หุ้นรัสเซีย วิกฤติการเงินในรัสเซีย และรูเบิลรัสเซีย (RUB)

Jitanchandra Solanki

หุ้นรัสเซียและอุตสาหกรรมการเงินในรัสเซียเคยเป็นหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงปี 2000 - 2012 แต่ต่อมาก็หดตัวอย่างรุนแรง โดยมี GDP ที่เติบโตสูงสุดถึง 83% จากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ยอดขายอาวุธและการลงทุนข้ามชาติที่เพิ่มขึ้น

แต่ต่อมาในปี 2013 เศรษฐกิจรัสเซียก็ตกต่ำอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับ USD โดยค่าเงินรูเบิลร่วงลงถึง 250% จนธนาคารกลางต้องออกมาแทรกแซงค่าเงิน แต่นั่นก็ไม่สามารถฟื้นคืนความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ และทำให้ค่าเงินรูเบิลตกต่ำและหากไกลจากระดับมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

และในบทความนี้เราจะนำคุณมาวิเคราะห์หุ้นรัสเซีย สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติการเงินในรัสเซีย และสาเหตุของความตกต่ำทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันที่นี่ที่เดียว!

วิกฤติเศรษฐกิจในรัสเซียเกิดจากอะไร

กล่าวได้ว่าสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อวิกฤติเศรษฐกิจในรัสเซียคือราคาพลังงานที่ร่วงลงอย่างหนักและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

 1. ราคาน้ำมันที่ตกต่ำ

สินค้าส่งออกหลักของรัสเซียคือสินค้าพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หากอ้างอิงข้อมูลจาก ​EIA จะเห็นได้ว่ารายได้จากจากการส่งออกทั้งหมดของรัสเซียในปี

น้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 68% ของรายได้ในปี 2023 ของรัสเซีย ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเศรษฐกิจรัสเซียต้องพึ่งพาราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันเป็นอย่างมาก

ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 ราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้น จากอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดเกิดใหม่และอุปทานที่ลดลง นอกจากนี้น้ำมันจากหินดินดาน (Shale Oil) แหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ที่ยังไม่ได้เริ่มขุดเจาะใช้งาน ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางแห่งความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมน้ำมัน 

แต่เนื่องจากการผลิตน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดในสหรัฐฯ และแคนาดา ทำให้ตลาดมีอุปทานน้ำมันจำนวนมาก และส่งผลให้ราคาน้ำมันในปี 2014 ลดลงกว่า 50% โดยและในฤดูร้อนปี 2014 WTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานราคาน้ำมันทั่วโลก มีการซื้อขายสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ในช่วงต้นปี 2015 ระดับราคาน้ำมันก็ตกลงมาที่ประมาณ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ OPEC ต้องการลดระดับการผลิตเพื่อกระตุ้นราคาน้ำมัน ซึ่งทำให้ความเครียดต่อเศรษฐกิจรัสเซียรุนแรงขึ้นอีก

 2. มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากนานาชาติ

สาเหตุต่อมาของการล่มสลายทางเศรษฐกิจรัสเซียนั้คือนโยบายต่างประเทศของประเทศ โดยในเดือนมีนาคม 2014 รัสเซียพยายามควบรวมดินแดนไครเมียซึ่งเป็นอดีตดินแดนของยูเครนเป็นของตน ทำให้เกิดมาตรการคว่ำบาตารจากนานาชาติ และนำไปสู่การยกเลิกการเป็นสมาชิก G8 ของรัสเซีย ทำให้กลุ่มกลับมาเป็น G7 ดังเดิม

การกระทำของรัสเซียยังนำไปสู่การคว่ำบาตรทางการเงินหลายครั้งจากทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการคว่ำบาตรเหล่านี้จะมุ่งเป้าไปที่ภาคการเงิน พลังงาน และการป้องกันประเทศเป็นหลัก โดย Joe Biden รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นกล่าวถึงการคว่ำบาตรในเดือนตุลาคม 2014 ว่า "การคว่ำบาตรในครั้งนี้ได้ส่งผบกระทบโดยตรงอย่างการลี้ภัยจากรัสเซีย ต่างประเทศหยุกลงทุนในรัสเซีย รวมทั้งค่าเงินรูเบิลเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ จนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจที่เข้าใกล้จะภาวะถดถอยของรัสเซีย"

เแล้วศรษฐกิจรัสเซียแย่ขนาดไหน? หากอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารโลกและ OECD การเติบโตของ GDP ของรัสเซียอยู่ที่ 1.06% ในปี 2013 -1.07% ในปี 2014 และ -3.9% ในปี 2015 โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มหดตัวตั้งแต่ในปี 2014

3. เศรษฐกิจรัสเซียและการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 

สภาพเศรษฐกิจรัสเซียยังต้องพึ่งพาความสามารถในการค้าขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างมาก เนื่องจากเป็นสกุบเวินอ้าวอิงในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ของโลก โดยเฉพาะในตลาดน้ำมันที่จะต้องจะทำธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตรรัสเซีย จากการแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในปี 2016 และความขัดแย้งในยูเครน ส่งผลให้อุตสาหกรรมของรัสเซียและบริษัทที่ใหญ่ที่สุดไม่สามารถใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้

ในขณะที่รัสเซียกำลังพยายามเลิกพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงทำให้เป็นเรื่องยากจนเกิดเป็นปัญหาสำคัญภายในเศรษฐกิจรัสเซีย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งยังกู้ยืมเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทรัสเซียไม่สามารถทำธุรกรรมในสกุลเงินรัสเซียต้องหวาดกลัว ทำให้วิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซียรุนแรงขึ้นอีก และยังคงเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจรัสเซียต่อไป

4. การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกน้ำมันและเศรษฐกิจรัสเซีย

หลังวิกฤติการเงินรัสเซียที่เลวร้ายที่สุดในปี 2014 รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมาจากการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ความล้มเหลวในการกระจายเศรษฐกิจของรัสเซียยังมีเป็นประเด็นสำคัญที่โต้แย้งกันอยู่ว่าอะไรคือสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลยังไม่ฟื้นตัวสู่จุดเดิมก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน

และแม้ว่ารัสเซียจะขายก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศในยุโรป ซึ่งอาจมีราคาเป็นเงินยูโร แต่การค้าน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นตลาดเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คู่ค้ารายใหญ่ก็ไม่อาจรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยการซื้อขายสกุลเงินอื่น ยกเว้นจีนที่ได้เพิ่มเพิ่มการซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในสกุลเงินรูเบิลรัสเซีย

แต่เนื่องจากประเทศต่างๆ พยายามเลิกพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และหันมาหันมาใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น เศรษฐกิจรัสเซียก็อาจยังคงตกต่ำต่อไปอีกหลายปีต่อจากนี้ น่าเสียดายที่ระบบเศรษฐกิจของรัสเซียยังการขาดความหลากหลายทำให้รัสเซียกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและโอกาสในการเติบโตในอนาคตอันใกล้นี้ต้องหยุดชะงัก

ตอนนี้คุณรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุของวิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซียแล้ว บางทีอาจถึงเวลาที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขาย การเพิ่มพูนความรู้ของคุณเป็นเรื่องง่ายหากคุณลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการซื้อขายของเรา ซึ่งเทรดเดอร์ผู้มีประสบการณ์จะมาแบ่งปันความลับและกลยุทธ์ของพวกเขา คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเข้าถึงพวกเขา!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

เศรษฐกิจรัสเซียล่มสลายและการล่มสลายของรูเบิลรัสเซีย

ผลของส่งผลให้นักลงทุนเริ่มนำเงินออกจากรัสเซีย ขายสินทรัพย์ของรัสเซีย และย้ายรายได้ไปที่อื่น ความผันผวนของรูเบิลรัสเซียปรากฏชัดในกราฟด้านล่างนี้

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 กราฟราคารายสัปดาห์ของ USD/RUB ตั้งแต่: 21 ธ.ค. 2014 - 6 พ.ย. 2019 วันที่เก็บภาพ: 6 พ.ย. 2019 เวลา 16:00 GMT - หมายเหตุ: ประสิทธิภาพในอดีตไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต

กราฟราคา USD/RUB นด้านบนแสดงขนาดของการลดค่าเงินรูเบิลรัสเซียในอดีต ในช่วงครึ่งหลังของปี 2014 โดยในต้นปี 2014 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่า ₽32.84 ณ และในช่วงปลายปี 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่า ₽78.12 สำหรับองค์กรธุรกิจที่พยายามชำระหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในเวลาไม่กี่เดือนที่เลวร้ายนี้ ก็ทำให้ แหล่งรายได้หลักของประเทศอย่างน้ำมัน ก็พังทลายลงเช่นกัน ดังที่สามารถเห็นได้ในกราฟด้านล่างนี้

ที่มา: Admirals Admirals MT4 กราฟราคารายสัปดาห์ของ WTI ตั้งแต่: 1 ธ.ค. 22006 - 6 พ.ย. 2019 วันที่เก็บภาพ: 6 พ.ย. 2019 เวลา 16:00 GMT - หมายเหตุ: ประสิทธิภาพในอดีตไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของผลลัพธ์ในอนาคต


รายได้จากน้ำมันที่ลดลงรวมกับค่าเงินที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงลงถึง
250% กล่าวได้ว่าความเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ของค่าเงินรูเบิลรัสเซียนี้เป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซีย ส

ข่าวเศรษฐกิจรัสเซียและค่าเงินรูเบิลในปี 2024

จากข้อมูลข้างต้น เศรษฐกิจรัสเซียและรูเบิลรัสเซียได้รับอิทธิพลอย่างมากจากราคาน้ำมัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และความเชื่อมั่นทางภูมิรัฐศาสตร์ในระดับระหว่างประเทศ ดังนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงพิจารณาตลาดเหล่านี้อย่างเป็นอิสระ เพื่อพิจารณาความเสี่ยงในเศรษฐกิจรัสเซียและสกุลเงินของรัสเซีย

แนวโน้มเศรษฐกิจรัสเซียในปี 2024 ดูเหมือนจะผสม จากปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางของเศรษฐกิจ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า GDP ของรัสเซียอาจเติบโตเล็กน้อยที่ประมาณ 1.5% และอาจชะลอตัวลงเหลือ 1.3% ในปี 2025 ผลประกอบการทางเศรษฐกิจของรัสเซียคาดว่าจะเติบโตที่ 3.1% และอาจต้องเผชิญกับความท้าทายเ นื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของรัสเซียในปี 2024 สะท้อนการประมาณการแบบอนุรักษ์นิยมมากขึ้นที่ 0.5-1.5% การใช้จ่ายทางสังคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งบ่งชี้ว่างบประมาณมุ่งเน้นไปที่ข้อกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์

กล่าวได้ว่าประสิทธิภาพของรูเบิลรัสเซียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก โดยแนวทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางแห่งรัสเซียชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 11-13% ในปี 2024 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ตกต่ำและรูเบิลที่อ่อนค่าลง แต่ UN ก็คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวเล็กน้อยในปี 2024 ตามด้วยการกลับมาเติบโตในระยะกลางต่ำในปีนี้ 2ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของเงินรูเบิล

โดยสรุป เศรษฐกิจรัสเซียในปี 2024 ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย อีกทั้งประสิทธิภาพของรูเบิลยังอาจได้รับอิทธิพลจากนโยบายเศรษฐกิจ สภาวะตลาดโลก และข้อพิพาททางภูมิรัฐศาสตร์

คู่เงินดอลลาร์สหรัฐต่อรูเบิลรัสเซีย (USD/RUB) หรือเงินปอนด์อังกฤษต่อรูเบิลรัสเซียเป็นเพียงคู่สกุลเงินส่วนหนึ่งที่คุณสามารถซื้อขายได้กับ Admirals คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเรียนรู้เตรวจสอบคู่สกุลเงินที่หลากหลายที่คุณสามารถเลือกได้ตามต้องการ

ETF CFDs

ซื้อขาย CFDs ในกองทุน ETFs ยอดฮิต!

การเทรดรูเบิลและวิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซีย

วิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซียส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงและการคว่ำบาตรทางการเงิน แม้เวลาจะผ่านไปหลายปีแล้ว ค่าเงินรูเบิลก็ยังไม่สามารถฟื้นขึ้นมาต่ำกว่า 250% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐได้

แต่ก็มีตัวแปรทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจของเทรดเดอร์ที่ต้องพิจารณาในปีนี้ หากคุณพร้อมที่จะทดสอบแนวคิดและกลยุทธ์การเทรดกของคุณ ลองเปิดบัญชีทดลองเทรดเพื่อฝึกฝนการเทรดในสภาพแวดล้อมการซื้อขายที่ปราศจากความเสี่ยง คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองเทรดก่อนใครได้แล้ววันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

 คำถามที่บ่อยในการลงทุนหุ้นรัสเซีย

วิกฤตการณ์การเงินรัสเซียเกิดจากอะไร ?

วิกฤติการเงินรัสเซียเกิดจาดหลายๆ ปัจจัย เช่น ราคาน้ำมันตก การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่บังคับใช้กับรัสเซีย และการพึ่งพาเศเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบเศรษฐกิจรัสเซีย

 

วิกฤตการณ์ทางการเงินรัสเซียเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

วิกฤตการณ์ทางการเงินของรัสเซียเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2014 เนื่องจากรูเบิลรัสเซียเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างมาก แต่วิกฤตเศรษฐกิจรัสเซียก็สิ้นสุดลงในปี 2016

 

รูเบิล (Rub) สามารถซื้อขายในตลาด Forex ได้หรือไม่ ?

เพื่อป้องกันการไหลออกของเงินทุน จึงมีการกำหนดข้อจำกัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับการไหลของเงินทุนข้ามพรมแดน และรูเบิล (RUB) ถูกยุติการเป็นสกุลเงินที่แปลงสภาพได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ด้วยข้อจำกัดในการนำสกุลเงินต่างประเทศออกจากรัสเซียในรูปของเงินสด และการโอนเงินผ่านธนาคารระหว่างประเทศมีอย่างจำกัด

 

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับบทความการวิเคราะห์:

ข้อมูลที่ระบุให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประมาณการ การพยากรณ์ การคาดการณ์ การทบทวนตลาด แนวโน้มรายสัปดาห์ หรือการประเมินหรือข้อมูลอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า "การวิเคราะห์") ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทการลงทุนของ Admirals ที่ดำเนินงานภายใต้เครื่องหมายการค้า Admirals (ต่อไปนี้ “Admirals”) โปรดอ่านหมายเหตุ ก่อนการตัดสินใจลงทุนใดๆ

  • บทความนี้คือการสื่อสารการตลาด โดยมีเนื้อหาเผยแพร่เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่สามารถตีความว่าเป็นคำแนะนำหรือคำแนะนำในการลงทุนได้ ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
    ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใดๆ ในการดำเนินการก่อนการเผยแพร่งานวิจัยด้านการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนเป็นการติดสินใจของลูกค้าเอง Admirals จะไม่รับผิดชอบต่อการขาดทุน ความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะอิงจากเนื้อหาหรือไม่ก็ตาม
  • Admirals ได้กำหนดขั้นตอนภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า และความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ข้อมูล
  • การวิเคราะห์จัดทำขึ้นโดยนักวิเคราะห์อิสระ (ต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้เขียน") ตามการประเมินส่วนบุคคล
  • เราได้ตรวจสอบข้อมูลแหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดว่าเชื่อถือได้ และข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกนำเสนอในลักษณะที่เข้าใจได้ ทันเวลา แม่นยำ และครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Admirals จะไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลที่มีอยู่ในการวิเคราะห์
  • ไม่ควรตีความผลการดำเนินงานของเครื่องมือทางการเงินในอดีตหรือแบบทดลองใดๆ ที่ระบุในเนื้อหาว่าเป็นสัญญา โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย หรือการรับประกันผลการดำเนินการในอนาคต มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง และ Admirals จะไม่รับประกันการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ใดๆ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (Leverage) (รวมถึงสัญญาส่วนต่าง) คือการเก็งกำไร และอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนหรือกำไรได้ โปรดตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ ก่อนเริ่มทำการซื้อขาย 
TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด