Market Outlook – จับตาอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันดิบ และรายงาน NFP

พฤศจิกายน 28, 2022 20:30

สรุปเหตุการณ์สำคัญจากสัปดาห์ที่แล้วที่ส่งผลต่อเนื่องถึงสัปดาห์นี้ โดยในวันพุธที่ผ่านมา Fed มีการรายงานการประชุมประจำเดือนพฤศจิกายน แม้นาย Jerome Powell ประธาน Fed จะมีการประกาศอย่างเด็ดขาดในการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤศจิกายน แต่จากการประชุม Fed หรือ FOMC ที่ผ่านมากลับเห็นได้ชัดว่า "เสียงข้างมาก" เห็นพ้องกันว่าอาจถึงเวลาที่เหมาะสมในการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วในเร็วๆ นี้

จากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่ลดลงจาก 8.2% เหลือ 7.7% ในเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อาจถึงจุดสูงสุดแล้ว ดังนั้น หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ถึง 4 ครั้งติดต่อกัน ส่งผลให้ตลาดต่างคาดการณ์ว่าในในการประชุมนโยบายครั้งต่อไป ในเดือนธันวาคม Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 50 bps

ซึ่งปฏิกิริยาในตลาดหลังการรายงานการประชุมของ Fed นั้นก็เป็นไปตามคาด โดย Wall Street ก็พุ่งขึ้นในวันนี้ ในขณะที่ USD เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า Fed อาจมีการควบคุมมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดเปิดทำการอีกครั้งหลังจากช่วงวันหยุดขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq Composite ก็ปรับลงเล็กน้อย แต่ดัชนีมาตรฐานทั้ง 3 ก็ปิดตลาดในสัปดาห์ได้ด้วยกำไร

ด้านราคาน้ำมันดิบที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย Brent ปิดในสุดวันศุกร์ด้วยการขาดทุนรายสัปดาห์ที่ 4.2% ในขณะที่ WTI ลดลง 4.4% ในสัปดาห์นี้ โดยเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 2 นั้นอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปีหรือเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา

แม้ว่าการที่ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงนี้นี่อาจเป็นข่าวดีสำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูง แต่ความอ่อนแอนี้คือการบ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่แย่ลงและเป็นสัญญาณอีกอย่างหนึ่งว่าเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

และสำหรับสัปดาห์นี้ มีเหตุการณ์เหตุการณ์ที่ควรจับตามองในปฏิทินเศรษฐกิจ รวมทั้งปัจจัยที่อาจส่งผลต่อทั้งเทรดเดอร์และนักลงทุน ดังนี้

อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซน

การดำเนินนโนบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่อาจช้ากว่า Fed และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) แต่ ECB ก็มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อแบบทำลายสถิติติดต่อกันที่ 75 bps 

และของวันพุธที่จะถึงนี้ เวลา 10:00 น. ตามเวลา GMT (17:00 น. ตามเวลาประเทศไทย) จะมีการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดของยูโรโซน และเราจะได้เรียนรู้ว่ามาตรการการเงินของ ECB นั้นจะส่งผลอย่างไร 

จากอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนที่เพิ่มขึ้นจาก 9.9% ในเดือนกันยายน 10.6% ในช่วง 12 เดือนก่อนถึงเดือนตุลาคม 2022 และการคาดการณ์ว่าตัวเลขในเดือนพฤศจิกายนอาจลดลงเหลือ 10.4% ซึ่งหากลดลงจริงก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนนั้นถึงจุดสูงสุดแล้ว

และการประกาศอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ ECB มีกำหนดการในวันที่ 15 ธันวาคม โดยในขณะนี้ มีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่จะปรับเพิ่มลดลงที่  50 bps

โดยหากมีการรายงานอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจมีการกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมอาจจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นยุโรปและส่งผลดีต่อค่าเงิน EUR

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ

ในตอนนี้ราคาน้ำมันดิบได้ดำเนินตามทิศทางขาลงตั้งแต่เดือนมิถุนายน หลังจากราคาที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี แม้ว่า OPEC+ จะเพิ่งประกาศลดการผลิตลงแล้วก็ตาม

โดยสาเหตุของแรงกดดันที่ลดลงนี้ส่วนใหญ่เป็นแนวโน้มเศรษฐกิจที่แย่ลง และเมื่อเศรษฐกิจหดตัว ความต้องการใช้น้ำมันก็จะลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงส่งผลโดยตรงต่อราคา ดังนั้น เมื่อมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดจึงพยายามนำอุปสงค์ที่ลดลงนี้ไปรวมกับราคาน้ำมันดิบ Crude Oil

นอกจากนี้ แม้จะมีการคาดการณ์เร็วๆ นี้ว่า จีนจะเริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดในนโยบายโควิด-19 แต่การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิดเมื่อไม่นานมานี้ก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตรงกันข้าม จากการใช้นโยบายข้อจำกัดใหม่ทั่วประเทศ รวมถึงในเมืองหลวงปักกิ่ง เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก จึงส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อราคาจากความกลัวว่าอุปสงค์ของจีนจะลดลง

และนอกจากในวันพุธ เวลา 15:30 น. GMT หรือ 22:30 น. ตามเวลาประเทศไทย  สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) จะประกาศปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ซึ่งตัวบ่งชี้ในรายสัปดาห์จะเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของบาร์เรลน้ำมันดิบที่ถือโดยบริษัทในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาเป็นลำดับถัดไป

โดยหลังจากลดลงของสต๊อกน้ำมันที่ลดลงมากกว่า 3.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว จึงมีการคาดการณ์ว่าสต๊อกน้ำมันจะลดลงอีก 1.055 ล้านในวันพุธนี้ ซึ่งหากการลดลงนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็จะเป็นสัญญาณของอุปสงค์ที่อ่อนแอในผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมันให้ลดลงอีกก่อนการประชุมครั้งต่อไปของ OPEC ในวันที่ 4 ธันวาคม

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) และอัตราการว่างงาน

จากในสัปดาห์ที่แล้วที่พลเมืองสหรัฐฯ มีการยื่นคำร้องขอสวัสดิการว่างงานใหม่เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งต่อไปก็จะเป็นการจับตามองตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร หรือ Nonfarm Payrolls (NFP)  ที่สำคัญทั้งหมดของเดือนพฤศจิกายนและอัตราการว่างงานซึ่งจะประกาศในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

การรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอในปฏิทินเศรษฐกิจ และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในปีนี้ท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ นอกจากนี้ บัญชีเงินเดือนนอกภาคเกษตรยังแสดงจำนวนงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้า แม้จะบันทึกการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบถึง 2 ไตรมาสติดต่อกันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ก็ลังเลที่จะประกาศภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการด้วยเหตุผลหลักคือตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณาตัวเลขเหล่านี้เพื่อตรวจหาสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งก็เป็นการกระตุ้นให้ Fed ดำเนินนโยบายทางการเงินที่แข็งกร้าวในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น จากเหตุผลที่ยิ่งตลาดแรงงานแข็งแกร่ง Fed ก็จะไม่ต้องกังวลกับการจุดประกายภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยไม่ตั้งใจ

และจากที่กล่าวข้างต้น ตลาดส่วนใหญ่คาดว่าในเดือนธันวาคม Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 50 bps โดยเมื่อพิจารณาถึงการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญจากการปรับขึ้นครั้งก่อนของ Fed จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรจะทำให้ตลาดประเมินการคาดการณ์ที่ลดลง เว้นแต่จะมีรายงานว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ในช่วงเวลาที่มีการประกาศผลของการประกาศสำคัญเหล่านี้ก็อาจส่งผลต่อความผันผวนในตลาดการเงินได้

สัมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี กับ Admiral Makrkets

Admiral Markets จัดสัมมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี สำหรับเทรดเดอร์แและนักลงทุนผู้สนใจแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมอัปเดตข่าวสารการเงิน กลยุทธ์การเทรดที่หลากหลายที่ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือลงชื่อเข้าร่วมสัมนาออนไลน์ ฟรีกับได้แล้ววันนี้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 

Roberto Rivero
Roberto Rivero นักเขียนด้านตลาดการเงิน, Admirals, London

Roberto ทำงานด้านการออกแบบระบบเทรดและวิธีการตัดสินใจมานานกว่า 11 ปี สำหรับให้เทรดเดอร์และผู้จัดการกองทุนไว้ใช้งาน และมีประสบการณ์ 13 ปี ทำงานร่วมกับนักลงทุนมืออาชีพในตลาด S&P เขามีปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการบริหารในปริญญาโท ทั้งนี้ เขาเป็นนักลงทุนสาย