พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร - ทำไมต้องซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล

Admirals
20 นาที

พันธบัตรในปัจจุบันมีหลายประเภท และมีเหมือนกันตรงที่ออกโดยสถาบันต่างๆ โดยใช้หลักการพื้นฐานเดียวกันคือผู้ออกตราสารหนี้เป็นผู้รับภาระหนี้ และผู้ที่ซื้อตราสารหนี้คือผู้ถือพันธบัตรเป็นผู้จัดหาเงินทุน เพื่อแลกกับเงินเหล่านี้ ผู้ออกจะจ่ายดอกเบี้ยคงที่เป็นระยะๆ จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด

หรือก็คือ สมมติว่าซื้อพันธบัตรมูลค่า 1,000 ปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ย 5% โดยจ่ายเป็นรายปี (เป็นระยะเวลา 10 ปี) จึงหมายความว่า ผู้ซื้อพันธบัตรให้ผู้ออกพันธบัตรยืมเงินจำนวน 1,000 ปอนด์ เป็นระยะเวลา 10 ปี ในระหว่างนั้นผู้ซื้อก็จะได้รับรางวัลทุกปีด้วยดอกเบี้ยคงที่ 50 ปอนด์ (= 1,000 ปอนด์ x 0.05) เมื่อครบ 10 ปี ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินคืน 1,000 ปอนด์ รวมถึงดอกเบี้ยสะสมตลอด 10 ปี = 500 ปอนด์ (50 ปอนด์ x 10)

ซึ่งหมายความว่าผู้ซื้อจะได้รับเงินทั้งหมด 1,500 ปอนด์ (ซึ่งเป็นเงินคืน 1,000 ปอนด์บวกกับดอกเบี้ยทั้งหมด 500 ปอนด์) ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลก็ทำงานด้วยหลักการเดียวกัน โดยผู้ออกพันธบัตรคือรัฐบาล และผู้ซื้อสามารถเป็นบุคคลใดก็ได้ที่ต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล โดยปกติแล้วจะใช้สกุลเงินของประเทศนั้นๆ ในการซื้อขาย ตรงกันข้ามกับตราสารหนี้อย่างตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) พันธบัตรรัฐบาลมีกรอบเวลาครบกำหนดระยะกลางถึงระยะยาว ซึ่งบางครั้งครอบคลุมตลอดหลายทศวรรษ

พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร ?

พันธบัตรรัฐบาล คือ การที่รัฐบาลออกตราสารหนี้ให้กับนักลงทุน เมื่อนักลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็เปรียบเหมือนนักลงทุนให้รัฐบาลกู้ยืมเงินเป็นระยะเวลาหลายปี ในทางกลับกัน นักลงทุนก็จะได้รับดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ของเงินกู้ที่ได้ให้ไว้ ซึ่งมูลค่าของพันธบัตรจะไม่เปลี่ยนแปลง และรัฐบาลก็จะใช้เงินจำนวนนี้สำหรับกิจกรรมในบริหารประเทศ โดยในสหราชอาณาจักร พันธบัตรรัฐบาลนี้จะเรียกว่า "Gilts" หรือ "Treasury-Gilts"

โดยทั่วไปแล้ว Gilts จะออกโดยสำนักงานบริหารหนี้ของสหราชอาณาจักร (UK Debt Management Office) และมีชื่อตามรายละเอียดของพันธบัตรโดยทั่วไปคือ อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) หรือ 3% ตามด้วยชื่อหน่วยงานที่ออก ตามด้วยวันที่แลกรับ "3% Treasury Stock 2021" และหากรัฐบาลสหราชอาณาจักรต้องการระดมทุน 100 ล้านปอนด์ ก็สามารถทำได้โดยการออก Gilts จำนวน 1 ล้านตัว ในมูลค่าตัวละ 100 ปอนด์ ซึ่งการกำหนดค่านี้จะเรียกว่า "มูลค่าที่กำหนด" หรือ "At Par (ราคาตามมูลค่า)" สมมติว่าคุณซื้อทองคำแท่งมูลค่า 1,000 ปอนด์ ก็จะได้รับผลตอบแทน 3% หรือ 30 ปอนด์ทุกปีจนกว่าจะได้รับ 1,000 ปอนด์ คืนในปี 2021 โดยมีตัวอย่าง Gilts แบบต่างๆ ดังนี้

  • 4½% Treasury Gilt 2019
  • 1½% Treasury Gilt 2026
  • 4½% Treasury Gilt 2034

Gilt คืออะไร?

