Risk Reward Ratio คืออะไร - สำคัญต่อการเทรดหุ้น, Forex อย่างไร?

Admirals
10 นาที

ในชีวิตประจำวันทั่วไป มักจะมีความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนในทุก ๆ ทางเลือกของการกระทำของคุณ หากคุณต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น คุณมักจะต้องรับความเสี่ยงมากขึ้น และแน่นอนว่า ในการเรื่องของการลงทุนย่อมอยู่ภายใต้กรอบความคิดเรื่อง Risk & Reward

Risk Reward Ratio คืออะไร

Risk Reward Ratio (RRR) คือ สัดส่วนที่เปรียบเทียบระหว่าง "ความเสี่ยง" เป็นจำนวนเงินที่ต้องสูญเสีย เทียบกับผลตอบแทนเป็น "จำนวนเงินที่จะได้รับ" ว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยงเข้าไปลงทุนในแต่ละครั้งหรือไม่ ทั้งนี้ ในการเข้าเทรดแต่ละครั้ง เทรดเดอร์จะใช้วิธีตั้ง Stop Loss ตาม Risk ที่เป็นได้ได้ ในขณะที่จะวาง Take Profit ตามเป้าหมายราคาที่สมเหตสมผลตามแต่กลยุทธ์ ซึ่งการกำหนด RRR ไว้ล่วงหน้านั้น จะทำให้เทรดเดอร์ สามารถลงทุนได้อย่างเป็นระบบ มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องน้อย

ผลตอบแทน คืออะไร?

ในการซื้อขายและการลงทุนนั้นค่อนข้างตรงไปตรงมาที่จะเข้าใจแนวคิดเรื่อง "ผลตอบแทน" เป็นผลกำไรที่เราหวังว่าจะได้มาจากการลงทุนของเรา กำไรนี้จะมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์ที่เราซื้อขาย (เช่น ซื้อต่ำ แล้วไปขายสูง) หรือจากรายได้ที่เกิดจากการลงทุนของเรา (เช่น การได้รับเงินปันผล, สินทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่าง ๆ)

Risk Reward Ratio คำนวณอย่างไร

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณตัดสินใจซื้อหุ้น Apple ในราคา $135 ต่อหุ้น หากคุณวาง Stop Loss ที่ราคา $130 ต่อหุ้น และวางคำสั่ง Take Profit ที่ $160 ต่อหุ้น ตอนนี้การขาดทุนสูงสุด (หรือ "ความเสี่ยง") ที่เป็นไปได้ของเราคือ $5 ต่อหุ้น และผลกำไรสูงสุดที่เป็นไปได้ของคุณคือ $25 ต่อหุ้น จะเห็นว่า ความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนจะได้ 5:25 หรือคิดเป็นอัตรา 1 ต่อ 5

Admirals MetaTrader 5 - กราฟ Weekly หุ้น Apple ช่วงวันที่: 17 May 2015 - 4 Feb 2021 คำเตือน - ผลการดำเนินงานในอดีตไม่จำเป็นต้องบ่งบอกถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

นักลงทุนที่มีวินัย มักจะกำหนดอัตราส่วนความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนเป็นเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม เพียงเพราะคุณตั้งเป้าหมาย RRR ไว้ที่ 1:3 ในการเทรดทั้งหมดของคุณนั่น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำเงินได้ 3 GBP สำหรับทุก ๆ 1 ที่คุณเสียไป เพราะการกำหนด RRR เป็นคนละเรื่องกับความน่าจะเป็นที่ราคาของสินทรัพย์จะไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ

ความเสี่ยง คืออะไร?

ความเสี่ยง คือ ความเป็นไปได้ที่จะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ ราคาหุ้นอาจจะไม่ได้ขึ้นอย่างที่คิด หรืออาจเป็นกรณีที่บริษัทไม่มีการจ่ายเงินปัน เนื่องจากผลประกอบการที่ไม่ดี ซึ่งในการซื้อขายในตลาดหุ้น, ตลาดการเงินต่าง ๆ จะมีปัจจัยที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ เกิดเป็นความเสี่ยงเชิงระบบ หรือที่เรียกว่า Systematic Risk ซึ่งอาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • Liquidity Risk: ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่คุณจะไม่สามารถซื้อขาย เข้าและออกจากสถานะที่คุณต้องการได้
  • Correlation Risk: ความเสี่ยงที่สินทรัพย์ที่คุณเลือกลงทุนทั้งหมดของคุณ จะมีมูลค่าลดลงในเวลาเดียวกันอย่างสัมพันธ์กัน
  • Currency Risk: ความเสี่ยงจากมูลค่าที่แปรเปลี่ยนไปเมื่อต้องแลกกลับมาเป็นสกุลเงินที่เราต้องการ
  • Interest Rate Risk: ความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อการลงทุนของคุณ
  • Inflation Risk: ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่จะกัดเซาะและทำให้ผลตอบแทนที่คุณได้รับจริง ๆ นั้นลดน้อยลง
  • Political Risk: ความเสี่ยงของเหตุการณ์ทางการเมือง (การเลือกตั้ง, การรัฐประหาร ฯลฯ ) หรือการดำเนินการทางการเมือง (เช่น การออกกฎหมายใหม่) ที่ส่งผลเสียต่อการลงทุนของคุณ

การจัดประเภทความเสี่ยงตามข้างต้น นับว่าค่อนข้างมีประโยชน์ เพราะทำให้เราพิจารณาความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแต่ละการลงทุนนั้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณตระหนักเรื่อง Currency Risk แล้ว ถ้าคุณต้องการซื้อหุ้น Tesla แล้วกังวลเรื่องความเสี่ยงของสกุลเงิน USD ก็ถืออยู่ คุณก็สามารถซื้อ EURUSD หรืออาจจะขายร่วงหน้า USDCHF เพื่อให้มูลค่าชดเชยการร่วงลงของ USD ได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ การที่คุณจะซึมซับความเสี่ยงแบบ Real-Time ในตลาดการเงินจริง ๆ แล้ว คุณควรที่จะเริ่มฝึกฝนการใช้งานแพลตฟอร์มการซื้อขาย ซึ่งมีให้ทดลองเทรดได้ทั้งหุ้น, ค่าเงิน, ทองคำ หรือแม้สกุลเงินดิจิทัล คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีได้ฟรี!

เปิดบัญชีทดลองฟรี!

มีความจริงอยู่ในโลกของการเงินว่า หากคุณต้องการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นคุณต้องเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงมากขึ้น ลองนึกภาพว่าคุณเป็นนักลงทุนที่ได้รับการเสนอการลงทุนที่เป็นไปได้สองรายการ A และ B ทั้งสองมีผลตอบแทนที่เป็นไปได้เท่ากัน แต่คุณตัดสินว่าการลงทุน A มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุน B สองเท่าคุณจะเลือกอันไหน? คนส่วนใหญ่จะเลือก B แน่นอน

เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งตลาดราคาของการลงทุนเหล่านี้ ราคามันจะปรับตัวเพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ที่มีต่อความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สูงขึ้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

  • พันธบัตร - กินดอกเบี้ยนิ่ม ๆ ปีละ 3-4%
  • หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนต่าง ๆ - อาจได้ดอกเบี้ยระดับ 20% แต่ก็เสี่ยงที่บริษัทจะไม่จ่าย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  • หุ้น - แน่นอนว่า กำไรปีละ 50% ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่ความเสี่ยงที่เงินทุนจะหายทีละ 30% เช่น จังหวะซื้อที่จุดยอดดอย ก็เกิดขึ้นได้ง่ายมาก
  • Gold, Forex - พวก Day Trader สามารถทำกำไรครั้งละ 1-2% ซึ่งหมายถึง อาจทำเงินได้ปีละ 100-200% แต่นั่นก็มี Risk หรือความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดของพอร์ต ซึ่งต่างจากหุ้น ที่จะไม่บังคับล้างพอร์ต เพราะเรายังสามารถถือหุ้นที่ขาดทุนต่อไปได้

Risk Reward Ratio ที่ดีที่สุด?

น่าเสียดายที่ไม่มีคำตอบง่าย ๆ สำหรับคำถามนี้ อัตราส่วน RRR ที่ดีที่สุด จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์, รูปแบบการซื้อขายของคุณ เช่น Scalping จะมี RRR ต่ำมากหรือติดลบ ในขณะที่ Swing Trading จะให้ RRR ที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ความผันผวนที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด อาจส่งผลต่อการกำหนด RRR แบบ Dynamic อีกด้วย เช่น หากตลาดมีความผันผวนน้อย ก็ต้องลดเป้าหมาย RRR ลง

แต่ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุด ที่จะหา Risk Reward Ratio ที่เหมาะสมกับตัวคุณเองได้นั้น คุณต้องทดสอบเป็นกลยุทธ์ ๆ ไปทีละอย่าง และใช้ระบบ, การวิเคราะห์ของตัวคุณเอง ทดสอบการเทรดในตลาดจริงอย่างน้อย 3-6 เดือน เพราะเมื่อคุณได้ทดสอบในตลาดจริงมากพอ คุณจะเห็นสถิติของตัวเอง และคุณจะ "ตอบได้เอง" ว่า ควรตั้งค่า RRR ไว้เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

เริ่มเรียนรู้ Risk Reward Ratio ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5

การจะเชี่ยวชาญในเรื่องความเสี่ยงนั้น แม้แต่เทรดเดอร์มืออาชีพเองก็นิยมเข้าไปฝึกฝนในระบบบัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า "Demo Account" อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นระบบที่จำลองเงินขึ้นมาเพื่อใช้เทรด

  • สามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ
  • สามารถใช้เครื่องมือเทรดและสัมผัสถึงสภาพแวดล้อมแบบบัญชีจริงทุกประการ
  • คำนวณกำไรขาดทุนเหมือนเงินจริงทุกประการ และคำนวณตามราคาตลาดจริงๆ

คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึง Price Action ขั้นสูง โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบประสบการณ์การเทรดของคุณเองได้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีเงินจำลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer): เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด