GDP คือ : สำคัญอย่างไรในตลาดการเงิน

Roberto Rivero
20 นาที

GDP คือ คำที่ปรากฏทุกวันในสื่อการเงินและธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง นักลงทุน และเทรดเดอร์มักจะอ้างอิงถึงเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้ว GDP คือ ? และ GDP นั้นส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร ? หรือจะติดตามตัวเลขนี้และการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร? และเป็นไปได้ไหมที่จะสร้างแผนการเทรดหรือกลยุทธ์การลงทุนใน GDP

GDP คือ ?

Gross Domestic Product หรือ GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งถึอเป็นข้อมูลมาตรฐานของมูลค่าในตัวเงินกับขนาดโดยรวมของเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ ช่วงเวลาที่กำหนด โดยปกติคือ 1 ปี

การเปรียบเทียบ GDP ของประเทศต่างๆ จะช่วยให้เราทราบถึงขนาดและจุดแข็งของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ GDP คือ ข้อมูลที่ช่วยสรุปขนาดและการขึ้นลงของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ

GDP ออกโดยหน่วยงานใด ? 

ตัวเลข GDP อย่างเป็นทางการของแต่ละประเทศจะคำนวณและรายงานในหน่วยงานของประเทศนั้นๆ โดยในสหรัฐฯ จะออกเป็นรายไตรมาส โดยสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Bureau of Economic Analysis - BEA) ในสหราชอาณาจักร จะรายงานเป็นตัวเลขรายเดือน รายไตรมาส และรายปี โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (Office for National Statistics - ONS) 

GDP สื่อถึงข้อมูลอะไรบ้าง ?

เช่นเดียวกับมาตรการทางเศรษฐกิจและการเงินอื่นๆ ตัวเลขเดียวอาจไม่ใช่สิ่งที่บ่งชี้ทุกอย่างได้ แต่การเปรียบเทียบขนาดของ GDP หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงในช่วงไตรมาส หรือปี ก็สามารถบอกรายละเอียดหลายอย่างทางเศรษฐกิจได้ดี

นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนชอบให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแรง การเติบโตของ GDP 1.5% - 3% ต่อปีถือว่าเป็นการเติบโตที่ดีในสุขภาพเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักรหรือสหรัฐอเมริกา การเติบโตที่เร็วขึ้นจะนำไปสู่ความกังวลในอัตราเงินเฟ้อและ/หรือฟองสบู่ทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืน การเติบโตที่ช้าลงจะนำไปสู่ความกังวลเกี่ยวกับความซบเซาและมาตรฐานทางเศรษฐกิจที่ลดลง

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อัตราการเติบโตที่รวดเร็วถือได้ว่ามีสุขภาพดี เช่น ตัวเลขอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6% ต่อปี เป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ

การเปลี่ยนแปลงในการเติบโตของ GDP นั้นได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดมากกว่า GDP เอง

ดังนั้น การเติบโตของ GDP และ GDP จึงถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ เมื่อการเติบโตสูง ก็จะ "ให้ความรู้สึก" ที่แข็งแรงทางเศรษฐกิจ การจ้างงานเพิ่มขึ้นเมื่อบริษัทจ้างคนมากขึ้น เมื่อมีงาน ก็จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นการดีสำหรับบริษัทต่างๆ รวมทั้งตอกย้ำผลในเชิงบวกโดยรวมเช่นกัน

จะเกิดอะไรขึ้นหาก GDP มีการเติบโตที่ผิดปกติ ?

การเติบโตของ GDP ที่มากเกินไปเป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูง ซึ่งรัฐบาลและธนาคารกลางจะพยายามวางนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อนี้อยู่เสมอ และโดยทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและมีผลกระทบโดยตรงและค่อนข้างทันทีต่อตลาดการเงินส่วนใหญ่

ในทางกลับกัน เมื่อ GDP หดตัว สิ่งตรงกันข้ามจะเกิดขึ้น ธุรกิจลดจำนวนลง พร้อมโอกาสในการตกงานที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้รายจ่ายโดยรวมในระบบเศรษฐกิจลดลง ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจหดตัวหรือเติบโตติดลบ และหากการเติบโตของ GDP ติดลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ก็มักถูกมองว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย

หากคุณต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับตลาด โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์ทางเทคนิค สามารถเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ของเราฟรี! เพียงคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง ได้เลย!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

GDP คำนวณจากอะไร ?

โดยทั่วไปการคำนวณ GDP จะมี 3 วิธี ดังนี้

  • การเพิ่มมูลค่าโดยรวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในระบบเศรษฐกิจ
  • การเพิ่มรายได้ทั้งหมดที่ได้รับจากบุคคลและองค์กรในระบบเศรษฐกิจ
  • การเพิ่มรายจ่ายทั้งหมด - การบริโภค การลงทุน รายจ่ายภาครัฐ และการส่งออกสุทธิ

เทรดเดอร์เรียนรู้อะไรจาก GDP?

GDP คือ ตัวเลขที่สำคัญในตัวเอง แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถิติอื่นๆ ที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด การเติบโตของ GDP จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่อธิบายข้างต้น

การเปรียบเทียบ GDP ของ 2 ประเทศสามารถบอกคุณได้ว่าประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชากรในประเทศนั้นๆ จะดีกว่า จากมี 2 เหตุผลหลัก ดังนี้

  1. จำนวนพลเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละ ประเทศที่มี GDP สูง อาจเป็นผลจากการที่มีพลเมืองจำนวนมาก โดยนักเศรษฐศาสตร์มักจะแบ่ง GDP ของประเทศตามจำนวนพลเมือง หรือที่เรียกว่า GDP ต่อหัว โดย GDP ต่อหัว คือ สถิติทั่วไปที่ใช้ในการเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพในประเทศต่างๆ
  2. ค่าครองชีพที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ จึงทำให้ตัวเลข GDP มักจะถูกปรับตามค่าครองชีพ เพื่อให้เป็นตัวเลข GDP ของทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity - PPP)

ซึ่งมีตัวอย่างข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปี 2019 ที่ประเมินว่าจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่ 2 อันดับแรก (ตามราคาด้านล่าง)

อันดับโลก

ประเทศ

GDP (USD)

1

สหรัฐฯ

21.2 ล้านล้าน

2

จีน

14.1 ล้านล้าน

แต่สหรัฐฯ คือประเทศที่ที่อยู่อาศัยมีราคาแพงกว่าจีน การใช้ PPP จึงทำให้ทั้งมีการสลับตำแหน่งในตารางอันดับโลก (ตามราคาด้านล่าง)

อันดับโลก

ประเทศ

PPP GDP (USD)

1

จีน

27.8 ล้านล้าน

2

สหรัฐฯ

20.3 ล้านล้าน

ประเทศจีนมีประชากรมากกว่าสหรัฐฯ หลายเท่า (1.4 พันล้าน กับ 330 ล้านคน) ดังนั้น รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP per Capita) จึงแตกต่างกันมาก (ตามราคาด้านล่าง)

อันดับโลก

ประเทศ

รายได้เฉลี่ยต่อหัว (USD)

10

สหรัฐฯ

67,426

67

จีน

20,984

สาเหตุของการปรับตัวเลข GDP อีกอย่าง คือ ค่า GDP ในราคาตลาด "ดิบ" ที่ไม่นำอัตราเงินเฟ้อมาคำนวณ (ซึ่งจะคำนวณจาก Nominal GDP หรือ GDP ในราคาปัจจุบันที่ยังไม่มีการปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณการราคาปัจจุบันของ GDP ได้มาจากการแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในรอบระยะเวลาการรายงานปัจจุบัน) นำมาลบจากอัตราเงินเฟ้อ เพื่อสร้างตัวเลข GDP ที่แท้จริง เช่น หาก GDP เติบโต 10% และอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ในช่วงเวลาเดียวกัน GDP ที่แท้จริงก็จะเพิ่มขึ้น 7%

GDP ที่แท้จริง = Nominal GDP - อัตราเงินเฟ้อ

ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ก็มักจะให้ความสำคัญกับ GDP จริงนี้ เพื่อการประเมินสภาพเศรษฐกิจ

GDP คือ ? ในตลาดการเงิน

อ่านมาถึงตรงนี้ เราเชื่อว่าคุณทราบแล้วว่า GDP คือ อะไรหรือมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างไร ลำดับต่อไปเราจะนำคุณไปหาคำตอบของ GDP ในตลาดการเงิน

  1. GDP เป็นตัวบ่งชี้ย้อนหลัง - GDP คือ ตัวเลขที่คำนวณย้อนหลัง จาการมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่เป็นปัญหา แม้ตลาดการเงินจะมีแนวโน้มที่จะมองไปข้างหน้าและได้รับผลกระทบจากความคาดหวังที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตม แต่ GDP ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินมากที่สุด จากบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของผู้คนต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  2. GDP ส่งผลกระทบต่อตัวแปรอื่นๆ เช่น รายได้ส่วนบุคคล ความกระหายในการลงทุน และอัตราเงินเฟ้อ ตัวแปรเหล่านี้สามารถส่งผลต่อผู้อื่นได้ ตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้ออาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย

ตัวแปรทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ซึ่งมักจะส่งผลโดยตรงและทันทีมากกว่า GDP ดังนั้น ในการประเมินหรือคาดการณ์ผลกระทบทั้งหมดจากผลกระทบของ GDP ต่อตลาดการเงิน เราจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ และเพื่อตรวจสอบผลกระทบของ GDP ในตลาดการเงินให้ละเอียดยิ่งขึ้น เราจะพิจารณาแยกประเภทสินทรัพย์หลัก ดังนี้

GDP ในตลาด Forex

แม้จะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างซับซ้อนแต่เทรดเดอร์ปัจจัยพื้นฐานก็มักจะใช้ข้อมูล GDP เป็นมาตรการสำคัญในการกำหนดความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจของประเทศ และความแข็งแกร่งของสกุลเงินของประเทศ

นอกจากนี้ องค์ประกอบที่สำคัญของ GDP คือ การส่งออก และการส่งออกที่เพิ่มขึ้นก็จะผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าของสกุลเงิน การมองข้ามตัวเลข GDP หลัก เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับการส่งออกของประเทศสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความคาดหวังของสกุลเงิน

การเติบโตของ GDP ที่สูง อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อที่สูงก็มักจะกัดเซาะมูลค่าของสกุลเงินเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่ออัตราฟอเร็กซ์

อย่างไรก็ตาม หากธนาคารกลางของประเทศตัดสินใจที่จะต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่พบบ่อยที่สุด) การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลดีต่อมูลค่าของสกุลเงิน

ทั้งนี้ โปรดจำไว้ว่า Forex มีการซื้อขายเป็นคู่ สิ่งสำคัญที่จะเปรียบเทียบ GDP และตัวเลขอื่นๆ คือเบื้องหลังทั้งคู่เงินนั้นๆ ที่คุณวางแผนจะซื้อขาย และเทรดเดอร์ยังต้องให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างอัตราการเติบโตของ GDP ของทั้ง 2 สกุลเงิน นั่นจึงทำให้มีสกุลเงินที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่ามักจะได้รับความชื่นชมมากกว่าอีกสกุลหนึ่ง

โดยในวันที่ 28 พฤษภาคม 2020 สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Bureau of Economic Analysis) ได้ประกาศการประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP ของสหรัฐฯ สำหรับไตรมาสแรกของปี 2020 การประมาณการระบุว่า GDP ของสหรัฐฯ ลดลง 5% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 4.8% ( ประกาศเมื่อวันที่ 29 เมษายนของปีเดียวกัน)

จากกราฟ USD/CHF ด้านล่าง แท่งเทียนที่ไฮไลต์แสดงเวลาของการประกาศข้างต้นที่ส่งผลต่อมูลค่าของ USD ทำให้อ่อนค่าลงในเวลาต่อมาไม่นาน

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 - กราฟ USDCHF M15 - ช่วง: 28 - 29 พฤษภาคม 2020 - Disclaimer: กราฟเครื่องมือทางการเงินในบทความนี้มีขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายเท่านั้น ไม่ควรถือเป็นคำแนะนำในการซื้อขายหรือการชักชวนให้ซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFD, ETF, หุ้น) หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในอนาคตเสมอไป

เทรด Forex กับ Admiralarkets

หากคุณพร้อมและมั่นใจในข้อมูลและผลกระทบของ GDP ต่อการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเฉพาะในตลาด Forex สามารถเลือกใช้งานบัญชีจริงของ Admirals ที่จะช่วยให้คุณเทรด Forex & CFDs กว่า 80 สกุลเงิน เลือกจากสกุลเงินหลัก สกุลเงินรอง และคู่สกุลเงินแปลกใหม่ พร้อมการเข้าถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิคล่าสุดและข้อมูลการซื้อขายและอัปเดตข่าวสารการเทรดอย่างสม่ำเสมอและทันเหตุการณ์ เปิดบัญชีจริงวันนี้โดยคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

GDP กับ Equity

โดยทั่วไป บริษัทต่างๆ จะมีผลงานที่ดีขึ้น หากประเทศที่เศรษฐกิจแข็งแกร่ง ดังนั้น การเติบโตของ GDP ที่เข้มแข็งโดยทั่วไปแล้วเป็นผลดีต่อหุ้น แต่ก็ไม่มีหมายความว่าจะแปรผันตรงเช่นนี้เสมอ

หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 ดัชนี S&P 500 ลดลงมากกว่า 40% ในขณะที่การเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 9% จากจุดสูงสุดในปี 2005 มาเป็นจุดต่ำสุดในปี 2009 เมื่อเศรษฐกิจหดตัวเหลือเพียง 2%

ตั้งแต่นั้นมา ราคาหุ้นก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ว่าการเติบโตของ GDP จะน้อยกว่ามากก็ตาม เช่น การเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ต่อปีโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 2% นับตั้งแต่ภาวะถดถอยในปี 2008 ในช่วงเวลานั้น S&P 500 ได้รับผลกำไรเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 27% โดยไม่รวมเงินปันผล

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 - กราฟรายสัปดาห์ของ [SP500] - ช่วงวันที่: 22 พฤษภาคม 2005 - 11 กันยายน 2020 - Disclaimer: กราฟเครื่องมือทางการเงินในบทความนี้มีขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายเท่านั้น ไม่ควรถือเป็นคำแนะนำในการซื้อขายหรือการชักชวนให้ซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFD, ETF, หุ้น) หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในอนาคตเสมอไป

แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและลักษณะการมองไปข้างหน้าของตลาดหุ้น จะแสดงถึงความแตกต่างข้างต้น – แต่ก็อาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น โดยทั่วไป บริษัทขนาดใหญ่มักจะสร้างรายได้จากการส่งออกมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก จึงหมายความว่าผลการดำเนินการของบริษัทก็จะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของประเทศต่างๆ มากกว่าที่จะพึ่งพาเพียงตัวบริษัทเอง จึงทำให้ผลการดำเนินการอาจแตกต่างจากตัวเลข GDP ของประเทศ

ซึ่งผลกระทบนี้จะเห็นได้ชัดจาก ดัชนีบลูชิพ เช่น FTSE100 ซึ่งรวมทั้งผู้ส่งออกรายใหญ่ส่วนใหญ่ และบริษัทต่างประเทศอีกกว่า 14 แห่ง

บริษัทต่างๆ สามารถผลิตสินค้าในประเทศหนึ่ง และขายในอีกประเทศหนึ่ง และอยู่ในอีกประเทศหนึ่งได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความคุ้นเคยกับข้อเท็จจริงพื้นฐานของธุรกิจ เมื่อมองหาความเชื่อมโยงระหว่างตัวเลข GDP และผลการดำเนินงานของหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

นอกจากนี้ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่แค่ไหน ทุกคนก็ยังต้องซื้อของต่างๆ เช่น อาหาร ยารักษาโรค และสาธารณูปโภค ในทางตรงกันข้าม การซื้อสินค้า เช่น รถยนต์ เครื่องซักผ้า และโทรศัพท์มือถือ ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แข็งแรง และราคาหุ้นก็จะตอบสนองตามนั้น

และสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ผลกระทบของ GDP ในตลาดการเงินที่สามารถคาดเดาได้มากกว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่าง GDP กับตลาดหุ้น ตลอดจนระหว่าง GDP และอัตรา FX ความผันผวนจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดทั้ง 2 นี้ในช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่ตัวเลข GDP และความผันผวนก็สามารถเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเทรดเดอร์ได้! โดยเฉพาะในเทรดเดอร์ที่ชอบความผันผวนควรเตรียมพร้อมในการซื้อขายสินทรัพย์ที่ชื่นชอบในช่วงเวลาที่มีการประกาศตัวเลข GDP

แพลตฟอร์มที่มีสินทรัพย์ให้ลงทุนอย่างหลากหลาย

GDP กับราคาพันธบัตร

ผลกระทบของ GDP ต่อการลงทุนในพันธบัตรมักมีผลตรงกันข้ามกับหุ้น

การเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่ง มักหมายถึงความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจและผู้บริโภค และบางครั้งก็เป็นสัญญาณของภาวะเงินเฟ้อที่ใกล้เข้ามา ทั้งการกู้ยืมและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมักจะแปลเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้ราคาพันธบัตรของบริษัทตกต่ำ

นอกจากนี้ การกู้ยืมเงินของบริษัทที่เพิ่มขึ้น ก็มักจะกระทำผ่านพันธบัตรของนิติบุคคล ซึ่งเป็นการเพิ่มอุปทานของพันธบัตรในตลาด จึงทำให้เกิดแรงกดดันต่อราคาพันธบัตร

ในทางกลับกัน GDP ที่ลดลงโดยทั่วไป หมายถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง รวมถึงความต้องการเงินกู้ที่ลดลง ซึ่งหมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและในทางกลับกันราคาหุ้นกู้ที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาลถูกมองว่าเป็นที่หลบภัยที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า มีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ (ในช่วงเวลาที่ตัวเลข GDP ตกต่ำ) และความสนใจของนักลงทุนน้อยลงในช่วงเวลาที่ดี ซึ่งหมายความว่า ความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่าง GDP กับราคาพันธบัตรรัฐบาลนั้นแข็งแกร่งกว่าพันธบัตรองค์กร

ซึ่งด้านบนเป็นกรณีทั่วไปสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สำหรับตลาดที่อ่อนแอและกำลังพัฒนา หากประสิทธิภาพของ GDP เริ่มดูแย่จนรัฐบาลอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ ตัวเลข GDP ติดลบก็จะทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลตกต่ำ

GDP กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ผลกระทบของการเติบโตของ GDP และ GDP ต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่เป็นปัญหา

การเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความต้องการสำหรับรายการ "สินค้าอุตสาหกรรม" ทั้งหมด เหล่านี้รวมถึงทองแดง อลูมิเนียม และแน่นอน น้ำมัน เนื่องจากสินค้าประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วยตัวเลข GDP ที่แข็งแกร่ง รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความหรูหรา เช่น กาแฟ น้ำตาล และโกโก้ โดยมีสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกมองว่าเป็นที่หลบภัยที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เช่น ทองคำ เงิน และแพลตตินั่ม ราคาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี

จากกราฟราคาทองคำด้านล่าง เราจะเห็นว่าในปี 2020 ราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจโลกและ GDP ที่ลดลง 

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 - กราฟราคาทองคำรายวัน - วันที่: 11 ธันวาคม 2019 - 15 กันยายน 2020 - Disclaimer: กราฟเครื่องมือทางการเงินในบทความนี้มีขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายเท่านั้น ไม่ควรถือเป็นคำแนะนำในการซื้อขายหรือการชักชวนให้ซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFD, ETF, หุ้น) หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในอนาคตเสมอไป

GDP ส่งผลต่อตลาดการเงินอย่างไร ?

กลุ่มเงินลงทุน

เมื่อ GDP หรือ การเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้น

FX

มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การส่งออก (องค์ประกอบสำคัญของ GDP) เพิ่มขึ้นด้วย – อาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

การเติบโตของ GDP อย่างต่อเนื่องและมีขนาดใหญ่สามารถนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากไม่ตรวจสอบ จะทำให้มูลค่าของสกุลเงินที่เกี่ยวข้องลดลง

Equity

โดยทั่วไปแล้ว GDP จะผลกระทบเชิงบวกต่อราคาหุ้น เว้นแต่จะมีความกลัวว่าเงินเฟ้อหรือธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาหุ้นในทันที

หุ้นกู้
(พันธบัตรองค์กร)

3 เหตุผลที่มีแนวโน้มทำให้ราคาพันธบัตรปรับตัวลดลง

1) มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในภายหลัง

2) มีการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มอุปทานของพันธบัตร เพิ่มแรงกดดันต่อราคาพันธบัตรที่ลดลง

3) ข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับ GDP ที่เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้น นักลงทุนบางรายจะขายพันธบัตรเพื่อซื้อหุ้นเพิ่ม

พันธบัตรรัฐบาล

เช่นเดียวกับพันธบัตรองค์กร ความสัมพันธ์นี้จะพังทลายลงหากประสิทธิภาพของ GDP เริ่มดูแย่จนรัฐบาลดูเหมือนเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้

สินค้าโภคภัณฑ์

ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น ราคาจึงเพิ่มขึ้น ทำให้การเพิ่มค่าเสียโอกาสในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่มีผลตอบแทนและปลอดภัย เช่น ทองคำ เงิน และแพลตตินั่ม ราคาจึงลดลง

GDP ส่งผลกระทบต่อความผันผวนหรือไม่ ?

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่าง GDP กับตลาดการเงิน โดยทั่วไปหมายความว่าอาจมีความผันผวนเพิ่มขึ้นในนทรัพย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการประกาศ GDP และหากสิ่งนั้นเหมาะกับสไตล์การซื้อขายของคุณ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนนั้นเพื่อค้นหาโอกาสที่เกี่ยวข้องได้

ติดตาม GDP ได้อย่างไร ?

แน่นอนว่าที่ Admirals คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหนทางเศรษฐกิจและการเงินต่างๆ ได้อย่างสะดวกและง่ายดายในปฏิทินเศรษฐกิจ Forex ที่สรุปการประกาศและเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการซื้อขายที่กำลังจะมีขึ้น รวมถึงการประกาศ GDP อีกด้วย

ที่มา: ปฏิทินเศรษฐกิจ Forex ของ Admirals

ปฏิทิน Forex คือหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการติดตามข่าวสารพื้นฐานที่ส่งผลต่อตลาด

ซึ่งปฏิทิน Forex นี้จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

  • เวลาของการประกาศต่างๆ ตามเวลาท้องถิ่นของคุณ
  • ประเทศที่ประกาศข้อมูล
  • ความสำคัญของประกาศ
  • การคาดการณ์และผลลัพธ์ก่อนหน้า
  • ผลการดำเนินการต่างๆ

ด้วยการแสดงการคาดการณ์และผลลัพธ์ก่อนหน้า ทำให้ง่ายต่อการประเมินความแตกต่างในข้อมูลที่เผยแพร่และเปรียบเทียบกับฉันทามติของตลาดครั้งก่อน

ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้ จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถติดตามแนวโน้มตลาดและเตรียมที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสที่นำเสนอโดยการเปิดเผยตัวเลข GDP

เทรด GDP ด้วยกลยุทธ์อย่างไร ?

การสร้างกลยุทธ์การเทรด GDP ที่เหมาะกับรูปแบบการซื้อขายและความสนใจในการลงทุนของคุณ ติดตามพร้อมกันที่นี่!

  1. เลือกประเภทสินทรัพย์และตราสารเฉพาะ (คู่สกุลเงิน หุ้น พันธบัตร หรือสินค้าโภคภัณฑ์)
  2. พิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงใน GDP และการเติบโตของ GDP ในตราสารที่คุณเลือก และพิจารณาถึงผลกระทบรองที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ
  3. ทำความคุ้นเคยกับสิ่งที่ตลาดคาดหวังในแง่ของการเติบโตของ GDP และ GDP ให้มากที่สุด เนื่องจากความคาดหวังเหล่านี้น่าจะอยู่ในสื่อและงานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยธนาคาร โบรกเกอร์ และนักเศรษฐศาสตร์
  4. เตรียมพร้อมในการเปิด Position "ในการเทรด 2 ทาง" เช่น จะทำอย่างไรถ้าการเติบโตของ GDP สูงกว่าที่คาด ? หรือจะทำอย่างไรหาก GDP ต่ำกว่าที่คิด ?
  5. ติดตามการประกาศ GDP อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมในการเปิด order เสมอ
  6. อาจลองใช้กลยุทธ์การเทรด GDP ด้วยเงินทุนไม่มาก หรือในบัญชีทดลองเทรด จนกว่าชจะมั่นใจว่ากลยุทธ์นั้นๆ เหมาะสมกับคุณและมีประสิทธิภาพเพียงพอ หากกลยุทธ์นั้นๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ควรหาสาเหตุ

วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ในการเทรดข่าว GDP คือการใช้คำสั่ง OCO (One Cancels the Other หรือ OCO) ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งแบบมีเงื่อนไขสองคำสั่งแยกกัน แต่ก็เชื่อมโยงกัน และตามชื่อที่แนะนำ หากตรงตามเงื่อนไขตลาดสำหรับคำสั่งหนึ่งที่จะดำเนินการ และอีกคำสั่งหนึ่งก็จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะตั้งค่าคำสั่ง OCO เพื่อรอการประกาศ GDP โดยหากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การซื้อขายจะถูกเปิดโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นไปได้

คำสั่ง OCO ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ MT5 มาตรฐาน แต่คุณสามารถเลือกใช้ได้จาก Admirals MetaTrader Supreme Edition โดยในการสั่งซื้อ OCO ก็สามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เลย

1. ดาวน์โหลด MetaTrader Supreme Edition บนเว็บไซต์ของ Admirals

2. ไปที่แท็บ Market Watch ทางซ้ายมือของหน้าจอ จากนั้นค้นหาตราสารที่ต้องการ คลิกขวาที่แล้วเลือก "Chart Window" เพื่อเปิดกราฟราคา

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 Supreme Edition - Market Watch

3. หลังจากเปิดกราฟแล้ว กด Ctrl+N เพื่อเปิดหน้าต่าง "Navigator" (หากยังไม่ได้เปิดกราฟ ให้เปิดจากทางด้านซ้ายมือ)

4. จากหน้าต่าง "Navigator" ให้เลือก "Expert Advisors" จากนั้นคลิกและลาก 'Admirals - Mini Terminal' ลงในกราฟราคาเปิดของคุณ

ที่มา: AdmiralMarkets MetaTrader 5 Supreme Edition - Expert Advisors

5. หลังจากเปิดแล้ว คลิกที่ฟันเฟืองสีเหลืองที่มุมขวาบนของ Mini Terminal เพื่อเปิดการซื้อขาย

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 Supreme Edition - Mini Terminal

6. ในกล่องโต้ตอบถัดไป ให้เลือกประเภทคำสั่งซื้อของ OCO breakout จากนั้นกรอกเงื่อนไขที่ต้องการเพื่อสร้างคำสั่งซื้อ!

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 Supreme Edition - Mini Terminal New Order

ว่าด้วยเรื่องของ GDP คือ ...

ตอนนี้คุณควรตระหนักอย่างถ่องแท้ว่า GDP คืออะไร ผลกระทบของ GDP ต่อตลาดการเงิน รวมทั้งวิธีที่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์เมื่อทำการซื้อขาย เช่นเดียวกับแนวทางหรือกลยุทธ์การซื้อขายใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือต้องทดสอบความสามารถในการใช้งานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงก่อนที่จะเสี่ยงเงินทุนของคุณในตลาดจริง

บัญชีทดลองเทรด ทางออกของการเรียนรู้ที่ไม่ต้องเสี่ยงเงินทุน

รู้หรือไม่ว่าสามารถเทรดด้วยสกุลเงินเสมือนได้โดยใช้ข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์โดยไม่ทำให้เงินทุนของคุณตกอยู่ในความเสี่ยง ด้วยบัญชีทดลองเทรดที่ปราศจากความเสี่ยงของ Admirals ที่จะชjวยให้สามารถทดสอบกลยุทธ์การซื้อขาย GDP ได้ตามต้องการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับเงินทุน

บัญชีทดลองเทรดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ เพื่อทำความคุ้นเคยกับการเทรด หรือสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการทดสอบกลยุทธ์การเทรด เปิดบัญชีทดลองเทรดฟรีของคุณวันนี้คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

รู้จักกับ Admirals

Admirals คือ โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด