Safe Haven Asset คืออะไร?

กุมภาพันธ์ 24, 2022 13:45

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรงตอนต้นปี 2022 นี้ เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า วิกฤตจะทำให้นักลงทุนบางส่วนเลือกที่จะ "ออกจากตลาด" ไป โดยอาจย้ายเงินไปที่สินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีความปลอดภัยมากกว่า เช่น ย้ายจากสกุลเงินเสี่ยงหรือหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สกุลเงินเยนญี่ปุ่น หรือพันธบัตรสหรัฐ

ในขณะที่นักลงทุนบางคนอาจเลือกที่จะ Short ตลาดเหล่านี้โดยใช้สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) - ซึ่งสามารถเลือกที่จะทำกำไรได้แม้จะเป็นทิศทางขาลงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การย้ายเงินไปอยู่กับ Safe Haven Asset อาจทำได้ง่ายและมีความเสี่ยงเรื่อง "จังหวะการเทรด" ที่น้อยกว่า

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงว่า Safe Haven Asset คืออะไร ประเภทของสินทรัพย์ปลอดภัยเหล่านี้มีอะไรบ้าง รวมถึงเราจะสามารถลงทุนสินทรัพย์ดังกล่าวผ่านโบรกเกอร์ Admiral Markets ได้อย่างไร

Safe Haven Asset คืออะไร

Safe Haven Asset คือ สินทรัพย์ปลอดภัยที่สามารถรักษาหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง (มีคนซื้อขายเยอะ) โดยสินทรัพย์เหล่าประเภท Safe Haven Asset จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน เช่น สงคราม, ก่อการร้าย ฯลฯ

มีสินทรัพย์ปลอดภัยมีหลายประเภท และที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ณ ปัจจุบัน ได้แก่

1. ทองคำ

ทองคำ เป็นสินทรัพย์แบบดั้งเดิมที่สุดที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น "หลุมหลบภัย" หรือ Safe Haven Asset เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตได้จริง มีการสะสมในฐานะเครื่องประทับ และสามารถซื้อขายได้ทั่วโลก โดยมีอุปทานที่จำกัดจากต้นทุนในการทำเหมือง เพื่อให้ทองคำมีมูลค่าโดยตัวมันเอง นอกจากนี้ ในสมัยก่อน ตัวมันเองถูกใช้เป็นสกุลเงินโดยตรงโดยการหลอมเป็นเหรียญ

นักลงทุนในตำนาน Warren Buffett (วอร์เรน บัฟเฟตต์) มีคำกล่าวที่มีชื่อเสียงว่า "ทองคำเป็นการเดิมพันกับความกลัว" (gold is a way of going long on fear) ในระหว่างความขัดแย้ง "รัสเซีย-ยูเครน" ซึ่งเริ่มต้นในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 ราคาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน

ที่โบรกเกอร์ Admiral Markets คุณสามารถใช้สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เพื่อเก็งกำไรราคาทองคำที่เคลื่อนไหวสูงขึ้นหรือต่ำลง คุณสามารถลงทุนในกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำ (ETF) ซึ่งติดตามราคาทองคำจริงหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ

2. สกุลเงินเยนญี่ปุ่น

เยนญี่ปุ่น ถือว่าเป็น Safe Haven Asset จากลักษณะโครงสร้างทางการเงินของประเทศ จากการที่ดุลการค้าของญี่ปุ่นเกินดุลในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหนี้ที่มีอยู่ ซึ่งหมายความว่า มูลค่าของสินทรัพย์ต่างประเทศที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นถือครองนั้นสูงกว่าจำนวนสินทรัพย์ของญี่ปุ่นที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก

ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน นักลงทุนจะถอนตัวจากตลาดการเงินที่มีความเสี่ยงสูง และย้ายเงินนั้นกลับมาที่สกุลเงินเยนของญี่ปุ่น

3. ฟรังก์สวิส

ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย เนื่องจากความเป็นกลางทางการเมืองของรัฐบาลสวิส ภาคการธนาคารที่แข็งแกร่ง และความเป็นอิสระจากสหภาพยุโรป ซึ่งจากทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นดินแดนสวรรค์จากภัยทางการเงิน

ในช่วงวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ในปี 2022 มีกระแสเงินไหลเข้าสู่ฟรังก์สวิส เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่า เศรษฐกิจยุโรปอาจได้รับผลกระทบที่เลวร้ายอันเนื่องมาจากการหยุดชะงักของอุปทานของสินค้าพลังงาน เช่น ก๊าซจากรัสเซีย

4. ดอลลาร์สหรัฐ : US Dollar 

ดอลลาร์สหรัฐยังถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย เนื่องจากมีสถานะเป็นสกุลเงินสำรองของโลก ซึ่งการเป็นสกุลเงินสำรองดังกล่าว หมายถึงการที่มันมีสภาพคล่องสูง ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งแตกต่างจากสินทรัพย์เสี่ยงบางประเภทที่หากเกิดวิกฤตขึ้นมา อาจไม่มีสภาพคล่องรองรับในการเคลื่อนย้ายเงินดังกล่าว

ที่โบรกเกอร์ Admiral Markets คุณสามารถซื้อขายดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (Dollar Index) ซึ่งเป็นการซื้อขายผ่าน CFD ได้ง่าย ๆ ทั้งนี้ ดัชนีของดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นการแปลงตะกร้าสกุลเงินต่าง ๆ และคำนวณออกมาเป็นดัชนีที่สะท้อนความอ่อนหรือแข็งของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

5. พันธบัตรรัฐบาล

รัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาล ใช้เพื่อระดมทุนเพื่อการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนให้นักลงทุนที่มาซื้อพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งเท่ากับว่า นักลงทุน "ให้กู้ยืมเงิน" แก่รัฐบาล ในทางกลับกัน พันธบัตรจะจ่ายดอกเบี้ย (เรียกว่าการจ่ายคูปอง) เป็นระยะเวลาที่กำหนดให้กับนักลงทุน

พันธบัตรรัฐบาล กลายเป็น Safe Haven Asset เนื่องจากเงินลงทุนจะได้รับเงินต้นเต็มจำนวนเมื่อครบระยะเวลาตามที่กำหนด และได้รับดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปถือว่า การซื้อและถือพันธบัตรนั้นจะทำให้เกิดรายได้คงที่ และมีโอกาสสูญเสียเงินทุนน้อยมาก

6. หุ้นแนว Defensive

หุ้นแนว Defensive โดยทั่วไปหมายถึงหุ้นของบริษัทที่มีรายได้สม่ำเสมอไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนมากได้แก่หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค การดูแลสุขภาพ อาหารและเครื่องดื่ม และสาธารณูปโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความต้องการจากผู้บริโภคอยู่เสมอ

หุ้นกลุ่มนี้ที่เรารู้จักกันดี เช่น Procter & Gamble, Unilever, Kraft Heinz และ Walmart โดยหุ้นแนวป้องกันก็จัดว่าเป็น Safe Haven Asset โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจซบเซา

7. Bitcoin 

ก่อนหน้านี้ Bitcoin ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพิ่งกลายเป็นกระแสหลักเมื่อไม่นานนี้ เมื่อเทียบกับสกุลเงิน หุ้น และพันธบัตร ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจึงปะปนกันไป

ในขณะที่บางครั้ง Bitcoin ได้เพิ่มขึ้นในขณะที่ตลาดหุ้นตกต่ำ และเมื่อเร็ว ๆ นี้สกุลเงินดิจิทัลมีการซื้อขายคล้ายกับตลาดหุ้น ในช่วงที่ตลาดหุ้นตกต่ำในช่วงต้นปี ภาคสกุลเงินดิจิตอลก็ลดลงเช่นกัน นี่เป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ Crypto เพราะการเคลื่อนไหวของมันเริ่มจับต้องได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ - Cryptocurrency คืออะไร และ Trend โลก Cryptos ในปี 2022 มีอะไรบ้าง?

ไอเดียการเทรด GBPJPY อาจเป็นดังต่อไปนี้

คู่เงิน: GBPJPY
สัญลักษณ์: GBJPY
ไอเดียเทรดประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022
ระยะเวลาคาดหวัง: 1 - 2 สัปดาห์
ราคาเข้าเทรด: 152.88
ราคา Take Profit: 148.37 
ราคา Stop Loss: 154.77
แนวคิดการจัดสัดส่วน: สูงสุดไม่เกิน 2%
ความเสี่ยง: สูง

บัญชี MT4, MT5 ช่วยให้คุณคาดเดาทิศทางราคาของหุ้น, ค่าเงินต่าง ๆ โดยใช้สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ซึ่งหมายความว่า คุณสามารถซื้อขายทั้งแบบ Long & Short เพื่อทำกำไรจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นและลดลง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ CFD ในบทความวิธีการซื้อขาย CFD นี้

เทรด GBPJPY เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยง Safe Haven Asset

ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน นักลงทุนอาจหลบหนีไปยังสกุลเงินที่ปลอดภัย เช่น เยนญี่ปุ่น ด้วย Admirals คุณสามารถซื้อขายคู่สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นได้หลากหลายซึ่งรวมถึง: AUDJPY, EURJPY, CADJPY, CHFJPY, GBPJPY, NZDJPY, USDJPY และอีกมากมาย

ในทางเทคนิค นักลงทุนจะใช้การเทรดสินทรัพย์ที่เคลื่อนไหวตรงข้ามกับ Safe Haven Asset เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถือ Safe Haven Asset หรือที่เรียกว่าการ Heding ซึ่งเรามักจะเห็นว่า สกุลเงินเยนญี่ปุ่นจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต และจะทำให้สกุลเงินที่เทรดคู่กับ JPY ปรับตัวลง

ตัวอย่างเช่น GBPJPY เป็นการจับคู่ที่ดีมาก ๆ สำหรับการ Hegde ใน Safe Haven Asset เพราะ GBP ถือเป็นสกุลเงินเสี่ยง ในขณะที่ JPY เป็นสกุลเงินปลอดภัย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา คู่เงิน GBPJPY จะร่วงลงอย่างหนัก ดังนั้น นักลงทุนที่มีประสบการณ์อาจ Sell คู่เงิน GBPJPY เพื่อทำกำไรในสถานการณ์แบบนี้ได้

GBPJPY, Monthly - Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

กราฟราคารายเดือนของ GBPJPY ที่แสดงด้านบน เป็นการเน้นว่าราคามีการซื้อขายในช่วงระยะยาวระหว่าง ~156.07 ถึง ~124.38 (เส้นแนวนอนสีดำสองเส้น) ปัจจุบันราคาอยู่ที่ช่วงบนสุดของช่วงการซื้อขายซึ่งเป็นระดับราคาที่ตลาดเคยปรับลดลงมาก่อนในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 พฤษภาคม 2021 และมกราคม 2022

เทรด GBPJPY โดยใช้ CFD

หากคุณต้องการซื้อเงินเยน แปลว่า คุณต้องขายสกุลเงินอื่นเพื่อซื้อมัน (เช่น แปลงเงินปอนด์อังกฤษของคุณเป็นเยนญี่ปุ่น) ลองนึกถึงตอนไปเที่ยวที่คุณต้องไปร้านแลกเงิน และแลกเปลี่ยนสกุลของคุณเป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ ในเมือง

อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำแบบนั้น แต่จะใช้ CFD เพื่อเก็งกำไรในทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินหนึ่ง ๆ และด้วย CFD คุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่อ้างอิงนั้นโดยตรง แต่เป็นการถือตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งนี่ก็หมายความว่า คุณสามารถซื้อขายได้ทั้งระยะยาวและระยะสั้น เก็งกำไรจากทิศทางได้ทั้งขึ้นและลง

  • หากคุณ Buy คู่เงิน GBPJPY คุณจะกำไรเมื่อตลาดสูงขึ้นและสูญเสียหากราคาขยับต่ำลง
  • หากคุณ Sell คู่เงิน GBJPY คุณจะกำไรเมื่อตลาดลดลงและขาดทุนหากราคาขยับสูงขึ้น

ตัวอย่างไอเดียการเทรด GBPJPY

  • เข้า Sell เมื่อราคา Break ผ่านจุดต่ำสุดของเดือนที่แล้วที่ 152.88
  • วาง Stop Loss เพื่อป้องกันราคาปิดของเดือนที่แล้วที่ 154.77
  • วางเป้าหมายกำไรไว้ที่แนวรับประมาณ 148.37
  • รักษาความเสี่ยงของคุณให้น้อยที่สุดที่ 2% ของบัญชีทั้งหมดของคุณ
  • ระยะเวลาการถือครอง = 1 – 2 สัปดาห์ 
  • หากคุณเทรดด้วยขนาด Lot ที่ 0.1 Lot
    • หากเป้าหมายของคุณไปถึง = กำไร $392.69
    • หากถึงจุดตัดขาดทุน  = ขาดทุน -$164.56

ควรจำไว้ว่าค่าเงินจะไม่ได้เคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นเส้นตรงและอาจลงไปอีกมากก่อนที่จะขึ้น โดยเฉพาะการพิจารณาความผันผวนของตลาดในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้โดยเสมอ

ดังนั้น ต้องบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเทรดให้ประสบความสำเร็จ คุณควรตระหนักอยู่เสมอว่า คุณสามารถขาดทุนจากการเทรดได้ตลอดเวลา

วิธีเทรด GBPJPY ใน 4 ขั้นตอน

คุณสามารถซื้อขาย CFD ของ GBPJPY และตลาดโลกอื่นๆ ได้จากบัญชี Trade.MT4 หรือ Trade.MT5

  1. เปิดบัญชีเทรด กับ Admiral Markets ในการเข้าถึง Trader's Room
  2. คลิกซื้อขายในบัญชีจริงหรือบัญชีทดลองของคุณเพื่อเปิดแพลตฟอร์มเทรด
  3. ค้นหา GBPJPY ที่ด้านล่างของหน้าต่าง Market Watch แล้วลากสัญลักษณ์ลงบนกราฟราคา
  4. เปิดใช้งานคุณสมบัติ  One-Click Trading หรือซื้อขายได้โดยการคลิกขวาแล้วกด New Order จะมีหน้าต่างส่งคำสั่งซื้อขายให้ตั้งค่า Take Profit, Stop Loss ได้

ที่มา: Admirals MetaTrader 5 Web - Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!

  • เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
  • เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
  • ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR

การเปิดบัญชีกับ Admiral Markets นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Aglobe Investments Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  1. นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  2. การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Aglobe Investments Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  3. ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Aglobe Investments Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  4. การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  5. ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Aglobe Investments Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  6. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Aglobe Investments Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  7. ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
Jitanchandra Solanki
Jitanchandra Solanki นักเขียนด้านตลาดการเงิน, Admirals, London

Jitanchandra เป็นบรรณาธิการสายตลาดการเงินที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในการเทรดสกุลเงิน ดัชนีหุ้น และตลาดหุ้นของสหรัฐฯ เขาคือนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้อง และการันตีด้วยปริญญาเกียรตินิยมด้านบริหารธุรกิจ