
  • ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนทั้งหมดด้วยตนเอง Admirals จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะอิงจากเนื้อหาหรือไม่ก็ตาม
  • Admirals ได้กำหนดขั้นตอนภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ด้วยมุมมองที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าและการวิเคราะห์ข้อมูล
  • บทความวิเคราะห์นี้ จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระผู้ร่วมให้ข้อมูลอิสระ (ต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้เขียน") ตามการประเมินส่วนบุคคล
  • เราพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดเชื่อถือได้และข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอนี้เข้าใจง่าย ทันเวลา แม่นยำ และครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ Admirals จะไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ข้อมูลที่มีอยู่ในการวิเคราะห์
  • ไม่ควรตีความว่าผลการดำเนินงานของเครื่องมือทางการเงินในอดีตหรือแบบจำลองใดๆ ที่ระบุในเนื้อหาว่าเป็นคำแนะนำโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยนัย จาก Admirals สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง และไม่รับประกันการรักษามูลค่าของสินทรัพย์
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับส่วนต่าง; CFD) เป็นการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนหรือกำไร โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี 
TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด