พันธบัตรต่างประเทศที่คุณควรรู้จัก

Brandie E Blackler
15 นาที

พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินที่เรียกว่าตราสารหนี้ จากการระดมทุนระยะยาวขององค์กรและสถาบันต่างๆ ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ว่าพันธบัตร คือ หุ้นกู้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพันธบัตรที่ออกรัฐบาล บริษัท หรือองค์กรอื่นๆ เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับโครงการต่างๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของพันธบัตรหรือผู้ให้ทุนในพันธบัตรจะถือเป็นเจ้าหนี้ โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยที่คงที่กับเงินต้นและวันหมดอายุ

แม้ว่าจะมีพันธบัตรหลายประเภท แต่โดยพื้นฐานแล้วพันธบัตรทั้งหมดจะมีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจพันธบัตรประเภทต่างๆ พร้อมแนวคิดการซื้อขายหรือลงทุนในพันธบัตรต่างๆ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรต่างประเทศไปพร้อมกัน!

พันธบัตร หรือ Bond คือ ?

พันธบัตร คือ หนี้ประเภทหนึ่ง ที่บางครั้งเรียก IOU (I Owe You) ซึ่งเป็นสัญญาที่ผู้ออกพันธบัตรให้กับผู้ถือพันธบัตรตามเงื่อนไขของตราสารหนี้ ผู้ออกพันธบัตรจะรับภาระหนี้และผู้ซื้อหนี้ซึ่งเป็นผู้ถือพันธบัตรเป็นผู้จัดหาเงินทุน

ผู้ออกพันธบัตรสามารถใช้เงินเหล่านั้น เป็นเงินทุนตามแผนการใช้จ่ายที่ต้องการ ในทางกลับกัน ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยคงที่หรือแบบผันแปรของหนี้ในช่วงเวลาปกติตลอดอายุของพันธบัตร และในตอนท้ายของระยะเวลาของหนี้ พันธบัตรจะครบกำหนด ผู้ออกพันธบัตรก็จะชำระคืนเงินต้นของหนี้ (เรียกว่าเงินต้น)

ธุรกรรมที่มีการออกหนี้ใหม่ให้กับผู้ซื้อเรียกว่าตลาดหลัก ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตลาดตราสารหนี้ทั้งหมดเท่านั้น นอกจากนี้ตลาดตราสารหนี้ยังมีตลาดรอง ซึ่งพันธบัตรที่ออกก่อนหน้านี้มีการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้นั้นจึงใหญ่กว่าตลาดหุ้น (หรือการลงทุนในหลักทรัพย์) ในแง่ของมูลค่า

  • ผู้ออกตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดคือรัฐบาล
  • รัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาลในระยะยาว เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายทางการเงินที่จำเป็นในการบริหารประเทศ
  • นอกจากนี้ยังมีธนาคารและองค์กรต่างๆ เป็นผู้ออกตราสารหนี้รายใหญ่อื่นๆ 

ทั้งนี้ พันธบัตรจึงไม่ใช่ตราสารหนี้ประเภทเดียวในตลาด แล้วตราสาร หนี้ มี อะไร บ้าง นั้น ก็สามารถจำแนกได้เป็นประเภทต่างๆ อย่าง หุ้นกู้ (Debenture) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Notes) และ ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) ซึ่งพันธบัตรจะมีระยะเวลานานกว่าตราสารหนี้อื่นๆ

และก่อนที่จะไปดูรายละเอียดของพันธบัตรประเภทต่างๆ เรามาสรุปคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดถึงพันธบัตรต่างๆ ได้ ดังนี้ 

  • เงินต้น (Principal) – จำนวนหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้ได้รับและจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือพันธบัตร
  • วันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity) – วันที่ครบกำหนดกำหนดชำระคืนเงินต้นให้กับผู้ถือหุ้นกู้
  • คูปอง (Coupon) – อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกให้แก่ผู้ถือพันธบัตร
  • ผลตอบแทน (Yield) – อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากพันธบัตร สามารถคำนวณได้หลายวิธี แต่ที่ง่ายที่สุด คือจำนวนดอกเบี้ยรายปี หารราคาตลาดของพันธบัตร
  • ราคาตลาดปัจจุบัน (Current market price) – พันธบัตรจะมีราคาแตกต่างกันไปตามระยะเวลาขณะที่ซื้อขายในตลาดรอง

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและพันธบัตร คือ พันธบัตรจะจ่ายจำนวนเงินคงที่เป็นระยะๆ ซึ่งพันธบัตรจะน่าสนใจมากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ในทางกลับกันก็จะน่าสนใจน้อยลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ดังนั้น ราคาในตลาดตราสารหนี้จึงอาจแตกต่างไปจากราคาที่ออก และมักใช้เป็นตัวแทนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะกลางถึงระยะยาว

ซึ่งโดยปกติ ราคาของพันธบัตรบางประเภทก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ (อ่านเพิ่มเติมที่การจัดอันดับพันธบัตรด้านล่าง)

พันธบัตรมีกี่ประเภท ? 

เราจะพูดถึงพันธบัตรหรือตราสาร หนี้ มี อะไร บ้าง ใน 4 ประเภท ดังนี้

  • พันธบัตร Supranational 
  • หุ้นกู้ (Corporate bonds)
  • พันธบัตรรัฐบาล (Government bonds)
  •  หุ้นกู้เทศบาล (Municipal bonds)

พันธบัตร Supranational

พันธบัตร Supranational คือ พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลกลางสองแห่งขึ้นไป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับประเทศสมาชิก เช่น European Investment Bank และ Asian Development Bank 

  • มีความคล้ายคลึงกันมากกับพันธบัตรรัฐบาล และมีแนวโน้มที่จะมีอันดับความน่าเชื่อถือสูง
  • ตัวอย่างที่ดีของพันธบัตรต่างประเทศ เช่น พันธบัตรที่ออกโดย European Investment Bank สถาบันสินเชื่อระยะยาวที่เป็นของรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
  • ตัวอย่างอื่นๆ ในกลุ่มของพันธบัตร Supranational คือพันธบัตรจากสหประชาชาติ (UN) และองค์การการค้าโลก (WTO)

ข้อดีของพันธบัตร Supranational

  • ธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Banks -DBs) มีแนวโน้มที่จะดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น
  • ความต้องการของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ จะเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชอบซื้อขายหรือลงทุนในพันธบัตร
  • ธนาคารเพื่อการพัฒนามีแนวโน้มที่จะลงทุนใน ESG (มาจาก Environment, Social, และ Governance ซึ่งมีแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเน้นไปที่พลังงานยั่งยืน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม น้ำ เป็นต้น

หุ้นกู้ (Corporate Bonds)

บริษัทสามารถระดมทุนผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ หุ้นลอย หรือโดยการออกตราสารหนี้ในรูปของหุ้นกู้

การที่บริษัทต้องการระดมทุน ก็อาจเนื่องจากการควบรวมกิจการหรือการขยายกิจการ ซึ่งจะมาพร้อมกับต้นทุนที่มากขึ้นเสมอแน่นอน ดังนั้นจึงมีการระดมทุนเกิดขึ้น หากเป็นกรณีของหุ้น บริษัทก็จะสละสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและมักจะจ่ายเงินปันผลในหุ้นของตน

ด้วยหนี้สินนี้บริษัทจะต้องเสียดอกเบี้ย แม้ว่าบริษัทอาจออกตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดหลากหลาย แต่พันธบัตรของบริษัทก็มักจะหมายถึงหนี้ของบริษัท ที่มีระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี

ซึ่งหนี้ระยะสั้นนี้จะเรียกว่า หุ้นกู้ (Corporate Bonds) แม้ในตลาดรองการซื้อขายพันธบัตรองค์กรมักจะมีซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อขายแบบไม่ผ่านตลาด ซึ่งอาจเป็นการเจรจาต่อรองกันทางโทรศัพท์ โดยไม่ได้กำหนดช่วงเวลาการติดต่อซื้อขายที่แน่นอน และไม่มีศูนย์กลางการจับคู่ซื้อขาย (Over-the-counter-OTC) 

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds)

พันธบัตรรัฐบาล คือ หนี้สาธารณะประเภทหนึ่ง ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลมักมีระยะเวลาครบกำหนดในกรอบเวลาปานกลางหรือยาวนาน คือตั้งแต่ 2-3 ปีไปจนถึงหลาย 10 ปี

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับรูปแบบหนี้สาธารณะระยะสั้นอย่าง ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) โดยพันธบัตรรัฐบาลจะมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งหมายความว่าเป็นพันธบัตรประเภทที่ง่ายสำหรับบุคคลในการซื้อขาย

พันธบัตรรัฐบาลของต่างประเทศที่คุณควรรู้จัก มีดังนี้

  • US T-bonds: เรียกอีกอย่างว่าพันธบัตรระยะยาว ซึ่งมีอายุครบกำหนดยาวนาน ตั้งแต่ 20 - 30 ปี
  • US T-notes: ตราสารหนี้สหรัฐฯ ระยะกลางที่มีระยะเวลาครบกำหนดตั้งแต่ 2 - 10 ปี
  • UK Gilts: ตราสารหนี้รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ที่มีทั้งแบบระยะกลางและระยะยาว
  • German bund: ตราสารหนี้ระยะยาวของเยอรมนี ที่มีระยะเวลาระหว่าง 8.5 -10.5 ปี
  • German schatz: เรียกอีกอย่างว่า short bund คือ ตราสารหนี้เยอรมนี มีอายุประมาณ 2 ปี
  • German BOBL: หรือที่เรียกว่า Bundesobligationen ตราสารหนี้ระยะกลางของเยอรมนี มีอายุระหว่าง 4.5 - 5.5 ปี
  • Italian government bonds: เรียกอีกอย่างว่า BTP หรือ Buoni del Tesoro Poliannuali เป็นพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี ซึ่งเป็นพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาว ที่มีระยะเวลาครบกำหนดตั้งแต่ 3 ปีถึ - 30 ปี

แม้ว่าสภาพคล่องและความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล โดยทั่วไปพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะมีสภาพคล่อง และถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และมั่นคง อย่างประเทศ G7 อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนก็มีความเสี่ยงอยู่เสมอ เช่น รัสเซียมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก (สถิติจาก IMF และธนาคารโลกในปี 2016) แต่รัสเซียก็ผิดนัดชำระหนี้ในประเทศในช่วงปลายผี1990 และประกาศพักชำระหนี้สำหรับหนี้ต่างประเทศเมื่อพบว่าอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (มีการปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินล่าช้า) 

หุ้นกู้เทศบาล (Municipal Bonds)

พันธบัตรเทศบาล คือ พันธบัตรอธิปไตยประเภทหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลกลาง (Fed) คือ ตั๋วเงินคลัง (Treasury notes) และพันธบัตรตามที่กล่าวข้างต้น

ส่วนพันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานย่อยของรัฐบาลกลางอย่าง หน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่น เช่น รัฐ เมือง เทศบาล หรือแม้แต่โรงเรียนและสนามบินที่เป็นของสาธารณะ ก็จะเรียกว่าพันธบัตรเทศบาล (Municipal Bonds หรือ Muni Bonds) เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับใช้จ่ายในโครงการต่างๆ 

แต่ตลาดพันธบัตรเทศบาลก็มีขนาดใหญ่และมีมูลค่าประมาณหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยดอกเบี้ยค้างรับจากหนี้ดังกล่าว มักจะได้รับการยกเว้นภาษีของรัฐบาลกลาง และบางครั้งก็อาจได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐด้วย

อันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตร (Bond Rating)

กล่าวได้ว่าผู้ถือหุ้นกู้จะให้การกู้ยืมเงินให้กับผู้ออกพันธบัตร เมื่อพูดถึงการให้ยืมเงิน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณต้องรู้คือผู้กู้มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

โดยที่มาของอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรของบริษัทต่างๆ โดยมากจะอ้างอิงจาก Moody's และ Standard & Poors (S&P) ที่ให้บริการจัดอันดับเครดิตเพื่อช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลอ้างอิงในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ และตรวจสอบแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามภาระผูกพันในการชำระเงิน

ทั้งนี้ อันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดของพันธบัตรที่ได้รับในระดับการลงทุน (Investment grade) คือ AAA ตามด้วย BBB ซึ่งมีความน่าเชื่อถือปานกลาง

ทั้งนี้พันธบัตรที่ได้รับการจัดอันดับ BB หรือต่ำกว่าเกณฑ์นั้นมักเรียกว่าสถานะ Junk Bond ซึ่งเป็นพันธบัตรที่จะให้เป็นผลตอบแทนสูงแต่ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกผิดนัดมากกว่าเช่นกัน

ดังนั้น ผู้ออกตราสารหนี้จึงจำเป็นต้องตั้งอัตราดอกเบี้ย (Coupon) ในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดเงินทุนจากนักลงทุน

ลงทุนพันธบัตร 

จากที่กล่าวข้างต้น เมื่อพูดถึงราคาตลาดของพันธบัตร มูลค่าของพันธบัตรจะผูกติดกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้พันธบัตรฟิวเจอร์ส เป็นอีกวิธีที่ดีในการซื้อขาย โดนเฉพาะหากคุณมีมุมมองที่ดีในผลการดำเนินงานของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต หรือหากต้องการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

Admirals ให้คุณลงทุน CFD สำหรับพันธบัตรฟิวเจอร์สและฟิวเจอร์ส T-note อายุ 10 ปี เพื่อให้คุณลงทุนในตลาดเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งพันธบัตรต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย ผ่าน MT5

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

 

นอกจากนี้บัญชีทดลองเทรดที่จะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายด้วยเงินเสมือนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น คู่สกุลเงิน FX, CFD ในสกุลเงินดิจิทัล (คริปโต), สินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น, ETF และอื่นๆ อีกมากมาย

อีกทั้งยังสามารถลงทุนได้แบบไม่มีความเสี่ยงคุณจึงสามารถใช้ได้มากเท่าที่ต้องการจนกว่าจะมั่นใจในกลยุทธ์หรือแผนการเทรดของคุณและพร้อมที่จะเปลี่ยนไปใช้บัญชีซื้อขายจริง 

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

 

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด