คู่มือการเทรดสำหรับมือใหม่: การลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ECB และ BoE

มกราคม 22, 2024 21:20

ดอกเบี้ยนโยบายถูกจับตามองมากขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อถ่วงดุลผลกระทบของเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลต่องบประมาณและการใช้จ่ายของผู้บริโภค

นอกจากนี้ การเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมก็ส่งผลในต่อความกดดันจากเงินเฟ้อของประเทศขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องการลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่า เราน่าจะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายจากธนาคารกลางต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE)

แต่ก็มีข้อมูลที่แสดงถึงความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และยูโรโซน ที่สามารถส่งผลต่อการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเราจะนำคุณไปทำความเข้าใจพร้อมกันในบทความนี้

การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed: เป็นไปในแง่ดี

ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังของตลาดกับการปรับดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในปี 2024 ทำให้เกิดคำถามต่อมูลค่าสินทรัพย์ในอนาคต ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่า Fed อาจลดอัตราดอกเบี้ย 140-150 bps ภายในสิ้นปีนี้ แต่ในรายงานการประชุม Fed ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงถึง 75 bps ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ซึ่งคณะกรรมการของ Fed ประมาณการในสรุปการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจในเดือนธันวาคมว่า อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานจะลดลง 250 bps ภายในสิ้นปี 2026 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการคาดการณ์ของ Fed และความคาดหวังของตลาดอยู่ที่อัตราการที่ลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้น

David Solomon CEO ของ Goldman Sachs (GS) กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ CNBC ที่เข้าร่วมการประชุมประจำปี WEF ครั้งที่ 54 ที่เมืองดาวอสว่าเห็นได้ชัดว่าตลาดกำลังดำเนินไปสู่จุดที่มีการปรับลดมากขึ้น” จากที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราสามารถรับมือกับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้เขายังให้ความเห็นในแง่ดีของตลาดที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่า “ส่วนตัวผมคิดว่ามันยากที่จะเห็นมุมมองของตลาดเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 7 ครั้งในปีนี้ แต่ผมก็คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่สมเหตุสมผลที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้และผ่อนคลายลงบ้าง แต่จริงๆ แล้วมันจะขึ้นอยู่กับข้อมูลต่างๆ ที่ออกมา

Raphael Bostic ประธาน Fed แอตแลนตากล่าวปราศรัยที่หอการค้าแอตแลนตาว่า "มีการเตรียมการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 3 แต่ก็ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปหรือเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงราคาที่ยังไม่แน่นอน” กล่าวได้ว่า Raphael Bostic ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการ FOMC ของ Fed ตั้งข้อสังเกตว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นก่อนเดือนกรกฎาคม แต่ต้องมี "หลักฐานที่น่าเชื่อถือ" ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เท่านั้น

ผู้กำหนดนโยบาย ECB ให้ความหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในกลุ่มยูโรลดลง เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ ECB โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แม้อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายของ ECB เนื่องจากเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม กำลังดิ้นรนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอย

โพลของ Reuters ที่มีการประกาศในวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่านักเศรษฐศาสตร์ 38 คนจาก 85 คนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม โดยอีก 21 รายคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนเมษายน และอีก 23 รายที่ยังไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินก่อนไตรมาสที่ 3 ของปี 2024 และต่อๆ ไป รายงานของตลาดแสดงให้เห็นว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานที่ 150 bps ในปีนี้

แต่สมาชิกสภากำกับดูแลของ ECB บางส่วนไม่เห็นด้วยกับเสียงเรียกร้องให้ผ่อนปรนนโยบาย "เชิงรุก" จากผู้เข้าร่วมตลาด ตัวอย่างเช่น Robert Holzmann หัวหน้าธนาคารกลางออสเตรียกล่าวกับผู้สื่อข่าวของ CNBC ว่า “ไม่คิดว่าจะมีและจินตนาการไม่ออกว่าเราจะพูดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้ เพราะเราไม่ควรพูดถึงเรื่องนี้ ทุกสิ่งที่เราเห็นในสัปดาห์ที่ผ่านมาชี้ไปในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้น จึงอาจคาดการณ์ว่าจะไม่มีการลดดอกเบี้ยเลยในปีนี้”

Christine Lagarde ประธาน ECB ถูกถามในระหว่างการอภิปรายที่ Bloomberg House ในเมืองดาวอส เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น และวิธีที่ ECB จะตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงในหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง Christine Lagarde ตอบว่าต้นทุนการกู้ยืมของ ECB อาจถึงจุดสูงสุด พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงการพึ่งพาข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารในการตัดสินใจ พร้อมแนะนำว่า “แม้ว่าตลาดที่มองโลกในแง่ดีเกินไปไม่ได้ช่วยต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อของ ECB แต่เราก็มองในแง่ดีว่าเรามีโอกาสที่จะสามารถทำให้อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ที่ 2% ในปี 2025 แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องผ่านไปเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย

BoE: ความเข้มงวดในสถานการณ์ที่แข็งแกร่ง

เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้งบประมาณของผู้บริโภคเกิดความตึงเครียด เนื่องจากราคาที่พุ่งไปสู่ระดับที่ไม่เคยพบเห็นมานานหลายปี คณะกรรมการของ BoE จึงตอบโต้ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทำให้การชำระคืนเงินกู้เป็นเรื่องยาก 

การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อลดลง แต่ตัวเลขรายได้เฉลี่ยยังคงเติบโตต่อไป ในเดือนธันวาคม ข้อมูลที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดเป็น 4% ในขณะที่นักวิเคราะห์ตลาดคาดว่าจะลดลงเหลือ 3.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี

รายงานของ BNN Bloomberg ชี้ให้เห็นว่าตลาดเงินกำลังสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 4 ของ BOE  ถึง 4 ครั้ง และเห็นโอกาสเพียง 1/3 ของ 1/5 ในปี 2024 ตามการแลกเปลี่ยนที่เชื่อมโยงกับการประชุมของธนาคารกลาง

รายงานของ J.P. Morgan เกี่ยวกับเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรชี้ให้เห็นว่า BoE อาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมปีนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและแนวโน้มที่ดีจากมาตรการการรับมือที่ดี  ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก J.P. Morgan คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานทั้งหมด 75 bps ภายในสิ้นปี 2024 โดยเสริมว่าภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายย่อยมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมในช่วงสั้นๆ ต่อ BoE ที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

การเทรดท่ามกลางการปรับลดดอกเบี้ยกับ Admirals

การอภิปรายเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงดำเนินต่อไป เทรดเดอร์มือใหม่อาจคิดว่าเป็นเวลาที่ดีที่จะสร้างกลยุทธ์การซื้อขายและใช้ประโยชน์จากความผันผวนที่สังเกตได้ง่ายในตราสารทางการเงินบางชนิด แต่ก็อาจละเลยการศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบและดำเนินการกลยุทธ์อย่างเหมาะสม

ซึ่งเทรดเดอร์มือใหม่สามารถพัฒนาความรู้การเทรดของตน เพื่อลดผลกระทบจากการขาดประสบการณ์ ซึ่งสามารถทำได้โดยการอ่านบทความ ดูคำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อขาย หรือศึกษาจากสัมนาการเทรดออนไลน์ต่างๆ หรือแม้แต่ลงทะเบียนเรียนเทรดที่สามารถเรียนรู้ได้ฟรีจากโบรกเกอร์ต่างๆ

นอกจากนี้ เทรดเดอร์มือใหม่อาจเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เทรดเดอร์ลดความเสี่ยงในการดำเนินกลยุทธ์การซื้อขาย เครื่องมือการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญเช่น Stop Loss และ Take Profit ที่สามารถใช้ได้ฟรีในแพลตฟอร์มการเทรดของคุณย ดังนั้น เทรดเดอร์มือใหม่จึงสามารถใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพหากเรียนรู้การใช้งานอย่างถูกต้อง

เรียนรู้ตลาดและเทรดได้อย่างไม่มีความเสี่ยง

เริ่มต้นการซื้อขายได้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนกับบัญชีทดลองเทรดจาก Admirals ที่จะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายในสภาวะตลาดที่สมจริง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเปิดบัญชีทดลองเทรดคลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนสำหรับธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงิน โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายด้านบน ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต เนื่องจากสถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Miltos Skemperis
Miltos Skemperis นักเขียนบทความการเงิน

Miltos Skemperis จบการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และบริหารธุรกิจ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์มากมาย แต่ก็ผันตัวมาเป็นนักเขียนบทความการเงินมากว่า 7 ปีแล้ว