Position Trading คือ - รู้จักและเข้าใจใน 10 นาที

Jitanchandra Solanki
15 นาที

Position Trading คือ ? ในตลาดการเงิน เนื่องจากมีกลยุทธ์และรูปแบบการซื้อขายที่หลากหลาย การเทรดหรือ การซื้อขายแบบ Position Trading จึงเป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการถือครองการซื้อขายเป็นระยะเวลานานกว่ารูปแบบอื่นๆ ส่วนใหญ่ และบางครั้งเรียกว่ากลยุทธ์ระยะยาว

และในบทความนี้ จะนำคุณมาพูดคุยถึงการใช้ Position Trading หรือการซื้อขายแบบถือสถานะ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ข้อมูลทั่วไป วิธีใช้งาน เคล็ดลับการใช้งาน และการใช้ Position Trading ในตลาดต่างๆ ที่คุณอาจสนใจ ทั้ง Forex หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ไปพร้อมกันที่นี่!

Position Trading คือ

Position Trading คือ การซื้อขายตำแหน่ง (โพซิชั่น) หรือการซื้อขายแบบถือสถานะ ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อขายที่ผู้ซื้อขายโพซิชั่นในระยะเวลานานกว่ารูปแบบอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาจมีระยะเป็นหลายเดือนถึงหลายปี ซึ่งในการถือครองที่ค่อนข้างใช้เวลานี้จะต้องอาศัยทั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อวิเคราะห์ เพื่อติดตามศักยภาพของการเคลื่อนไหวในทิศทางระยะยาว

แต่บางครั้งการเทรดแบบ Position Trading ก็ไม่ต่างจากการซื้อขายระยะยาวมากนัก เนื่องจากเทรดเดอร์ที่มี CFD สามารถซื้อขายตำแหน่งระยะยาวเป็นด้านยาวและด้านสั้นได้ แต่นักลงทุนแบบดั้งเดิมจะถือเพียงด้านยาวของตลาดมากกว่า แต่เทรดเดอร์จะถือเป็นหลายเดือนแทนที่จะเป็นหลายปี

Swing Trading กับ Position Trading ต่างกันอย่างไร 

ความแตกต่างระหว่าง Position Trading กับ Swing trading คือ Swing เทรดเดอร์จะเก็งกำไรจากราคาที่แกว่งในระยะสั้นของตลาด ที่ถือการซื้อขายเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในแต่ละครั้ง แต่กลยุทธ์การซื้อขายแบบ Position Trading จะถือการซื้อขายในแต่ละครั้งเป็นเวลาหลายเดือน

Position Trading กับ Day Trading ต่างกันอย่างไร 

ความแตกต่างที่สำคัญของ Position Trading กับ Day Trading คือระยะเวลา โดยทั่วไปเดย์เทรดเดอร์จะถือสถานะเป็นนาทีหรือหลายชั่วโมง โดยที่โพซิชั่นเทรดเดอร์ะจะถือการซื้อขายในแต่ละครั้งเป็นเวลาหลายเดือน กล่าวได้ว่ากลยุทธ์การซื้อขายรายวันส่วนใหญ่จะเน้นทางเทคนิค แต่กลยุทธ์ Position Trading จะใช้ทั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อติดตามธีมมาโครระดับโลก

กลยุทธ์การเทรดแบบ Position Trading

เพราะการซื้อขายหรือเทรดแบบ Position Trading คือ รูปแบบหนึ่งของการซื้อขายในตลาดการเงิน คุณจึงสามารถใช้กับสินทรัพย์ได้หลายประเภท ซึ่งมีสินทรัพย์ที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ใช้ Position Trading ในการเทรด Forex

ในการเทรด Forex มักจะใช้ Position Trading ในการระบุแนวโน้มหรือหาเทรนด์ระยะยาวในตลาด Forex และดูความเคลื่อนไหวจากเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความผันผวนมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ Brexit (สหราชอาณาจักรลงมติออกจากการเป็นสมาชิก EU ในปี 2016) ทำให้เกิดการเทขายเงิน GBP และนักลงทุนดึงเงินทุนออกจากสินทรัพย์ในสหราชอาณาจักร จากความไม่แน่นอนของ Brexit เทรดเดอร์ที่มีโพซิชั่นจะสร้างสถานะระยะยาว โดยใช้เหตุการณ์นี้เป็นตัวขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวในระยะยาว

นอกจากนี้ การติดตามดอกเบี้ยนโยบายก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ Position Trading โดยเฉพาะในปี 2023 ที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วง Pandemic ในทางกลับกันธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) กลับคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ทำให้ผู้จัดการกองทุนตลาดเงินระยะยาวที่กู้ยืมเงินในญี่ปุ่นจ่ายดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยและแปลงเป็นเงินในมือเป็น USD เพื่อซื้อพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น และเก็บส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยทั้งสอง

สำหรับเทรดเดอร์ที่มีโพซิชั่นในตลาดฟอเร็กซ์ก็ใช้เหตุการณ์นี้เพื่อซื้อ USD/JPY ที่มีการเคลื่อนไหวที่สูงขึ้นในระยะยาวจากเกือบตลอดปี 2022 ซึ่งนี้เรียกว่า Carry Trade ในตลาด Forex

หากอยากเรียนรู้เรื่องการเทรด Forex สามารถลงทะเบียน Zero to Hero คอร์สสอนเทรด ฟรี ของเรา คลิกที่แบนเนอร์เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเปิดบัญชีได้เลย! 

Zero to Hero

เรียนรู้การเทรดใน 20 วัน ตั้งแต่การตั้งค่าไปจนถึงการเทรดจริง!

2. ใช้ Position Trading ในการเทรดหุ้น

ตลาดหุ้นมีเทรนด์ในระยะยาวมากกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากเป็นตัวแทนของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทที่สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็มักจะมีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจด้วยรายได้และผลกำไรมากขึ้น ทำให้ราคาหุ้นสามารถสูงขึ้นได้

นักลงทุนระยะยาวอาจถือเงินลงทุนในหุ้นหลายปีหรือหลาย 10 ปี ส่วนเทรดเดอร์ที่ใช้ Position Trading อาจถือหุ้นหลายเดือนถึง 1 ปี เพื่อหาประโยชน์จากช่วงต้นของแนวโน้ม แต่ตลาดหุ้นก็ไม่ได้ขยับขึ้นตลอดเวลาอย่างที่เห็นในตลาดหมีในช่วงปี 2022 เทรดเดอร์จึงสามารถใช้ CFD เพื่อเก็งกำไรราคาที่เพิ่มขึ้นและลดลง ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ใช้ Position Trading ในตลาดหุ้นจึงสามารถซื้อขายได้ในตลาดทั้ง 2 ด้าน แต่ CFD มีค่าธรรมเนียมข้ามคืน จึงอาจไม่เหมาะกับเทรนด์ระยะยาว

ส่วนนักลงทุนอาจใช้กลยุทธ์ Position Trading ในดัชนีหุ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ต แม้จะเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างท้าทาย แต่หากพอร์ตหุ้นลดลง เทรดเดอร์สามารถซื้อขายดัชนีหุ้นในสถานะ Short และได้กำไรจากตลาดที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สามารถปกป้องพอร์ตการลงทุนได้ เนื่องจากกำไรจากการซื้อขายระยะสั้นที่สามารถครอบคลุมการขาดทุนในพอร์ตหุ้นระยะยาวบางส่วนได้

3. ใช้ Position Trading ในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์สามารถซื้อขายได้โดยใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบ Position Trading เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์สามารถแสดงเทรนด์ในระยะยาวได้ แม้ว่ามักจะมีความผันผวนมากกว่าหุ้นก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ต้องติดตาม เช่น อุปทาน อุปสงค์ ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำและน้ำมัน สามารถผ่านช่วงเวลาของแนวโน้มขาขึ้นและขาลงในระยะยาวได้ ราคาน้ำมันตกต่ำในช่วงPandemic แต่ก็กลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา เทรดเดอร์ที่ใช้ Position Trading ก็จะพยายามใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวนี้ด้วยการซื้อขาย CFD หรือ ETF สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำหรือน้ำมันนั่นเอง

ตัวอย่างและแนวคิดการใช้ Position Trading

1. การซื้อขายตามเทรนด์

การซื้อขายตามเทรนด์ คือการระบุตลาดในเทรนด์ระยะยาวผ่านการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน วัฏจักรของตลาด และอินดิเคเตอร์ต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) เป็นต้น

การใช้ Position Trading ในการซื้อขายตามเทรนด์ จากตัวอย่างในกราฟ USDJPY รายสัปดาห์ด้านล่างของ จะเห็นได้ว่าราคาหลุดออกจากช่วงการซื้อขายหรือรูปแบบกราฟการสร้าง 3 เหลี่ยมสมมาตรระหว่างเส้นสีดำสองเส้น นับตั้งแต่การทะลุกรอบ ราคาดีดตัวออกจาก Moving Average ในเดือน ก.ค. 2021 โดยเริ่มจากแรงกระตุ้นที่สูงขึ้น เพื่อยืนยันว่ามีแนวโน้มเกิดขึ้น

เทรดเดอร์ที่ใช้ Position Trading สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเริ่มต้นโพซิชั่นถัดไปที่เด้งออกจาก Moving Average และใช้ Trailing Stop Loss เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวโน้มหลายเดือน

ที่มา: กราฟราคาของ USDJPY รายสัปดาห์ ใน MT5 ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. 2019 - 24 ก.ค. 2023 วันที่เก็บภาพ: 24 ก.ค. 2023 หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของประสิทธิภาพหรือผลการดำเนินงานในอนาคต

2. การซื้อขายใน Breakout 

การซื้อขายใน Breakout โดยใช้ Position Trading คือ การระบุช่วงเวลาของการรวมบัญชีในตลาดและราคาซื้อขาย ใน Break Out โดยเทรดเดอร์สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่น แนวรับและแนวต้านแนวนอน เพื่อยืนยันการทะลุกรอบและการวิเคราะห์พื้นฐานเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการเคลื่อนไหว

จากกราฟรายสัปดาห์ของ USDMXN ด้านล่าง จะแสดงช่วงเวลาของการแข็งตัวในระยะยาวระหว่างปี 2020 - 2023 แต่การซื้อขายก็เริ่มมากขึ้นในปลายปี 2022 จากนั้นก็เริ่มมีแนวโน้มที่ลดลงตลอดปี 2023 ซึ่งเทรดเดอร์สามารถซื้อขายราคาได้เมื่อราคาทะลุจุดต่ำสุดของช่วง หรือรอให้แนวโน้มพัฒนาและมองหาตำแหน่งรอบๆ Moving Average

ที่มา: กราฟราคาของ USDMXN รายสัปดาห์ ใน MT5 ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. 2019 - 24 ก.ค. 2023 วันที่เก็บภาพ: 24 ก.ค. 2023 หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของประสิทธิภาพหรือผลการดำเนินงานในอนาคต

ลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่ของโลก

ซื้อขายหุ้นและกองทุน ETF เพียงปลายนิ้วสัมผัส

ข้อดีข้อเสียในการใช้ Position Trading

ข้อดีของ Position Trading

  • โอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทรนด์ระยะยาว
  • ช่วยให้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการซื้อขายในเทรนด์ระยะยาว
  • การซื้อขายแบบ Position Trading ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถลงทุนในธีมระดับการลงทุนทั่วโลกได้อย่างมีศักยภาพ

ข้อเสียของ Position Trading

  • ตลาดอาจมีความผันผวนมาก ดังนั้นตลาดอาจไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหากเทรดเดอร์ต้องการซื้อขายการเคลื่อนไหวระยะยาว 
  • เงินทุนในการซื้อขายถูกผูกมัดไว้นานกว่า ซึ่งอาจหมายถึงเงินทุนน้อยลงสำหรับโอกาสอื่นๆ ที่อาจทำงานได้ดีกว่า
  • อาจมีค่าธรรมเนียมสวอปข้ามคืนหากใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อิงมาร์จิ้น เช่น CFD

เคล็ดลับการใช้ Position Trading

1. ใช้ Position Trading วางแผนและตั้งกฎ

แผนการมีความสำคัญมากใน Position Trading จึงควรมีวางแผนและแนวทางหรือกฎที่สอดคล้องกันในสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ เพื่อระบุเงื่อนไขที่เหมาะสมในการดำเนินการซื้อขายระยะยาว ซึ่งกฎนี้อาจมาจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน การใช้สื่อทางการเงินต่างๆ เพื่อช่วยในการวิจัยก็อาจมีประโยชน์ เนื่องจากข่าวส่วนใหญ่จะครอบคลุมหัวข้อสำคัญๆ ที่อาจเกิดขึ้นในตลาด โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่มีหัวข้อต่างๆ เช่น AI หรือใช้ข่าวเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่สามารถใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อระบุเวลาที่เหมาะสมในการซื้อขาย แลแน่นอนว่าคุณสามารถติดตามการสัมมนาการเทรดออนไลน์ของเราเพื่อติดตามธีมของตลาดได้ด้วยเช่นกัน

2. ใช้ Position Trading ในการจัดการความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยงเป็นกุญแจสำคัญในกลยุทธ์การซื้อขายแบบ Position Trading ที่ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการทำการซื้อขายที่เป็นไปได้แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากหรือต่ำเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดอารมณ์ที่หลากหลายซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในอนาคต 

3. ใช้ Position Trading บนพื้นฐานความคาดหวังที่เป็นจริง

โซเชียลมีเดียทำให้โลกแห่งการซื้อขายมีเสน่ห์ หลายๆ แต่หลายคนก็โชว์แค่การซื้อขายที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ดังนั้นการมองความเป็นไปในการเทรดและการซื้อขายบนพื้นฐานของความจริงที่อาจมีทั้งกำไรและขนาดทุน และดำเนินการด้วยการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความน่าจะเป็นให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้คุณก็สามารถเริ่มต้นด้วยบัญชีทดลองเทรดเพื่อฝึกฝนทักษะ ทดสอบกลยุทธ์หรือทำความคุ้นเคยกับตลาดก่อนทำการซื้อขายจริง

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

กลยุทธ์การเทรด Position Trading และคำถามที่พบบ่อย

 

มือใหม่ใช้ Position Trading ได้ไหม ?

เทรดเดอร์ สามารถใช้ Position Trading ได้ตามต้องการ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการทำกำไรหรือขาดทุนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการซื้อขายทุกรูปแบบ

 

ใช้ Position Trading ในไทม์เฟรมเท่าไหร่ดี ?

สามารถตั้งไทม์เฟรมได้ทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน เพื่อใช้เพื่อระบุการเคลื่อนไหวในระยะยาวเพื่อใช้กลยุทธ์ Position Trading ได้ตามต้องการ

 

Position Trading คืออะไร ใช้ยังไง ?

เทรดเดอร์อาจใช้ Position Trading ค้นหาหุ้นที่ธีมใหญ่ๆ ระดับโลก เช่น AI จากนั้นสร้างตำแหน่งระยะยาวในหุ้นเหล่านี้ หรือการเทรดตามสถานะ (หรือตามการวิเคราะห์แนวโน้มของธนาคารกลางที่อาจจะขึ้นดอกเบี้ย) จากนั้นสร้างโพซิชั่นในสกุลเงินนั้นๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

 
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รู้จักกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย และได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลกกว่า เช่น FCA, CySEC, ASIC, IIROC, EFSA, JSC เป็นต้น โดย Admirals ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ Jitanchandra Solanki (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคล
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด