นักลงทุนจับตาการตัดสินดอกเบี้ยของ Fed, ECB และ BoJ

มิถุนายน 14, 2023 20:30

3 ธนาคารกลางชั้นนำของโลกอย่าง ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) จะประกาศการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้

โดยคณะกรรมการกำกับดูแลของ Fed มีคำแนะนำถึงการประชุมในเย็นนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืมในครั้งนี้ว่า ตามรายงานข้อมูลทางการเงินล่าสุด ที่ Fed จะส่งผลต่อ ECB อย่างไร ทำให้ตลาดโลกคาดพุ่งเป้าไปที่ว่า ECB จะมีเป้าหมายที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างไร และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโนบายการเงินของ BoJ จะเป็นอย่างไรในวันศุกร์นี้

การตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายของ Fed

ในวันพุธนี้ นักวิเคราะห์ตลาดและผู้รายงานข่าวการเงินจะรอดูอย่างใจจดใจจ่อว่าคณะกรรมการ Fed จะตอบสนองต่อการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไร โดย CME FedWatch คาดการณ์ว่ามีโอกาส 89.6% ที่ผู้กำหนดนโยบายของ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ซึ่งเพิ่มจากที่ FedWatch คาดการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว (7 มิ.ย.) ว่ามีโอกาสที่ 72.5%

รายงานาเงินเฟ้อ CPI ในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคมอาจเพิ่มขึ้น 4% ซึ่งเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4.1% กล่าวได้ว่าเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวกับ CNBC เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนว่า “แนวโน้มราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้ Fed มีเวลามากขึ้นในการคงอัตราไว้เท่าเดิมในเดือนนี้ และหากแนวโน้มยังคงดำเนินต่อไป Fed จะไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี”

ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก ING กล่าวในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนว่า “ในเดือนมีนาคม Fed ได้ส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วง 5-5.25% จนถึงสิ้นปี โดยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ทำให้เราคาดว่าอาจจะมีการปรับอีกเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงคือแม้ว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างมั่นคงในสัปดาห์นี้ แต่อาจมีการปรับคาดการณ์ขึ้นอีก ซึ่งจะเห็นว่าตลาดแกว่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ 25bp ในเดือนกรกฎาคม”

ดอกเบี้ยนโยบายของ ECB

ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นตาของ ECB ในการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ย ตรงกันข้ามกับ Fed ผู้กำหนดนโยบายของ ECB มีแนวโน้มที่จะดำเนินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน 25bps ตามที่การสำรวจความคิดเห็นในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ของ Reuters ได้แนะนำว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในยูโรโซนอาจลดลงเหลือ 6.1% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขในเดือนเมษายนที่ 7% อย่างมาก

Gabriel Makhlouf สมาชิกสภาธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า "คำถามในการตัดสิน" ว่าพวกเขาจะต้องดำเนินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหลังจากฤดูร้อนหรือไม่ ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ยังตั้งข้อสังเกตว่าอัตราดอกเบี้ยหลักมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไปเมื่อถึง "ขั้นสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น"

นักเศรษฐศาสตร์จาก Crédit Agricole ยังคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดย ECB โดยเสริมว่าการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมสามารถสนับสนุนสกุลเงินนี้ไว้ได้ “เราคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25 bps พร้อมกับข้อบ่งชี้จาก ECB ว่าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะคงอยู่ต่อไปในยูโรโซน และไม่เชื่อว่าภาวะการเงินตึงตัวมากพอที่จะคุกคามการเติบโต อาจกระตุ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและสนับสนุนเงินยูโร แต่เราก็คาดว่า EUR จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่มีธนาคารกลางหรือธนาคารที่ส่งสัญญาณถึงจุดสูงสุดของวงจรการเข้มงวด เช่น JPY และ NZD” 

ดอกเบี้ยนโยบายของ BoJ

BoJ กำลังจะเป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งที่ 3 ที่จะประกาศการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในวันศุกร์นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน CPI จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ BoJ ก็ดูเหมือนจะไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามรูปแบบของธนาคารกลางอื่นๆ การคาดการณ์ของ BoJ ยังคงคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ภายในสิ้นปีนี้

Reuters แนะนำว่า BoJ มีแนวโน้มที่จะคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีสูงสุดที่ 0% ภายใต้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) โดย Masazumi Wakatabe อดีตรองผู้ว่าฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว Bloomberg ว่า เขาคาดการณ์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในเดือนนี้ และเสริมว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อนี้มีความยั่งยืนและมีเสถียรภาพ”

รายงาน GDP ใน 1Q23 ของนิวซีแลนด์

ในวันนี้ สำนักสถิตินิวซีแลนด์จะประกาศข้อมูลการเติบโตของ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2023 ของประเทศ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเมื่อเทียบเป็นรายปีจะขยายตัวที่ 2.6%  แต่หดตัว 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส

ซึ่งการสำรวจโดยของ IMF ที่รายงานไว้ในวันที่ 13 มิถุนายนระบุว่า “นิวซีแลนด์มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อไปในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากมาตรการเข้มงวดทางการเงินเกิดขึ้น อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงแต่จะยังคงสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง อีกทั้งยังมีดุลบัญชีเดินสะพัดทรุดโทรมลงอย่างมาก ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์ส่วนเกินและปัจจัยแบบครั้งเดียว” ซึ่งนักวิเคราะห์ของ IMF ยังกล่าวอีกว่า “ท่าทีของนโยบายการเงินมีความเหมาะสมและควรมีเป้าหมายเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย RBNZ ควรตรวจสอบสถานะทางการเงินต่อไปและปรับเทียบการตั้งค่า macroprudential ตามที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน”

เทรดข่าวเศรษฐกิจมหภาคน่าสนใจไหม? หากคำตอบคือใช่ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติม เรามีคำตอบให้คุณ กับสัมนาการเทรดออนไลน์ ฟรี ที่คุณจะได้พบกับเซสชั่นที่หลากหลายพร้อมพบปะพูดคุยกับเหล่าเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมศึกษาวิธีการและกลยุทธ์ที่น่าสนใจในไลฟ์สดที่จะมาสาธิตวิธีการต่างๆ เพื่อคุณโดยเฉพาะ!

สัมมนาการเทรดออนไลน์ฟรี

เรียนสดกับเทรดเดอร์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Miltos Skemperis
Miltos Skemperis นักเขียนบทความการเงิน

Miltos Skemperis จบการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และบริหารธุรกิจ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์มากมาย แต่ก็ผันตัวมาเป็นนักเขียนบทความการเงินมากว่า 7 ปีแล้ว