Market Outlook – อัตราดอกเบี้ย ความเชื่อมั่น และแนวโน้มของ Fed ในเดือนมกราคม

มกราคม 09, 2023 17:07

ไม่เกินจริงที่จะกล่าวว่า เดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ท้าทายที่เหล่างผู้เฝ้าดู Fed ต่างรวมตัวกันเพื่อเฝ้าดูการประชุมประจำปีครั้งแรกของธนาคารกลางในวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคอาจถูกบดบังด้วยความกังวลในภาคการผลิตของสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนธันวาคม ตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ ISM ที่มีการอ่านที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2016 (โดยไม่ทริกเกอร์ในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก pandemic ในเดือนเมษายน ปี 2020

โดยการชะลอตัวในเดือนธันวาคมนั้นมาจาก ความอ่อนแอของคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตจากภาคการผลิตที่เห็นในเดือนพฤศจิกายน และความแตกต่างของการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นจนสามารถเคลื่อนเข้าสู่แดนบวก ซึ่งมีการจ้างงานเกือบ 109% ของแรงงานสหรัฐฯ ทั้งหมด และค่าตอบแทนเฉลี่ยสำหรับคนงานนั้นสูงกว่าภาคเอกชนที่เหลือเกือบ 9% ซึ่งหมายความว่าเงินออมในครัวเรือนและการใช้จ่ายจากพนักงานจึงมีส่วนสำคัญต่อ GDP

ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ 

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากภาคการผลิตหดตัว?

โดยเฉพาะในภาคที่อยู่อาศัย ที่มีภาคการผลิตเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการผลิตมีส่วนร่วมถึงเกือบ 1 ใน 4 ของกิจกรรมผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ รวมถึงมูลค่าทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ความเปราะบางที่เกิดขึ้นก็สามารถสร้างความเสียหายหรือทำให้การเติบโตหยุดชะงักได้ 

โดยเมื่อต้นปีที่แล้ว Fed คาดการณ์ว่าาภาคการผลิตของปี 2022 จะลดลง รวมทั้งคาดการณ์อีกว่าการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงจะลดลงในปี 2023 แม้ว่าสภาพแรงงานจะตึงตัวในช่วงสิ้นปี 2022 ก็ตาม โดย Fed ย้ำว่า “การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวอย่างชัดเจนในปี 2023” ตามรายงานการประชุม FOMC เดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา

และการคาดการณ์ของ Fed ก็ได้กลายเป็นคำทำนายที่เติมเต็มในตัวเอง จากการชะลอตัวส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด ซึ่งเริ่มต้นในไตรมาสแรกของปี 2022 และเข้มงวดยิ่งขึ้นตลอดทั้งปี

โดยในช่วงต้นปีใหม่ได้มีการคาดการณ์นโยบายที่แข็งกร้าวของ Fed ว่าน่าจะยังไม่มีการการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น จากรายงานการประชุมที่ว่า “ไม่มีสมาชิกผู้เข้าร่วมที่เห็นด้วยกับการเริ่มต้นลดเป้าหมายอัตราเงินของรัฐบาลกลางในปี 2023 เป็นเรื่องที่เหมาะสม” ซึ่งนโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้ มีแนวโน้มที่จะคงอยู่จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ใน "เส้นทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 2%" และการดำเนินการนี้จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจนในปีหน้า ตามที่ธนาคารกลางระบุ

กลับมาที่ภาคการผลิต ต้นทุนสินเชื่อธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนเพื่อการลงทุนใหม่และการลงทุนเพื่อสร้างงาน ในทางกลับกัน เมื่อปัญหาคอขวดของอุปทานและต้นทุนของวัตถุดิบได้ผ่อนคลายลง และประสิทธิภาพการทำงานในเดือนธันวาคมในภาคส่วนงานก็ดีกว่าที่คาดไว้ ตามรายงาน ADP Employment Change

สิ่งที่คาดหวังจากการประชุม Fed ครั้งต่อไป

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดอยู่ที่ 0.5% และครั้งถัดไปอาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นการโดยยึดแนวทางโดยรวมไว้ที่ 5%

และความเชื่อมั่นของตลาดอาจผันผวนในช่วงเดือนมกราคม ก่อนที่การตัดสินใจครั้งใหม่จะประกาศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับถ้อยแถลงของ Fed ที่ประธาน Jerome Powell ที่มีกำหนดจะกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งอาจรวมถึงความคิดเห็นนอกกรอบต่อสื่อในกรุงสตอกโฮล์มในวันที่ 10 มกราคม เป็นต้น ทั้งนี้ สกุลเงิน USD อาจได้รับแรงหนุนหากถ้อยแถลงของ Fed สอดคล้องกับการคาดการณ์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้าของตลาด

นอกเหนือจากการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Fed แล้ว ข้อมูลของสหรัฐฯ ที่น่าจับตามองในเดือนมกราคม คือ ตัวเลขการยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ MBA สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มกราคม ล่าสุดอยู่ที่ระดับ -10.3% การยื่นขอจำนองที่ลดลงอย่างรวดเร็วสะท้อนถึงผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ของภาคธนาคาร หากแนวโน้มยังคงดำเนินต่อไปในไตรมาสแรก

ทั้งนี้ วันที่ 12 มกราคม ซึ่งเป็นการประกาศอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ ของเดือนธันวาคมก็ขยับใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 5.9% เทียบกับ 6% ในเดือนพฤศจิกายน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานหลักของเ Fed ในการประเมินเสถียรภาพราคา โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 6.9% เทียบกับผลก่อนหน้าที่ 7.1% ในเดือนพฤศจิกายน และหากอัตราเงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้และเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลงในเดือนธันวาคม ก็อาจเพิ่มโอกาสในการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ดุเดือดมากขึ้น เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดนี้ลดลง และ Fed ก็อาจคงท่าทีในระดับปานกลางมากขึ้นในระยะสั้น

นอกจากนี้ รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกนเบื้องต้นของเดือนมกราคมจที่จะมีการประกาศในวันที่ 13 มกราคม คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 60.5 เทียบกับ 59.7 ก่อนหน้านี้ โดยเกณฑ์มาตรฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญครอบคลุมความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2 ใน 3 ของ GDP ในสหรัฐฯ และหากตัวบ่งชี้เพิ่มขึ้นตามความคาดหวัง ก็อาจสนับสนุนแนวโน้มสดใสอื่นๆ เช่น ภาคการจ้างงานที่มีโอกาสที่ดัชนีอ้างอิงอาจทำให้ความคาดหวังผิดหวัง ทำให้แนวโน้มการเติบโตลดลง

ความผันผวน (Volatility)

ในเดือนมกราคมจะมีความผันผวนมากขึ้นหรือผันผวนน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม เมื่อคาดการณ์ถึงความเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ Fed ?

ตลาดหุ้นปิดฉากลงในปีที่แล้วด้วยอารมณ์ที่ไม่สู้ดีนัก ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมจากความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและการเทขายในภาคส่วนสำคัญๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีไปจนถึงพลังงาน เนื่องจากกระแสเงินเฟ้อได้พัดต่อจากปี 2022 เข้าสู่ปี 2023 ดังนั้น นักลงทุนและเทรดเดอร์ควรเตรียมพร้อมในการปรับสภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยและเฝ้าดูผลกระทบของความไม่แน่นอนต่อความเชื่อมั่นนี้ต่อไป

คุณว่าการเทรดข่าวเศรษฐกิจมหภาคน่าสนใจไหม? หากคำตอบคือใช่ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติม เรามีคำตอบให้คุณ กับสัมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี ที่คุณจะได้พบกับเซสชั่นที่หลากหลายพร้อมพบปะพูดคุยกับเหล่าเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมศึกษาวิธีการและกลยุทธ์ที่น่าสนใจในไลฟ์สดที่จะมาสาธิตวิธีการต่างๆ เพื่อคุณโดยเฉพาะ!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

  

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Sarah Fenwick
Sarah Fenwick นักเขียนด้านตลาดการเงิน

ภูมิหลังของ Sarah Fenwick เป็นมืออาชีพด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เธอทำงานเป็นนักข่าวที่ครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์สวิส การเงินและเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักเขียนมา 15 ปี