Gilt คือ พันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศอังกฤษในนามของคลังสมบัติของสมเด็จพระราชินี เป็นตราสารหนี้ที่มีจำนวนเงินตามสัญญา อัตราดอกเบี้ย และวันครบกำหนดไถ่ถอน โดยในอดีตตราสารหนี้เหล่านี้เคยมีขอบปิดทอง จึงเป็นที่มาของชื่อ Gilts ทั้งนี้ Gilts มีหลายประเภท เช่น Index-linked, Double-dated เป็นต้น

โดยปกติแล้ว พันธบัตรรัฐบาลจะให้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ดังนี้

  • มูลค่าเงินต้น : นี่คือจำนวนเงินที่เราซื้อไป หรือเป็นจำนวนหนี้ที่รัฐบาลดำเนินการซึ่งพวกเขาจะจ่ายดอกเบี้ย
  • อัตราดอกเบี้ย (Coupon Rate): อัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรรัฐบาล ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนพันธบัตร อัตราคูปองเหล่านี้แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยสำหรับพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษอายุ 2 ปี คือ 2% (ณ วันที่ 10 กันยายน 2018) หรือถ้าเป็น 5 ปีจะเท่ากับ 0.75% คูปองจะถูกกำหนดโดยระยะเวลาจนกว่าจะครบกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยิ่งคุณอยู่ห่างจากวันไถ่ถอนหรือวันครบกำหนดอัตราดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้น
  • อัตราผลตอบแทน (Yield) : อัตราดอกเบี้ยรายปี (หาร) ด้วยราคาตลาดปัจจุบันของพันธบัตร จะได้เป็นอัตราผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ หากคุณลงทุนในพันธบัตร การคำนวณผลผลิตมีหลายประเภท
  • วันครบกำหนด : วันที่ครบกำหนดคือวันที่จำนวนเงินที่คุณให้ยืมกับรัฐบาลจะคืนให้คุณ
  • ราคาตลาดปัจจุบัน : พันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองด้วย หรือตลาดตราสารหนี้มีตลาดรองที่มีการซื้อขาย มันจะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้เพราะการจ่ายเงินก้อนคงที่ในช่วงเวลาปกตินั่นหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าทำให้พวกเขาน่าสนใจยิ่งขึ้น

สมมติว่ามีพันธบัตรรัฐบาล 4.75% และคุณซื้อสิ่งนี้มูลค่า 1,000 ปอนด์ ในอนาคตอัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็น 3% (จากที่กล่าวมา 4.75%) นี่คือเวลาที่ผลตอบแทน 4.75%

จะเห็นว่า ราคาของพันธบัตรรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นและสูงกว่ามูลค่าเล็กน้อย 1,000 ปอนด์ ในทางกลับกันหากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนเป็น 7% ซึ่งแปลว่า ราคาพันธบัตรรัฐบาลในอนาคต 4.75% จะไม่น่าสนใจอีกต่อไป และสุดท้ายสินค้าจะลดลงต่ำกว่าระดับ 1,000 ปอนด์

ปัญหาการคำนวณดังกล่าว ทำให้เกิด "สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ" ซึ่งความจริงเป็นเอกชนที่พยายามเข้ามามีอิทธิพลในตลาดพันธบัตรรัฐบาลให้การจัดอันดับ ซึ่งสำหรับการจัดอันดับพันธบัตรรัฐบาล จะขึ้นอยู่กับว่าตลาดของพวกเขามีกำไรมากเพียงใด AAA มักจะเป็นอันดับสูงสุดในขณะที่ BBB หรือสูงกว่าเป็นพันธบัตรระดับการลงทุน

ถ้าต่ำกว่า BBB จะเริ่มน่ากังวลแล้ว โดยหากพันธบัตรได้รับการจัดอันดับ BB หรือต่ำกว่า มันจะให้ผลตอบแทนสูง แต่หมายถึง "ความเสี่ยง" ย่อมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หน่วยงานจัดอันดับต่างๆ ทำตามระบบต่างๆเพื่อให้คะแนนพันธบัตร เป็นประโยชน์ที่จะทราบว่าสถาบันจัดอันดับพิจารณาระดับการลงทุนพันธบัตรหรือต่ำกว่าระดับการลงทุน

พันธบัตรรัฐบาลที่ได้รับการกำหนดเป็น AAA หรือตั้งแต่ระดับการลงทุน ก็หมายความว่ามีความเสี่ยงต่ำในการผิดนัดชำระหนี้ อันดับเครดิตของ S&P สำหรับพันธบัตรดังกล่าวแสดงโดย AAA, AA +, AA และ AA- พันธบัตรที่มีการจัดอันดับเหล่านี้มีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของคุณสูงกว่า

UK Gilt ประเภทต่างๆ 

มี Gilts ในตลาดสหราชอาณาจักรหลากหลายประเภท ดังนี้

Conventional Gilts: พันธบัตรนี้เป็นพันธบัตรพบบ่อยที่สุด โดยมีจุดเด่นที่การระบุ อัตราดอกเบี้ย คงที่ทุกๆ 6 เดือน และมีระยะเวลาครบกำหนดมาตรฐาน เช่น 5, 10 และ 30 ปี นับจากวันที่ออก และเมื่อถึงวันที่ครบกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นและผลรวมของ Coupon ทั้งหมด

Index-Linked Gilts: พันธบัตรประเภทนี้จะช่วยป้องกันเงินเฟ้อ ด้วยการชำระเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับตามการเปลี่ยนแปลงในดัชนีราคาขายปลีกของสหราชอาณาจักร ซึ่งจะมีการจ่ายในทุกๆ 6 เดือน และเมื่อครบกำหนดชำระคืนเงินต้น

Double Dated Gilts: พันธบัตรชนิดนี้ออกครั้งสุดท้ายในปี 2013 โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร และมีกำหนดวันครบกำหนดที่แตกต่างกันออกไป

ซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลดีอย่างไร ?

ความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยและปัจจัยอื่นๆ ทำให้พันธบัตรรัฐบาล คือ เครื่องมือทางการเงินที่ดีเในการซื้อขาย และการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลก็มีข้อดีหลายอย่างมากกว่าการถือไว้

  • การซื้อขายระยะสั้น (Short Term Trading): การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลจะตรงกันข้ามกับการถือครองพันธบัตรเป็นเวลานาน (จนกว่าจะครบกำหนด) การซื้อขายจะช่วยให้ผู้ถือสามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้ในช่วงเวลาสั้นถึงปานกลาง
  • ข้อได้เปรียบของเลเวอเรจ (Leverage): อย่าเพิ่งวาง Position ในมูลค่าเต็ม เพราะการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลนี้สามารถเลือกใช้เลเวอเรจ (Leverage) เพื่อขยายผลกำไรได้ อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่า โอกาสในการขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้นจากเลเวอเรจด้วยเช่นกัน
  • เทรดได้ 2 ทิศทาง: ด้วย CFD คุณสามารถเก็งกำไรในพันธบัตรรัฐบาลได้ทั้งจากการขึ้นและลงของราคา แตกต่างจากการซื้อพันธบัตรทั่วไปที่อยู่ได้แค่ฝั่ง Buy เท่านั้น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจะขาดทุนก็ต่อเมื่อพันธบัตรราคาตก ซึ่งการใช้ CFD อาจมีประโยชน์มากสำหรับการซื้อขายแบบนี้

ลองใช้บัญชีทดลองเทรดกับ Admirals

บัญชีทดลองเทรดคืออีกหนึ่งวิธีที่สามารทำการทดลองการซื้อขายพันธบัตรด้วย CFD จะเป็นไปได้อย่างไร และด้วยบัญชีทดลองเทรดของ Admirals จะช่วยให้คุณสามารถทดลองเทรดบนบัญชีที่ปราศจากความเสี่ยง พร้อมการเข้าถึงเครื่องมือการซื้อขายทุกประเภทในสภาพแวดล้อมการซื้อขายเสมือนจริง ด้วยข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์และข้อมูลเชิงลึกการซื้อขายที่อัปเดตล่าสุด คุณจึงไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับเงินทุน อีกทั้งยังสามารถย้ายไปยังตลาดจริงได้ทันทีที่ต้องการ

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

วิธีลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหราชอาณาจักร

อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นพันธบัตรรัฐบาลจะผูกติดอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของประเทศ วิธีที่ดีในการเทรดคือการเลือกเทรดผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ CFD เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก CFD จะช่วยห้คุณ Take Position ในทิศทางที่ต้องการ และยังสามารถเลือกเปิดปิดสถานะซื้อหรือรักษาสถานะซื้อไว้หากราคาสูงขึ้น เมื่อราคากำลังลดลงก็สามารถเลือกเปิดสถานะขายหรือมีสถานะขายได้

ซึ่งคุณสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของราคาได้ เนื่องจากส่วนต่างนี้ จะช่วยให้คุณมีตัวเลือกในการเพิ่มทุนสำหรับตัวเลือกการลงทุนอื่นๆ คุณจึงไม่จำเป็นต้องรอให้พันธบัตรครบกำหนดสัญญา เพราะคุณอาจต้องสัมผัสกับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น และหากคุณสนใจที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสหราชอาณาจักร คุณจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้

  • อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate): แน่นอนว่าควรติดตามอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร เพราะพันธบัตรจะให้รายได้คงที่ และอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินนั้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ผลตอบแทนนั้นมีค่าน้อยลง นอกจากนี้ ราคาพันธบัตรที่สูงขึ้นก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนลดลงได้เช่นเดียวกัน
  • อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate): อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนลงทุน หากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ก็จะทำให้พันธบัตรรัฐบาลมีมูลค่าที่ลดลง
  • นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing - QE): การทำ QE QE ในสหราชอาณาจักรมีมาตั้งแต่ปี 2009 ทำให้ Gilt เป็นตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งหมายความว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้สร้างและซื้อ Gilt เป็นจำนวนมาก จึงให้เกิดความต้องการมากขึ้น และด้วยปริมาณของพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น กลไกราคาจะส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลง
  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย: พันธบัตรจะเติบโตในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อโดยตรง โดยจะอยู่ฝั่งตรงข้ามเงินเฟ้อ เรียกว่า "เงินฝืด" โดยพันธบัตรเจริญเติบโตในช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง

และวิธีที่ดีในการติดตามตัวเลขเหล่านี้ก่อนตัดสินใจลงทุน คือ การใช้ปฏิทิน Forex ที่อยู่ใน MetaTrader 4 Supreme Edition (MT4SE) แพลตฟอร์มการซื้อขายที่จะช่วยให้คุณสามารถซื้อขาย CFD ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและในตลาดฟอเร็กซ์ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้คุณยังสามารถเปิดบัญชีทดลองเทรด เพื่อเริ่มซื้อขายเงินเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความเสี่ยง เพื่อการทดสอบกลยุทธ์ก่อนเข้าสู่ตลาดจริง!

ความเสี่ยงในการลงทุนพันธบัตรและตราสารหนี้

ตราสารหนี้ คือ สินทรัพย์ในกลุ่ม Safe-Haven ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้มากกว่าเมื่อเทียบกับเงินออม อีกทั้งในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยลดลง มักจะมีความผันผวนน้อยกว่า Forex และตลาดหุ้น ความต้องการของตราสารหนี้ที่สูงนั้นสะท้อนให้เห็นถึง "โหมดปรับฐาน Flights to Safety" อย่างไรก็ตาม ก็อาจเกิดความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk): ความเสี่ยงด้านตลาดหรือปัจจัยภายนอกนี้เกี่ยวข้องกับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงต้องระมัดระวังอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากอัตราของพันธบัตรอาจล่าช้ากว่าราคาที่เพิ่มขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Inflation-linked Gilt หรือ Index-linked Gilt ซึ่งนักลงทุนสามารถถือครองได้โดยไม่ต้องกังวลกับทั้งการจ่ายดอกเบี้ยและการจ่ายครบกำหนดกับดัชนีราคาผู้บริโภค
  • ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk): กรณีนี้คือกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก คือการที่รัฐบาลเลือกที่จะผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินในประเทศ โดยการตัดสินใจที่จะไม่สร้างสกุลเงินเพิ่มเติม
  • ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity Risk): ความต้องการพันธบัตรที่ลดลงทำให้ขายออกได้โดยเฉพาะการต้องการขายในสถานการณ์ที่จำเป็น

และไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการลงทุนแบบไหน โปรดอย่าลืมว่าความรู้และการวิเคราะห์ตลาดมีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อขายอย่างสมเหตุสมผล และไม่ควรดำเนินการลงทุนใดๆ จนกว่าจะมีการบริหารความเสี่ยงได้ก่อน

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

รู้จักกับ Admirals

Admirals คือ โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด